Skip to main content
sharethis

ประชาไท—3 เม.ย.2549 นักวิจัยชาวฮ่องกงทดลองทำให้สภาวะออกซิเจนในน้ำต่ำลง ปรากฏว่า สภาพดังกล่าวส่งผลต่อยีนที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศผู้และฮอร์โมนเพศเมียของปลาม้าลาย ทำให้ปลาม้าลายเพศผู้เกิดขึ้นในสัดส่วนมากกว่าเพศเมีย 3 ต่อ 1


 


แม้ว่า ปลาน้ำจืดหรือน้ำเค็มจะเปลี่ยนเพศได้ตลอดเวลาเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เมื่อน้ำขาดออกซิเจนจะมีผลต่อยีนซึ่งเป็นตัวกำหนดเพศและพฤติกรรมของเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแหล่งน้ำตามธรรมชาติหลายแห่งกำลังตกอยู่ในสภาวะออกซิเจนในน้ำต่ำ สัตว์หลายชนิดก็เริ่มได้รับผลกระทบในทำนองเดียวกัน


 


ในอ่าวเม็กซิโกนั้นพบปลาตายจำนวนมาก ส่วนปลาที่รอดก็มีโอกาสรักษาเผ่าพันธุ์น้อยลง เนื่องจากเป็นตัวผู้จำนวนมาก โดยปัจจุบันเขตพื้นที่อันตรายทั่วโลกซึ่งเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีและทิ้งของเสียจากการเกษตรของมนุษย์นั้นรวมกันแล้ว มีถึง 1 แสนตารางไมล์เลยทีเดียว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net