Skip to main content
sharethis

โดย ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, อดิศร เกิดมงคล


อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ*


 


ใครบางคนเล่าถึงงานวิจัยเกี่ยวแม่น้ำสาละวิน หรือตาลวิน (Thanlawin) หรือน้ำคง (Nam Kong) สายน้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดเป็นอันดับสองแห่งอุษาคเนย์ให้ฟังว่า สองฝั่งของแม่น้ำสายนี้เป็น "บ้าน" ของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๑๓ กลุ่ม เช่น ไทยใหญ่ ว้าหรือลั๊วะหรือละว้า คะยาหรือคะเรนนีหรือกะเหรี่ยงแดงหรือบะแว อาระกันหรือยะไข่ ปะโอ ปะหล่องหรือดาระอั้ง ปะด่อง อาข่า ลีซู อินตาแล ฯลฯ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นลุ่มน้ำที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ชนพื้นเมืองมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ละครัวเรือน รวมกันเป็นชุมชนขนาดย่อม ปรากฎตัวตามที่ราบเล็กๆ กลางหุบเขา หรือที่ราบริมฝั่งสาละวิน


 


งานวิจัยชิ้นนี้เป็นน้ำพักน้ำแรงของคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในเขตอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน[i]  พวกเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายแห่งสายน้ำสาละวิน ...เกิด เติบโตและจากไป-จากรุ่นปู่ทวดสู่รุ่นพ่อรุ่นลูกหลาน ความรู้และวัฒนธรรมในชุมชนเป็นสิ่งที่ยึดโยงคนแต่ละรุ่น- "ฉกี่คึ" หรือ "ไร่เหล่า" หรือ "ไร่ข้าว" คือวิถีการเกษตรหมุนเวียนที่รักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน, การทำนาข้าว ในบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งลำห้วย โดยใช้วิธีขอยืมน้ำจากลำห้วยให้ไหลผ่านนาขั้นบันไดไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว และไหลกลับคืนลำห้วยดังเดิมนั้นเป็นระบบเหมืองฝายในวิถีพื้นบ้าน,  วิธีการจับปลาในแก่ง วังน้ำ หาดทรายหรือตามลำห้วยสาขา, การเลือกเก็บพืชผักเพื่อมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ฯลฯ   นอกจากมันจะหมายถึงการได้มาซึ่งอาหารเพื่อยังชีพแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ผืนป่าสาละวินที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ข้าวพื้นเมืองและพันธุ์ปลาที่ยังคงความหลากหลาย (พันธุ์ข้าวพื้นเมืองร่วม ๕๒ ชนิด พันธุ์ปลาร่วม ๗๗ ชนิด) รวมไปถึงความหลากหลายของพืชผักริมฝั่งสาละวิน ที่เป็นอาหาร (๓๙ ชนิด) เป็นสมุนไพร (๗๗ ชนิด) รวมถึงหลายชนิดสามารถเป็นได้ทั้งสองอย่าง (๒๓ ชนิด)  เป็นหลักฐานยืนยันได้ดีถึงวิถีชีวิต องค์ความรู้ และจารีตแห่งชุมชนที่เคารพและปกป้องนิเวศน์แห่งผืนป่าและสายน้ำ


 


อย่างไรก็ดี หลายปีที่ผ่านมาชุมชนสองฟากฝั่ง สายน้ำ สัตว์ป่าและผืนป่าแห่งสาละวินกำลังถูกคุกคามจากโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่โดย ๒ รัฐริมฝั่งไทย-พม่า หรือ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำสาละวินชายแดนประเทศไทย-เมียนม่าร์ ทุกชีวิตกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการโครงการฯ ...ซ้ำเติมปัญหาและความทุกข์ก่อนหน้า


 


 


แนวพรมแดนแห่งการละเมิดสิทธิ


๑. รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม-ข้อมูลที่หายไป


 


"การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าวทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ"


มาตรา ๕๖ วรรค ๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐


 


"บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ"


มาตรา ๕๙ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..๒๕๔๐


 


 


ดูจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วว่า ภายใต้การดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้น ข้อมูลที่สืบค้นหาได้ง่ายที่สุดเห็นจะเป็นข้อมูลด้านบวกหรือผลประโยชน์ที่อาจได้รับจากโครงการฯ


 


เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวบรวมและสรุปความถึงข้อมูลจำเพาะของโครงการได้ความว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินนั้น ประกอบไปด้วยโครงการเขื่อนท่าซาง ตัวเขื่อนแม่และเขื่อนลูก  (เนื่องจากทั้งสองโครงการใช้เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าแบบสูบน้ำจากเขื่อนด้านล่างกลับขึ้นไปใช้ใหม่แต่ละโครงการจึงต้องสร้างเขื่อนสองเขื่อนควบคู่กัน คือ เขื่อนแม่และเขื่อนลูก)  กั้นแม่น้ำสาละวินบริเวณท่าเรือท่าซาง ตอนใต้ของรัฐฉาน ประเทศพม่า ห่างจากชายแดนไทยด้านจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร  มีบริษัท MDX บริษัทสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าเอกชนของไทยเป็นเจ้าของโครงการร่วมกับรัฐบาลพม่า  เริ่มดำเนินโครงการในปี ๒๕๔๑ กำลังการผลิตรวมประมาณ ๓,๓๐๐ เมกะวัตต์  อีกโครงการคือโครงการเขื่อนสาละวินตอนบน (ตั้งอยู่ที่เว่ยจี) และตอนล่าง (ตั้งอยู่ที่ ดา-กวิน) กั้นแม่น้ำสาละวิน บริเวณอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นเจ้าของโครงการร่วมกับรัฐบาลพม่า[ii]


 


พ้นไปจากข้อมูลจำเพาะของโครงการ ข้อมูลอีกด้านที่ถูกเปิดเผยจากหน่วยงานรัฐไทยอย่างกฟผ. ก็กลับปรากฎเพียงคำชวนเชื่อถึงค่าไฟราคาถูกที่ราคา ๙๐ สตางค์ต่อหน่วย


 


ขณะที่ข้อมูลสำคัญที่สุด แต่ยังขาดความชัดเจนที่สุดก็คือ คำถามของผู้คนและชุมชนแห่งสาละวิน รวมถึงทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมมีอย่างไรบ้าง กี่ชีวิตกี่ชุมชน กี่ตารางกิโลเมตรของพื้นที่ทั้งในฝั่งรัฐไทยและพม่าที่จะถูกท่วมกลืนจากโครงการก่อสร้างเขื่อน มาตรการลดผลกระทบจะเป็นอย่างไร การเยียวยาความเสียหายที่หากเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรฯลฯ


 


ถึงปัจจุบัน ต่อคำถาม ความสงสัยนี้มีเพียงข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ ที่ว่า ผลกระทบของเขื่อนตอนบนที่เว่ยจีนั้น จะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่รัฐคะเรนนีในรัฐพม่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวินในฝั่งรัฐไทย ส่วนเขื่อนตอนล่างจะทำให้น้ำท่วมรัฐกะเหรี่ยงในฝั่งพม่า และอุทยานแห่งชาติสาละวินฝั่งไทย โดยมีข้อมูลประเมิน "อย่างไม่เป็นทางการ" ระบุว่าพื้นที่กว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ และ กว่า ๒๘ หมู่บ้านอาจถูกน้ำท่วม โดยพื้นที่ทางการเกษตร ๒๕-๓๐% ต้องจมน้ำเกือบทั้งอำเภอ[iii] โดยเฉพาะบ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ชุมชนไทย-กะเหรี่ยง กว่า ๓๐๐ หลังคาเรือนแห่งนี้ ถูกประเมินว่า "ชุมชนแห่งนี้จะตกอยู่ภายใต้ลำน้ำทั้งชุมชน" เพราะผลการสำรวจจากกรมป่าไม้ถึงความเหมาะสมและจุดที่ตั้งของสันเขื่อน พื้นที่บริเวณนี้กลับระบุว่า "ไม่มีหมู่บ้านและคนอยู่อาศัย"[iv]


