เปิดผลสอบกรณีพรรคใหญ่จ้างพรรคเล็กส่งผู้สมัคร ส.ส.

ผลสอบของคณะอนุกรรมการสอบสวนกรณีการว่างจ้างพรรคการเมืองเล็กส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนายนาม ยิ้มแย้ม อดีตรองประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ได้สรุปผลการสอบสวนส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหญ่ดำเนินการ

 

โดยสาระสำคัญได้สรุปว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคไทยรักไทยบางคนเกี่ยวพันกับกรณีจ้างวานพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งจริง โดยคณะกรรมการฯ มีหลักฐานควรเชื่อว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทน ของพรรคไทยรักไทย มีผลผูกพันเสมือนเป็นการกระทำของพรรคไทยรักไทยเอง และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำเนิน การสืบสวนสอบสวนต่อไปตามระเบียบ

..........................................................

 

กราบเรียน ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ตามมติคณะกรรมการการเลือกตั้งในการประชุมครั้งที่ 46/2549 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 ให้อนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนว่ามีกระบวนการว่าจ้างหรือ ให้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป เมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น

 

บัดนี้คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงได้สืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมเสร็จสิ้นแล้ว จึง ได้ร่วมกันพิจารณา และมีความเห็นโดยแยกเป็นประเด็น ดังนี้

 

ประเด็นที่ 1 พรรคไทยรักไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการว่างจ้างหรือให้เงินสนับ สนุนพรรคการเมืองอื่นให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้วทั่วไปเมื่อวัน ที่ 2 เมษายน 2549 เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องได้คะแนนเสียงถึงร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 หรือไม่

 

กรณี พรรคพัฒนาชาติไทย

 

ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นายชวการ โตสวัสดิ์ ได้รับการติดต่อจากนายพงศ์ศรี หรือยุทธพงศ์ ศิวาโมกข์ นายทวี สุวรรณ พัฒน์และนายต้อม ไม่ทราบชื่อและนามสกุลจริง (ทราบภายหลังว่าชื่อนายธีรชัย จุลพัฒน์)ซึ่งบุคคลทั้ง สามเป็นคนสนิทของพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุทธยา ให้หาผู้สมัครส.ส.พรรคเล็ก มาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่คาดว่าผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยจะได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น นายชวการฯจึงติดต่อกับนายสุขสันต์ชัยเทศ ผู้อำ นวยการเลือกตั้งพรรคพัฒนาชาติไทย และหาผู้สมัครส.ส.ได้ 3 พรรค ได้แก่ พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคกฤชไทยมั่นคง และพรรคธัมมาธิปไตย ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 นายพงศ์ศรีฯ โทร ศัพท์ให้นายชวกรฯไปพบพล.อ.ธรรมรักษ์ ฯ ที่พรรคไทยรักไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ นายชวการฯ นายทวีฯ นายพงศ์ศรีฯ และนายต้อย ได้เดินทางไปที่พรรคไทยรักไทย โดยแวะพักพูดคุยกันที่ร้าน อาหารตามสั่งหน้าทางเข้าพรรคไทยรักไทย

 

โดยมีนางหนึ่งฤทัย ปลิวลอย ลูกจ้างของร้านอาหารดัง กล่าวให้ถ้อยคำว่า เห็นชาย 4 คน ถือกระเป๋าเอกสารเข้ามานั่งในร้านและสั่งเบียร์ไฮเนเก้นดื่ม กิน และเมื่ออนุกรรมการสืบสวนสอบสวนให้ดูรูปของนายทวีฯ และนายชวการฯแล้วก็สามารถยืนยัน ได้ถูกต้อง จากนั้นบุคคลทั้งสี่ได้ขึ้นไปที่ตึกที่ทำการใหญ่ของพรรคไทยรักไทยนั่งรอในห้องประชุมประ ธานส.ส. ภาคอีสาน ซึ่งอยู่ข้างๆห้องทำงานของพล.อ.ธรรมรักษ์ สักครู่หนึ่งได้พบพล.อ. ธรรมรักษ์ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล และนายทหารนอกเครื่องแบบอีก 2 คน โดยได้พูดคุยและ ตกลงกันว่าจะทำการตัดต่อข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรค กรณีที่มีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 90 วัน ที่เรียกว่าตัดต่อพันธุกรรม โดยถอดชื่อสมาชิกพรรคบางคนออกจากบัญชีรายชื่อสมาชิกพรรค แล้วนำชื่อผู้ที่พรรคจะส่งลงสมัครแทนที่ โดยใช้หมายเลขสมาชิกพรรค และวันสสมัครสมาชิกพรรค เดิมและได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย

 

จากนั้นทั้งสี่คนจึงกลับมาที่โรงแรมกานต์มณีโดยเปิด ห้องพักหมายเลข426 ซึ่งนางรัตนา เกษรินทร์ ผู้ช่วยผู้จัดการด้านการเงินและบัญชีของโรงแรมให้ การยืนยันพร้อมทั้งมอบเอกสารการเข้าพักห้องดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน และประมาณ 23.00 น. นายสุขสันต์ และนายบัญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ ได้เข้ามาร่วมหารือด้วยในรายละเอียดของการหาตัวผู้ สมัครและค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 14.00 น.ใน ระหว่างรอค่าใช้จ่ายใยการสมัคร นายธีรชัยฯ หรือต้อย แจ้งแก่นายชวการฯ ว่า "นาย" ให้ไปรับ เงินที่พรรคไทยรักไทย จึงได้เดินทางไปด้วยกันทั้ 4 คน

 

ระหว่างเดินทางมีโทรศัพท์มาที่นายทวีฯและ แจ้งเปลี่ยนให้ไปรับเงินที่กระทรวงกลาโหม เมื่อไปถึงกระทรวงกลาโหม ได้นั่งรออยู่ประมาณ 20 นาที ก็เห็นพล.อ.ธรรมรักษ์ เดินผ่านมา และเรียกให้นายทวีฯเข้าไปในห้องครู่หนึ่งก่อนจะออกมา พร้อมกับถือเงินมาในมือและบอกให้นายชวกรณ์ไปจัดการเรื่องค่าสมัคร ระบบบัญชีรายชื่อก่อน

 

ในระ หว่างเดินทางกลับนายชวการฯนับเงินได้จำนวน50,000 บาท แล้วนำไปให้นายบุญทวีศักดิ์ อมร สินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย ใช้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ ต่อมาวันที่4-5 มีนาคม 2549 นายชวการฯเริ่มติดต่อหาผู้สมัคร โดยใช้โรงแรมกานต์มณี ห้องประชุม 401 เป็นศูนย์ประสานงาน ส่วนนายสุขสันต์ฯจะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานของผู้สมัคร ซึ่งได้มอบหมายให้ นางมณฑิราพร พิมพ์จันทร์ คอยรับเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และ สำเนาวุฒิบัตรการศึกษาของผู้จะลงสมัครส.ส. ซึ่งส่งมาทางโทรสาร แล้วให้ลบหมายเลขโทรสารที่หัวกระดาษเพื่อนำไปถ่ายเอกสาร รวมทั้งกรอกข้อความรายละเอียดในใบสมัครโดยเว้นวันที่ สมัครและช่องรหัสหมายเลขสมาชิกพรรค ซึ่งเมื่อสอบสวนนางมณฑิราพร พิมพ์จันทร์ ได้ยอมรับว่า เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวจริง

 

ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2549 นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ ได้นำแผ่นบัน ทึกข้อมูล(disk) สมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยมาให้นายสุขสันต์ฯแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดความ เป็นสมาชิกพรรค นายสุขสันต์ฯจึงมอบหมายให้นายสายัณต์ เจียมสวัสดิ์และผู้หญิงที่มากับนายอำนาจ รอดช่วย ดำเนินการแก้ไขข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูล (disk)ดังกล่าว โดยลบชื่อและที่อยู่พร้อม หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนออก คงเหลือไว้เฉพาะหมายเลขสมาชิกพรรคและวันที่สมัครเป็น สมาชิกพรรค จากนั้นก็นำชื่อที่อยู่และหมายเลขประจำตัวประชาชน(เลข 13 หลัก)ของผู้ที่จะ ส่งลงสมัครส.ส.ไปแทนที่ ซึ่งนายสายัณต์ เจียมสวัสดิ์ ให้ถ้อยคำว่าได้ช่วยนายสุขสันต์ฯจัดพิมพ์ เอกสารการสมัครส.ส.ดังกล่าวจริง

 

