Skip to main content
sharethis


ประชาไท—22 ก.พ. 2549 ท่อก๊าซไทย - มาเลย์วุ่นอีก อบต.จะนะโวยทีทีเอ็ม แอบจ้างบริษัทตรวจสิ่งแวดล้อม ไม่ปรึกษากรรมการไตรภาคี ทีทีเอ็มแจงต้องส่งรายงานให้ สผ.ทุก 6 เดือน กลัวไม่ทันการ รองผู้ว่าสั่งเลิก-ตั้งกรรมการจัดหาใหม่ ชาวบ้านจะนะพบปัญหาใหม่ โวย "สุนัขตำรวจเฝ้าโรงแยกก๊าซ"ลักกินไก่

 


เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ที่โรงแรมราชมังคลา พาวีเลียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและควบคุมปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย - มาเลเซีย มีนายสุเทพ โกมลภมร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน มีกรรมการและผู้สังเกตการณ์เข้าร่วม 60 คน


 


นายอุทัย มหิทธิมหาวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ทีทีเอ็ม รายงานในที่ประชุมว่า ทีทีเอ็ม ได้ว่าจ้าง บริษัท แอร์เซฟ จำกัด เป็นที่ปรึกษาตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมโครงการท่อส่งก๊าซไทย - มาเลเซีย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โดยจะส่งรายงานให้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเดิม บริษัท แอร์เซฟ จำกัด เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิงแวดล้อมของโครงการท่อส่งก๊าซไทย - มาเลเซีย อยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดนี้ หากคณะกรรมการต้องการที่จะมีหน่วยงานกลางดูแลต่อไป ซึ่งในกรอบการทำงาน(ทีโออาร์) ก็สามารถรวมให้ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ได้


 


นายฮารน หมัดหลอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะกรรมการฯ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่ ทีทีเอ็ม ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาในโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลซีย โดยไม่ผ่านคณะกรรมการกำกับดูแลและควบคุมปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย - มาเลเซีย ซึ่งกำกับดูแลโครงการท่อก๊าซไทย - มาเลเซีย แสดงให้เห็นว่า ทีทีเอ็มไม่มีความจริงใจ ซึ่งการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาน่าจะให้คณะกรรมการชุดนี้มีส่วนร่วม เพราะมีข้อกำหนดในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย - มาเลเซีย


 


นายอุทัย ได้กล่าวยอมรับว่า ทีทีเอ็ม ได้ว่าจ้างโดยพละการ โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณธกรรมการชุดนี้ และเห็นที่เลือกบริษัท แอร์เซฟ จำกัด เนื่องจากได้เสนองบประมาณน้อยกว่าบริษัทอื่นอีก 4 - 5 บริษัท โดยใช้งบประมาณ 25 ล้านบาท


 


นายสุเทพ จึงขอให้ยกเลิกการจัดจ้างดังกล่าว และให้ตั้งคณะกรรมการจัดหาที่ปรึกษาเข้ามาเป็นหน่วยงานกลางใหม่ โดยให้นายพีระพล สาครินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 12 สงขลา เป็นประธาน และให้นางสาวจงจิตร์ นีรนาถเมธีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 เป็นรองประธาน โดยให้ทั้ง 2 ได้หารือในส่วนขององค์ประกอบของคณะกรรมการต่อไป


 


นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในธรรมนูญคณะกรรมการไตรภาคี โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย - มาเลเซีย พ.ศ.2546 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2549) โดยรวมคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแลและควบคุมปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมโครงการท่อส่งก๊าซไทย - มาเลเซีย และคณะกรรมการกำกับดูแลและควบคุมปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมโรงแยกก๊าซ ไทย - มาเลเซีย เป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน ใช้ชื่อว่า คณะกรรมการไตรภาคีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย - มาเลเซีย โดยมีโครงสร้างคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ผู้แทนของหย่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 16 คน ที่เหลืออีก 62 คน เป็นตัวแทนของภาคประชาชน


 