 


นอกจากนี้ ในระหว่างทางของโครงการฯ ยังไม่ปรากฎว่ามีการดำเนินขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและชุมชนผู้ได้รับผลกระทบและ/หรืออาจจะได้รับผลกระทบ หรือการประชาพิจารณ์อย่างเป็นทางการ


 


"การทำประชาพิจารณ์ แสดงความเห็น เค้าทำกันในอำเภอจะให้เราเดินทางเข้าไปในเมืองบ่อย ๆ เราก็ลำบาก กว่าจะเดินทาง กว่าจะเข้าไปในเมือง ต้องเสียค่าเรือ เสียค่าใช้จ่าย ทำไมเค้าไม่ถามเราบ้าง" คือเสียงสะท้อนจากชาวบ้านท่าตาฝั่ง[v]


 


 


๒. "สถานะบุคคล" ของชีวิตที่ขอบเส้นพรมแดนสาละวิน


 


๒.๑  "ชนพื้นเมือง" ในเงาของ "ชาวเขา" "ชาวไทยภูเขา" และ "บุคคลบนพื้นที่สูง"


ผู้คนที่เกิดและตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนใดดินแดนหนึ่งมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ รวมถึงก่อนการเกิดขึ้นของรัฐ-ชาติ สั่งสมความรู้ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะและยึดถือเป็นจารีตแห่งชุมชน ในสายตาของสังคมภายนอกที่มีขนาดใหญ่กว่า ความแตกต่างที่ว่าอาจถูกพิจารณาได้ว่าชุมชนลักษณะนี้เป็นคน-ชุมชนดั้งเดิมในดินแดน หรือชนพื้นเมือง (Indigenious People/Native)


 


แต่สำหรับรัฐไทยแล้ว อัตลักษณ์ของชนพื้นเมืองยังไม่เคยปรากฏ หรือได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ หากคนและชุมชนพื้นเมืองลักษณะนี้ จักอยู่ภายใต้การจำแนกและนิยามที่หลากหลาย ได้แก่


 


หนึ่ง- กรมการปกครอง นิยามว่าเป็น "ชาวเขา" โดยให้หมายถึง  "...ชาวเขาเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว[vi]


 


สอง-ปี ๒๕๒๘ กรมประชาสงเคราะห์[vii] นิยามว่าว่าเป็น "ชาวเขา" โดยให้หมายถึง กลุ่มชนชาติส่วนน้อย ที่อาศัยถาวรในพื้นที่สูงและทุรกันดารของภาคเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐไทย มีภาษา ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรมแตกต่างจากชาวไทยพื้นราบ โดยแบ่งเป็น 9 เผ่าหลักคือ (๑) กะเหรี่ยง เป็นเผ่าที่อาศัยอยู่ในรัฐไทยมากว่า ๒๐๐ ปีขึ้นไป ในรัฐไทยแบ่งเป็นกลุ่มสะกอว์ (ปกากญอ) และโปว์ (โพลว์) รวมตัวกันหนาแน่นผืนป่าด้านตะวันตก (๒) แม้ว (ม้ง)  (๓) เย้า (เมี่ยน) (๔) อีก้อ (อาข่า) (๕) มูเซอ (ลาหู่) (๖) ลีซอ (ลีซู) (๗) ลัวะ (๘) ถิ่น (ลัวะเมืองน่าน) (๙) ขมุ (๑๐) ตองซู (กะเหรี่ยงปะโอ) และ (๑๑) ตองเหลือง (มลาบรี)[viii]


 


สาม-ช่วงปี ๒๕๓๕ กรมการปกครอง นิยามว่าเป็น "ชาวไทยภูเขา" โดยให้หมายถึง บุคคลดั้งเดิม ซึ่งเป็นชาวเขาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนพื้นที่สูงซึ่งเป็นป่าเขาในประเทศไทย มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เชื้อชาติ ภาษา ความเชื่อ ตลอดจนวิถีทางการดำเนินชีวิตแตกต่างไปจากชาวไทยพื้นราบ ได้แก่ (๑) แม้ว (๒) เย้า (๓) มูเซอ (๔) ลีซอ (๕) อีก้อ (๖) กะเหรี่ยง (๗) ลัวะ (๘) ถิ่น (๙) ขมุ และ (๑๐) กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับชาวเขาซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด[ix]


 


สี่-นับจากปี ๒๕๔๓ เป็นต้นมา กรมการปกครอง นิยามว่าเป็น "บุคคลบนพื้นที่สูง" โดยให้หมายถึง (๑) บุคคลซึ่งเป็นชาวไทยภูเขา (๒) คนไทย (๓) กลุ่มชนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง[x] ซึ่งรัฐบาลมิได้มีนโยบายดูแลดำเนินการเป็นการเฉพาะ และ (๔) บุคคลบนพื้นที่สูงที่อพยพลงมาอาศัยอยู่บนพื้นราบด้วย[xi]


 


อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะภายใต้นิยาม ชาวเขา, ชาวไทยภูเขา หรือบุคคลบนพื้นที่สูง ในแง่สถานะบุคคล (หรือสถานะบุคคลตามกฎหมาย-Personal Legal Stauts) ภายใต้กฎหมายรัฐไทย ชนพื้นเมืองย่อมต้องถือว่าเป็น "บุคคลผู้มีสัญชาติไทย"


 


กล่าวโดยรวบรัดก็คือ โดยหลักทั่วไปแล้ว อายุที่ยาวนานของรุ่นคนและชุมชนที่เกิดและอาศัยอยู่ในรัฐไทย ย่อมส่งผลให้หลายชีวิตดังกล่าวมีสถานะบุคคลเป็นผู้มีสัญชาติไทยตั้งแต่ปี ๒๔๕๖ (เป็นไปตามหลักหลักดินแดน ตามมาตรา ๓ (๓) แห่งพ...สัญชาติ พ..๒๔๕๖[xii]   รวมถึงบุตร-หลานก็ย่อมเป็นคนไทยโดยหลักสืบสายโลหิตและหลักดินแดนด้วย


 


อย่างไรก็ดี มีประเด็นในทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐไทยที่เป็นปัญหาสำคัญอยู่ประการหนึ่งว่า สถานะบุคคลเป็นผู้มีสัญชาติไทยนั้น ต้องมีหลักฐาน หรือ เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper)[xiii] มายืนยัน รูปธรรมง่ายๆ ก็คือ ใครอ้างตัวว่าเป็นไทย ก็ควรที่จะต้องมีสูติบัตรประเภทคนไทย หรือท..,  ทะเบียนบ้านประเภทคนไทย หรือท..๑๔,  บัตรประจำตัวประชาชนคนไทย ฯลฯ มาแสดง แม้ว่าในข้อความจริงจะเป็นคนไทย แต่หากไม่มีหลักฐานมายืนยัน ก็เท่ากับว่ายังเป็นคนไร้สัญชาติอยู่ในทางข้อเท็จจริงอยู่ (De Facto Nationalityless Person)  และการได้มาซึ่งความเป็นคนไทยตามข้อกฎหมาย (De Jure Thai National)  นั้น จำเป็นต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์[xiv]  ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย[xv]