กระบวนการแก้ไขข้อมูลทั้งหมดได้ดำเนินการจัดทำที่ห้องพัก หมายเลข 203 ของโรงแรมกานต์มณี และจากการตรวจสอบปรากฏว่าตรงกับหลักฐายการเข้า พักของโรงแรม ที่นางรัตนา เกษรินทร์ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงแรมกานต์มณีมอบให้ไว้ต่ออนุกรรมการสืบ สวนฯ โดยนายอานนท์ หิรัญศิริ พนักงานตำแหน่งดูแลเครื่องเสียงของโรงแรมให้ถ้อยคำยืนยันว่า ผู้ที่มาเช่าห้องพักหมายเลข203 ร้องขอให้ช่วยดูแลแก้ไขเครื่องปริ๊นเตอร์เมื่อเกิดขัดข้องโดยสัญญาว่าจะให้ค่าจ้าง แต่ก็ยังมิได้รับค่าจ้างแต่อย่างใด และเมื่ออนุกรรมการสืบสวนสอบสวนนำภาพ ถ่ายของนายบุญทวีศักดิ์ฯ นายอำนาจ รอดช่วย นายสุขสันต์ และนางมณฑิราพร พิมพ์จันทร์ มา ให้นายอานนท์ฯตรวจดู ก็สามารถจำได้ว่าเห็นบุคคลทั้ง4 ร่วมกันทำการเปลี่ยนแปลงจัดทำเอกสารการสมัครส.ส.โดยมีนางมณฑิราพรฯนำโทรสารเข้ามาจัดทำในห้อง203 มีนายบุญทวีศักดิ์ ฯและ นายสุขสันต์ ฯ เป็นผู้ควบคุมการดำเนินการ และสั่งการ

 

และจากการตรวจสอบหลักฐานข้อมูล นายทะเบียนพรรคการเมืองพบว่าฐานข้อมูลของพรรคพัฒนาชาติไทยได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายชื่อ สมาชิกพรรคโดยใช้หมายเลขสมาชิกพรรคและวันสมัครเป็นสมาชิกพรรคของสมาชิกพรรคคนเดิม แล้วนำชื่อสมาชิกคนใหม่ใส่แทนชื่อที่ชื่อสมาชิกพรรคคนเดิมจริง โดยนายอมรวิทย์ สุวรรณผา เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ผู้มีหน้าที่บันทึกข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองยอมรับว่าเป็นผู้นำข้อมูลที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาบันทึกลงในฐานข้อมูลของนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยได้ค่าตอบแทน 30,000 บาท และได้นำเงินดังกล่าวมามอบให้ไว้เป็นหลักฐานต่ออนุกรรมการสืบสวนสอบสวนด้วย ซึ่งในที่สุดได้ แก้ไขข้อมูลสมาชิกพรรคและจะส่งลงสมัครส.ส.ทั้งสิ้น 33 คน จากวันที่ 6 มีนาคม 2549 นั้น นายทวีฯ ได้นำเงินมาให้อีก ได้ช่วยกันนับใส่ซองๆละ 20,000 บาท ได้ 38 ซอง มอบหมายให้ผู้ สมัครไปทั้งสิ้น 33 ซอง ที่เหลือแบ่งกันให้ผู้ร่วมงงาน จนถึงเวลา 18.00 น.จึงแยกย้ายกันกลับ โดยนายประยูร พูลจันทร์ ให้ถ้อยคำว่า เมื่อประมาณวันที่ 6 หรือวันที่ 7 มีนาคม 2549 นายประ ยูรฯ ได้มารับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทย ที่โรงแรมกานต์มณี และนายบุญทวี ศักดิ์มอบหมายให้ช่วยดูแลผู้สมัครส.ส.เขตภาคใต้ร่วมกับน.อ.อิษฎา น้อยขาว โดยพรรคช่วยค่าสมัครให้คนละ 10,000 บาท และช่วยค่าพิมพ์เอกสารแนะนำตัวด้วยแต่ไม่มาก นายประยูรฯได้รับ เงินสดจากนายบุญทวีศักดิ์ จำนวน72,000 บาทและจ่ายให้ผู้สมัครส.ส.ที่จุดรับสมัครเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชคนละ 12,000 บาท จำนวน 6 คน

 

นายปฏิ พัฒน์ เกียรติธีรวิชัย ให้ถ้อยคำว่าเป็นสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 นายบุญทวีศักดิ์ฯนำหนังสือรับรองมาให้นายปฏิพัฒน์ฯช่วงบ่ายของวันที่ 8 มีนาคม 2549และได้ไป สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ที่โรงเรียนสภาราชินี หลังจากสมัครแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ พรรคพัฒนา ชาติไทยได้โอนเงินเข้าบัญชีนายชารัตน์ มณีศรี เป็นค่าจัดทำเอกสารจำนวน 30,000 บาท นายชารัตน์ฯ นำมาให้นายปฏิพัฒน์ฯจำนวน 15,000 บาท และพ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ผู้ สมัครส.ส.จังหวัดชุมพรเขตเลือกตั้งที่ 1 สังกัดพรรคพัฒนาชาติไทย ให้ถ้อยคำยืนยันว่าในวันที่ 4 มีนาคม 2549 ขณะนำเอกสารหลักฐานการสมัครส.ส.มายื่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคได้เห็นนายต้อยฯ นายพงษ์ศรีฯนายทวีฯ นายชวการฯ นายสุขสันต์ฯ และนางบัวฯ อยู่ที่ โรงแรมกานต์มณีด้วย

 

และวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 11.00 นาฬิกา นายทวีฯนำเงิน มาให้นายชวการฯที่โรงแรมกานต์มณีอีกจำนวน 140,000 บาท เพื่อให้นายชวการฯโอนเงินไปให้ นายสุขสันต์ฯเป็นค่าสมัคร ส.ส.อีกจำนวน 7 คน ซึ่งนายชวการฯได้โอนเงินจากธนาคารกสิกร ไทย สาขาปดิพัทธ์เข้าบัญชีนายสุขสันต์ ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขานครพนม ซึ่งจากการตรวจสอบ ไปยังธนาคารดังกล่าวได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้จัดการสาขาธนาคารกสิกรไทยที่ 016/0207 /2549 ลงวันที่ 26 เมษายน 2549 ว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 นายชวการฯได้ทำการโอนเงิน จำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีเลขที่ 244-2-48301-1 ชื่อนายสุขสันต์ ขัยเทศ สาขานครพนม จริง ส่วนนายชวการฯรับเงินจากนายทวีฯจำนวน 5,000 บาทเพื่อสมทบกับเงินส่วนตัวไปเปิดบัญชีกระแสรายวันของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ธนาคารกรุงไทย สาขาประดิพัทธ์ และในวันดังกล่าวมีผู้สมัคร หลายคนได้ส่งโทรสารใบเสร็จรับเงิน และหนังสือรับรองการลงสมัครส.ส.มาให้นายสุขสันต์ฯเพื่อ ส่งต่อให้นายชวการฯนำไปรับเงินจากพล.อ.ธรรมรักษ์ฯตามที่ได้ตกลงกันไว้คือจำนวน 100,000 บาท 300,000 บาท 500,000 บาท และ1,000,000 บาทตามลำดับความสำคัญของผู้สมัครแต่ละ คน

 

และเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 นายชวการฯได้ส่งเอกสารให้แก่นายทวีฯ และติดต่อกับ นายพงษ์ศรีฯแล้วปรากฏว่าไม่ได้รับเงินตามจำนวนดังกล่าว ครั้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 นายชวการฯและนายสุขสันต์จึงได้หารือกันและเห็นพ้องกันว่าน่าจะถูกผู้ใหญ่หักหลัง จึงตัดสินใจไป พบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อเปิดเผยเรื่องทั้งหมด จากการสอบสวนนายบุญทวีศักิ์ฯให้ถ้อยคำว่า ช่วงที่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครส.ส. พรรคพัฒนาชาติไทยไม่มีเงินสนับสนุนให้แก่ผู้สมัคร ให้ผู้สมัคร ช่วยตัวเอง และจากการตรวจสอบการส่งสมัครับเลือกตั้ง

 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ของสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยแล้วพบว่า พรรคพัฒนาชาติไทยได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งระ บบแบ่งเขตจำนวน 27 คนและแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 4 คน และในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุม ภาพันธ์ 2548 พรรคพัฒนาชาติไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5 คน แบบแบ่งเขตจำนวน 1 คน

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย ได้ มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็ยังให้ถ้อยคำทำนองเดียวกันกับที่เคยให้ไว้ต่อ อนุกรรมการสืบสวนสอบสวนเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2549 ว่าเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 นายสุช สันต์ ชัยเทศ นายไทกร พลสุวรรณ นายชวการ โตสวัสดิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิ การพรรคประชาธิปัตย์ ได้ไปหานายบุญทวีศักดิ์ฯที่บ้าน และเสนอเงินให้จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อ ให้นายบุญทวีศักดิ์ฯล้มการเลือกตั้ง โดยให้ถอนชื่อผู้สมัครส.ส.หรือไม่ให้ส่งผู้สมัครส.ส.ลงแข่งขัน และจ้างให้ใส่ร้ายพล.อ.ธรรมรักษ์ ฯและนายพงษ์ศักดิ์ด้วย พิเคราะห์แล้วมีพยานให้ถ้อยคำสอดคล้องกัน

