Skip to main content
sharethis


โดย : สงกรานต์ ปัญญา


 


 


"ของกิ๋นบ้านเฮา เลือกเอาเต๊อะนาย เป๋นของพื้นเมือง เป๋นเรื่องสบาย ล้วนซะป๊ะมากมี ฟังฮื้อดีเน่อ ฟั่งใคร่อยากจนเผลอ มาบลืนน้ำลาย"


 


เนื้อหานำของเพลง ของกิ๋นคนเมือง ของจรัล มโนเพชร ครูเพลงคำเมืองของภาคเหนือ ถึงแม้เจ้าของเพลงจะไม่อยู่แล้ว แต่ชื่อและผลงานของเขากลายเป็นอมตะเพลงคำเมืองที่น้อยคนจะไม่รู้จัก


 


ในเมื่อเพลงคำเมือง เอกลักษณ์ที่ทำให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้เรื่องราวของตัวเองผ่านการบทเพลง โดยคนเก่าแก่ที่ถ่ายทอดและคนรุ่นใหม่ที่ยืนหยัดขึ้นมาเพื่อสานต่อและดำรงไว้ แต่ในระบบธุรกิจเพลงคำเมืองของคนเมือง ไม่รู้ว่าจะก้าวไปได้อีกกี่ปี


 


สมศักดิ์ ทาปัญญา เจ้าของร้านจำหน่ายเทปและซีดีย่านชุมชนทิพยเนตร กล่าวว่า เพลงคำเมืองที่จำหน่ายภายในร้าน จะมีลูกค้ามาซื้อเป็นช่วงเวลา เช่น เทศกาลสงกรานต์ ทำบุญเมือง และงานประเพณีที่จัดเป็นประจำ เพลงคำเมืองจะขายได้ดี ส่วนประเภทของเพลงคำเมืองที่ขายได้จะเป็นทั้งเพลงบรรเลง จำพวกซอพื้นเมือง เพลงโฟล์กซอง และเพลงคำเมืองที่ขับร้องโดยนักร้องเพลงคำเมืองที่มีคนซื้อไปตลอดจะเป็นศิลปินที่อมตะ อาทิ จรัล มโนเพชร สุนทรี เวชานนท์ บุญศรี รัตนัง วิฑูรย์ ใจพรหม ฯลฯ


 


เจ้าของร้านทิพเนตร เล่าต่อว่า ตลาดเพลงคำเมืองที่ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาทองคือช่วงก่อนวันสงกรานต์ และช่วงวันลอยกระทง เช่นผลงานเพลงของวิฑูรย์ ใจพรหม ซึ่งจะออกช่วงวันลอยกระทงปีละครั้งและต่อจากเทศกาลลอยกระทงก็จะเป็นเดือนที่มีกิจกรรม เทศกาลต่อเนื่อง แต่ถ้าเพลงคำเมืองที่ออกมาหลังจากสองช่วงเวลานี้ก็จะวัดได้แค่สองเดือนว่าจะอยู่หรือจะไป


 


"เพลงคำเมืองที่คนส่วนใหญ่จะฟัง จะรู้จักคนร้อง สื่อ การเผยแพร่ต้องเข้าถึง เพลงของจรัล สุนทรี คนที่ไหนก็รู้จักเพราะสื่เผยแพร่ผลงานเพลงและตัวตนของนักร้องคู่นี้เป็นประจำ


 


"คนเชียงใหม่มีน้อยที่จะพังเพลงคำเมืองอย่างจริงจัง คนรุ่นใหม่ยิ่งไม่สนใจ เพราะปัจจุบัน การส่งเพลงคำเมืองไปยังคนรุ่นใหม่ การปลูกฝังอย่างจริงจังมีน้อย สารที่มีไม่ได้ถ่ายทอดไปให้คนรัก ไม่เหมือนกับภาคอีสาน ที่จะให้คนรุ่นใหม่มาร้องเพลงของท้องถิ่นตัวเองและใช้สื่อสนับสนุน จนเข็งแรง ขายได้ทุกภาค แต่เพลงคำเมือง ถ้าไปกรุงเทพจะหาซื้อไม่ได้"


