Skip to main content
sharethis

เอพี - อดีตนายกรัฐมนตรีเนปาลพร้อมด้วยนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ที่ถูกกษัตริย์เกียเนนทราคุมขังไว้ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้วเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (14 กุมภาพันธ์) ในขณะที่กษัตริย์ผู้ปกครองประเทศกำลังพบสิ่งท้าท้ายอย่างใหม่อีก โดยครั้งนี้เป็นการท้าทายจากศาลฏีกา


 


ถึงแม้ว่า การปฎิบัติการทางด้านกฎหมายที่ทำให้บรรดาเหล่านักโทษการเมืองทั้งหลายได้รับการปล่อยตัวนั้นไม่หวือหวาเหมือนกับบรรดาฝ่ายต่อต้านที่กำลังประท้วงและโจมตีจากกลุ่มกบฏที่กำลังสั่นคลอนเสถียรภาพของกษัตริย์เกียเนนทราอยู่ ทว่าการปฎิบัติการดังกล่าวกลับกำลังเป็นสิ่งท้ายทายตัวสำคัญทีเดียว


 


การเคลื่อนไหวของศาล เปรียบเสมือน "สาส์นที่ส่งไปถึงกษัตริย์ว่า พระองค์จะต้องเคารพกฎหมายด้วย" บิน็อด เนปาล หนึ่งในนักกฎหมายผู้ซึ่งทำคดีที่ทำให้นักโทษได้รับการปล่อยตัว


 


เฌอร์ เบหาดูร์ ดีอูบา นายกรัฐมนตรีซึ่งถูกกษัตริย์เกียเนนทราขับไล่ออกไปก่อนที่จะยึดอำนาจได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระหลังจากที่ศาลฎีกาของเนปาลได้ขจัดคณะกรรมการต่อต้านคอรัปชั่นผู้ทรงอำนาจที่ได้จับตัวเขาไปขังคุกออกไป นอกจากนายกรัฐมนตรีแล้ว นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ผู้นำนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อีก 43 คนก็ได้รับการปล่อยตัวด้วย


 


กษัตริย์เกียเนนทราเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 โดยอ้างว่า พระองค์กระทำไปเพื่อที่จะปราบปรามกลุ่มกบฏนิยมลัทธิเหมาตัวร้าย และจะนำความเป็นระเบียบเรียบร้อยกลับคืนสู่ประเทศที่กำลังมีความวุ่นวายทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น


 


นับแต่นั้นมา นักเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิมนุษยชนและการเมืองนับร้อยๆ คนก็ถูกจับไปขังคุก


 


เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ถูกปล่อยตัวออกจากคุกในกาฎมัณฑุ ตอนเที่ยงคืนของวันอังคาร ดีอูบา ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลกลับคืนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และบอกให้ผู้ที่สนับสนุนเขานั้นมารวมกันที่บ้านของเขา "ผมจะอุทิศกายเพื่อวัตถุประสงค์อันนี้"


 


ในการกำจัดคณะกรรมการเพื่อควบคุมการคอร์รัปชั่นออกไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น ทางศาลกีฎาได้แถลงว่า "การก่อตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขัดต่อบรรทัดฐานและจิตวิญญาณของรัฐธรรมนูญ"


 


คณะกรรมการควบคุมการคอร์รัปชั่นนั้นถือเป็นแกนหลักของโครงการของกษัตริย์เกียเนนทราที่จะกวาดล้างระบบการเมืองของเนปาลและเพื่อปราบปรามพวกก่อความไม่สงบซึ่งอ้างว่ามีอยู่ถึงประมาณ 13,000 ตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา


 


การขจัดคณะกรรมการชุดนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่โหมเข้าสู่กษัตริย์เกียเนนทราซึ่งความนิยมได้เสื่อมลงไปเมื่อถูกสั่นคลอนโดยกลุ่มกบฏและพรรคฝ่ายค้านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งจัดได้ว่าเป็นก้าวแรกแห่งการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย ที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเพียง 20% ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องน่าละอายอย่างยิ่ง


 


ดิป กุมาร์ อุปทยา เจ้าหน้าที่ของพรรคเนปาลี คองเกรส เดโมแครต ของดีอูบา ถือการตัดสินใจของศาลฎีกาว่า "เป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยและเป็นความพ่ายแพ้ของระบบกษัตรย์ผู้ละเมิด"


ดีอูบา มีดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ปฎิเสธที่จะตอบคำถามคณะกรรมการควบคุมการคอร์รัปชั่น เพราะถือว่าเป็นหน่วยงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


 


แม้ว่าดีอูบาจะเรียกร้องผลักดันให้เกิดประชาธิปไตย ทว่าฝ่ายค้านในเนปาลก็ยังคงไม่ได้รับความนิยมพอกับกษัตริย์เกียเนนทรา เนื่องจาก 14 ปีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นก็เต็มไปด้วยการขัดแย้งและการคอร์รัปชั่น


 


ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้กษัตริย์เกียเนนทรายึดอำนาจ เพราะการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเกินกำหนด 2 ปีแล้ว และรัฐบาลชั่วคราวก็อ้างว่าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เนื่องจากการก่อความไม่สงบของกบฏลัทธิเหมา และในขณะนั้นประชาชนชาวเนปาลส่วนใหญ่ก็สนับสนุนกษัตริย์เกียเนนทรา


 


การปล่อยตัวออกมาอีก 43 คนนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กดดันและเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งข้อกล่าวพวกเขา ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะผู้ถูกจับกุมจากการจัดการชุมชุมประท้วงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งก็ยุติลงไปแล้ว ดังนั้นรัฐบาลเห็นว่า ควรจะปล่อยตัวพวกเขาออกไปดีกว่าที่จะให้ไปทะเลาะกันในศาล


 


..............................................................................

ที่มา : http://www1.wsvn.com/news/articles/world/MI15622/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net