มาเลย์แก้กฎหมายครอบครัวยิ่งกดขี่ผู้หญิง

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ประชาไท- 10 ม.ค. 2549 ไซดะห์ อับดุล เราะห์มาน แม่บ้านชาวสลังงอ กลายเป็นหญิงคนแรกที่ลุกขึ้นมาร้องเรียนเรียกร้องสิทธิที่ไม่เท่าเทียมในพระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัวของมาเลเซียมาตรา 108 (รัฐยะโฮร์) ที่ให้อำนาจผู้ชายจัดการทรัพย์สินของอดีตภรรยาได้

ซันเดย์ เมล์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ขอมาเลเซียรายงานเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมาว่า ไซดะห์ อับดุล เราะห์มาน กับกลุ่ม Sister in Islam (SIS) ได้ออกโรงร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรมของกฎหมายครอบครัวอิสลาม มาตรา 108 ของรัฐยะโฮร์ที่อนุญาตให้สามีที่หย่าขาดจากภรรยาไปแล้วยังสามารถเข้าไปจัดการกับทรัพย์สินของภรรยาได้

ที่มาของกรณีดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ เมื่อเดือนตุลาคม 2004 อดีตสามีของไซด๊ะห์ ดาโต๊ ไซเอ็ด อัสมี ออตมาน ได้ยื่นขอจัดการดูแลบัญชีทรัพย์สินของเธอที่ฝากไว้กับบริษัท Permodal Nasional Berhad รวมทั้งได้ขอระงับการใช้งานบัญชีเงินฝาก Tabung Haji (Pilgrim Fund Board) ของเธอไปด้วย และศาลก็อนุญาตให้เข้าได้รับสิทธิดังกล่าวด้วย และใน เดือนต่อมาเขาก็หย่าขาดกับเธอ

กฎหมายในรัฐยะโฮร์ ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2003 ในมาตรา 108 นั้นความจริงแล้วขัดต่อหลักซาริอ๊ะห์ ( กฎหมายอิสลาม) ซึ่งระบุว่า สามีไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของภรรยา ทว่า เมื่อไม่นานนี้มีการผ่านกฎหมายของเขตสหพันธ์ ( Federal Territeries) มาตรา 107A ซึ่งมีหน้าตาเหมือนอัดสำเนากฎหมายมาตรา 108 ของรัฐยะโฮร์อย่างไม่ผิดเพี้ยน ที่ค่อนข้างจะเป็นที่แน่นอนว่าทั้งประเทศมาเลเซียจะต้องรับเอากฎหมายนี้มาใช้เนื่องจากว่ารูปแบบของกฎหมายใน

Federal Territories นั้นถูกวางไว้ว่าจะให้เป็นแบบอย่างของกฎหมายทั้งหมดเพื่อนำประเทศไปสู่การใช้กฎหมายครอบครัวอิสลามที่มีมาตรฐานเดียวกัน

พระราชบัญญัติที่เพิ่งจะผ่านวิปรัฐสภาไปนั้น ถูกร้องเรียนโดยองค์กรสตรีมุสลิมเป็นอย่างมากว่าเป็นละเมิดสิทธิสตรีและขัดต่อหลักซาริอ๊ะห์ ทางคณะรัฐบาลจึงได้มากล่าวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ว่า หากมีถ้อยคำใดในกฎหมายนี้เป็นการเลือกปฎิบัติก็ให้แก้ไขได้ทันทีหลังจากที่กฎหมายผ่านสภาไปแล้ว

การผ่านกฎหมายฉบับดังกล่าวของสภานั้นมีขึ้นแม้ว่าจะมีการออกมาโต้แย้งและคัดค้านมาเป็นเวลาหลายปีโดย องค์กรมุสลิมสตรี SIS โดยได้แก้ไขมาตรา 107A ที่อนุญาตให้สามีเข้าไปมีส่วนครอบครองทรัพย์สินของภรรยาได้

ณ ขณะนี้มีเพียงรัฐเคดาห์และตรังกานูเท่านั้นที่ยังไม่รับรองกฎหมายครอบครัวฉบับดังกล่าว

" ถ้าไม่มีการดำเนินการใดๆที่จะหยุดยั้งการรับรองกฎหมายครอบครัวอิสลามฉบับแก้ไข ในFederal Territories และ ระงับการนำใช้สำหรับรัฐที่รับรองไปแล้ว จะกลายเป็นว่ากฎหมายครอบครัวอิสลามในมาเลเซียจะมีมาตรฐานเดียวกันคือเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม" ไซนะห์ อันวาร์ ผู้อำนวยการบริหาร SIS  กล่าว

ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้หญิงกลุ่มอื่นๆไดข้าร่วมกับ  SIS เพื่อคัดค้านการผ่านและการนำใช้กฎหมายฉบับแก้ไขดังกล่าว

ทั้งนี้ นอกจากการยินยอมให้สามีเป็นผู้จัดการกับทรัพย์สินของภรรยาแล้ว ในเรื่องของการหย่าที่เคยตกไปในสมัยรัฐบาลมหาเธร์ โมฮัมหมัด เรื่องให้ผู้ชายหย่าผู้หญิงผ่านทาง SMS นั้นก็ได้ผ่านสภาในครั้งนี้ด้วย รวมทั้งการให้สามีสามารถมีภรรยาคนที่2, 3, และ4 ได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงินว่าพร้อมที่จะเลี้ยงดูได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนขัดกับหลักซาริอ๊ะห์ทั้งสิ้น

ส่วนในกรณีของไซด๊ะห์นั้น ปัจจุบันไม่มีรายได้จากงานประจำใดๆจึงปรารถนาที่จะต่อสู้เพื่อให้เธอได้รับสิทธิในการดูแลบัญชีของเธอเองรวมทั้งเพื่อส่วนแบ่งในสินสมรสจากอดีตสามี

เธอเล่าว่า อดีตสามีของเธอนั้น เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จพอสมควรที่สามารถทำราบได้ประมาณเดือนละ 30,000 ริงกิต ( ประมาณ 300,000 บาท)  เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1985 เธอได้ลาออกจากงานที่ทำอยู่กับบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อมาแต่งงานกับไซอิด อัสมี และมาเป็นแม่บ้านเต็มตัวแ ดูแลบ้านและดูแลลูกๆในเวลาต่อมา " เนื่องจากเขาต้องการให้ฉันเป็นคนดูแลครอบครัว"

ต่อจากนั้นด้วยงานของเขาไซอิดนั้นต้องเดินทางไปทั่วประประเทศในระยะเวลาที่ควรจะต้องสร้างครอบครัวและจะกลับมาบ้านเป็นครั้งคราวเพื่อพักผ่อนเท่านั้น

ในปี 1991 ไซอิดได้นำภรรยาและลูก 3 คน มาอยู่ที่ กัวลาลัมเปอร์เพื่อรอรับตำแหน่งใหม่กับนายจ้างคนปัจจุบันของเขา  และได้ทิ้งบ้านที่บ้านที่แต่งงานกันที่สลังงอในเดือนมีนาคม ปี 2004 หลังจากที่คิดว่าไม่สามรถจะปรองดองกันได้อีก ซึ่งทำให้ไซด๊ะห์ขอหย่าอีกเป็นครั้งที่ 3 ในการแต่งงานกัน ในการขอหย่าในครั้งนี้เธอได้เห็นแล้วว่าไม่มีทางใดทีจะดีไปกว่าการยุติชีวิตสมรสอีกแล้ว

แต่แล้วในเดือนตุลาคม ปี 2004 นั้นเองที่ไซด๊ะห์ได้รับหนังสือแจ้งเตือนว่า บัญชีธนาคารของเธอถูกระงับการใช้งาน  "ไซอิด อัสมียังได้ตัดค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกๆด้วยถึงตอนนี้ก็เป็นเวลาหลายเดือนแล้ว" ไซด๊ะห์กล่าว  และกล่าวต่อว่าเธอยังคงจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าทนายอีก และยอมรับว่า "ไม่ง่ายเลยที่ต้องต่อสู้กับ "ดาโต๊ะ"ผู้มีเส้นสายใหญ่โตคนนี้"

ในเรื่องของเส้นสายของไซอิด อัสมี นี้ ไซด๊ะห์ยกตัวอย่างในเรื่องของวันที่ต้องให้การในการในศาลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ว่าทำได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน หรือ บางกรณีศาลก็ยอมให้ทำได้ในวันเดียวกันนั้นเลย

"เขายื่นขอยับยั้งบัญชีของลูกสาวของเรา 2 บัญชีซึ่งหนึ่งในนั้นคือบัญชีเพื่อการศึกษา ในวันที่ 27 ตุลาคม 2004 และก็มีการตัดสินให้กระทำได้ในวันเดียวกันนั้นเอง....นอกจากนั้นผู้พิพากษาที่ลงนามเป็นพยานในคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับคนที่นั่งบัลลังก์ฟังคำให้การยังเป็นคนๆเดียวกันด้วย" ไซดะห์ กล่าว

ในขณะเดียวกันในกรณีของไซด๊ะที่ร้องเรียนเพื่อจัดการกับบัญชีส่วนตัวของเธอนั้น ลงประทับรับฟ้องเพื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2004 และได้ไปให้การไต่สวนในวันที่ 24 ธันวาคม 2004

"ต่อจากนั้นก็ถูกเลื่อนออกไปอีก 5 เดือนต่อมา" เธอกล่าวว่าศาลกล่าวว่าเนื่องจากไซอิด อัสมียังไม่ได้ลงนามในคำให้การเขา จนกระทั่งวันนี้เธอเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถได้รับสิทธิในการจัดการบัญชีของเธอคืนมาหรือไม่ เพราะตอนนี้เงินทองเธอก็ร่อยหรอลงทุกทีแล้ว

กลับหน้าแรกประชาไท

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท