Skip to main content
sharethis

คำฟ้อง


…………………………..


"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โกงบูรณาการ


(โกง เมื่อมีอำนาจ และโกง เพื่อมีอำนาจ) จริงหรือ?"


 


            ข้าพเจ้าแต่ศาลที่เคารพ นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีพุทธศักราช 2544 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศชาติบ้านเมืองได้ตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองที่มีการใช้อำนาจในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องยิ่งขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สองในปีพุทธศักราช 2548 การกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิใช่เรื่องผิดต่อจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น แต่เป็นการกระทำผิดกฎหมายหลายบทหลายมาตรา เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ที่เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นการละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองอย่างชัดเจน


            ข้าพเจ้าขอกล่าวหาว่า การกระทำดังกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นการโกง และเป็นการโกงอย่างบูรณาการ กล่าวคือ เมื่อมีอำนาจได้ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และเพื่อที่จะมีอำนาจในการที่จะเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง ได้มีการทุจริตทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเพื่อที่จะกลับเข้ามามีอำนาจ ข้าแต่ศาลที่เคารพ ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอให้ศาลได้โปรดพิจารณาวินิจฉัยไต่สวนมูลฟ้องในสองประเด็นดังต่อไปนี้คือ


            ประเด็นที่หนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โกงเมื่อมีอำนาจจริงหรือ? และ


            ประเด็นที่สอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โกงเพื่อมีอำนาจ หรือโกงเลือกตั้งจริงหรือ?


 


ประเด็นที่หนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โกงเมื่อมีอำนาจจริงหรือ?


            พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าครอบครัวซึ่งประกอบธุรกิจใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่ตนมีอยู่กำหนดนโยบาย และอาศัยมาตรการทางกฎหมายต่างๆ เช่น การมีมติของคณะรัฐมนตรี การออกกฎหมายเป็นเครื่องมือในการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มธุรกิจของตนและพวกพ้อง ซึ่งข้าพเจ้ายกกรณีที่ชัดแจ้งที่สุดมาประกอบคำฟ้องทั้งหมดสี่กรณี ดังต่อไปนี้


            กรณีที่หนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี ออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 ออกเป็นพระราชกำหนดดังกล่าวส่งผลให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับประโยชน์จากการแปรค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตจำนวนนับหมื่นล้านบาท


            กรณีที่สอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีมติให้บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินวัตร ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผลจากการดำเนินมติดังกล่าวทำให้บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ฯ ได้รับการยกเว้นภาษี 8 ปี เป็นจำนวนเงินสูงถึง 16,459 ล้านบาทและสามารถผูกขาดกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย


            กรณีที่สาม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ขยายการถือหุ้นของชาวต่างชาติจากเดิม 25% มาเป็น 49% อีกทั้งยังตัดเงื่อนไขเรื่องสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 มกราคม 2549 ต่อจากนั้นสองวันคือ 23 มกราคม 2549 ได้มีการขายหุ้น ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ให้แก่กองทุนเทมาเส็ก การแก้ไขกฎหมายและการขายหุ้นกิจการโทรคมนาคมให้สิงคโปร์ในครั้งนี้ ทำให้ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งของประเทศไทยในภูมิภาคนี้ได้เข้ามาครอบงำกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจการที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติและต้องถือว่าเป็นความลับ การกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงเป็นการเปิดเผยความลับทางด้านโทรคมนาคมอันเป็นความลับและความปลอดภัยของชาติ ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 124 และเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองความลับในราชการ พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ


            กรณีที่สี่ ในปี 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าหรือ  ออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้รัฐบาลพม่า ทำสัญญาขอใช้บริการดาวเทียมไทยกับบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ปอเรชั่น การที่  ให้เงินพว่ามกู้เท่าดับรัฐบาลไทยต้องค้ำประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ให้กับพม่า ซึ่งเป็นการโอนภาระของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ฯ ซี่งเป็นคู่สัญญาโดยตรงมาให้กับกระทรวงการคลังและผู้เสียภาษีของไทย การมีมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของครอบครัวชินวัตร


 


กรณีที่สอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โกงเพื่อมีอำนาจจริงหรือ?


