โพลปฏิรูปการเมือง ประชาชนค้านแปรรูป-ต้องการกลไกตรวจสอบรัฐ

27 มีนาคม 49 - กรุงเทพฯ   พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) จัดกิจกรรมรณรงค์ "ล้างบางระบอบทักษิณ สร้างประชาธิปไตย ด้วยการเมืองภาคประชาชน" โดยให้มีการลงประชามติจัด 3 อันดับประเด็นปฏิรูปการเมืองที่สำคัญ ณ ด้านหน้าประตูทำเนียบรัฐบาล ฝั่งถนนราชดำเนิน ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนต้องการให้รัฐจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ไม่มุ่งการแสวงหากำไรสูงสุด ต้องการกลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐทุกระดับ และสร้างกระบวนการตรวจสอบการเจรจาข้อตกลงระหว่างประเทศ


 

จากผู้ชุมนุมที่มาร่วมลงประชามติ 11,982 คน ปรากฏว่า ประเด็นปฏิรูปการเมืองที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดคือ การที่รัฐต้องให้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา โดยไม่แสวงหากำไรสูงสุด ด้วย ร้อยละ 66.35

 

อันดับสอง การสร้างกลไกองค์กรภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ และต้องมีบทลงโทษเมื่อมีการกระทำผิด ร้อยละ 59.06

 

อันดับสาม การทำข้อตกลงระหว่างประเทศของรัฐต้องผ่านการให้สัตยาบันของรัฐสภา เช่น เอฟทีเอ ร้อยละ 36.82

 

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ฝ่ายวิชาการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า การรณรงค์ของประชาชนในขณะนี้ นอกจากเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ยังต้องการล้างบางระบอบทักษิณด้วยการปฏิรูปทางการเมืองครั้งสำคัญ และเพิ่มอำนาจตรวจสอบทางการเมืองของภาคประชาชน

 

ฝ่ายวิชาการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่า การให้ประชาชนร่วมจัดอันดับประเด็นปฏิรูปทางการเมืองครั้งนี้ ชี้ชัดว่า ประชาชนตระหนักถึงสาธารณะสมบัติของประเทศไม่ควรถูกนำไปค้าขายและแบ่งกำไรโดยกลุ่มทุนผูกขาด และต้องการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับซึ่งรวมถึงการไปเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย

 

"ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองรอบที่สอง จะไม่ใช่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ต้องทำให้ปัญหาต่างๆที่ประชาชนเผชิญอยู่มีทางออก ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่คำตอบ คำตอบสุดท้ายอยู่ที่อำนาจการ

 

 

เอกสารประกอบ

 

















ประเด็นปฏิรูปการเมือง


ร้อยละ


อันดับ


1. การทำข้อตกลงระหว่างประเทศของรัฐต้องผ่านการให้สัตยาบันของรัฐสภา เช่น เอฟทีเอ


36.28


3


2. รัฐต้องให้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา โดยไม่แสวงหากำไรสูงสุด


66.35


1


3. รัฐต้องจัดสวัสดิการทางสังคมและพัฒนาระบบหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในทุกด้าน


23.44


5


4. ปรับปรุงโครงสร้างการจัดทรัพยากรปฏิรูปที่ดิน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและเคารพสิทธิมนุษยชน


11.79


9


5. รับรองสิทธิของประชาชนในการกำหนดอนาคตในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และผลักดันเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ


22.03


6


6. สร้างกลไกองค์กรภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ และต้องมีบทลงโทษเมื่อมีการกระทำความผิด


59.06


2


7. ต้องมีกฎหมายลูกและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี เช่น องค์กรอิสระผู้บริโภคตามมาตรา 57


11.39


10


8. ปฏิรูปสื่อให้มีความเป็นอิสระและจัดสรรเพื่อการบริการชุมชน 20% และให้เอกชนถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 10


27.29


4


9. แก้ไขกฎหมายให้ประชาชนเสนอกฎหมายได้โดยง่าย และเป็นกรรมาธิการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง รวมทั้งต้องมีระยะเวลาที่ชัดเจนในการออกมาเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ได้


14.25


8


10. ปฏิรูปโครงสร้างภาษี โดยเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้ากับภาษีที่ดิน มรดก และทรัพย์สิน


9.46


11


11. ส.ส. และ ส.ว. ไม่ต้องจบปริญญาตรี สามารถหาเสียงได้โดยใช้ งบประมาณไม่เกินรายได้ที่ตนเองจะได้รับในการดำรงตำแหน่ง, ปลดล็อค 90 วัน


16.95


7


12. ประเด็นอื่นๆ


1.70


12

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท