Skip to main content
sharethis

โดยนิตยสารรายสัปดาห์พลเมืองเหนือ


           


เมื่อเราโฟกัสถึงปัญหาที่กำลังกระทบกับเด็กที่รอผลคะแนนจากการสอบ O - NET และ A- NET ในระบบการรับเข้าแบบแอดมิชชั่นในตอนนี้ เด็กหลายคนเกิดความกังวล โดยส่งผลออกมาในรูปของ"ความเครียด" เด็กหลายคนลุ้นใจจดใจจ่อว่าภายในวันที่ 30 เมษายน ที่จะมีการประกาศผลคะแนนโอเน็ต - เอเน็ต พวกเขาจะไม่มีปัญหากับผลที่ออกมา ควบคู่กับความไม่มั่นใจในการการประกาศผลในรอบที่สาม เพราะจากที่ผ่านมา การตรวจข้อสอบเกิดความผิดพลาดทั้งสองครั้ง ยังผลให้คิดว่า ที่จริงระบบนี้มันเหมาะสมจริงหรือไม่..?


 


เด็กนักเรียนหลายคน รวมถึงนักศึกษาที่เข้ามหาวิทยาลัยแล้วแต่ต้องการสอบเพื่อเอาคะแนนใหม่ ได้รับผลกระทบจากการสอบในระบบแอดมิชชั่นถ้วนหน้า


 


เนม เบญ เนยและแพรว เด็กนักเรียนชั้นมัธยมจาก โรงเรียนสาธิต มช.กลุ่มหนึ่ง ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ระบบนี้ส่งผลกระทบถึงพวกเขาว่า ระบบนี้ทำให้พวกเขาต้อง


เตรียมตัวมากขึ้นตั้งแต่ระดับชั้น ม. 4 ทั้งที่ในอดีต จะไปหนักในช่วงท้ายอย่างเดียว โดยยอมรับว่ามีทั้งผลดีและผลเสียกับการปรับตัวเอง การปรับ GPA ให้มากขึ้นจากอดีต ทำให้มีการเรียนที่ยากขึ้น และก็ต้องทำให้พวกเขาเรียนพิเศษกันมากขึ้น


 


"การสอบแอดมิชชั่น เป็นการสอบที่ใช้วัดมาตรฐานทั่วประเทศ ซึ่งที่จริงมันไม่ได้ เพราะระดับการแข่งขันมันไม่เท่ากัน มันต่างกัน โดยที่ระบบนี้มันมีมาตรฐานของตัวมันเอง ถ้าใช้กับเมืองนอกมันไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะที่นั่นเขาเรียนอิสระ เลือกอิสระ แต่บ้านเราโรงเรียนมัธยมยังสอนแบบ my map หรือตามแบบที่เป็นอยู่เหมือนเดิม ตรงนี้เลยทำให้พวกเราเลือกที่จะเรียนพิเศษกันมาก"


 


ไม่ผิดอะไรกับ นัท และ แนท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนปริ้นรอยส์ ที่เหลืออีกไม่กี่เดือนก็ต้องสอบ โดยทั้งสองคนเลือกการเรียนพิเศษมากกว่าการเรียนในห้องเรียน โดยใหเหตุผลว่าได้เทคนิคการทำข้อสอบมากกว่าการเรียนในโรงเรียน


 


"ในโรงเรียนยังให้ความสำคัญในเรื่องเกรดมาก ซึ่งการทำเกรดในชั้นเรียนยังไม่เพียงพอ ต้องเรียนข้างนอกเสริม ถ้าไม่เรียนก็ไม่ทันคนอื่นโดยระบบแอดมิชชั่นที่กำลังทำอยู่ เป็นระบบที่จำกัดการเรียนรู้มากกว่าเดิม เพราะ ถ้ามีการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ GPA ขึ้นในแต่ละปีๆ ก็ทำให้นักเรียนเครียดมากว่าเดิม จากที่จะได้คำตอบในโรงเรียนแต่กลับไปได้ที่สถาบันสอนพิเศษ


 


เมื่อสำรวจจากการเรียนของเด็กมัธยมในปัจจุบัน จะพบว่าเด็กเรียนพิเศษกันมากกว่าการเรียนในชั้นเรียนเพราะความกลัวว่าจะไม่เท่าเทียมกับเพื่อนที่เรียน แต่ซึ่งคิดว่าการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอกับการทำคะแนนไห้ได้ดี


 