 


วิฑูรย์ ใจพรม นักร้องเพลงคำเมือง ให้เหตุผลว่าเพลงคำเมืองในบ้านเรารู้สึกว่าตื่นตัวกันมาก โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเพลงคำเมืองหลากรูปแบบ ที่ศิลปินเพลงคำเมืองหลายคนยังไม่เป็นที่รู้จัก อาจจะเป็นเพราะการโปรโมททางสื่อยังมีน้อยและอีกประการหนึ่งเพลงคำเเมือง มีภาษาและความหมายที่ลึกเกินไป ถ้าจะให้คนกลุ่มใหญ่รู้จัก ต้องใช้ภาษาที่ฟังง่าย เข้าใจทันที อาจจะปรับโครงสร้างของภาษาที่สื่อสารออกมา


 


การที่คนส่วนใหญ่รู้จักเพลงคำเมือง แนวเพลงที่ออกมา ก็มีส่วนทำให้คนสนใจ ตัวอย่าง เช่น จรัล มโนเพชร เป็นบุคลากรท่านหนึ่ง ที่ดึงเพลงคำเมืองของบ้านเราให้ขึ้นไปอยู่บนจุดสูงสุดและมีแนวเพลงที่เป็นตัวเอง ถ่ายทอดออกมาได้กับคนทุกกลุ่ม ชี้ให้เห็นวิถีชีวิตของคนเมืองได้อย่างชัดเจนในหลายๆเพลง


 


"ในเพลงของผมที่เป็นแนวตลก เพราะอยากให้มันแปลก ไม่เหมือนคนอื่น แต่ก็ไม่ได้มีแต่ตลก จะออกไปทางตลกปรัชญา สอดแทรกมุขที่มีสาระด้วย เช่น สอดแทรกมุขเกี่ยวกับโรคเอดส์ การขับขี่รถ เราจะแฝงเรื่องการต่อต้าน รณรงค์และส่งเสริม ขณะนี้คนส่วนใหญ่ คนเมืองเริ่มสนใจเพลงคำเมืองมากขึ้น แม้กระทั่งวัยรุ่นก็เริ่มหันมาฟังเพลงคำเมือง เด็กจะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในเพลงคำเมืองเยอะ"


 


วิฑูรย์ ยังบอกด้วยว่า เพลงคำเมืองจะดังไม่ดัง อยู่ที่แนวทาง เช่นตัวของเขาเกิดได้เพราะเป็นศิลปินคำเมืองที่เป็นแนวตลกคำพูด เราคนเมืองเราควรรักษามันไว้ เพราะภาษาเมืองมันมีมาหลายร้อยปีแล้ว ศิลปินที่ทำเพลงออกมาส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเป็นอาชีพ แต่ทุกคนก็ช่วยดำรงค์สิ่งเหล่านี้ไปในตัวด้วย


 


ปัจจุบัน วิฑูรย์ ใจพรมและคณะ รับงานร้องเพลงตลกคำเมืองที่ร้านหมูกระทะแห่งหนึ่งในเชียงใหม่


 


หลายคนยังเชื่อว่า นักร้องเพลงคำเมืองยังไม่หายไปไหนแต่กำลังปรับตัวให้เข้ากับสถานการสังคมที่กำลังเจริญขึ้นทุกวันเท่านั้น และเชื่อว่าสนามสืบต่อเอกลักษณ์เพลงคำเมืองหาได้ไม่ยากในเมืองที่การอนุรักษ์วัฒนธรรมของเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่วันหนึ่งศิลปินและเพลงคำเมืองอาจหายไป ด้วยสังคมที่เปลี่ยนไปทุกวัน โดยขาดการสนับสนุนจากคนในท้องถิ่น และไร้การสืบต่อทางความคิด การลงมือทำ การปลูกฝังรากแท้ของเพลงคำเมืองและเหตุผลที่ทุกคนยังคิดว่า เมืองวัฒนธรรม ยังไงเพลงคำเมืองก็ไม่หายไปไหน"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net