 

เมื่อฟังประกอบพยานหลักฐานต่างๆ รับฟังได้ว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นายชวการ โตสวัสดิ์ นายสุขสันต์ ชัยเทศ ได้ร่วมกัน กับนายพงศ์ศรี หรือยุทธพงศ์ ศิวาโมกข์ นายทวี สุวรรณพัฒน์ และนายต้อย หรือนายธีรชัย จุลพัฒน์ หาผู้สมัครส.ส.พรรคเล็กมาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่คาดว่าผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยจะได้คะ แนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และปรากฏว่ามีพรรคการเมือง ที่สามารถจัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้จำนวน 3 พรรค ได้แก่ พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคกฤชไทยมั่นคง และพรรคธัมมาธิปไตย แต่ในที่สุดคงเหลือพรรคพัฒนาชาติไทยเพียงพรรคเดียว

 

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 นายชวการฯ นายพงศ์ศรีฯ นายทวีฯ และนายต้อยหรือธีรชัยฯ ไปหาพล.อ.ธรรมรักษ์ ที่พรรคไทยรักไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และนั่งรอในห้องประชุมสักครู่หนึ่ง ได้พบพล.อ.ธรรมรักษ์ ฯ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และนายทหารนอกเครื่องแบบอีก 2 คน เข้ามาพูดคุยและตกลงกันว่าจะทำการตัดต่อข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคกรณีที่มีผู้สมัครเป็นสมา ชิกพรรคไม่ครบ 90 วัน ที่เรียกว่าตัดตอนพันธุกรรมโดยถอดชื่อว่าสมาชิกพรรคบางคนออกจากบัญ ชีรายชื่อสมาชิกพรรคแล้วนำชื่อผู้ที่พรรคจะส่งลงสมัครแทนโดยใช้หมายเลขสมาชิกพรรคและวัน สมัครสมาชิกพรรคของสมาชิกคนเดิม และได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่าย จากนั้นทั้งสี่คนจึงกลับไป ดำเนินการจัดหาผู้สมัครับเลือกตั้งโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติงานที่โรงแรมกานต์มณี และเปิดห้องพักหมาย เลข 426 เพื่อปรึกษาหารือกันมีนายสุขสันต์ฯ และนายทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ เข้าร่วมหารือด้วยใน รายละเอียดของการหาตัวผู้สมัครและค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง

 

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 14.00 นาฬิกา นายชวการฯนายทวีฯนายพงษ์ ศรีฯและนายต้อยฯหรือธีรชัยฯ ไปรับเงินจากพล.อ.ธรรมรักษ์ฯ ที่กระทรวงกลาโหม จำนวน 50,000 บาท นายชวการฯนำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนา ชาติไทย เพื่อใช้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

วันที่ 4-5 มีนาคม 2549 นายชวการฯและนายสุขสันต์ฯได้ติดต่อหาผู้สมัครโดยใช้โรงแรม กานต์มณี ห้องหมายเลข 401 เป็นศูนย์ประสานงาน นายสุขสันต์ฯจะดำเนินการเกี่ยวกับเอกสาร หลักฐานของผู้สมัคร โดยมีนางมณทิราพร พิมพ์จันทร์ เป็นผู้ช่วยเหลือ

 

วันที่ 6 มีนาคม 2549 นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ ได้นำแผ่นบันทึกข้อมูล(disk)สมา ชิกพรรคพัฒนาชาติไทย มาให้นายสุขสันต์ฯ แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ความเป็นสมาชิกพรรค โดยมีนายสายัณต์ เจียมสวัสดิ์ นายอานนท์ฯและผู้หญิงที่มากับนายอำนาจ รอดช่วย เป็นผู้ช่วยเหลือ และได้แก้ไขข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูล(disk)ดังกล่าว จำนวน 61 คน และในจำนวนนี้ได้ส่งลง สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 21 คน โดยจัดทำกันที่ห้อง 203 ของโรงแรมกานต์มณี และในวันนี้ นายทวีฯได้นำเงินมาให้อีกนับใส่ซองๆละ 20,000 บาท ได้ 38 ซอง มอบให้แก่ผู้ที่จะลงสมัครรับ เลือกตั้งไป 33 ซอง ที่เหลือเอาไว้แบ่งกัน

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 11.00 น. นายทวีฯนำเงินมาให้นายชวการฯ ที่โรงแรมกานต์มณี อีกจำนวน 140,000 บาท เพื่อให้นายชวการฯโอนเงินเข้ไปบัญชีนายสุขสันต์ฯ บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขานครพนม โดยโอนจากธนาคารกสิกรไทย สาขาประดิพัทธ เพื่อเป็นค่า ใช้จ่ายผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 7 คน และในวันดังกล่าวมีผู้สมัครหลายคนได้ส่งโทรสารใบเสร็จรับ เงินและหนังสือรับรองการลงสมัครส.สงมาให้นายสุขสันต์ฯเพื่อส่งต่อให้นายชวการฯนำไปรับเงิน จากพล.อ.ธรรมรักษ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ คือ จำนวน 100,000บาท และ 500,000 บาทและจำ นวน 1,000,000 บาท ตามลำดับความสำคัญของผู้สมัครแต่ละคนและเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549นายชวการฯได้ส่งเอกสารให้แก่นายทวีฯและติดต่อกับนายพงษ์ศรีฯแล้ว ไม่ได้รับเงินตามจำ นวนดังกล่าว ครั้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 นายชวการฯและนายสุขสันต์ฯจึงหารือกันและเห็น พ้องกันว่าน่าจะถูกผู้ใหญ่หักหลัง จึงตัดสินใจไปพบกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อเปิดเผยเรื่องทั้ง หมด

 

กรณีพรรคแผ่นดินไทย

ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่านางฐัติมา ภาวะลี ให้ถ้อยคำว่าเป็นผู้ประ สานงานพรรคแผ่นดินไทย โดยมีนายอิทธิพล ชิณราช เป็นหัวหน้าพรรคและเป็นผู้จัดทำรายชื่อผู้ที่จะ ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด รวมทั้งดูแลเรื่องการเงินของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 นายอิทธิพล ชิณราช ได้เล่าให้ฟังว่า นายกทักษิณ จะช่วยค่าใช้จ่ายใน การลงสมัครทุกพรรคๆละประมาณ 10 ล้านบาท โดยดูจากยอดจำนวนการส่งผู้สมัครมากน้อยเป็นสำคัญ วันที่ 2 มีนาคม 2549 พรรคแผ่นดินไทยได้ส่งผู้สมัครส.สแบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่ นายพัน ธมิตร ดวงทิพย์ นายฐัติมา ภาวะลี พ.ต.ต.สุขุม พันธุ์เพ็ง นายเรืองชัย เรืองวิศิษฐ์ และนายประ พันธ์ พรหมรัตน์ โดยนางฐัติมา เป็นผู้ออกเงินสำรองเป็นค่าสมัครไปก่อนจำนวน 50,000 บาท ซึ่ง พ.ต.ต.สุขุม พันธุ์เพ็ง ให้ถ้อยคำว่าได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคแผ่น ดินไทย และได้รับการสนับสนุนเงินค่าสมัครจากพรรค โดยนายบุญอิทธิพลฯ ได้ให้นางฐัติมาฯไป ถอนเงินมาให้ จำนวน 10,000 บาท และมอบเงินให้ที่อาคารนิมิบุตร

 

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 ผู้พันปุ่น(น.ต.ศิธา ทิวารี)นำเงินสมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร มามอบให้คุณวริศริยา งามเกิดศิริ และคุณพันธมิตร ดวงทิพย์ เป็นค่าใช้จ่ายคนละ 30,000 บาท จ่ายเป็น 2 งวด งวดแรกจ่ายในวัน สมัครคนละ 15,000 บาท และเมื่อสมัครเสร็จจะช่วยเพิ่มให้อีกคนละ 15,000 บาท จำนวนที่ มอบในวันนั้น 70,000 บาท นายไพฑูรย์ วงศ์วานิช นำผู้จะสมัครส.ส.ภาคใต้มาหารือที่ศูนย์ฯ หลายิบคนได้ติดต่อทางโทรศัพท์กับพล.อ.ธรรมรักษ์ฯตลอดเวลา นางฐัติมา ได้ยินว่าสรุปยอดค่าใช้ จ่ายส่วนของผู้สมัครส.ส.ภาคใต้คนละ 100,000 บาท แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรกวัน สมัครคนละ 40,000 บาท หักให้ค่านายหน้าคนละ 10,000 บาท ในวันนั้นมีเสธ.ไอซ์(พล.อ. ไตรรงค์ อินทรทัต)ได้เข้าร่วมประชุมหารือที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคแผ่นดินไทย แทนพล. อ.ธรรมรักษ์ฯตลอดมา

