Skip to main content
sharethis


 


 


สถานการณ์การต่อสู้ในเทคโนโลยีชีวภาพ อย่างการตัดแต่งพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ (GMO/ Genetically Modified Organism) ยังคงเป็นไปอย่างดุเดือด ทั้งในประเทศไทย และในเวทีโลก


 


สหรัฐอเมริกาผู้ครอบครองและผลักดันเทคโนโลยีนี้ยังคงกดดันอย่างหนักให้ประเทศต่างๆ ยอมรับจีเอ็มโอ ขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) ก็ยืนหยัดเป็นหัวหน้าแก๊งค์เด็กดื้อที่ปฏิเสธสินค้าจีเอ็มโออย่างแข็งขัน โดยถือว่าเรื่องนี้ยังเถียงกันไม่จบ ยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการถึงความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว


 


แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คำตัดสินชั้นต้นขององค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ทำให้เจ้าพ่อจีเอ็มโออย่างสหรัฐหัวเราะเสียงดังขึ้นมาอีกครั้ง เพราะระบุชัดเจนว่า การห้ามนำเข้าพืชจีเอ็มโอของอียูนั้นขัดต่อระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอาร์เจนตินาซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอียูมาตั้งแต่กลางปี ๒๕๔๖ อ้างว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการห้ามนำเข้าพืชจีเอ็มโอของอียู ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกอาหารชีวภาพที่ต้องการทำธุรกิจในยุโรป


 


อย่างไรก็ตาม ดับบลิวทีโอน่าจะมีคำตัดสินขั้นสุดท้ายอีกครั้งภายในปีนี้


 


"ท่าทีของอียู ยังผลให้เกษตรกรสหรัฐต้อง สูญเสียรายได้จากสินค้าเกษตรส่งออกถึงปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.2 หมื่นล้านบาท) ทั้งๆ ที่ขณะนี้มีเกษตรกรกว่า 8 ล้านคนใน 21 ประเทศที่ยอมรับในพืชที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ชีวภาพ" แดร์แร็ก โฆษกขององค์การอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (บีไอโอ) กล่าวถึงผลการตัดสินของดับบลิวทีโอด้วยความยินดียิ่ง


 


อันที่จริง อียูได้เลิกระงับการนำเข้าพืชจีเอ็มโอมาสองปีแล้ว และอนุญาตให้ข้าวโพดจีเอ็มโอซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในสหรัฐ เข้าไปในตลาดอียูได้ แต่รัฐบาลวอชิงตันยังคงร้องเรียนต่อดับเบิลยูทีโอเพราะต้องการได้รับความมั่นใจว่า การอนุญาตให้ขายพืชจีเอ็มโอเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ อันจะส่งผลยั่งยืนกว่าการยอมเพราะเหตุผลทางการเมือง


 


ด้านคณะกรรมการยุโรปยังยืนยันว่า ขณะนี้อียูมีกฏหมายที่เป็นธรรมและเข้มงวดแล้ว ซึ่งจะอนุมัติเรื่องจีเอ็มโอเป็นกรณีๆ ไปตามบรรทัดฐานทางวิทยาศาสตร์


 


"ระบบของเรามีเป้าหมายเพื่อรับประกันว่าจะมีความปรองดองในตลาดภายในกลุ่มและมีความปลอดภัยเต็มที่ต่อสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อม" โฆษกคณะกรรมการยุโรปกล่าว


  


ท่ามกลางการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับไบโอเทคโนโลยีทั่วโลก การตัดสินให้สหรัฐชนะคดีนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญต่อนโยบายการยอมรับ/ไม่ยอมรับจีเอ็มโอของประเทศต่างๆ เพราะเท่ากับเป็นการยกประเด็นการกีดกันทางการค้าให้มีผลเหนือกว่าหลักการ "ป้องกันไว้ก่อน" (Precautionary) ที่หลายประเทศใช้เพื่อความปลอดภัย ทำให้ต่อแต่นี้ไปการห้ามนำเข้าพืชจีเอ็มโอต้องมีการพิสูจน์กันตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัด ทั้งที่ในความเป็นจริงแวดวงวิทยาศาสตร์ก็ยังสรุปกันไม่ลงตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้


 


อย่างไรก็ตาม องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกรีนพีซ ได้ออกแถลงประณามการตัดสินของดับบลิวทีโอ พร้อมทั้งยืนยันว่า ทุกประเทศสามารถปฏิเสธพืชจีเอ็มโอได้ ภายใต้พิธีสารคาร์ตาเฮนน่า ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งจนถึงปัจจุบันสหรัฐยังไม่ยอมร่วมเป็นภาคี


 


"สถาบันนี้ให้ความสำคัญแต่ด้านการค้าเหนือสิ่งอื่นใด โดยขาดคุณสมบัติที่จะพิจารณาประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน" เดเนียล มิทเลอร์ ที่ปรึกษาการค้าระหว่างประเทศ กรีนพีซสากลระบุ


 


ขณะที่ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ เจ้าหน้าที่กรีนพีซ ประเทศไทยกล่าวว่า หากไทยยอมอ่อนข้อให้กับข้อเรียกร้องของรัฐบาลต่างชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีบริษัทใหญ่ชักใยอยู่เบื้องหลัง จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยในการปกป้องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การค้า และสิทธิเกษตรกร


 


แต่ไม่ว่าจะพยายามต่อต้านขัดขืนอย่างไร ถึงขณะนี้คงปฏิเสธได้ยากยิ่งว่า เทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรมนี้ กำลังยายตัวไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้นทุกทีๆ ข้อมูลจากเว็บไซต์ไบโอเทค ประเทศไทยระบุว่า ปี 2005 ซึ่งนับเป็นปีที่ 10 ของการผลิตพืชจีเอ็มโอในเชิงการค้า มีพื้นที่เพาะปลูกพืชจีเอ็มทั่วโลก 1,000 ล้านเอเคอร์ โดยเกษตรกร 8.5 ล้านคนใน 21 ประเทศ เพิ่มขึ้น 11% จากปี 2004


 


ประเทศหลักๆ ที่ปลูกพืชจีเอ็มเชิงพาณิชย์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (55% ของพื้นที่ปลูกทั่วโลก) อาร์เจนตินา บราซิล แคนาดา จีน รวมทั้งบางประเทศในสหภาพยุโรปด้วย พืชหลักๆ ที่ปลูก ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย โคโนลา โดยคุณสมบัติการต้านทานยาปราบศัตรูพืชยังคงเป็นพระเอกที่ได้รับความนิยม


 


การขยายตัวของจีเอ็มโอ อาจหมายถึงการเพิ่มจำนวนผลผลิตทางการเกษตร การเอาชนะธรรมชาติในด้านต่างๆ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่า ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรทั่วโลกจะดีขึ้น หรือแก้ปัญหาความยากจนอดอยากได้มากขึ้น แต่ที่แน่ชัดแล้วในเบื้องต้นคือ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของเทคโนโลยีนี้ที่จะได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ และสารเคมีต่างๆ


 


วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.ไบโอไทย ระบุว่า ขณะนี้ตลาดเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโออยู่ในมือของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท ข้อมูลเมื่อปี 2542 พบว่าเฉพาะบริษัทมอนซานโต้บริษัทเดียวครอบครองส่วนแบ่งตลาดถึง 80% โดยส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในมือของบริษัทอื่นๆ อีก 4 บริษัทคือ เอเวนติส ซินเจนต้า บาส์ฟ และดูปองต์


 


ตลาดเมล็ดพันธุ์ GMOs ปี 2542






















บริษัท


ส่วนแบ่ง(%)


มอนซานโต้


80


เอเวนติส


7


ซินเจนต้า


5


บาส์ฟ


5


ดูปองต์


3


        Source: Wood Mackenzie


 


ยอดขายปี 2544 ของบรรษัทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ










































































 


บริษัท


ยอดขาย (ล้านเหรียญ) และ อันดับ


เคมีเกษตร


เมล็ดพันธุ์


ยา


อันดับ


ยอดขาย


อันดับ


ยอดขาย


อันดับ


ยอดขาย


ซินเจนต้า


-          เอสตราเซเนก้า


-          โนวาร์ติส


1


6,100


3


958


 


4


7


 


14,834


12,698


ฟาร์มาเซีย (มอนซานโต้)


2


4,100


2


1,600


8


11,177


เอเวนติส


3


3,400


10


267


5


14,809


บาส์ฟ


4


3,400


-


-


-


-


ดูปองต์ (ไพโอเนียร์)


5


2,500


1


1,938


-


1,630


ไบเออร์


6


2,100


-


-


18


5,330


ดาว


7


2,100


7


350


-


-


(ที่มา : ETC Group (formerly RAFI)


 


ตารางแสดงอันดับของบริษัทเมล็ดพันธุ์และยอดขายระหว่างปี 2542-2544
























































































อันดับ


บริษัท


สำนักงานใหญ่


2542


2543


2544


1


ดูปองต์ (ไพโอเนียร์)