 


 


๒.๒ ชนพื้นเมืองในเงาของ "ชนกลุ่มน้อย" และ "ผู้อพยพ"


ภายใต้สถานการณ์การกวาดล้างชนกลุ่มน้อยในรัฐพม่าที่ทำให้เกิด "ผู้อพยพ" หรือ "ผู้พลัดถิ่น (Displace Person) หรือ ผู้ลี้ภัย (Refugee)  ข้ามพรมแดนมายังฝั่งรัฐไทย ชนพื้นเมืองจึงถูกนำไปพิจารณาปะปนกับผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในสายตาของรัฐไทยด้วยเช่นกัน


 


แม้จะมีนิยามต่อ ผู้อพยพ โดยหน่วยงานอื่นของรัฐไทย[xvi] แต่การจำแนกและนิยามผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัย ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กลับมีบทบาทมากว่าทั้งในระดับนโยบายและทางปฏิบัติ โดยกำหนดว่าให้หมายถึง "บุคคลที่มิได้มีสัญชาติไทย จำนวนน้อยกว่าเจ้าของประเทศ และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกันไป เข้ามาหรืออาศัยอยู่ในรัฐไทย โดยวิธีการและลักษณะต่างๆ กัน เช่น อยู่มาดั้งเดิม หลบหนีเข้าเมืองมาพักอาศัยชั่วคราว"[xvii]  และดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อย หรือ "บัตรสี" ซึ่งทั้งหมดมีด้วยกัน ๑๗ กลุ่ม[xviii]


 


จึงไม่ใช่ภาพที่น่าแปลกใจที่จะเห็น ชนพื้นเมืองแห่งสาละวินบางคนมีบัตรสีที่แสดงตนว่าเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ อาทิ บัตรสีฟ้า (บัตรบุคคลบนพื้นที่สูง) บัตรสีชมพู (บัตรผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า) บัตรสีส้ม (บัตรผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า) บัตรสีเขียวขอบแดง (บัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง) บัตรแรงงานต่างด้าว หรือถือกระดาษ A4 ท.ร.๓๘ และที่สำคัญ หลายคนอาจไม่มีบัตรอะไรเลย


 


๒.๓ ผู้บุกรุก?


"อ่อ ที กะต่อ ที เหม่ เก อ่อ ก่อ กะต่อ ก่อ เหม่ เก


ใช้ผืนน้ำให้รักษาไว้ ใช้ผืนดินให้รักษาไว้


แพะ คึ ขุ ซี เส่ เตอะ เก แพะ คึ ขุ ซี หว่า เตอะ เก


ถางไร่อย่าฟันไม้ให้ตาย ฟันไร่อย่าถางไผ่ให้ตาย


เส่ หว่า เมะ ลอตุ ลอเช เปอะ บะ กอวี บะ กอเจ


หากไม้และไผ่หมดไป เราจะอดน้ำอดข้าวตาย


เปอะอ่อกะต่อ อ่อกะต่อ กุ อ่อ ปกา เล ตื่อ เล ตอ


เรากินไปเรารักษาไป เราจึงมีกินตลอดไป"


            จารีตแห่งชุมชนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงแห่งผืนป่าสาละวิน


 


ด้วยความที่ป่าสาละวินเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน และแนวเขาที่ทอดตัวจากเหนือจรดใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ประกอบด้วยเทือกเขาที่สำคัญๆ คือ ดอยขุนแม่หมอ ดอยผาตั้ง ดอยกองสุม ดอยเกาะแม่หลู่ และดอยขุนกองไหม ปกคลุมไปด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมี สัก แดง ประดู่ ชิงชัน มะค่าโมง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิด อาทิ เลียงผา กวางป่า เก้ง หมูป่า หมี หนูหริ่ง เสือปลา วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง กระต่ายป่า กระรอก กระแต ชะนี อีเห็น และนกชนิดต่าง ๆ, เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยวม แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำกองคา แม่น้ำแม่แงะ และแม่น้ำหาร ฯลฯ รวมไปถึงห้วยแม่แต๊ะหลวง ห้วยแม่แงะ ฯลฯ ด้วยสภาพอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายในผืนป่าแห่งนี้ บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงถูกนิยามทับซ้อนโดยหน่วยงานรัฐไทยให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ (ในปี ๒๕๐๕), เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (ในปี ๒๕๒๑ และปี ๒๕๒๔)[xix]  และเป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี ๒๕๓๗[xx]   นับจากนั้น...วิถีเกษตรแบบข้าวไร่หมุนเวียนและวิถีชีวิตที่พึ่งพิงระบบนิเวศน์แห่งสายน้ำและผืนป่าสาละวินที่สืบเนื่องจากรุ่นปู่ทวดของชุมชนแห่งสาละวิน ก็กลายเป็นสิ่งแปลกปลอมและผิดกฎหมายของรัฐไทย[xxi]   ทั้งๆ ที่ ข้อมูลของกรมป่าไม้เองก็ยอมรับว่า "ภายในป่าสาละวินนี้ มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อยู่ในแผ่นดินไทยมาแต่เดิม" [xxii]


 


วิถีไร่หมุนเวียน หรือ "ฉกี่คึ" เป็นระบบเกษตรเก่าแก่ที่ทำกันอยู่ทั่วโลก ตัด-ฟัน-เผา ทำในเขตป่า ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมแล้วกลับมาเป็นพื้นที่ป่าได้อีก และจะปลูกพืชชนิดต่างๆร่วมด้วย เช่น เผือก มัน ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วชนิดต่างๆ งา แตงชนิดต่างๆ ผักต่างๆ พริก มะเขือ ฯลฯ ทำให้ไร่ข้าวจึงกลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญของของครอบครัว เป็นระบบที่จับหัวใจระบบนิเวศแบบธรรมชาติได้ว่า ถ้าไม่หยุดกับที่หมุนพื้นที่ทำกิน ธาตุอาหารในดินก็กลับมาสู่สภาพเดิม  การทำไร่ของชาวบ้านจะมีการทำไร่หลายแปลง ตั้งแต่ 5-7 แปลง โดยจะมีการเวียนกลับมาทำเพาะปลูกเมื่อครบรอบ เพื่อให้ผืนดินได้พักฟื้นและคืนความอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติ ไม่ใช่ย้ายพื้นที่เกษตรไปเรื่อยๆ อย่างที่เข้าใจกัน แต่เมื่อพื้นที่ฟื้นตัวกลายสภาพเป็นป่า และชาวบ้านเข้าไปทำไร่ข้าว ก็ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความเข้าใจว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าใหม่ และนำไปสู่การจับกุม[xxiii]


 


สะท้าน ชีววิชัยพงษ์ หนุ่มไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงแห่งบ้านสบเมยเล่าว่า ชาวบ้านจะถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับทุกปี คนที่ถูกจับต้องเสียเงินร่วมหมื่นเป็นค่าปรับ ถ้าไม่มีเงินก็ถูกขังไป และแนวทางของกรมอุทยานแห่งชาติ (หรือกรมป่าไม้-เดิม) ที่มีต่อชุมชนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ไม่เฉพาะที่สาละวิน ก็คือ ชาวบ้านต้องเลิกการทำไร่หมุนเวียน ต้องย้ายออกไป