 

จนถึงเวลา 21.00 น. ก่อนเสธ.ไอซ์จะกลับได้บอกว่าจะให้คนนำเงินค่า ใช้จ่ายมาให้แก่นางฐัติมาฯ ต่อมาเวลาประมาณ 22.00 น. ของวันเดียวกัน พล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่น เสนาะ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีพล. อ.ไตรรงค์ฯเป็นผู้บังคับบัญชา(เหตุที่ทราบเพราะได้รับนามบัตรจากพล.ท.ผดุงศักดิ์ฯ) มาหา นางฐัติมาฯที่ศูนย์ฯและนำค่าใช้จ่ายของภาคใต้ประมาณ 14 คน เป็นเงิน1,450,000 บาท มอบ ให้นางฐัติมาฯและนางฐัติมาฯได้หักเป็นค่านายหน้า 400,000 บาท และได้มอบให้นายหน้าไป ส่วนที่เหลือประมาณ 1,050,000 บาท นางฐัติมาฯเก็บไว้จ่ายให้ผู้สมัครส.ส.ที่จะลงสมัครในภาคใต้ ซึ่งแกนนำของพรรคแผ่นดินไทยที่อยู่ที่ศูนย์ฯในวันดังกล่าวได้แก่ นายไพฑุรย์ วงศ์วานิช นายแฟน ดี้ ปะสู นายวรพล(นิยม)ไม่ทราบนามสกุล นายจารึก เชาวฤทธิ์ นายบุญชู ซุ้นสุวรรณ นายประ พันธ์ พรหมรัตน์ นายธีระพงษ์ ลาเลิศ นายปราโมทย์ ไม่ทราบนามสกุล และนายสิระภาพ เหล่า ลาภะ

 

วันที่ 5 มีนาคม 2549 นายพันธมิตรได้นำเงินจำนวน 300,000 บาทมาให้นางฐัติมาฯและ บอกว่าได้รับเงินจากผู้พันปุ่น(น.ต.ศิธา ทิวารี)เพื่อใช้ส่งคนลงสมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร จำ นวน 700,000 บาท และวันนี้ผู้สมัครส.ส.ภาคใต้นำหลักฐานมากรอกใบสมัครและลงลายชื่อในใบ สมัครสมาชิกพรรคพร้อมเขียนใบสมัครส.ส.และรับหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคที่รับรองการเป็น สมา ชิกพรรคเพื่อให้ผู้สมัครแต่ละท่านนำไปใช้สมัครในแต่ละเขตจังหวัด นางฐัติมาฯจ่ายเงินให้ ตามจำนวนที่ปรากฏจากหลักฐานสำเนาใบสำคัญการรับเงินที่นางฐัติมาฯจัดทำให้ผู้รับเงินลงลายมือ ชื่อรับเงินไว้และได้มอบให้ไว้แก่อนุกรรมการสืบสวนสอบสวนเป็นหลักฐาน ได้แก่ นายปราโมทย์ ตั้งพยากรณ์จำนวน40,000 บาท นายประพันธ์ พรหมรัตน์ จำนวน 50,000 บาท นายธนาภิวัฒน์ จินดารัตน์ จำนวน 10,000 บาท นายนิยม เผือกพรหม จำนวน 10,000 บาท นายจารึก เทว ฤทธิ์ จำนวน 30,000 บาท นายสิรภพ เหล่าลาภะจำนวน 10,000 บาท นายไพฑูรย์ วงษ์วา นิช จำนวน 70,000 บาท นายแฟนดี้ ประสู จำนวน 70,000 บาท นายบุญชู ซุ้นสุวรรณ จำ นวน 60,000 บาท เป็นต้น และจากการสอบสวนนายบุญชูฯและนายแฟนดี้ฯ ต่างยืนยันว่าได้ลง ลายมือชื่อรับเงินจำนวนตามเอกสารหลักฐานสำเนาใบสำคัญการรับเงินที่นางฐัติมาฯมอบให้ไว้แก่อ นุกรรมการสืบสวนสอบสวนดังกล่าว จริงและจากการสืบสวนนายไพฑูรย์ฯให้ข้อมูลว่าพล.อ. ธรรมรักษ์ฯให้เงินค่าสมัครแก่ตนจำนวน 15,000 บาท และโอนมาให้อีก 30,000 บาท ถึง 40,000 บาท เพื่อใช้สำหรับผู้สมัครภาคใต้

 

ในวันเดียวกันพล.ท.ผดุงศักดิ์ฯนำเงินมาให้อีก 1,700,000 บาท สำหรับผู้สมัครภาคใต้เพิ่มเติมอีก 10 คน ที่ปั๊มน้ำมันบางจากลานจอดรถสถา นีรถไฟสามเสนอีกเป็นครั้งที่ 3 จำนวน 525,000 บาท โดยพล.ท.ผดุงศักดิ์ฯขอเก็บส่วนที่ เหลืออีก 500,000 บาทไว้ก่อน และจะนำมามอบให้นางฐัติมาฯภายหลัง แต่เงินจำนวนนี้นางฐั ติมาฯก็ยังไม่ได้รับ นางฐัติมาฯได้รับเงินทั้งสิ้นจำนวน 3 ครั้งจากพล.ท.ผดุงศักดิ์ฯเป็นเงิน 3,675,000 บาท วันที่ 20 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 13.40 นาฬิกา นางฐัติมาฯได้รับ โทรศัพท์จากเสธ.ชาติ หมายเลข 09-4327666 เข้ามาที่เครื่องของนางฐัติมาฯหมายเลข 04- 1376688 ถามว่าต้องการเงินอีกจำนวนเท่าใด ซึ่งนางฐัติมาฯแจ้งว่าต้องการอีกประมาณ 2 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน

 

จากการสอบสวนศ.ดร.อุทัย นามวงศ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.กรุง เทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 21 ให้ถ้อยคำยืนยันว่า ได้รับเงินค่าสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. จากนางฐัติมาฯและนายพันธมิตรฯ จำนวน 15,000 บาท ซึ่งเป็นค่าสมัครสำหรับผู้สมัครใน เขตกรุงเทพมหานคร นางสาวชนมณี กล้าณรงค์ และนางสาวอุทัยวรรณ แหวนทอง ให้ถ้อยคำ สอดคล้องกันว่า เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 เวลา 12.00 น.พยานทั้งสองและนางนันทิธีร์ สมสวย ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งฯซอยอินทามระ 43 ได้กรอกใบสมัครสมาชิกพรรคแผ่นดิน ไทย โดยไม่ให้พยานลงวันที่ในใบสมัคร เมื่อกรอกพยานเสร็จได้ลงชื่อรับเงินจำนวน 15,000 บาทโดยได้ลงชื่อค้ำประกันซึ่งกันและกัน ต่อมาวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ09.00 น. นายสมชาย สุขประเสริฐ ได้พาพยานทั้งสองไปถ่ายรูปและไปเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาปากน้ำ และนำเงินจำนวน 100,000 บาท ไปเปิดบัญชีและถอนซื้อแคช เชียร์เช็ค จำนวน 10,000 บาทเพื่อนำไปเป็นค่าสมัคร

 

จากนั้นนายสมชายฯได้โทรศัพท์แจ้งผู้ใด ไม่ทราบบอกว่าให้โอนเงินค่าสมัครเข้าบัญชีนางนันทิธีร์ สมสวย จำนวน 30,000 บาทเพราะ นายสมชายฯไม่มีบัตรเอทีเอ็ม(บัตรเบิกเงินสด)ด้วยตนเอง) นายสมชายฯบอกว่าเป็นเงินค่าสมัคร เมื่อไปเบิกเงินแล้วนำมาแบ่งให้แก่นางสาวชนมณีฯ นางนันทธีร์ และนางสาวอุทัยวรรณเป็นค่า สมัครคนละ 10,000 บาท ส่วนแคชเชียร์เช็คที่ซื้อมาพยานทั้งสองนำไปแลกเงินสดคืน จาก การสอบสวน จากการสอบสวนนายบุญอิทธิพล ชิณราช หัวหน้าพรรคแผ่นดินไทย ให้ถ้อยคำว่าพรรค แผ่นดินไทย ณ สิ้นปี 2548 พรรคแผ่นดินไทย ไม่มีเงินในบัญชีจึงไม่มีเงินที่จะสนับสนุนผู้สมัครให้ ลงสมัครรับเลือกตั้ง