            ผู้ร้องเคยสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ.2548 และเคยได้รับการทาบทามจากพรรคไทยรักไทยให้ย้ายเข้าไปเป็นผู้สมัครของพรรค ซึ่งผู้ร้องได้ปฏิเสธคำเชิญดังกล่าวไป ก่อนหน้าการเลือกตั้งผู้ร้องได้พบเห็นเหตุการณ์หลายอย่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงกลโกงการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคเช่น พอใกล้ถึงวันเลือกตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พูดเพื่อจูงใจให้ประชาชนลงคะแนนให้แก่พรรคไทยรักไทย เช่น ประกาศว่าจะบรรจุตำรวจที่จบปริญญาตรี ให้เป็นร้อยตำรวจตรีทั้งหมดหากตนได้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นต้นซึ่งผู้ร้องเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นกรกระทำที่ผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างชัดเจน นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมีพฤติกรรมที่ผู้ร้องเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอีกหลายประการได้แก่


 


ประการแรก ขณะที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล และใกล้จะหมดวาระสมัยแรก รับบาลได้ดำเนินการจัดงานรากหญ้าสู่รากแก้วที่เมืองทองธานี โดยใช้งบประมาณของรัฐในการจัด เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นการถือโอกาสเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น เพราะเป็นการจัดงานที่ใกล้จะมีการจัดเลือกตั้ง นอกจากนี้ในการเข้าชมงานดังกล่าว ได้มี ส.ส. ไทยรักไทยเกือบทุกจังหวัดขนประชาชนมาร่วมงานเปรียบเสมือนหนึ่งพามาเที่ยวงาน และผู้นำประชาชนมาได้แจกเงินให้กับประชาชนคนละ 300บาท ถึง1,000 บาท ถือเป็นการซื้อเสียงประชาชน ตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 59/43 ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2543 แต่คระกรรมการการเลือกตั้งก็มิได้ดำเนินการสืบสวนเพื่อเอาผิดแต่อย่างใด


 


ประการที่ 2 ในระหว่างมีการเลือกตั้งเมือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในการปราศรัยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยทีได้กล่าวว่า "หากจังหวัดใดเลือกผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยยกจังหวัด จังหวัดั้นจะได้รับการจัดสรรงบประมาณ เอส เอ็ม แอล ก่อนจังหวัดที่ไม่เลือกพรรคไทยรักไทย" การปราศรัยดังกล่าวถือเป็นการซื้อเสียงประชาชน เนื่องจาการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณางบประมาณ เพราะการจะได้รับงบประมาณต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นของจังหวัดนั้น ๆ ว่าประชาชนมีความเดือดร้อน หรือยากไร้อย่างไร มิใช่นำวิธีการจัดสรรงบประมาณไปผูกกับเงื่อนไขการเลือกตั้ง แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งก็มได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวน เพื่อเอาผิดกับการปราศรัยดังกล่าว


 


ประการที่ 3 การหาสมาชิกพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ประมาณปี 2542 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้วิธีการให้ตัวแทนไปขอถ่ายบัตรประชาชนของราษฎร เพื่อนำมาใช้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งราษฎรบางคนไม่ทราบ โดยมีการแจกเงินให้ประชาชนรายละ 200 ถึง 300บาท พร้อมกับแจกเสื้อวอร์มสีฟ้า-ขาว ถือเป็นการหาสมาชิกพรรคที่ไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายพรรคการเมือง และเป็นการซื้อเสียงเนื่องจากเป็นการกระทำก่อนมีการเลือกตั้งซึ่งจะเห็นได้จากการหาสมาชิกพรรคไทยรักไทยในกรุงเทพมหานคร เขต 26 ตามสำนวนคดีอาญาที่ สน.มีนบุรี คดีที่ 74/48


 


ประการสุดท้าย ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ. 2549 และได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 ผู้ร้องเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายประการคือ ในการปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ณ ท้องสนามหลวง ไดมีการแจกจ่ายเงินเพื่อจูงใจให้ประชาชนจากทั่วประเทศมับฟังการปราศรัย ซึ่งผิดกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 44(1) อีกทั้งยังมีการให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พาประชาชนมาจากต่างจังหวัดซึ่งผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 47 นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ปราศรัยอีกว่า ตนจะจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนทุกโรงเรียน และจะขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการหากว่าตนได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นการสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่สถาบันการศึกษาและชุมชน เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งผิดกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 44 (2) อีกด้วย


 


ด้วยเหตุผลทั้งหมดตามที่ผู้ร้องได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ร้องเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำความผิดอันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการกระทำความผิดตามกำหมายเลือกตั้งเพื่อที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง การกระทำทั้งสองกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร ดังที่กล่าวมาแล้วจึงเป็นการกะทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและบทบัญัติแห่งกฎหมาย


 


อาศัยแหตุดังกล่าวประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้น ขอศาลได้โปรดพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องตามข้อหาดังกล่าวนี้ เพื่อให้มีการพิจารณาโทษและมีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


 


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด


 


พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net