 


"จะให้เฮาย้ายไปไหน เฮาอยู่นี่ป่าบ่เคยหาย ผู้เฒ่าปกากะญอสอนลูกหลานไว้ กินน้ำต้องรักษาน้ำ อยู่ป่าต้องรักษาป่า ถ้าไม่ดูแลป่าหมู่เฮาจะอยู่ได้จะใด ไม่มีผักในป่า ไม่มีปลาในห้วย หมู่เฮาก็ตายกันหมด" พะตีนุ ชำนาญคีรีไพร ชาวบ้านสาละวินแห่งห้วยแม่ก๋อน เล่าให้ฟัง[xxiv]


 


" ขวัญของเรา "ปกาเกอะญอ" อยู่ที่ไร่


หน่อแวโถ่บีข่าอะโพ บือพอโอะ เก๊าะอะโจ


เธอคือลูกหลานของนกขวัญข้าว เธอจึงมียุ้งข้าวอยู่ทุกขุนเขา


 


"ถ้าเราทำไร่ไม่ได้...ก็จะไม่เหลือความเป็นปกากะญอ"[xxv]


 


 


๒.๔ คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และหมู่บ้านนอกแผนที่รัฐไทย


ก่อนที่แม่น้ำสาละวินจะมีสถานะทางกฎหมายเป็นพรมแดนทางน้ำระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตรระหว่างอาณาเขตรัฐไทย-พม่า สาละวินคือสายใยที่เชื่อมโยงเครือญาติของคนสองฝั่งฟาก แต่เมื่อรัฐ-ชาติกำเนิดขึ้น แต่การเคลื่อนไหว เคลื่อนย้าย ตัดข้ามพรมแดนยังคงสืบเนื่องอยู่ต่อมา หลายชีวิตของสองฝั่งสาละวินเริ่มได้ยินถึงนิยามที่เรียกบ้านของตัวเองว่า"พื้นที่ชายแดน" และพวกเขานั้นไม่ใช่ "คนไทย"


 


ข้อมูลจากงานวันเด็กไร้สัญชาติครั้งที่ ๔ ซึ่งจัดโดยศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (๖-๘ มกราคม ๒๕๔๙) ชี้ว่าหลายขีวิตหลายชุมชนที่สาละวินแห่งนี้ มีสถานะบุคคลที่หลากหลาย ข้อมูลในระหว่างการกล่าวเปิดงานของสิทธิชัย ประเสริฐศรี รองผู้ว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็คือ มีคนไร้รัฐไร้สัญชาติร่วม ๑๕๐,๐๐๐ คน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชนยังได้ยกตัวอย่างชุมชน ๒ แห่ง ที่ทั้งคนและชุมชนยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐไทย (Recognized by Thai State)


 


บ้านท่าเรือ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๘ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านสาขาของบ้านห้วยไชยยงค์ บ้านท่าเรือเป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ริมน้ำเงา สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนที่อพยพมาจากรัฐพม่า โดยมารับจ้างทำงานในเหมืองแร่ และยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านท่าเรือแม้ว่าเหมืองจะปิดตัวไปแล้ว จนถึงปัจจุบันชุมชนแห่งนี้มีอายุประมาณ ๓๐ ปี มีสมาชิกชุมชนจำนวน ๙๖ คน (๒๑ หลังคาเรือน) มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีถือบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง(บัตรสีฟ้า)[xxvi] นอกนั้นไม่มีใครมีเอกสารพิสูจน์ตน ใดๆ เลย จนกระทั่งปี ๒๕๔๒ กรมการปกครองได้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง (บัตรสีเขียวขอบแดง)[xxvii] ทำให้สมาชิกชุมชนจำนวน ๕๔ คน ได้รับบัตรสีเขียวขอบแดง อย่างไรก็ดี ในการสำรวจครั้งนั้น มีคนตกสำรวจ ๑๖ คน และมีคนที่เกิดหลังปี ๒๕๔๒ อีก ๕ คน


 


บ้านแม่ดึ๊ เป็นชุมชนกระเหรี่ยง ตั้งอยู่ริมขอบแม่น้ำสาละวิน เป็นหย่อมบ้านของบ้านแม่ก๋อน หมู่ ๕ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เดิมสมาชิกชุมชนแห่งนี้มีวิถีชีวิตอพยพเลื่อนไหลไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำสาละวิน โดยมีเครือญาติอยู่ทั้งในฝั่งไทยและพม่า แต่การกวาดล้างชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลพม่าที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเริ่มลงหลักปักฐานที่บ้านแม่ดึ๊อย่างถาวร จนถึงปัจจุบัน ชุมชนบ้านแม่ดึ๊มีอายุประมาณ ๑๗ ปี มีสมาชิกชุมชนจำนวน ๘๖ คน (๑๙ ครัวเรือน) แน่นอนว่า-ไม่มีใครได้รับสัญชาติไทย และเมื่อมีการสำรวจบัตรสีเขียวขอบแดงในปี ๒๕๔๒ ชุมชนบ้านแม่ดึ๊ก็ตกสำรวจทั้งชุมชน


 


"คำว่าสัญชาติเริ่มทำให้หนูรู้ดีว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต เมื่อหนูต้องสมัครขอทุนการศึกษาในโรงเรียน แต่เขาไม่รับ เพราะว่าหนูไม่มีทะเบียนบ้าน หนูไม่ใช่คนไทย แต่หนูเกิดในประเทศไทย หนูไม่มีหลักฐานตามที่รัฐเขากำหนด ทำให้หนูรู้สึกว่า ทำไมเราก็เป็นคนเหมือนกัน แต่เหมือนกับว่าคนไร้สัญชาติเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่ง"


ใหม่ (ไม่มีนามสกุล) บ้านท่าเรือ


 


"ช่วงที่เรียนผมได้เข้าร่วมแข่งฟุตบอล เป็นกีฬาระดับอำเภอเป็นรอบชิงชนะเลิศ พอกรรมการมาตรวจเช็คชื่อ เพราะระเบียบการแข่งขันเขาต้องมีใบทะเบียนบ้าน มีใบเกิด เพื่อดูอายุของนักเรียน คนอื่นเขามีกันหมด แต่ผมไม่มี กรรมการจึงตัดสิทธิ์ให้ทีมผมแพ้ และให้ออกจากการแข่งขัน เพื่อนๆ ในทีมและครู ต่อว่าผม ไปทางไหนก็มีแต่คนเกลียดผม ไม่ชอบผม เหตุการณ์วันนั้นผมรู้สึกว่า สัญชาติมันสำคัญกับผมมาก" [xxviii]


เจมส์ (ไม่มีนามสกุล) บ้านท่าเรือ


 


 


๓. "ชุมชน" และ "ผู้เสียหาย" ที่ไร้ตัวตน ที่สาละวิน


 


"บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ"


มาตรา ๔๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐


 


"สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


           การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าวทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


           สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมได้รับความคุ้มครอง"


มาตรา ๕๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐


 


 


