Skip to main content
sharethis


ประชาไท - 22 ก.พ.49      ที่สนใจให้กับรัฐบาลไทยภายใต้โครงการ "การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศไทย" (THAILAND PARTNERSHIP FOR DEVELOPMENT)ตามกำหนดวันที่ 28 เม.ย.49 นั้น สำนักงานคณะกรรมการที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ได้จัดประชุมเวทีสาธารณะเรื่อง "การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน : เมกะโปรเจคท์ การจัดสรร และมลภาวะ" โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ข้อมูลและเสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว

 


ดร.พจนา เอื้องไพบูลย์ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกลั่นกรองโครงการต่างๆ ในเมกะโปรเจก กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าต่างชาติจะเสนออะไรมาบ้าง วงเงินเท่าไหร่คาดว่าในส่วนของทรัพยากรน้ำคงไม่ค่อยมีใครสนใจเท่ากับเรื่องระบบการขนส่ง อย่างไรก็ตาม หากไม่เป็นที่พอใจหรือพิจารณาแล้วไทยเสียประโยชน์มากก็มีสิทธิปฏิเสธข้อเสนอของนักลงทุนต่างชาติได้ โดยไทยที่สามารถเก็บรับเอาเทคนิควิธี หรือข้อมูลที่เขานำเสนอมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ด้วย


 


ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น ในส่วนของเมกะโปรเจคท์ด้านทรัพยากรน้ำที่รัฐบาลตั้งไว้แต่แรก 200,000 ล้านนั้นเป็นเพียงกรอบวงเงิน โดยมีการอนุมัติจริงผ่านงบประมาณปี 2549 ให้หน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำรวม 36,572 ล้านบาท และที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มเติมอีกกว่า 17,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะได้งบครบถ้วน ส่วนโครงการที่เปิดให้ต่างชาติมาลงทุนอาจอยู่ในแผนเมกะโปรเจคท์หรือเพิ่มเติมไปจากแผนเมกกะโปรเจคท์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการอนุมัติเงินไปเป็นบางส่วนแต่ยังไม่ได้อนุมัติโครงการใดๆ ในแผนงาน


 


ทั้งนี้ ครม.ได้อนุมัติแผนเมะกโปรเจคท์เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.48 ในช่วงปี 2548-2552 วงเงินลงทุนรวม 1,701 พันล้านบาท ใน 7 สาขา คือ 1) Mass Transit  2) คมนาคม  3) ที่อยู่อาศัย  4) ทรัพยากรน้ำ  5) การศึกษา  6) สาธารณสุข  7) อื่นๆ  กล่าวเฉพาะสาขาทรัพยากรน้ำเพื่อบูรณาการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำได้รับจัดสรรเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท (12% ของวงเงินทั้งหมด)


 


นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวว่า มีข้อกังวลกันว่าโครงการที่ต่างชาติอาจจะมีการเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือเมกะโปรเจคท์ ก็คือ การผันน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีบางส่วนที่ศึกษา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว และโครงการชลประทานระบบท่อเพื่อจ่ายให้แก่อุตสาหกรรม ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ใช้เงินมหาศาล และรัฐบาลอาจใช้นโยบายแบบบาร์เตอร์เทรด กับนักลงทุนต่างชาติอีก


 


นายปราโมทย์ ไม้กลัด สมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ท่ามกลางกระแสเปิดให้ต่างชาติมาลงทุนในการบริหารจัดการน้ำ ตลอดอายุที่ทำงานด้านน้ำมาพบว่า ที่ผ่านมารัฐไม่เคยมีสิ่งที่เรียกได้ว่ายุทธศาสตร์ในการจัดการน้ำแบบบูรณาการเลย สิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่ใช่ เพราะประชาชนไม่มีส่วนร่วม แผนแม่บทไม่มีความชัดเจน หน่วยงานราชการขาดเอกภาพ ไม่มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูล ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน และให้เรื่องน้ำเป็นวาระของชาติ


 


นายมนตรี จันทวงศ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า โครงการเมกะโปรเจคท์มีปัญหามากเรื่องการเปิดเผยข้อมูล เพราะในแผนงานงบประมาณนั้นไม่มีการใส่รายละเอียดโครงการอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีปัญหาดังนี้คือ 1. เป็นเพียงโครงการตัดแปะ และสร้างมายาคติใหม่ๆ เพื่อกีดกันกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.บทเรียนความล้มเหลวในระดับโครงการย่อยที่ผ่านมามีมากมาย ยังไม่มีผู้รับผิดชอบ และปัญหายังแก้ไขไม่ได้ 3. มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน จะถูกลดทอนลงเพื่อสิทธิพิเศษในเมกะโปรเจคท์ 4. เป้าหมายถูกลดลงมาเรื่อยๆ ไม่มีหลักประกันของความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำ และละทิ้งทางเลือกอื่นๆ ในการจัดการน้ำ


 


"การให้ต่างชาติเข้ามายื่นซอง แล้วรัฐบาลพูดว่าไม่เอาเลยซักอย่างก็ได้ มันเป็นไปได้ยากเพราะจะทำให้เครดิตเสีย และผมไม่เชื่อว่ายื่นมาเถอะ ไม่ชอบใจไม่เอา เราจะได้ความรู้ ความรู้ของเขาก็มีลิขสิทธิ์ และไม่คิดว่าต่างประเทศเขาจะโง่ ของฟรีไม่เคยมีในโลกนี้" นายมนตรีกล่าว


 


ด้านตัวแทนชาวบ้านจากภาคอีสานกล่าวว่า ที่ผ่านมามีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น โครงการโขง ชี มูล ที่ทำให้วิถีชีวิตสองฝั่งแม่น้ำล่มสลาย เหล่านี้ไม่เคยได้รับการทบทวนหรือแก้ไข รัฐมุ่งแต่จะไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยไม่เคารพสิทธิชุมชน


 


"สมัชชาคนจนมาอยู่หน้าทำเนียบ มีปัญหาเดือดร้อนจากเขื่อนตั้งไม่รู้กี่กลุ่ม ไปถามเขาบ้างไหม" ชาวบ้านจากภาคอีสานกล่าว


 


ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด ผอ.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ในการเชิญนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนนั้น เรื่องของ Mass Transit นั้นทำได้ แต่ในเรื่องของน้ำน่าลำบากใจมาก เพราะเราต้องให้สิทธิแก่ผู้ลงทุน ต่างประเทศต้องได้สัมปทานในการจัดการ ควบคุมทรัพยากรที่สำคัญมากของชาติ กว่า  20-30 ปี เรื่องสิทธิเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะสิทธิผู้บริโภค


 


นอกจากนี้ดร.มิ่งสรรพ์ ยังกล่าวด้วยว่า รัฐจำเป็นต้องสร้างนโยบายการบริหารจัดการน้ำในระยะยาวที่มีความชัดเจน รอบด้าน โดยทุกภาคส่วนคิดเห็นร่วมกัน ออกมาเป็นแผนที่จะไม่เปลี่ยนไปตามรัฐบาล หรือรัฐมนตรีจนไร้ทิศทางทุกวันนี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net