โดยขณะนี้มีเด็กหลายคนที่เพิ่งเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีการอ่านหนังสือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเตรียมความพร้อมกับระบบแอดมิชชั่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจจะเกิดจากการปลูกฝัง หรือการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากสภาพสังคมที่เกิดขึ้น ซึ่งนัยยะตรงนี้บ่งบอกให้พ่อแม่ อาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่า เด็กได้เข้าสู่ภาวะการเรียนที่แข่งขันกับตัวเองอย่างเอาจริงเอาจังและกดดันกับระบบที่พวกเขาจะต้องเจอในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น่าจะใช้ระบบลเอ็นทรานซ์เหมือนเดิม ถ้าการใช้ระบบนี้มันจะกดดันนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี"


 


คงไม่มีใใครรู้ว่ากรสอบที่ผ่านมามีปัญหาอย่างไรเท่ากับคนที่สอบเอง วัน และ กิ๊ฟ ได้ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือ O - NET และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูงหรือ A- NET ที่ผ่านพ้นไปและกำลังรอลุ้นว่าผลจะออกมาอย่างไร


 


"ผมว่าเนื้อหาที่สอบมันเปลี่ยนไป เช่น ข้อสอบวิชาสังคม ที่ผ่านมาทุกปีจะเป็นการวิเคราะห์ แต่ปีนี้จะเป็นแบบปลายปิดหมดเลย จะเน้นแนวความจำอย่างเดียว แต่คิดว่าระบบที่นำมาใช้อยู่มันดีมาก แต่ต้องแจ้งให้เร็วกว่านี้ ก่อนนำมาใช้ต้องทดสอบให้ให้มันดีก่อน จึงนำมาใช้จริง ถ้าต้องการให้มาตรฐานของเด็กเท่ากันทั่วประเทศต้องทำอย่างนี้"


 


ด้าน ผศ.อรรณพ คุณพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากจะช่วยประสานงาน ขายระเบียบการสมัครและให้ข้อมูลกับพ่อแม่ ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสมัครแอดมิชชั่น และอำนวยความสะดวก โดยการเปิดเว็บไซต์ให้เด็กในวันสมัครถ้าไม่สารถสมัครที่ไหนได้ เพราะทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำได้เพียงรอฟังผลประกาศผลจากส่วนกลางอย่างเดียว


 


ในส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีที่นั่งสำหรับการรับแอดมิชชั่นประมาณ 2,000 ที่นั่ง โดยในขณะนี้ที่สามารถดำเนินการได้นี้คือการรับนักเรียนที่เข้ามาจากระบบโควต้า การรับนักเรียนที่เข้ามาด้วยระบบการคัดเลือกพิเศษ ก็เหลือเพียงรอนักเรียนที่เข้ามาด้วยระบบแอดมิชชั่น โดยการเอาคะแนนโอ เน็ต เอเน็ต ที่ได้จากการประกาศผล ในวันที่ 30 เมษายน ไปสมัครในระบบแอดมิชชั่น โดยการสมัครทางเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ซึ่งประกาศรับสมัครถึงวันที่ 7 .. และการีประกาศผลแอดมิชชั่น ในวันที่ 24 .. 2549


 


ก่อนถึงวันที่ 30 เมษายน ที่จะมีการประกาศผล ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่เรียบร้อย ยังมีข้อผิดพลาด เด็กบางคนก็ยังไม่มีคะแนน ทางสกอ . และ สทศ. กำลังหาทางแก้ไขปัญหานี้อยู่ ถ้าผลออกมาแล้ว มีปัญหาต้องรีบแจ้งกับ สกอ. โดยด่วน เพื่อจะได้แก้ปัญหาไห้ทันวันที่ 7 .. ก่อนการยื่นคะแนน


 


ผศ.อรรณพ กล่าวต่ออีกว่า ระบบที่มันเกิดขึ้นจากฐานข้อมูลเริ่มแรกไม่สมบูรณ์ เพราะจากการเริ่มต้นฐานข้อมูลที่ทาง สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ส่งให้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อฐานข้อมูลจำนวนคนสอบ เลขที่นั่งสอบมันไม่เรียบร้อย ก็มีผลกระทบเกิดขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากตัวเด็กเอง เช่น กรอกเลขประจำตัวไม่ระมัดระวัง คิดว่าสิงที่เกิดขึ้นคงเป็นบทเรียนให้ สทศ.ปรับปรุงกระบวนการต่างๆให้ดีขึ้น โดยจะมีการประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ว่าจะจัดการกับระบบอย่างไรให้มีความเหมาะสม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net