จากข้อกฎหมายข้างต้น ในเบื้องต้นของการรับรู้ก็คือ ฟากแม่น้ำสาละวินฝั่งรัฐไทย กฎหมายภายในของรัฐไทยได้รับรองและคุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนดั้งเดิมหรือสิทธิชุมชน  อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตออยูว่า จริงหรือ-ที่ทุกชีวิตแห่งสาละวินจะสามารถอ้างสิทธินี้เพื่อปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อมของตนเองได้? ...ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของการใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิในวิถีชีวิตหรือชุมชนกะเหรี่ยงปกากะญอในประเด็นไร่ข้าวหมุนเวียน หรือกรณีการใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อปกป้องชุมชนให้พ้นจากโครงการขนาดใหญ่ ...ยกตัวอย่างบ้านท่าเรือและบ้านแม่ดึ๊ ๒ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนหากมีการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อน


 


เพราะในบริบทของกฎหมายสาขามหาชน ข้อถกเถียงในประเด็นที่ว่า (มาตรา ๔๖ และ ๕๖ ซึ่งเป็น ๒ มาตราใน ๓๙ มาตราแห่ง) หมวด ๓ ที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นั้น "บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยจะอ้างสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้เพียงใด?" ยังไม่มีข้อยุติ


 


และแม้ว่านักกฎหมายมหาชนที่ก้าวหน้าจะเสนอชุดข้อถกเถียงที่ว่า "สิทธิที่มีลักษณะเป็น "สิทธิมนุษยชน" (อาทิ สิทธิในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ)  คนไม่มีสัญชาติไทยชอบสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างได้ แต่หากว่าเป็นกรณี "สิทธิของพลเมือง" แล้ว บุคคลที่จะยกกล่าวอ้างได้จะต้องเป็นพลเมืองของรัฐนั้น ๆ เท่านั้น[xxix]  ถึงกระนั้น สิทธิชุมชนและสิทธิบุคคลในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตามมาตรา ๔๖ และ ๕๖ ก็ยังต้องถกเถียงกันต่อไปว่า เป็น "สิทธิมนุษยชน" หรือ "สิทธิพลเมือง"


 


ประเด็นนี้มีความสำคัญในตัวของมันเอง เพราะอาจมีผลให้หลายชีวิตที่สาละวินอาจไม่สามารถเป็น  "ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนเสียหาย" [xxx] ผลก็คือ อาจไม่สามารถใช้สิทธิในการคุ้มครองชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเรียกร้องให้เยียวยาความเสียหาย โดยผ่านกลไกของศาลปกครอง หรือกล่าวให้สั้น รวบรัด แต่อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกไม่สบายใจ ก็คือ การมีสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อมนั้น "อาจ" ต้อง ใช้ สัญชาติไทย?[xxxi]






* ขอบคุณ กฤษดา ยาสมุทร มูลนิธิพัฒนาชุมชนบนภูเขา (พชภ.) สำหรับข้อท้วงติง






[i] "วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอสาละวิน" ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.searin.org/Th/ThaiBanResearch.htm



 


[ii] โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำเมย-สาละวินระหว่างชายแดนไทย-พม่า ที่บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนและกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น (Electric Power Development Company  หรือ EPDC) เป็นผู้ทำการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ โดยผลการศึกษาเสนอให้มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเมยและสาละวินระหว่างชายแดนไทย-พม่าทั้งหมด ๘ เขื่อน แบ่งออกเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำเมย ๖ เขื่อน และแม่น้ำสาละวิน ๒ เขื่อน คือ เขื่อนสาละวินตอนบนกำลังการผลิต ๔,๕๔๐ เมกะวัตต์  และเขื่อนสาละวินตอนล่าง กำลังการผลิต ๗๙๒ เมะกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมดประมาณ ๕,๐๐๐ เมกกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนอย่างต่ำ ๕,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐหรือ สองแสนล้านบาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.searin.org



 


[iii] มติชน ๓ มิถุนายน ๒๕๔๖



 


[iv] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์, "ชะตากรรม "คนท่าตาฝั่ง" ริมเขื่อนสาละวิน", www.thaingo.org/images2/tata.jpg



 


[v] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์, "ชะตากรรม "คนท่าตาฝั่ง" ริมเขื่อนสาละวิน"



 


[vi] คู่มือการกำหนดสถานะบุคคลของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม ๑, หน้า ๑.



 


[vii] ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘,  กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม



 


[viii] ตองซูและตองเหลือง (มลาบรี) นี้เพิ่งถูกเพิ่มในทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงของกองสงเคราะห์ชาวเขา ในฉบับปี ๒๕๓๘



 


[ix]  ข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านให้แก่ชาวไทยภูเขา พ.. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.. ๒๕๓๙ และในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อมและการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง พ..๒๕๔๐



 


[x] หมายถึง พื้นที่ที่เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ และชนกลุ่มน้อย หรือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและที่ทำกินที่มีความลาดชัน โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ ๓๕ หรือมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๕๐๐ เมตรขึ้นไป ในจังหวัดต่างๆ ๒๐ จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เลย ลำปาง ลำพูน สุโขทัย สุพรรณบุรี อุทัยธานี และจังหวัดที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดเพิ่มเติมภายหลัง ปรากฎตามข้อ ๖ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.. ๒๕๔๓



 


[xi] ข้อ ๖ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.. ๒๕๔๓



 


[xii] มาตรา 3  แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ.2456


บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเปนคนไทย คือ


(1)        บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเปนคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี


(2)        บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเปนคนไทย แต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ


(3)        บุคคลผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม


(4)        หญิงต่างชาติผู้ได้ทำงานสมรสกับคนไทยตามกฎหมายประเพณี


(5)        คนต่างประเทศผู้ได้แปลงชาติมาถือเอาสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติ



 


[xiii] เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper) เป็นพยานเอกสารที่รับรองถึงความเป็นบุคคลตามกฎหมาย (Legal Personality) ยืนยันถึงความเป็นผู้ทรงสิทธิตามกฎหมาย (Subject of Law) และแสดงถึงจุดเกาะเกี่ยวระหว่างคนกับรัฐ



 


[xiv] ได้แก่การยื่นคำร้องตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๕ หรือตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.. ๒๕๔๓ แล้วแต่กรณี



 


[xv] การพิสูจน์สถานะบุคคล เป็นประเด็นปัญหาที่เรื้อรังยาวนาน โดยรูปธรรมของปัญหาที่ชัดเจนนั้นอาจพิจารณาผ่านการชุมนุมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือ จำนวนร่วม 200,000 คน โดยการประสานงานของเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือและสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย ที่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี ๒๕๔๒ มาจนถึงกรณีล่าสุดที่เด่นๆ คือ กรณีที่ชาวบ้านแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ยื่นฟ้องอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ปี ๒๕๔๘


ข้อมูลจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ปี ๒๕๔๗) ระบุว่ามีบุคคลที่ยังคงมีปัญหาสถานะบุคคลในรัฐไทยจำนวนประมาณ ๒ ล้านคน



 


[xvi] กรมสมธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ ให้ความหมายผู้อพยพว่าหมายถึง "ผู้อพยพหลบภัยอันเนื่องจากการจราจล การรบหรือการสงคราม และเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในการปฏิบัติของนานาชาติ มักนิยมให้พำนักลี้ภัยในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เมื่อภัยที่คุกคามหมดสิ้นลงเมื่อไร ก็จะต้องกลับคืนสู่ประเทศอันเป็นถิ่นที่อยู่เดิมของตน" , ดูกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ, ดู กรมสมธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ, "คำจำกัดความของคำว่า "ผู้อพยพ" และ "ผู้ลี้ภัย" หน้า ๑ (เอกสารอัดสำเนา)



 


[xvii]  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, คู่มือการกำหนดสถานะของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม ๒ (บัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อย), หน้า ๑.