 

และจากการสอบสวนนางเพชรี ภาวะลี มารดาของสามีนางฐัติมาฯให้ถ้อยคำ ยืนยันว่านางฐัติมาฯเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเงินเนื่องจากธุรกิจที่ทำมีปัญหา และต้องหยิบยืมเงิน นางเพชรีฯ โดยผ่านนายศักรินทร์ฯสามีหลายครั้ง

 

และจากการตรวจสอบการส่งสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบแบ่งเขตของสมาชิกพรรคแผ่นดินไทย แล้วพบว่าพรรคแผ่นดินไทยได้ ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งระบบแบ่งเขตจำนวน 119 คนและแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5 คนและ ในการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคแผ่นดินไทย ส่งผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีราย ชื่อจำนวน 5คนและแบบแบ่งเขตจำนวน 1 คน

 

จากการสืบสวนสอบสวนนายศักรินทร์ ภาวะ ลี ให้ถ้อยคำและข้อมูลว่าเมื่อ 21 มีนาคม 2549 ช่วงเย็น มีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงมหาด ไทย โทรมาสอบถามเรื่องของนางฐัติมาฯและวันที่ 22 มีนาคม 2549 ผู้บริหารหลายฝ่ายของจังหวัดร้อยเอ็ดได้เชิญไปพบเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของนางฐัติมาฯและได้รับคำแนะนำให้แจ้งความ โดยเชิญตำรวจมาลงบันทึกประจำวันแจ้งความคนหายในสถานที่ทำงานของผู้บริหารดังกล่าว

 

ต่อมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2549 นางฐัติมาฯให้ถ้อยคำว่า ไม่ขอยืนยันบันทึกถ้อยคำที่เคยให้ไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 และไม่เคยไปรับเงินจากผู้ใดในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.ครั้งนี้และกล่าว หาว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ ว่าจ้างเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และจ่ายให้ก่อน 300,000 บาท เพื่อให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และได้บังคับขู่เข็ญให้ไปถ้อยคำที่กองบังคับการตำ รวจภูธรภาค 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ต่อมาได้ให้การเพิ่มเติมในวันที่ 5 เมษายน 2549 โดยยอมรับว่าได้นำเงินมาจ่ายให้แก่ผู้สมัครกรุงเทพมหานคร คนละ 15,000 บาท และผู้สมัคร ภาคใต้คนละ 30,000-40,000 บาทและเป็นเงินของผู้ที่ให้การสนับสนุน แต่ไม่ขอระบุนาม และ นางฐัติมาฯกับนายพันธมิตรฯเป็นผู้รับเงินมาจ่ายให้แก่ผู้สมัครด้วยตนเอง พร้อมทั้งทำหลักฐานการรับ เงินโดยผู้สมัครเป็นผู้ค้ำประกันตนเอง

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 นายบุญอิทธิพล ชิณราช หัวหน้าพรรคแผ่นดินไทยไม่นำ พยานหลักฐานและไม่มาชี้แจงข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามที่กำหนดนัดไว้ตามหนัง สือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด่วนที่สุด ที่ ลต 0201/7346 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 โดยไม่ชี้แจงแสดงเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการการ เลือกตั้งเป็นหนังสือหรือทางโทรสาร จึงถือว่านายบุญอิทธิพล ไม่ประสงค์มาให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อ กล่าวหาต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งให้โอกาสตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 แล้ว

พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า มีพยานให้ถ้อยคำสอดคล้องต้องกันและเมื่อฟังประกอบพยานหลัก ฐานต่างๆ รับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 นายบุญอิทธิพล ชิณราช แจ้งให้นางฐิติมาฯ ทราบว้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะช่วยค่าใช้จ่ายในการลงสมัครทุกพรรค ๆ ละ ประมาณ 10 ล้านบาท โดยดูจากยอดจำนวนการส่งผู้สมัครมากน้อยเป็นสำคัญ

 

วันที่ 2 มีนาคม 2549 พรรคแผ่นดินไทย ได้ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่ นายพันธมิตร ดวงทิพย์ นางฐิติมา ภาวะลี พ.ต.ต.สุขุม พันธุ์เพ็ง นายเรืองชัย เรืองวิศิษฐ์ และ นายปีพันธ์ พรหมรัตน์ โดยนายบุญอิทธิพลฯได้ให้นางฐิติมาฯเป็นผู้ออกเงินสำรองเป็นค่าสมัครไป ก่อนจำนวน 50,000 บาท

 

เมื่อวันที่ 47 มีนาคม 2549 นายไพฑูรย์ วงศ์วานิช นำผู้จะสมัคร ส.ส.ภาคใต้มาหารือที่ ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคแผ่นดินไทยหลายสิบคนและได้ติดต่อทางโทรศัพท์กับ พล.อ.ธรรมรักษ์ฯ และสรุปนอดค่าใช้จ่ายส่วนของผู้สมัคร ส.ส.ภาคใต้ได้คนชะ 100,000 บาท แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรกวันสมัคร คนละ 40,000 บาท หักให้ค่านายหน้าคนละ 10,000 บาท ในวันนี้ พล. อ.ไตรรงค์ อินทรทัด หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้า ร่วมประชุมที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคแผ่นดินไทย จนถึงเลา 21.00 น. และก่อน พล.อ. ไตรรงค์ฯ จะกลับได้บอกว่าจะให้คนนำเงินค่าใช้จ่ายมาให้แก่นางฐิติมาฯ ต่อมาเวลาประมาณ 22.00 น.ในวันเดียวกัน พล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่านเสนาธิการประ จำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มาหานางฐิติมาฯ ที่ศูนย์ฯ และนำค่าใช้จ่ายของภาคใต้ จำ นวนเงิน 1,450,000 บาท มอบให้นางฐิติมาฯ โดยนางฐิติมาฯ หักเป็นค่านายหน้า 400,000 บาท และวันดังกล่าวมี นายไพฑูรย์ วงศ์วานิช นายเฟนดี้ ปะสู นายวรพล(นิยม) ไม่ทราบ นามสกุล นายจารึก เชาวฤิทธิ์ นายบุญชู ซุ้นสุวรรณ นายประพันธ์ พรหมรัตน์ นายธีระพงษ์ ลาเลิศ นายปราโมทยข์ ไม่ทรายนามสกุล นายพงษ์นรินทร์ ไม่ทรายนามสกุล นายประภากร ไม่ทราย นามสกุล และนายสิระภาพ เหล่าลาภะ ร่วมประชุมด้วย

 

วันที่ 5-7 มีนาคม 2549 ผู้สมัคร ส.ส.ภาคใต้นำหลักฐานมากรอกใบสมัครและรับหนีงสือรับ รองการเป็นสมาชิกพรรคของหัวหน้าพรรคแล้วนางฐิติมาฯได้จ่ายเงินให้ตามที่ปรากฎจากหลักฐานสำ เนาใบสำคัญการรับเงินที่นางฐิติมาฯ มอบให้ไว้แก่อนุกรรมการสืบสวนสอบสวน ได้แก่ นายปรา โมทย์ ตั้งพยากรณ์ จำนวน 40,000 บาท นายประพันธ์ พรหมรัตน์ จำนวน 50,000 บาท นายธน่ภิวัฒน์ จินดารัตน์ จำนวน 10,000 บาท นายนิยม เผือกพรหม จำนวน 10,000 บาท นายจารึก เทวฤทธิ์ จำนวน 10,000 บาท นายจสิระภาพ เหล่าลาภะ จำนวน 10,000 ยาท นายไพธูรย์ วงศ์วานิช จำนวน 70,000 บาท นายเฟนดี้ ประสู จำนวน 70,000 บาท นายบุญชู ซุ้มสุวรรณ จำนวน 60,00 บาท เป็นต้น และ ศ.ดร.อุทัย นามวงศ์ ได้รับจำนวน 15,000 ยาท นางสาวชนมณี กล้าณรงค์ และนางสาวอุทัยวรรณ แหวนทอง ได้รับจำนวนคนละ 15,000 บาท และวันเดียวกัน พล.ท.ผดุงศักดิ์ฯ นำเงินมาให้อีก 1,700,000 บาท สำหรับผู้สมัครภาคใต้ที่เพิ่ม เติม 17 คน