สหรัฐ


1,850


1,938


1,900


2


ฟาร์มาเซีย (มอนซานโต้)


สหรัฐ


1,700


1,600


1,700


3


ซินเจนต้า


อังกฤษ/สวิส


947


958


938


4


Groupe Limagrain


ฝรั่งเศส


700


622


678


5


Groupo Pulsa


เม็กซิโก


531


474


450


6


Advanta (AstraZeneca&Cosun)


อังกฤษ/ดัช


412


373


420


7


KWS AG


เยอรมนี


355


332


388


8


Delta&Pine Land


สหรัฐ


301


301


306


9


Sakata


ี่ปุ่น


396


-


231


10


Dow (Include Cargill N Amerca)


สหรัฐ


350


350*


215


 


รวม


 


7,542


 


7,226


* ข้อมูลตารางทั้งหมดจากบทความ "ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับกรณีการผลักดันพืชจีเอ็มโอ" โดยวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ในหนังสือข้อตกลงเขตการค้าเสรี ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย


 


 


สำหรับประเทศไทย เรื่องนี้อาจส่งผลให้บรรษัทเทคโนโลยีชีวภาพสหรัฐผลักดันให้ไทยออกนโยบายเปิดรับจีเอ็มโออย่างเต็มที่อีกครั้ง หลังจากที่เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ได้มีการต่อต้านเรื่องนี้กันอย่างหนักจากภาคประชาชน เนื่องจากรัฐบาลเตรียมอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอร่วมกับพืชอื่น จนกระทั่งเรื่องนี้ต้องหยุดชะงักมาจนปัจจุบัน


 


ตอนนี้มีเพียงการนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวโพดที่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตน้ำมันเท่านั้นที่คาดว่าเป็นจีเอ็มโอ เนื่องจากนำเข้าจากสหรัฐและประเทศอื่นซึ่งเป็นแหล่งผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดจีเอ็มโอรายใหญ่ของโลก


 


ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีจีเอ็มโอก็กระทำกันภายในห้องทดลอง และแปลงทดลองเท่านั้น หลังจากมีกรณีมะละกอจีเอ็มโออันโด่งดังหลุดรอดออกจากแปลงทดลองแบบเปิดเมื่อ ๒ ปีก่อน แต่ในช่วงปีที่แล้วนี้เองมีเสียงเรียกร้องทั้งจากเกษตรกรและเอกชนให้รัฐเร่งพัฒนาเทคโนโลยีจีเอ็มโอเสียที โดยเกรงว่าจะไม่สามารถแข่งขันกับหลายๆ ประเทศที่เปิดรับเทคโนโลยีนี้ได้ทัน


 


สิ่งที่รัฐบาลจะต้องตอบให้ได้ก่อนในเบื้องต้น คือ ความพร้อมในการจัดการกับเทคโนโลยีนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นการเฉพาะ อีกทั้งการควบคุมดูแลก็ยังมีช่องโหว่ ดังกรณีการหลุดรอดของมะละกอจีเอ็มโอที่ออกไปปนเปื้อนในธรรมชาติเมื่อ ๒ ปีก่อน ซึ่งจนบัดนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนในการควบคุมการแพร่กระจาย ไม่นับรวมระบบการติดฉลากให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกซื้อ หรือไม่ซื้อสินค้าที่มีส่วนประกอบของจีเอ็มโอที่ยังง่อนแง่นเต็มที


 


อย่าลืมว่า เทคโนโลยีนี้มีเจ้าของ และเจ้าของเทคโนโลยีนี้คงไม่อนุญาตให้ใครใช้เมล็ดพันธุ์ของเขาฟรีๆ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ดังที่มีเกษตรกรในต่างประเทศโดนบรรษัทฟ้องร้องมาแล้ว


 


เรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่การ "ไม่อยากตกขบวนรถไฟ" ดังที่นายกฯ ทักษิณกล่าว แต่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไร ใช้ประโยชน์อย่างไร ควบคุมอย่างไร ไม่ให้กระทบต่อสิทธิผู้บริโภค สิทธิเกษตรกร และความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย


 


ที่สำคัญ กระบวนการกำหนดนโยบายเรื่องนี้ต้องโปร่งใสอย่างยิ่ง เพราะเราต่างก็รู้ว่าบรรษัทยักษ์ใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพนี้มีความสัมพันธ์และมีบทบาทสูงยิ่งในรัฐบาลวอชิงตัน ซึ่งกำลังผลักดันจีเอ็มโอ ผ่านระบบการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการทำเอฟทีเอ อย่างขมีขมัน


 


เรื่องนี้ไม่หมู รับรอง !

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net