จานนั้น นายสุเทพ ได้ให้ตัวแทนเกษตรกรเลี้ยงไก่ใกล้กับโรงแยกก๊าซไทย - มาเลเซีย ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงแยกก๊าซไทย - มาเลเซีย จนทำให้ไก่มีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่าปกติจนบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ไม่ยอมรับซื้อ รายงานความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น


 


เกษตรกรรายดังกล่าว กล่าวว่า ตนได้รับความเดือร้อนอย่างมาก เนื่องจากได้กู้เงินนอกรระบมาลงทุน อีกทั้งไก่ที่เลี้ยงไว้ก็ยังถูกสุนัขตำรวจ ที่มาตั้งหน่วยรักษาความปลอดภัยใกล้กับเหล้าไกของตน เข้ามากินไก่ไปหลายตัวเป็นเวลาถึง 2 สัปดาห์ ตนได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ


โครงการนี้ ได้เข้ามาทำลายวิถีชีวิตชุมมามากแล้ว จึงขอให้รีบแก้ปัญหาด้วย" เกษตรกรรายนี้กล่าว


จากนั้น นายสุเทพได้มอบหมายให้นายประสิทธิ์ วิสุทธิ์จินดาภรณ์ นายาอำเภอจะนะ ได้หารือกับกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ภายในสัปดาห์หน้า


 


นายฮารน กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องนี้น่าจะจบไปแล้ว เนื่องจากได้มีการประชุมแก้ปัญหาเรื่องนี้มาแล้วมก่อนหน้านี้ ณ ที่ว่าการอำเภอจะนะ แต่ปรากฎว่า ทีทีเอ็ม ส่งตัวแทนที่ได่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ได้ เหมือกับการมารับปังปัญหาอย่างเดียวแล้วไม่ดำเนินการอะไร จึงทำให้ต้องมาพูดเรื่องเดิมอยู่อีก


 


ด้านนายอุทัย กล่าวว่า พนังงานของทีทีเอ็มที่เข้าประชุมต้องการตัดสินใจอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการการใช้จ่ายเงินที่ไม่ได้อยู่ในแผนการดำเนินงานทีทีเอ็ม จะต้องให้คณะกรรมการของทีทีเอ็ม เป็นผู้ตัดสินใจ แม้แตผู้บริหารระดับสูงเองก็ยังตัดสินใจไม่ได้ ไม่ใช่ไม่ต้องการแก้ปัญหา


 


นายอุทัย เปิดเผยหลังการประชุมว่า เห็นที่ต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาโดยไม่ผ่านคณะกรรมการชุดนี้เนื่องจาก ทีทีเอ็ม จำเป็นต้องส่งรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณโครงการ ให้กับ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุก 6 เดือน และส่งรายงานคุณภาพน้ำให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกเดือน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย แต่บริษัท แอร์เซฟ จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางเดิม หมดสัญญา เมื่อเดือนเมษายน 2548 ทีทีเอ็มจึงได้ลงนามในสัญญาว่างจ้างบริษัทนี้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 หากรอให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาก่อนคงไม่ทัน อีกทั้งคณะกรรมการก็ยังไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา


ทั้งนี้ นายอุทัยได้เปิดเผยด้วยว่า บริษัท ทิสโก้ จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซไทย - มาเลเซีย ได้หมดสัญญาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2549 แต่ทีทีเอ็ม ไม่ได้ว่าจ้างต่อ แต่ได้ให้บริษัท แอร์เซฟ จำกัด เข้ามาทำหน้าที่แทนด้วย


 


นายสุเทพ เปิดเผยว่า สำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบกระทบจ่าเสียงระหว่างการก่อสร้างโรงแยกก๊าซไทย - มาเลเซีย นั้น ทางทีทีเอ็ม ได้จ่ายชดเชยให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ตำบลตลิ่งชัน เป็นเงิน 5 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 2 ล้านบาท มอบให้ชาวบ้าน กว่า 100 ราย ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ส่วนอีก 3 ล้านบาท มอบให้เป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net