 วันที่ 9 มีนาคม 2549 พล.ท.ผดุงศักดิ์ฯ นำเงินมามอบให้นางฐิติมาฯ ที่ปั้มน้ำมันบาง จากลานจอดรถสถานีรถไฟสามเสนอักเป็นครั้งที่ 3 จำนวน 525,000 บาท และส่วนที่เหลิออีก 500,000 บาท จพให้นางฐิติมาฯ ในภายหลัง แต่นางฐิติมาฯ ยังไม่ได้รับ นางฐิติมาฯ ได้รับเงิน จำนวน 3 ครั้งจากพล.ท.ผดุงศักดิ์ฯ รรวมเป็นเงิรทั้งสิ้น 3,675,000 บาท

 

วันที่ 20 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 13.40 นาฬิกา เสธ.ชาติ หมายเลข 09- 4327666 โทรมาที่เคื่องของนางฐิติมาฯ หมายเลข 04-1376689 ถามว่าต้องการเงินอีกจำนวน เท่าใด นางฐิติมาฯ จึงแจ้งว่าต้องการอีกประมาณ 2 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้รับเงิน ซึ่งขณะนั้น พรรคแผ่นดินทยไม่มีเงินที่จะสนับสนุนผู้สมัครให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และนางฐิติมาฯ ก็เป็นบุคคลที่มี ปัญหาทางการเงินถึงขนาดต้องยืมเงินของนางเพชรีฯ โดยผ่านนายศักรินทร์ฯ สามีหลายครั้ง และ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2549 นางฐิติมาฯ ยอมรับว่า เงินที่นำมาจ่ายให้แก่ผู้สมัครกรุงเทพมหานคร คนละ 15,000 บาท และผู้สมัครภาคใต้ คนละ 30,000 - 40,00 บาท เป็นเงินของผู้ที่ฝห้ การสนับสนุน แต่ไม่ยอมระบุนาม ซึ่งนางญิติมาฯ กับ นายพันธมิตรฯ เป็นผู้รับเงินมาจ่ายให้แก่ผู้ สมัครด้วยตนเอง พร้อมทั้งทำหลักฐานการรับเงินโดยให้ผู้สมัครเป็นผู้ค้ำประกันตนเอง

คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ได้ร่วมกันพิจารณาจากข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐานดังกล่าวแล้ว เห็นว่า ทั้งพรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทยต่างก็ไม่มีเงินที่จะ สนับสนุนในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 แต่ก็ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคของตน ซี่งเมื่อพิจารณาในส่วน ของพรรคพัฒนาชาติไทยนั้น จะเห็นได้ว่าคำให้การของนายชวการ โตสวัสดิ์ ได้ให้รายละเอียด ของการดำเนินการได้อย่างสอดคล้องและมีความเชื่อมโยงอย่างมีเหตุมีผลทุกขั้นตอน โดยเริ่มตั้ง แต่ก่อนมีการติดต่อให้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงการเข้าพบกับ พล.อ.ธรรมรักษ์ฯ รองหัวหน้าพรรค ไทยรักไทย และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ซึ่งทั้งสองคนเป็น กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เพื่อวางแผนในการจัดหาบุคคลมาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งกระบวนการจัดส่งเอกสารประกอบการรับสมัครแบะการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกพรรคโดยใช้เลขที่และรับสมัครเป็นสมาชิกพรรคเดิมแล้วนำชื่อสมาชิกพรรคใหม่ใส่แทนที่สมาชิกคนเดิมเพื่อให้ผู้สมัครพรรคชาติพัฒนาไทยที่เพิ่งจะเป็นสมาชิกพรรคใหม่ และมีความเป็นสมาชิกภาพไม่ครบ 90 วัน เป็นผู้สมัครที่มีสมาชิกภาพครบ 90 วัน ทั้งนี้ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ตามที่ตกลงไว้กับ พล.อ.ธรรมรักษ์ฯ และนายพงษ์ศักดิ์ฯ โดยมีพยานอื่นมาสนับสนุนคำให้การ ของนายชวการฯ ให้มีน้ำหนักรับฟังได้ เช่น คำให้การของนางรัตนา เกศรินทร์ และนายอานนท็ หิรัญศิริ พนักงานโรงแรมกานต์มณี คำให้การของนายสุขสันต์ฯ คำให้การของนายอมรวิทย์ฯ คำ ให้การของนางสาวหนึ่งฤทัยฯ ลูกจ้างร้านอาหารตามสั่งที่ตั้งอยู่ทางออกของที่ทำการพรรคไทยรัก ไทย คำให้การของนายปฏิพัฒน์ฯ ผู้สมัครส.ส.จังหวัดตรัง เขต 1 พรรคพัฒนาชาติไทย และคำ ให้การของนายประยูร พูลจันทร์ ผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดนครศรีธีรรมราช เขต 10 พรรคพัฒนาชาติ ไทยที่ยืนยันว่า ได้รับเงินค่าสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคพัฒนาชาติไทย และ จากข้อมูลการส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคคพัฒนาชาติไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันตที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคพีฒนาชาติไทยได้ส่งผู้สัคร ส.ส.เพียง 6 คน แต่ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ปรากฏว่าพรรคพัฒนาชาติไทยได้ส่งผู้สมัคร ส.ส.มากถึง 21 คน ทั้งที่พรรคไม่มีเงินสนับ สนุนและผู้สมัครดังกล่าวก็เป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั้งสิ้น จากข้อเท็จจริงแลัพยานหลักฐานดังกล่าวฟัง เป็นยุติได้ว่าพรรคพัฒนาชาติไทยได้รับการสนับสนุนเงินหรือได้รับการว่าจ้างจาก พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ผู้บริหารระดับสูงของพรรค ไทยรักไทย เพื่อให้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.25 49 จริงตามคำร้องเรียน

 

สำหรับกรณีของพรรคแผ่นดินไทยนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การของนางฐัติมา ภาวะลี ที่ได้ให้ การครั้งแรกยืนยันว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต ซึ่งเป็นหัวหน้า นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมตามประกาศเรื่องให้นายทหารรับราช การ ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน 2548 ได้มาประชุมวางแผนในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ศูนย์ อำนายการเลือกตั้งของพรรคแผ่นดินไทยแทน พล.อ.ธรรมรักษ์ฯ โดยตลอด โดยร่วมประชุมกับ นายไพฑูรย์ วงศ์วานิช นายแฟนดี้ ประสู นายวรพล (นิยม) ไม่ทราบนามสกุล นายจารึก เชาว ฤทธิ์ นายบุญชู ซุ้นสุวรรณ นายประพันธ์ พรหมรัตน์ เป็นต้น ซึ่งก่อนกลับได้แจ้งว่าจะมีคนนำเงินมา ให้ และต่อมาพล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ซึ่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงหลาโหมที่มีพล.อ.ไตรรงค์ฯ เป็นผู้บังคับบัญชาฯ ได้นำเงินมาให้จำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 3,675,000 บาท เพื่อให้นำไปจ่ายให้แก่ผู้สมัครในสังกัดพรรค แผ่นดินไทย โดยมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนคำให้การครั้งแรก ของนายฐัติมาฯให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

 

และจากคำให้การของนายบุญอิทธิพลฯ หัวหน้าพรรคแผ่นดินไทย ให้การยืนยันว่าพรรคไม่มีเงินที่จะ สนับสนุนให้ผู้สมัครลงสมัครับเลือกตั้ง และยังมีศ.ดร.อุทัย นามวงศ์ ให้การยืนยันว่าได้รับเงินค่า สมัครจำนวน 15,000 บาท จากนายพันธมิตร ดวงทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และนางฐัติมาฯ และ ข้อมูลที่นายไพฑูรย์ ให้รายละเอียดว่าเป็นเพื่อนกับพล.อ.ธรรมรักษ์ฯ และได้รับเงินค่าสมัครจำ นวน 15,000 บาท จากพล.อ.ธรรมรักษ์ฯ รวมทั้งคำให้การของนายแฟนดี้ ประสู และนายบุญชู (ชูวิทย์) ซุ้นสุวรรณ ซึ่งได้อยู่ร่วมประชุมในวันดังกล่าวด้วย ที่ยอมรับว่าเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2549 ได้เดินทางไปที่ศูนย์อำยนวยการเลือกตั้งของพรรคแผ่นดินไทยที่ซอยอินทรมระ 43 ได้เห็นพล.อ. ไตรรงค์ อินทรทัต นายประพันธ๎ หรหมรัตน์ นายพันธมิตรฯ นางฐัติมาฯ นายแฟนดี้ ประสู นายไพ ฑูรย์ วงศ์วานิช นายจารึก เทวฤทธิ์ และนายปราโมทย์ ตั้งพยากรณ์ โดยในวันนั้นนางฐัติมาฯ ได้ นำใบสมัครสมาชิกพรรคแผ่นดินไทยมาให้กรอกข้อความ และเมื่อจัดการเกี่ยวกับเอกสารการสมัคร เสร็จแล้ว นางฐัติมาฯได้มอบเงินให้แก่นายบุญชู(ชูวิทย์)จำนวน 60,000 บาท และให้นายแฟนดี้ ประสู จำนวน70,000 บาท พร้อมทั้งลงลายมือชื่อรับเงินในเอกสารใบสำคัญการรับเงินที่นางฐั ติมาฯจัดทำขึ้นด้วย