ขณะที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ฉบับปี ๒๕๓๕ ให้ความหมายของ "ชนกลุ่มน้อย"ว่าหมายถึง "ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อาศัยรวมกับชนเผ่าอื่นที่มีจำนวนมากกว่า"



 


[xviii]  ชนกลุ่มน้อยทั้งหมด ๑๗ กลุ่ม ได้แก่ (๑) กลุ่มญวนอพยพ ถือบัตรประจำตัวสีขาวขอบน้ำเงิน (๒) อดีตทหารจีนคณะชาติ หรืออดีตทจช. ถือบัตรประจำตัวสีขาว (๓) จีนฮ่ออพยพ ถือบัตรประจำตัวสีเหลือง (๔) จีนฮ่ออิสระ ถือบัตรประจำตัวสีส้ม (๕) อดีตโจรคอมมิวนิสต์มลายา หรืออดีตจคม.ถือบัตรประจำตัวสีเขียว (๖) ไทยลื้อ ถือบัตรประจำตัวสีส้ม (๗) ลาวอพยพ ถือบัตรประจำตัวสีฟ้าขอบน้ำเงิน (๘) เนปาลอพยพ ถือบัตรประจำตัวสีเขียว (๙) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ถือบัตรประจำตัวสีชมพู (๑๐) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ถือบัตรประจำตัวสีส้มและสีม่วง (๑๑) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย ถือบัตรประจำตัวสีเหลืองขอบน้ำเงิน (๑๒) บุคคลบนพื้นที่สูง ถือบัตรประจำตัวสีฟ้า (๑๓) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ถือบัตรประจำตัวสีเขียว (๑๔) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา ถือบัตรประจำตัวสีขาวขอบแดง (๑๕) เผ่าตองเหลือง ถือบัตรประจำตัวสีฟ้า (๑๖) ชุมชนบนพื้นที่สูงถือ บัตรสีประจำตัวเขียวขอบแดง (๑๗) แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย (บางส่วนเฉพาะปีพ.ศ. ๒๕๔๑)


อย่างไรก็ดี ในปี ๒๕๔๘ กรมการปกครองได้มีนโยบายรวมบัตรทุกสี เป็น "บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย" (บัตรสีชมพู)ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ.๒๕๔๗



 


[xix] ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสาละวินในท้องที่ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี ๒๕๒๑ และปี ๒๕๒๔ ครอบคลุมมร. ๑๐ ท้องที่ตำบลเสาหิน อ.แม่สะเรียง รวมเนื้อที่ ๕๔๖,๘๗๔ ไร่ ๘๗๕ ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ จดเขตแดนประเทศไทย กับเมียนมาร์ และป่าสงวนแห่งชาติ, ทิศใต้ ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติสาละวิน, ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา และทิศตะวันตก จดแม่น้ำสาละวิน แบ่งแนวเขตแดนประเทศไทยกับเมียมาร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน


http://www.forest.go.th/measareang/senter/annimal_salawin.htm



 


[xx] ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวา และป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕๐ ก ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ รวมเนื้อที่ประมาณ ๔๕๐,๙๕๐ ไร่ หรือ ๗๒๑.๕๒ ตารางกิโลเมตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน


http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=146&lg=1



 


[xxi]  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔


มาตรา ๑๖  ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด


() ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า () เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ยางไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น () นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ () ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หินกรวด หรือทราย () เปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้ง () ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก () เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมภาพ ซึ่งกล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว () เก็บ หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่ดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้ () นำยานพาหนะเข้าออกหรือขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๐)  นำอากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๑) นำหรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป (๑๒) นำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไป เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี (๑๓) เข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๔) ปิดประกาศ โฆษณา หรือขีดเขียนในที่ต่าง ๆ (๑๕) นำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใด ๆ เข้าไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตนั้นกำหนดไว้ (๑๖) ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิดซึ่งวัตถุระเบิด หรือจุดดอกไม้เพลิง (๑๗) ส่งเสียงอื้อฉาวหรือกระทำการอื่นอันเป็นการรบกวน หรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์ (๑๘) ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งต่าง ๆ ในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น (๑๙) ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง


มาตรา ๒๑  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๖  ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ  หรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ


มาตรา ๒๔  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () () () () หรือ () ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๒๕  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () () () (๑๐) (๑๑) มาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๒๖  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () () () หรือ () ถ้าปรากฏว่าสัตว์หรือทรัพย์สินที่เก็บหาหรือนำออกมีราคาเพียงเล็กน้อย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นมีเพียงเล็กน้อย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท


มาตรา ๒๗  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๕) (๑๖) (๑๗) (๑๘) หรือ (๑๙) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท


มาตรา ๒๘  บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบได้



 


[xxii] http://www.forest.go.th/measareang/senter/annimal_salawin.htm



 


[xxiii] จันลอง ฤดีกาล, รายงานพิเศษ ตอน 1 ฉกี่คึ ศรัทธาแห่งวิถี...ที่ไม่สิ้นสูญ, ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน http://www.prachatai.com/news/show.php?Category=vm&No=3086 และดูรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นไร่หมุนเวียน ได้ที่ ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา http://www.karencenter.com และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร http://www.seub.or.th



 


[xxiv] อาทิตย์ ธาราคำ, ก่อนจะถึงวันสุดท้าย เมื่อสายน้ำสาละวินจะถูกล่ามโซ่ ดู www.searin.org



 


[xxv] บททา... ลำนำของชาวปกาเกอะญอ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน จันลอง ฤดีกาล, รายงานพิเศษ ตอน 1 ฉกี่คึ ศรัทธาแห่งวิถี...ที่ไม่สิ้นสูญ, http://www.prachatai.com/news/show.php?Category=vm&No=3086



 


[xxvi] บัตรสีฟ้า หรือบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง เป็นการดำเนินการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง (บัตรสีฟ้า) ตามมติการประชุมสัมมนาผู้บริหารระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขา การปลูกพืชเสพติดและการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๓



 


[xxvii] เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงจากงบประมาณโครงการเงินกู้พิเศษ (มิยาซาวา) ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทฯ นี้เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๐



 


[xxviii] ข้อมูลจากเอกสารประกอบงานวันเด็กไร้สัญชาติ จัดทำโดยศูนย์เครือข่ายพัฒนาเด็กและชุมชน


อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สุดของความเป็นมนุษย์ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรอง แต่ทางปฏิบัติที่ผ่านมายังคงพบว่า คนไร้สัญชาติ หรือคนถือบัตรสีต่างๆ ยังคงมีอุปสรรคและปัญหาในการเข้าเรียนและการเข้ารับบริการสาธารณสุข โดยคนไร้รัฐ หรือคนที่ไม่มีบัตรแสดงตนใดๆ เลยอาจพบอุปสรรคที่รุนแรงกว่า นอกจากนี้ คนไร้สัญชาติ ไร้รัฐ ยังต้องพบกับข้อจำกัดในการเดินทาง เนื่องจากไม่สามารถเดินทางออกนอกอำเภอหรือจังหวัดได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษา การทำงาน และที่เลวร้ายไปกว่านั้น คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติมักตกเป็นเหยื่อของการถูกละเมิดสิทธิ เช่น ถูกรีดไถ การตกเป็นเหยื่อของขวนการค้ามนุษย์ การถูกนายจ้างเอาเปรียบ ฯลฯ ผู้สนใจประเด็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่


http://www.archanwell.org, และที่ website ของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ http://www.statelessperson.com



 


[xxix] บรรเจิด สิงคะเนติ, "ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐", เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย "สิทธิเสรีภาพ" โครงการวิจัยทางวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี ๒๕๔๔, หรือดู http://www.pub-law.net/publaw/view.asp?PublawIDs=407" l "m0#m0



 


[xxx] มาตรา ๔๒ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒


            "ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน หรือความเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง"



 


[xxxi] อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ยังมีข้อถกเถียงในเชิงเสนอแนะจากกัลยาณมิตรสายศาลปกครอง และทนายความด้านสิทธิมนุษยชน  ว่า บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยอาจทดลองใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ เพื่อให้มีการวางบรรทัดฐานในประเด็นนี้ อย่างไรก็ดี (อีกครั้ง)  อาจต้องเผื่อใจไว้เช่นกันด้วยถึงความเป็นไปได้ที่บรรทัดฐานที่อาจเกิดขึ้นนี้ อาจไม่เป็นที่ต้องตรงใจ...


 


 


-------------------------------------------------------------------


 


[1] "วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอสาละวิน" ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.searin.org/Th/ThaiBanResearch.htm


 


[1] โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำเมย-สาละวินระหว่างชายแดนไทย-พม่า ที่บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนและกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น (Electric Power Development Company  หรือ EPDC) เป็นผู้ทำการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ โดยผลการศึกษาเสนอให้มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเมยและสาละวินระหว่างชายแดนไทย-พม่าทั้งหมด ๘ เขื่อน แบ่งออกเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำเมย ๖ เขื่อน และแม่น้ำสาละวิน ๒ เขื่อน คือ เขื่อนสาละวินตอนบนกำลังการผลิต ๔,๕๔๐ เมกะวัตต์  และเขื่อนสาละวินตอนล่าง กำลังการผลิต ๗๙๒ เมะกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมดประมาณ ๕,๐๐๐ เมกกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนอย่างต่ำ ๕,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐหรือ สองแสนล้านบาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.searin.org


 


[1] มติชน ๓ มิถุนายน ๒๕๔๖


 


[1] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์, "ชะตากรรม "คนท่าตาฝั่ง" ริมเขื่อนสาละวิน", www.thaingo.org/images2/tata.jpg


 


[1] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์, "ชะตากรรม "คนท่าตาฝั่ง" ริมเขื่อนสาละวิน"


 


[1] คู่มือการกำหนดสถานะบุคคลของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม ๑, หน้า ๑.


 


[1] ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘,  กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม


 


[1] ตองซูและตองเหลือง (มลาบรี) นี้เพิ่งถูกเพิ่มในทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงของกองสงเคราะห์ชาวเขา ในฉบับปี ๒๕๓๘


 


[1]  ข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านให้แก่ชาวไทยภูเขา พ.. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.. ๒๕๓๙ และในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อมและการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง พ..๒๕๔๐


 


[1] หมายถึง พื้นที่ที่เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ และชนกลุ่มน้อย หรือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและที่ทำกินที่มีความลาดชัน โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ ๓๕ หรือมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๕๐๐ เมตรขึ้นไป ในจังหวัดต่างๆ ๒๐ จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เลย ลำปาง ลำพูน สุโขทัย สุพรรณบุรี อุทัยธานี และจังหวัดที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดเพิ่มเติมภายหลัง ปรากฎตามข้อ ๖ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.. ๒๕๔๓


 


[1] ข้อ ๖ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.. ๒๕๔๓


 


[1] มาตรา 3  แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ.2456


บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเปนคนไทย คือ


(1)        บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเปนคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี


(2)        บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเปนคนไทย แต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ


(3)        บุคคลผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม


(4)        หญิงต่างชาติผู้ได้ทำงานสมรสกับคนไทยตามกฎหมายประเพณี


(5)        คนต่างประเทศผู้ได้แปลงชาติมาถือเอาสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติ


 


[1] เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper) เป็นพยานเอกสารที่รับรองถึงความเป็นบุคคลตามกฎหมาย (Legal Personality) ยืนยันถึงความเป็นผู้ทรงสิทธิตามกฎหมาย (Subject of Law) และแสดงถึงจุดเกาะเกี่ยวระหว่างคนกับรัฐ


 


[1] ได้แก่การยื่นคำร้องตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๕ หรือตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.. ๒๕๔๓ แล้วแต่กรณี


 


[1] การพิสูจน์สถานะบุคคล เป็นประเด็นปัญหาที่เรื้อรังยาวนาน โดยรูปธรรมของปัญหาที่ชัดเจนนั้นอาจพิจารณาผ่านการชุมนุมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือ จำนวนร่วม 200,000 คน โดยการประสานงานของเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือและสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย ที่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี ๒๕๔๒ มาจนถึงกรณีล่าสุดที่เด่นๆ คือ กรณีที่ชาวบ้านแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ยื่นฟ้องอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ปี ๒๕๔๘


ข้อมูลจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ปี ๒๕๔๗) ระบุว่ามีบุคคลที่ยังคงมีปัญหาสถานะบุคคลในรัฐไทยจำนวนประมาณ ๒ ล้านคน


 


[1] กรมสมธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ ให้ความหมายผู้อพยพว่าหมายถึง "ผู้อพยพหลบภัยอันเนื่องจากการจราจล การรบหรือการสงคราม และเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในการปฏิบัติของนานาชาติ มักนิยมให้พำนักลี้ภัยในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เมื่อภัยที่คุกคามหมดสิ้นลงเมื่อไร ก็จะต้องกลับคืนสู่ประเทศอันเป็นถิ่นที่อยู่เดิมของตน" , ดูกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ, ดู กรมสมธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ, "คำจำกัดความของคำว่า "ผู้อพยพ" และ "ผู้ลี้ภัย" หน้า ๑ (เอกสารอัดสำเนา)


 


[1]  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, คู่มือการกำหนดสถานะของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม ๒ (บัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อย), หน้า ๑.


