Skip to main content
sharethis


ดร.โรเบิร์ต จี เวปสเตอร์ หัวหน้าผู้วิจัยภาควิชาไวรัสวิทยา คณะโรคติดเชื้อ สถาบันวิจัยเด็กเซนต์จู๊ด เมืองเมมฟิส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลการศึกษาเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาว่า เชื้อไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อไวรัสหวัดนกซึ่งเป็น H5 ที่พบในประเทศอินโดนีเซีย ก็มีความแตกต่างจากเชื้อไวรัสที่พบในประเทศไทย และเวียดนาม นั่นหมายความว่า ขณะที่โลกกำลังพัฒนาวัคซีนหวัดนกสำหรับคน โดยใช้เชื้อไวรัสต้นแบบจากประเทศเวียดนามนั้น อาจเป็นวัคซีนที่ไม่สามารถใช้ได้กับเชื้อไวรัสในอินโดนีเซีย เพราะไวรัสมีความต่างกัน แม้ผู้ใช้จะไม่มีอันตรายถึงเสียชีวิตแต่ก็อาจมีอาการป่วยได้

 


ดร.โรเบิร์ต จี เวปสเตอร์ กล่าวต่อว่า โลกอาจจะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การใช้ยาต้านไวรัสในรูปแบบใหม่ โดยแต่เดิมนั้น เรามียารักษาหวัดนก 2 ขนาน คือ ยาอะแมนตาดีน และยาโอเซล ทามิเวียร์ ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่า ยาอะแมนตาดีน ทำให้เกิดอาการดึ้อยา ทั่วโลกจึงมุ่งไปที่ ยาโอเซล ทามิเวียร์ แต่ขณะนี้มีข้อมูลใหม่ๆ บอกว่า ไวรัสหวัดนกในเอเชียหลายตัวที่ไม่ดื้อยาอะแมนตาดีนแต่เริ่มจะดื้อยาโอเซล ทามิเวียร์ ดังนั้น กลยุทธ์ในการใช้ยารักษาหวัดนกอาจต้องใช้ทั้ง 2 ขนานควบคู่กันไปเพื่อลดการดื้อยา


 


ด้าน นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า กรณีหวัดนกในประเทศไทย สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เป็ดที่ติดเชื้อหวัดนก แต่ไม่มีอาการและไม่ตายจึงแพร่เชื้อไปยังสัตว์ปีกชนิดอื่นเป็นจำนวนมากโดยที่ยังหาแนวทางป้องกันไม่ได้ ส่วนการใช้วัคซีนหวัดนกในสัตว์นั้น เป็นการป้องกันอาการป่วยด้วยโรคหวัดนกแต่ไม่ป้องกันการติดเชื้อ ส่วนการพัฒนาวัคซีนในคน เราต้องการป้องกันการติดเชื้อเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงต้องเลือกสายพันธุ์ที่เป็นวัคซีนที่ใช้ได้ทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะไวรัสหวัดนกในแต่ละพื้นที่มีความต่างกัน


 


 กลับหน้าแรกประชาไท 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net