 

จากคำให้การครั้งแรกของนางฐัติมาฯที่มีข้อความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ตามลำ ดับขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกับคำให้การของนายบัญชู(ชูวิทย์)ฯ นายแฟนดี้ฯ รวมทั้งข้อมูล รายละเอียดของนายไพฑูรย์ฯแล้วยังมีเอกสารหลักฐานจากใบสำคัญรับเงินที่นางฐัติมาได้มอบให้แก่อ นุกรรมการสืบสวนสอบสวน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 ซึ่งปรากฏลายมือชื่อของนางฐัติมาฯใน เอกสารดังกล่าว แม้ต่อมานางฐัติมาฯจะปฏิเสธว่าไม่ใช่ลายเซ็นต์ของตนก็ตาม แต่เมื่อนำลายมือ เขียนของนางฐัติมาฯที่ให้ต่อคณะอนุการรมการสืบสวนสอบสวน มาพิจารณาเปรียบเทียบโดยละ เอียดแล้วพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ประกอบกับคำให้การของนายบุญชู(ชูวิทย์)และนายแฟนดี้ฯที่ยืน ยันว่าลายมือชื่อที่เซ็นไว้ในเอกสารใบสำคัญรับเงินของนายฐัติมาฯนั้น เป็นของตนเองที่ให้ไว้แก้ นางฐัติมาฯจริง จนในที่สุดทำให้นางฐัติมารฯต้องจำนนหลักฐาน และยอมรับต่ออนุกรรมการสืบสวนสอบสวนว่าได้ให้เงินแก่ผู้สมัครับเลือกตั้งของพรรคพัฒนาชาติไทยจริง และเงินที่ให้เป็นของผู้ที่ให้ การสนับสนุนแต่ไม่ขอระบุชื่อ และจากข้อมูลการส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคแผ่นดินไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคแผ่นดินไทยส่งผู้สมัครส.ส.เพียง 6 คน แต่ใน การเลือกตั้งส.ส.ครั้งนี้ปรากฏว่าพรรคแผ่นดินไทยได้ส่งผู้สมัครส.ส.มากถึง 124 คน ทั้งที่พรรค ไม่มีเงินสนับสนุนและผู้สมัครดังกล่าวก็เป็นผู้ขาดคุณสมบัติแทบทั้งสิ้น

 

จากข้อเท็จจริงและพยานหลัก ฐานดังกล่าวจึงฟังเป็นยุติได้ว่าพรรคแผ่นดินไทยได้รับการสนับสนุนเงิน หรือได้รับการว่าจ้าง จากพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้บริหารระดับสูงของพรรคไทยรักไทย เพื่อให้ ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จริง ตามคำร้องเรียน

 

ประเด็นที่ 2 บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ร้องเรียนดังต่อไปนี้ มีความผิดหรือไม่ อย่าง ไร

 

1.ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง สังกัดพรรคพัฒนาชาติ ไทย จำนวน 21 คน ที่ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัครับเลือกตั้งตามมาตรา 107(4)ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักรราช 2540 และได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่มีสิทธิ์ อันเป็นการ ฝ่าฝืนมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และนำหนังสือรับรองความเป็นสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยอัน เป็นเท็จไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน เป็นความผิดตามมมตรา 137 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ เป็นความผิด ตามมาตรา 267 แห่งประมวลกฏหมายอาญา ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่ง เขตเลือกตั้ง สังกัดพรรคแผ่นดินไทย จำนวน 119 คน ที่ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 107(4)ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักรราช 2540 และได้ลงสมัครรับ เลือกตั้งโดยไม่มีสิทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 100 แห่งพระราชแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และนำหนังสือ รับรองความเป็นสมาชิกพรรคแผ่นดินไทยอันเป็นเท็จไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นการแจ้งความอันเป็น เท็จต่อเจ้าพนักงาน เป็นความผิดตามมมตรา 137 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และแจ้งให้เจ้าพนัก งานจดข้อความอันเป็นเท็จ เป็นความผิดตามมาตรา 267 แห่งประมวลกฏหมายอาญา อย่างไรก็ดี คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในการประชุมรั้งที่ 34/2549 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 และ ครั้งที่ 39/2549 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ให้ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลดังกล่าวแล้ว

 

2. พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่า การกระทรวงกลาโหม และขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่วรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เห็นว่าข้อ เท็จจริงที่ ได้จากการสบสวนสอบสวนรับฟังได้ว่า พลเอก ธรรมรักษ์ ฯ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการ เมืองเป็นความผิดตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 โดยให้เงินสนับสนุนแก่พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย เพื่อเป็นค่าชดเชยแก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งของทั้งสองพรรค ในการส่งผู้ สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิ สภา พ.ศ. 2541 ด้วยการตัดต่อข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคกรณีที่มีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคไม่ ครบ 90 วัน ที่เรียกว่าตัดต่อพันธุ์กรรมโดยถอดชื่อสมาชิกพรรคบางคนออกจากบัญชีรายชื่อสมา ชิกพรรคแล้วนำชื่อผู้ที่พรรคจะส่งลงสมัครแทนที่โดยใช้หมายเลขและวันสมัครสมาชิกพรรคเดิม โดยพรรคไทยรักไทยได้ประโยชน์

 

จากการกระทำดังกล่าว จึงถือเป็นการกระทำในนามของพรรคไทยรักไทย เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจปกครองประเทศของพรรคไทยรักไทย โดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐ ธรรมนูญ และขณะเดียวกันการกระทำ ดังกล่าว อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือขัดต่อกฎหมายหรือขัด ต่อความไม่สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการฝ่าผืนบัญญัติมาตรา 66(1)และ (3)แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และมีความผิด ฐานสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประ กอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 รวมทั้ง ความผิดฐานผู้ใช้ให้บุคคลอื่นปลอมแปลงเอกสาร ตามมาตรา 264 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

 

3. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม และขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้ จากการสืบสวนสอบสวนปรกฏว่า ได้อยู่ร่วมตลอดเวลาในระหว่างที่ พลเอก ธรรมรักษ์ฯ พูดคุย กับนายชวการฯ นายพงษ์ศรีฯ นายทวีฯ และนายธีรชัยหรือต้อยฯ เพื่อวางแผนและตกลงกันว่าจะทำ การตัดต่อข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรค กรณีที่มีผู้สมัครเป็นสมาชิกไม่ครบ 90 วัน ที่เรียกว่าตัดต่อพันธุกรรมโดยถอดชื่อสมาชิกพรรคบางคนออกจากบัญชีรายชื่อสมาชิกพรรคแล้วนำชื่อผู้ที่พรรคจะ ส่งลงสมัครแทนที่โดยใช้หมายเลขและวันสมัครสมาชิกพรรคเดิม

 

เช่นนี้ จึงเห็นว่า พฤติการณ์ดัง กล่าวถือเป็นการร่วมกระทำ หรือก่อ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองประเทศของพรรคไทยรักไทย โดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ ขณะเดียวกันการกระทำดังกล่าว อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันเป็นการฝ่าฝืนบัญญัติมาตรา 66(1)และ(3) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พศ. 2541 และมีความผิดฐานเป็น เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ สมัครหรือพรรคการเมืองเป็นความผิดตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่ แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 รวมทั้งมีความผิดฐานผู้ใช้ ให้บุคคลอื่นปลอมแปลงเอกสารตามมาตรา 264 และมาตรา 268 ประกอบมาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

 

4. พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต ดำรงตำแหน่งหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่า ได้เข้าไปยัง ศูนย์อำนวยการพรรคแผ่นดินไทยที่ซอยอินทมระ 43 เพื่อร่วมวางแผนในการจัดคนลงสมัครและให้ เงินสนับสนุนแก่พรรคแผ่นดินไทยแทน พลเอก ธรรมรักษ์ฯ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่ง หน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เป็นความผิดตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนในการให้เงินสนับสนุน แก่พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ของพรรคทั้งสองพรรค ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตลงแข่งขัน กับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตของพรรคไทยรักไทยเพื่อกหลีกเลี่ยงคะ แนนเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยไม่ถึงร้อยละยี่สิบตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีความผิดฐานสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และมีความผิดฐานสนับสนุนให้บุคคลอื่นปลอมแปลงเอกสาร ตามมาตรา 264 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

 

