Skip to main content
sharethis

ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


 


การประชุมการรับฟังและข้อเสนอแนะในเวทีสาธารณะเรื่อง "การเอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์" ของกลุ่มย่อยภาคประชาสังคม ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในวันที่ 24 ฤษภาคม 2549 มีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ ตัวแทนสื่อมวลชนในท้องถิ่น ตัวแทนเยาวชน ผู้นำศาสนา กลุ่มสตรี กลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ และกลุ่มผู้ได้รับ ได้สรุปมุมมองต่อปัญหาเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านมุมมอง ตัวแทนกลุ่มฯ ดังต่อไปนี้


 


นางสาวปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ที่ทางรัฐบาลควรทำเป็นสิ่งแรกคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาลสามารถเข้าใจวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะลงไปปฏิบัติหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ควร ศึกษาและเข้าใจถึงวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ 3จังหวัดอย่างถ่องแท้ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอิสลามได้ส่วนประชาชนในพื้นที่ก็ไม่สามารถพูดภาษาราชการได้ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายก็จะทำให้ลดปัญหาความไม่ไว้วางใจเรื่องของความขัดแย้ง


 


เจ้าหน้าที่รัฐควรศึกษาถึงต้นเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังเช่นเหตุการณ์จับครูจูหลิงเป็นตัวประกัน ว่าทำไมชาวบ้านถึงได้ทำแบบนั้น ทำไมผู้หญิงถึงได้มีการทำร้ายครู โดยที่เราไม่รู้สาเหตุ ตรงจุดนี้ควรศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริงก่อนที่เราจะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ สื่อควรเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงก่อน สื่อควรเป็นกลางในการนำเสนอ อย่างที่ผ่านมาสื่อเสนอข่าวออกไปว่าเป็นการรวมตัวของกลุ่มสตรี แต่ไม่เข้าใจว่ายังมีส่วนที่ดีอยู่ สื่อยังไม่เข้าใจภาพลึกๆ ที่อยู่ข้างในว่ากลุ่มสตรีรวมตัวกันเพื่ออะไร


 


อีกประเด็นพูดถึงกลุ่มเสี่ยงเด็ก สตรีที่ตกเป็นเหยื่อ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของความไม่สงบ โดยจะจัดให้มีการจัดอบรมเรื่องหลักการศาสนา และการประชุมสัมมนาที่ถูกต้อง และถูกวิธีในหลักการศาสนาเพื่อลดปัญหาการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้


 


นายมูฮัมมัดอามีน ดือราโอะ ยุวสัมพันธ์เครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี กล่าวถึงมาตรการสร้างความสมานฉันท์เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในเรื่องมุมสะท้อนและข้อเสนอของ กอส. จากทฤษฎีที่ผ่านมารูปแบบของกอส.เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ประสิทภาพ ประสิทธิผล ยังขาดตัวชี้วัดที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ยั่งยืนยังคงเป็นเรื่องที่ต้องลงลึก


 


มูฮัมมัดอามีน กล่าวว่า ประเด็นแรกที่พูดถึงก็คือในเรื่องของกองทัพสันติเสวนา น่าจะมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานสาธารณะ คือการมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด กระบวนการทำ ตลอดจนกระบวนการปฏิบัติโดยประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย และมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอของกอส. ที่ทหารที่ลงไปในพื้นที่ไม่ควรพกอาวุธในการเข้าไปพบปะชาวบ้าน เพราะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กจากเดิมเด็กเคยมองตำรวจทหารว่าเป็นคนที่น่ายอมรับนับถือ แต่ ณ วันนี้ถ้าเด็กเห็นตำรวจ ทหารเข้ามาในชุมชน เด็กจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบทันที โดยใช้สัญลักษณ์ในการโบกมือ มันเป็นการสร้างจิตสำนึกที่เป็นการบ่มเพาะจิตสำนึกให้แก่เด็ก เพราะเป็นปัญหาที่เราควรจะแก้ไข


 


ทั้งนี้ ควรมีตัวประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อลดความหวาดระแวงของกันและกันให้มากขึ้น สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองของเด็กและครู เพื่อลดความฝังใจของเด็กที่มีปฏฏิกิริยาของหน่วยงานของรัฐ เห็นด้วยกับพ.ร.บ.ดับไฟใต้อย่างยั่งยืน สร้างความยุติธรรม และเพิ่มจริยธรรมในตัวบุคคลของรัฐ


 


เจ้าหน้าที่ไม่ควรใช้อำนาจจนเกินไป ใช้วิธีการอะลุ่มอล่วย และควรเข้าใจหลักการของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง หาคนที่ไว้วางใจไปเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ก่อการร้ายโดยมีภาคประชาสังคมเป็นผู้ประสานและต้องให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ให้กอส.สร้างรูปแบบและวิธีการของสันติเสนา ให้ชัดเจนมากขึ้น ให้มีกลุ่มตัวเชื่อมทุกพื้น เหตุการณ์เลวร้ายจะได้ลดลงไปได้ส่วนหนึ่งที่เข้าใจถึงบริบทของภูมิศาสตร์ หลักศาสนามาประสานกับหน่วยงานที่ลงมาช่วยเหลือเพื่อให้เกิดรูปธรรมง่ายขึ้น


 


เจ้าหน้าที่ตามหน่วยงานต่าง ๆ เช่นฝ่ายปกครอง ฯลฯ (จากทุกส่วนทุกภาคส่วนที่ประชาชนยอมรับให้มีอำนาจรองรับ) ในอดีตเราเคยมี ศ.อบต. เป็นหน่วยงานที่ประชาชนไว้วางใจ เพราะที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง เพราะยังขาดอำนาจในการตัดสินใจอย่างเด่นชัด เพราะถ้าเรามีคาอำนาจเราก็เหมือนกับยักษ์ที่ไม่มีกระบอง


 


ตามพ.ร.บ. ที่กำหนดขึ้นให้มีอำนาจรองรับ ให้สตรี เยาวชน เด็ก เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการสามนฉันท์ที่ยั่งยืน ควรปรับศาลชารีอะห์ให้ครอบคลุมกับกฎหมายอาญาด้วย และควรให้ดาโต๊ะยุติธรรมอยู่ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net