ขณะที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ฉบับปี ๒๕๓๕ ให้ความหมายของ "ชนกลุ่มน้อย"ว่าหมายถึง "ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อาศัยรวมกับชนเผ่าอื่นที่มีจำนวนมากกว่า"


 


[1]  ชนกลุ่มน้อยทั้งหมด ๑๗ กลุ่ม ได้แก่ (๑) กลุ่มญวนอพยพ ถือบัตรประจำตัวสีขาวขอบน้ำเงิน (๒) อดีตทหารจีนคณะชาติ หรืออดีตทจช. ถือบัตรประจำตัวสีขาว (๓) จีนฮ่ออพยพ ถือบัตรประจำตัวสีเหลือง (๔) จีนฮ่ออิสระ ถือบัตรประจำตัวสีส้ม (๕) อดีตโจรคอมมิวนิสต์มลายา หรืออดีตจคม.ถือบัตรประจำตัวสีเขียว (๖) ไทยลื้อ ถือบัตรประจำตัวสีส้ม (๗) ลาวอพยพ ถือบัตรประจำตัวสีฟ้าขอบน้ำเงิน (๘) เนปาลอพยพ ถือบัตรประจำตัวสีเขียว (๙) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ถือบัตรประจำตัวสีชมพู (๑๐) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ถือบัตรประจำตัวสีส้มและสีม่วง (๑๑) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย ถือบัตรประจำตัวสีเหลืองขอบน้ำเงิน (๑๒) บุคคลบนพื้นที่สูง ถือบัตรประจำตัวสีฟ้า (๑๓) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ถือบัตรประจำตัวสีเขียว (๑๔) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา ถือบัตรประจำตัวสีขาวขอบแดง (๑๕) เผ่าตองเหลือง ถือบัตรประจำตัวสีฟ้า (๑๖) ชุมชนบนพื้นที่สูงถือ บัตรสีประจำตัวเขียวขอบแดง (๑๗) แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย (บางส่วนเฉพาะปีพ.ศ. ๒๕๔๑)


อย่างไรก็ดี ในปี ๒๕๔๘ กรมการปกครองได้มีนโยบายรวมบัตรทุกสี เป็น "บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย" (บัตรสีชมพู)ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ.๒๕๔๗


 


[1] ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสาละวินในท้องที่ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี ๒๕๒๑ และปี ๒๕๒๔ ครอบคลุมมร. ๑๐ ท้องที่ตำบลเสาหิน อ.แม่สะเรียง รวมเนื้อที่ ๕๔๖,๘๗๔ ไร่ ๘๗๕ ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ จดเขตแดนประเทศไทย กับเมียนมาร์ และป่าสงวนแห่งชาติ, ทิศใต้ ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติสาละวิน, ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา และทิศตะวันตก จดแม่น้ำสาละวิน แบ่งแนวเขตแดนประเทศไทยกับเมียมาร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน


http://www.forest.go.th/measareang/senter/annimal_salawin.htm


 


[1] ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวา และป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕๐ ก ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ รวมเนื้อที่ประมาณ ๔๕๐,๙๕๐ ไร่ หรือ ๗๒๑.๕๒ ตารางกิโลเมตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน


http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=146&lg=1


 


[1]  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔


มาตรา ๑๖  ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด


() ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า () เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ยางไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น () นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ () ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หินกรวด หรือทราย () เปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้ง () ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก () เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมภาพ ซึ่งกล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว () เก็บ หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่ดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้ () นำยานพาหนะเข้าออกหรือขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๐)  นำอากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๑) นำหรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป (๑๒) นำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไป เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี (๑๓) เข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๔) ปิดประกาศ โฆษณา หรือขีดเขียนในที่ต่าง ๆ (๑๕) นำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใด ๆ เข้าไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตนั้นกำหนดไว้ (๑๖) ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิดซึ่งวัตถุระเบิด หรือจุดดอกไม้เพลิง (๑๗) ส่งเสียงอื้อฉาวหรือกระทำการอื่นอันเป็นการรบกวน หรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์ (๑๘) ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งต่าง ๆ ในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น (๑๙) ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง


มาตรา ๒๑  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๖  ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ  หรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ


มาตรา ๒๔  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () () () () หรือ () ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๒๕  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () () () (๑๐) (๑๑) มาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๒๖  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () () () หรือ () ถ้าปรากฏว่าสัตว์หรือทรัพย์สินที่เก็บหาหรือนำออกมีราคาเพียงเล็กน้อย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นมีเพียงเล็กน้อย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท


มาตรา ๒๗  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ () (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๕) (๑๖) (๑๗) (๑๘) หรือ (๑๙) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท


มาตรา ๒๘  บรรดาความผิดตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบได้


 


[1] http://www.forest.go.th/measareang/senter/annimal_salawin.htm


 


[1] จันลอง ฤดีกาล, รายงานพิเศษ ตอน 1 ฉกี่คึ ศรัทธาแห่งวิถี...ที่ไม่สิ้นสูญ, ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน http://www.prachatai.com/news/show.php?Category=vm&No=3086 และดูรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นไร่หมุนเวียน ได้ที่ ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา http://www.karencenter.com และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร http://www.seub.or.th


 


[1] อาทิตย์ ธาราคำ, ก่อนจะถึงวันสุดท้าย เมื่อสายน้ำสาละวินจะถูกล่ามโซ่ ดู www.searin.org


 


[1] บททา... ลำนำของชาวปกาเกอะญอ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน จันลอง ฤดีกาล, รายงานพิเศษ ตอน 1 ฉกี่คึ ศรัทธาแห่งวิถี...ที่ไม่สิ้นสูญ, http://www.prachatai.com/news/show.php?Category=vm&No=3086


 


[1] บัตรสีฟ้า หรือบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง เป็นการดำเนินการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง (บัตรสีฟ้า) ตามมติการประชุมสัมมนาผู้บริหารระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขา การปลูกพืชเสพติดและการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๓


 


[1] เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงจากงบประมาณโครงการเงินกู้พิเศษ (มิยาซาวา) ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทฯ นี้เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๐


 


[1] ข้อมูลจากเอกสารประกอบงานวันเด็กไร้สัญชาติ จัดทำโดยศูนย์เครือข่ายพัฒนาเด็กและชุมชน


อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สุดของความเป็นมนุษย์ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรอง แต่ทางปฏิบัติที่ผ่านมายังคงพบว่า คนไร้สัญชาติ หรือคนถือบัตรสีต่างๆ ยังคงมีอุปสรรคและปัญหาในการเข้าเรียนและการเข้ารับบริการสาธารณสุข โดยคนไร้รัฐ หรือคนที่ไม่มีบัตรแสดงตนใดๆ เลยอาจพบอุปสรรคที่รุนแรงกว่า นอกจากนี้ คนไร้สัญชาติ ไร้รัฐ ยังต้องพบกับข้อจำกัดในการเดินทาง เนื่องจากไม่สามารถเดินทางออกนอกอำเภอหรือจังหวัดได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษา การทำงาน และที่เลวร้ายไปกว่านั้น คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติมักตกเป็นเหยื่อของการถูกละเมิดสิทธิ เช่น ถูกรีดไถ การตกเป็นเหยื่อของขวนการค้ามนุษย์ การถูกนายจ้างเอาเปรียบ ฯลฯ ผู้สนใจประเด็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่


http://www.archanwell.org, และที่ website ของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ http://www.statelessperson.com


 


[1] บรรเจิด สิงคะเนติ, "ข้อพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐", เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย "สิทธิเสรีภาพ" โครงการวิจัยทางวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี ๒๕๔๔, หรือดู http://www.pub-law.net/publaw/view.asp?PublawIDs=407" l "m0#m0


 


[1] มาตรา ๔๒ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒


            "ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน หรือความเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้นต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง"


 


[1] อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ยังมีข้อถกเถียงในเชิงเสนอแนะจากกัลยาณมิตรสายศาลปกครอง และทนายความด้านสิทธิมนุษยชน  ว่า บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยอาจทดลองใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ เพื่อให้มีการวางบรรทัดฐานในประเด็นนี้ อย่างไรก็ดี (อีกครั้ง)  อาจต้องเผื่อใจไว้เช่นกันด้วยถึงความเป็นไปได้ที่บรรทัดฐานที่อาจเกิดขึ้นนี้ อาจไม่เป็นที่ต้องตรงใจ...


 

 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net