5.พลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่า เป็นผู้นำเงิน ไปให้ผู้สมัครที่ศูนย์อำนวยการพรรคแผ่นดินไทยที่ซอยอินทมระ 43 เพื่อร่วมวางแผนในการจัด คนลงสมัครและให้เงินสนับสนุนก่พรรคแผ่นดินไทยแทน พลเอก ธรรมรักษ์ฯ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองเป็นความผิดตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนใน การให้เงินสนับสนุนแก่พรรคแผ่นดินไทยเพื่อเป็นนำไปเป็นค่าใช้จ่ายแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตลงแข่งขันกันผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตของพรรคไทยรักไทย เพื่อหลีกเลี่ยงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้ สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยไม่ถึงร้อยละยี่สิบตามมาตรา 74 แห่งพระ ราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 จึงมีความผิด ฐานเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 100 แห่งพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพ.ศ.2541 รวมทั้งมีความผิดฐานเป็นตัวการ หรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นปลอมเอกสาร ตามมาตรา 264 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฏหมายอาญา

 

6.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พยานที่ให้การถึงเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำ หนักน้อย คำร้องเรียนฟังไม่ขึ้น

 

7.น.ต.ศิธา ทิวารี ดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคไทยรักไทย และเป็นเลขานุการรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 131/2548 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548 พยานที่ให้การถึงเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย คำร้องเรียนฟัง ไม่ขึ้น

 

8.นายพงษ์ศรี หรือยุทธพงศ์ ศิวาโมกข์ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวน ปรากฏว่าเป็นคนกลางในการติดต่อระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรค แผ่นดินไทย จึงมีความผิดฐานสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพ. ศ.2541ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฏหมายอาญา รวมทั้งมีความผิดฐานเป็นตัวการให้ บุคคลอื่นปลอมเอกสาร ตามมาตรา 264 ประกอบมาตรา 83 และเป็นผู้สนับสนุนให้มีการใช้เอก สารปลอมดังกล่าวอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฏหมายอาญา

 

9.นายทวี สุวรรณพัฒน์ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าเป็นคนกลางใน การติดต่อระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคพัฒนาชาติไทย จึงมีความผิดฐานสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพ.ศ.2541ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฏ หมายอาญา รวมทั้งมีความผิดฐานเป็นตัวการให้บุคคลอื่นปลอมเอกสาร ตามมาตรา 264 ประ กอบมาตรา 83 และเป็นผู้สนับสนุนให้มีการใช้เอกสารปลอมดังกล่าวอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฏหมายอาญา

 

10.นายธีรชัย หรือต้อย จุลพัฒน์ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าเป็น คนกลางในการติดต่อระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคพัฒนาชาติไทย จึงมีความผิดฐานสนับสนุนผู้ ที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ประกอบ มาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งมีความผิดฐานเป็นตัวการให้บุคคลอื่นปลอมเอกสาร ตามมาตรา 264 ประกอบมาตรา 83 และเป็นผู้สนับสนุนให้มีการใช้เอกสารปลอมดังกล่าวอันเป็น ความผิดมาตรา 268 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

 

11.เสธ.ชาติ ข้อเท็จจริงปรากฎเพียงว่า เป็นคนโทรมาถามนางฐัติมาฯ ว่า พลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ให้เงินทั้งหมดเท่าใด และต้องใช้เพิ่มอีกเท่าใด และไม่มีพยานรายใดยืนยัน ได้ว่า เสธ.ชาติ หมายถึงผู้ใด มีตำแหน่งหน้าที่การงานอย่างไร คำร้องเรียนจึงไม่มีผล

12. ทหารนอกเรื่องแบบคนที่ 1 ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าหมายถึงผู้ใด มีตำแหน่งหน้าที่การ งานอย่างไร คำร้องจึงไม่มีผล

 

13.ทหารนอกเครื่องแบบคนที่ 2 ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงหมายถึงผู้ใด มีตำแหน่งหน้าที่การ งานอย่างไร คำร้องเรียนจึงไม่มีผล

 

14.นายสมชาย สุขประเสริฐ ปรากฎข้อเท็จจริงว่านายสมชาย สุขประเสริฐ ได้ชักชวน และดำเนินการให้นางสาวชนมณี กล้าณรงค์ และนางสาวอุทัยวรรณ แหวนทอง สมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงถือเป็นการสนับสนุนให้นางสาวชนมณีฯ และนางสาวอุทัยวรรณฯ กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่พนักงานตามมาตรา 137 ฐานแจ้งให้เจ้าหน้าที่พนัก งานจดข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และมีความผิดฐานสมัครรับ เลือกตั้ง ส.ส.โดยตนเองไม่มีสิทธิสมัครตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 นายสมชายฯ จึงมีความ ผิดฐานสนับสนุนให้กระทำความผิดดังกล่าวตามมาตรา 137 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ประกอบมาตรา 86 แห่งประ มวลกฎหมายอาญา

 

15. นายประพันธ์ พรหมรัตน์ ปรากฎข้อเท็จจริงจากถ้อยคำของนางฐัติมาฯ ปละนายบุญชูฯ ว่านายประพันธ์ พรหมรัตน์ เป็นเพียงผู้รับเงินมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคแผ่นดินไทย แต่ผู้สมัครดังกล่าวเป็นผู้ขาด คุณสมบัติการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามประเด็นที่ 2 ข้อที่ 1 การกระทำ ของนายประพันธ์ พรหมรัตน์ จึงเป็นการกระทำตามความผิดตามมาตรา 137 มาตรา 267 ประ กอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ประกอบ มาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

อนึ่งสำหรับปัญหาที่นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย ให้การเป็นทำ นองว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายสุขสันต์ ชัยเทศ นายไทกร พลสุวรรณ และนายชวการ โตสวัสดิ์มาพูดว่าจ้างกับคนมิให้พรรคพัฒนาชาติไทยส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งและให้ใส่ร้าย พล.อ. ธรรมรักษณ์ฯ และนายพงษ์ศักดิ์ฯ ในครั้งนี้นั้นเห็นว่า ถึงจะฟังได้ว่าเป็นความจริงดังที่นายบุญทวี ศักดิ์ฯ ได้ให้การ ก็หามีผลให้คำร้องของนายสุเทพฯ ที่กล่าวหาว่าผู้บริหารระดับสูงของพรรค ไทยรักไทยว่าจ้างให้พรรคพัฒนาชาติไทยส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งในเรื่องร้องเรียนนี้ ต้องยุติลง ไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่นายบุญทวีศักดิ์ฯ หรือผู้บริหารระดับสูงของพรรคไทยรักไทยก็ดี จะต้อง ไปว่ากล่าวเอากับนายสุเทพฯ เป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหากเพราะเหตุดังกล่าวนี้คณะอนุกรรมการสืบ สวนฯ จึงไม่หยิบยกปัญหานี้มาวินิจฉัยเนื่องจากเห็นว่าไม่จำเป็น

 

ข้อเท็จจริงที่ได้จากการกระทำของ พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพพงษ์ ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ดังได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น ฟังได้ว่า ได้ร่วมกันสนับสนุนให้มีการตัดต่อข้อมูล การเป็นสมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทยที่เป็นสมาชิกพรรคไม่ครบ 90 วันให้ครบ 90 วัน และ ร่วมกันให้เงินสนับสนุนแก่พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้ สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตลงแข่งขันกับผู้สมัครเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะ ต้องมีคะแนนเลือกตั้งไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น สำหรับพรรคพัฒนาชาติไทยมี นายทวี สุวรรณพัฒน์ คนสนิทของ พลเอกธรรมรักษ์ฯ เป็นตัวแทน ส่วนพรรคแผ่นดินไทยมี พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต และผลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ผู้ใต้บังคับบัญชาของ พลเอก ธรรมรักษ์ฯ เป็น ตัวแทน เห็นว่า พลเอกธรรมรักษ์ฯ มีตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงกลาโหม ส่วนนายพงษ์ศักดิ์ มีตำแหน่งเลขาธิการพรรคไทยรักไทยและรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงคมนาคม ถือว่าต่างเป็นผู้บริหารระดับสูงของพรรคไทยรักไทย เงินที่ให้ในการสนับสนุนดัง กล่าวก็เป็นจำนวนเงินมากประกอบกับผลที่ได้รับก็เป็นประโยชน์แก่พรรคไทยรักไทย ดังนั้น จึงฟัง ไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว แต่มีหลักฐานควรเชื่อว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทน ของพรรคไทยรักไทย มีผลผูกพันเสมือนเป็นการกระทำของพรรคไทยรักไทยเอง จากเหตุผลดังได้ วินิจฉัยมา คณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำเนิน การสืบสวนสอบสวนต่อไปตามระเบียบ

 

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท