Skip to main content
sharethis


 


นิวยอร์ค ไทม์- 19 ก.พ. 2549 การศึกษาเรื่องสุขภาพผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปที่ใช้เวลานานถึง 7 ปี พบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทแคลเซียมและวิตามินดี ไม่มีผลในการป้องกันโรคกระดูกพรุนมากนัก แม้ว่าแพทย์ส่วนใหญ่จะรับรองอาหารเสริมเหล่านี้


 


การศึกษาดังกล่าวยังไม่พบหลักฐานใดๆ ด้วยว่าอาหารเสริมเหล่านี้จะสามารถช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ แต่กลับพบว่า อาจส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดนิ่วในไตเพิ่มขึ้นด้วย


 


ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคกระดูกพรุนกล่าวว่า ผลการศึกษาดังกล่าวที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ ( Journal of Medicine) ในนิวอิงแลนด์ในวันที่ 16 กพ.นั้น ดูเหมือนว่า จะสร้างความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้นกับสิ่งที่เคย ปฎิบัติกันมาอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์ที่แนะนำกับผู้หญิงควรที่จะบริโภคอาหารเสริมที่มีแคลเซียมและวิตามินดี อย่างช้าที่สุดก็ควรเริ่มในช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายการประกันสุขภาพในส่วนของการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วย แต่นอกเหนือไปจากสิ่งนี้แล้วก็ยังไม่มีข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับว่าผู้หญิงที่สุขภาพแข็งแรงจะต้องทำอย่างไรบ้าง


 


การศึกษาดังกล่าวนี้ได้จัดทำขึ้นภายใต้โครงสุขภาพของผู้หญิง (Women"s Health Initiative) ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่ใช้งบประมาณถึง 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( ประมาณ 720 ล้านบาท ) ทางโครงการได้รายงานผลการศึกษาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อาหารไขมันต่ำ ไม่ได้มีผลต่อการป้องกันมะเร็งลำไส้ มะเร็งทรวงอกและ โรคหัวใจ เมื่อ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ทางโครงการได้ทำการศึกษาเรื่องการรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ( Hormone Treatment) หลังช่วงวัยหมดประจำเดือนนั้นพบว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าเป็นประโยชน์


 


และผลการศึกษาครั้งใหม่ในเรื่องแคลเซียมและวิตามินดีนี้ ก็เหมือนกับครั้งอื่นๆ ที่ได้สร้างความสับสนให้กับความเชื่อที่มีมาโดยตลอดและทำให้เกิดคำถามเกี่ยวสาส์นทางด้านสาธารณสุขที่เคยถูกหยิบหยกขึ้นมาบอกกับประชากรทั้งหมดขึ้น


 


ในทุกๆกรณี ทางโครงการสุขภาพของผู้หญิงได้ทดสอบสมมติฐานที่ปรากฏขึ้นมาจากการศึกษาที่ใช้การสังเกตกลุ่มประชากรและ โยงกับการปฎิบัติตัวในด้านสุขภาพกับผลทางการแพทย์ที่ออกมา ทว่า การศึกษาโดยการสังเกตนั้น นักสถิติกล่าวว่า ย่อมนำไปสู่ไปสู่ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เพราะว่า กลุ่มที่ปฎิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัดอาจจะแตกต่างกันจากกลุ่มที่ไม่ปฎิบัติตามในทางใดทางหนึ่งก็ได้ ผู้นำในการศึกษากล่าวว่า มีตัวที่บอกเป็นนัยอยู่บ้างถึงประโยชน์ของอาหารเสริมดังกล่าวจากการศึกษาในกลุ่มย่อยบางกลุ่ม แต่ว่า ผลกระทบในทางบวกเพียงอย่างเดียวของอาหารเสริม ( แคลเซียมและวิตามินดี) ที่พบในการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่มีสุขภาพดีวัยตั้งแต่ 50-79 ปี จำนวน 36,282 คน ก็คือ ความหนาแน่นของกระดูกสะโพกเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์


 


ผู้ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้จะมีการสุ่มให้ผู้ที่เข้าร่วมทดลองที่ส่วนหนึ่งจะได้กิน แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม และวิตามินดี 400 ไอยู ( International Unit) ต่อวัน และอีกส่วนหนึ่งจะได้รับยาหลอก (Placebo) และมีการติดตามผลตลอดระยะเวลา 7 ปี นักวิจัยตรวจความหนาแน่นของกระดูก การแตกร้าวของกระดูก และมะเร็งลำไส้  การที่ค้นพบว่า ( แคลเซียมและวิตามินดี)ไม่มีผลกับเรื่องของมะเร็งลำไส้ตลอดช่วงระยะเวลา 7 ปีนั้นเป็นที่ชัดเจนว่าได้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันขึ้นมาบ้างเล็กน้อยแต่ส่วนที่ว่า ไม่มีผลกับกระดูกนั้นก็เพิ่มขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง


 


ผู้ที่ทำการศึกษาค้นคว้านั้นได้เน้นถึงข้อมูลที่บอกเป็นนัยและข้อมูลที่สมเหตุสมผลทางชีววิทยา เมื่อดูเฉพาะผู้หญิงที่กินแคลเซียมและวิตามินอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หรือ คนที่กินยาของตัวเองไป 80% นั้น พบว่า อาหารเสริมดังกล่าวได้ลดการแตกของกระดูกสะโพกลงไป 29%  ในกลุ่มผู้หญิงกินอาหารเสริมสม่ำเสมอมีอัตราการแตกร้าวของกระดูกสะโพกอยู่ที่ 10 ต่อ 10,000 คน ต่อปีเทียบกับที่ผู้หญิงที่กินยาหลอกจะอยู่ที่ 14 ต่อ 10,00 คน ต่อปี


 


ในการแยกออกมาทำการศึกษาในกลุ่มย่อยในกลุ่มผู้หญิงวัย 60 ปี ขึ้นไป ทางผู้ค้นคว้าพบว่า การแตกของกระดูกสะโพกลดลง 21 % ในกลุ่มผู้หญิงที่กินแคลเซียมและวิตามินดี อัตราส่วนของผู้หญิงที่กระดูกสะโพกแตก 19 ต่อ 10,000 ในกลุ่มที่กินแคลเซียมและวิตามินดี ส่วนที่ได้ยาหลอกนั้นอยู่ที่ 24 ต่อ 10,000 คน


 


แต่การวิเคราะห์ในกลุ่มย่อยนั้นถูกตั้งคำถามมากมายจากนักสถิติผู้ที่ชี้ว่า มักจะมีกลุ่มย่อยเกิดขึ้นเสมอในการการศึกษาใหญ่ๆแบบนี้ที่จะแสดงให้เห็นว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางครั้งก็เป็นเรื่องบังเอิญ


 


ดอรี่ คัคพูร์ ( Dori Khakpour) โภชนากรจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า เมื่อมองไปถึงว่ามีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคนเป็นหมื่นๆคน " เราไม่แน่ใจว่าเรากำลังค้นหาอะไรอยู่ คำตอบนั้นไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เราคิดว่าเขากำลังทำอยู่"


 


" คำถามที่นี้ก็คือว่า เป็นแคลเซียมชนิดไหนที่นำมาใช้" คัคพูร์ กล่าว โดยที่ ซูซาน จินส์ โภชนากรจากซีแอตเติ้ลก็มีคำถามเดียวกัน


 


" มันมีความแตกต่างกันมากในเรื่องของการดูดซับแคลเซียม แคลเซียม ไซเตรต จะดูดซับได้ง่ายกว่า แคลเซียม คาร์บอนเนต ( ซึ่งเป็นแคลเซียมดัวที่ใช้ทำการศึกษา)" จินส์ กล่าว


 


อย่างไรก็ตาม ดร. อลิซาเบธ เนเบล ผู้อำนวยการการศึกษา กล่าวว่า ข้อมูลจากกลุ่มย่อม และ ความหนาแน่นของกระดูกสะโพกที่เพิ่มขึ้น ก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วแคลเซียมและวิตามินดีมีค่าพอ


 


"อิงตามผลที่ได้ออกมานี้ โดยเฉพาะอย่ายิ่งในกลุ่มที่อายุมากกว่า 60 ปี ก็น่าที่จะพิจารณาได้ว่าควรจะกินแคลเซียมและวิตามินดีเพื่อสุขภาพของกระดูก"


 


ดร. อีเธล ซีรีส ประธานมูลนิธิภาวะโรกระดูกพรุนแห่งชาติ ( National Osteoporosis Foundation) กล่าวว่าผลการศึกษาครั้งใหม่ทำให้เธอเกิดคำถามต่อคำแนะนำของของแพทย์จำนวนมากที่บอกว่าให้ผู้หญิงกินอาหารเสริมแคลเซียมไม่ว่าจะอยู่อาหารประเภทใดก็ตาม " เราไม่คิดว่ามันจะเป็นผลเสียอะไร ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุว่าทำไมหมอถึงได้สั่งให้กินประจำทุกวัน"


 


"แต่ว่าการศึกษาในครั้งใหม่นี้แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารเสริมมันมีผลเสียอยู่ด้วย ในกลุ่มผู้หญิงที่กินแคลเซียมเสริมนั้นพบว่า ในแต่ละปีมีผู้หญิง 5 ใน 10,000 รายจะเป็นนิ่วในไต" ดังนั้นซีรีสจึงกล่าวว่า ข้อแนะนำของเธอก็คือ หมอควรจะกระตุ้นในกลุ่มผู้หญิงซึ่งมีแคลเซียมไม่เพียงพอเท่านั้น ทั้งนี้ ร่างกายควรจะได้รับ 1,200 ถึง 1,500 มิลลิกรัมต่อวันจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน


 


ดร.คลิฟฟอร์ด โรสเซ็น ผู้อำนวยการ ศูนย์เพื่อการศึกษาและวิจัยภาวะกระดูกพรุนแห่งรัฐเมน ในเมืองแบงกอร์ กล่าวว่า ต่อไปนี้เขาจะเก็บแคลเซียมและวิตามินดีเสริมไว้ใช้กับผู้หญิงอายุเกิน 70 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อกระดูกสะโพกแตกและให้ผู้ที่ไม่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอ


 


"นี่เป็นสิ่งใหม่ทางด้านสาธารณสุข" โรสเซ็นกล่าว " เราเคยแนะนำให้กับทุกๆคนใช้ แต่ว่ามันอาจจะไม่ได้ผลในกลุ่มคนส่วนใหญ่เสียแล้ว หรือไม่อย่างนั้นก็ผลกระทบที่ได้ก็น้อยเกินไป และมันก็เพิ่มการเกิดนิ่วในไต มันไม่ใช่การศึกษาที่ไม่มีความหมายอะไร"


 


ผู้หญิงจากซีแอตเติ้ล 2 คนที่อยู่ในกลุ่มผู้หญิงที่สุขภาพดีวัย 50 -70 ปี กล่าวว่า พวกเธอต้องการข้อมูลที่มากว่านี้ บาบาร่า โฟลเลอร์ กินแคลเซียมวันละ 1,800 มิลลิกรัมมาเป็นเวลา 15 -20 ปี และสูญเสียกระดูกและมีภาวะกระดูกพรุน เธอกินยาตัวอื่นอีกสองตัวเพื่อช่วยใช้สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีดีขึ้น " หมอของฉันเคยบอกว่า แคลเซียมที่ฉันกินเข้าไปนั้นไม่มีผลใดๆต่อนิ่วในไต" โฟลเลอร์กล่าว และเธอก็จะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป


 


ลู ลอร์ตัน กล่าวว่า เธอกินแคลเซียมวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลาประมาณ 6 ปี " นั่นคงไม่เพียงพอสำหรับผู้หญิงในวัยฉัน แต่ฉันก็ได้เสริมด้วยอาหารต่างๆที่ประกอบด้วยแคลเซียม เช่น โยเกิร์ต ชีส นม และผักสีเขียวต่างๆ"


 


ผู้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ตระหนักว่า พวกเขาจะต้องนำสิ่งที่ค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์นี้ไปประยุกต์ใช้กับสาส์นที่เป็นที่นิยมอยู่แล้วในหมู่คนจำนวนมากซึ่งได้จุดไฟให้อุตสาหกรรมแคลเซียมเสริมนี้บูมขึ้น โดยมียอดจำหน่ายถึงปี 933 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2004 จากรายงานของดร.โจเอ็ล ฟริงเคลสไตน์ นักวิจัยภาวะกระดูกพรุน แห่งโรงพยาบาลเมสซาชูเซส ในบอสตัน


 


"อาหารเสริมประเภทแคลเซียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในบรรดากลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีมูลค่านับพันล้านเหรียญ" ฟลิงเคลสไตน์ เขียนไว้ในบทบรรณาธิการ วารสารทางการแพทย์นิว อิงแลนด์


 


"สาส์นจากการวิจัยใหม่นี้อาจจะสร้างความสับสนให้กับกลุ่มผู้หญิงว่า แล้วอาหารเสริมเหล่านี้จะยังคงป้องกันพวกเธอได้อยู่หรือเปล่า" ฟิงเคลสไตน์กล่าว


 


ข้อมูลเพิ่มเติม


เคล็ดลับเพื่อกระดูกที่แข็งแรง



  • อย่าเพิ่งโยนแคลเซียมทิ้งไป ถ้าคุณกินแบบคาร์บอเนตอยู่ คุณอาจจะต้องเปลี่ยมมากินแบบไซเตรตหรือ คอรอล แคลเซียมแทนซึ่งซึ่งร่างกายสามารถดูดซับได้งายกว่า

  • แค่กินเฉพาะ แคลเซียมกับวิตามินดีเท่านั้นจะไม่ช่วยป้องกันกระดูก แมกนีเซียม โบรอน สังกะสี และวิตามินอื่นๆ ( เช่น ซี เค และ บี 12) ก็เป็นสิ่งจำเป็นด้วย

  • แอปเปิลและโยเกิร์ตเป็นส่วนผสมที่ลงตัวสำหรับโภชนาการเพื่อกระดูกที่แข็งแรง และอย่าลืมผักใบเขียว ปลา ถั่ว และธัญญพืชทั้งหลายด้วย

  • เลือกกินอาหารเสริมที่มีวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม และน้ำส้ม

  • การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับน้ำหนักก็เป็นประโยชน์ต่อกระดูก

  • กาแฟ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และ อาหารเค็มจัด จะดูดแคลเซียมออกจากกระดูก


 


ที่มา: http://seattlepi.nwsource.com/health/259716_bones16.html


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net