Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

นักวิเคราะห์หลายรายทำนายว่าโลกอาจกำลังเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำมันแพง (oil shock) เป็นครั้งแรกของศตวรรษที่ 21
เมื่อราคาน้ำมันพุ่งทะลุ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเร็ว ๆ นี้ แน่นอนว่าอีกไม่นานเศรษฐกิจโลกจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน นักวิเคราะห์เริ่มจะเห็นตรงกันแล้วว่า โลกเราอาจจำเป็นจะต้องยอมรับความจริงใหม่เกี่ยวกับราคาน้ำมัน นั่นคือการที่น้ำมันจะมีราคาสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง


นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ทำนายไว้ว่าตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับเพียง ประมาณ 47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้นว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงจาก 50 ดอลลาร์เป็น 105 ดอลลาร์ แถมยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ราคาน้ำมันจะสูงอยู่ในระดับนั้นนาน 5-10 ปีเลยทีเดียว ซึ่งคำทำนายที่ว่าดูแล้วใกล้จะกลายเป็นจริงเข้าไปทุกที ยิ่งถ้าหันไปมองตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า ราคาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าซึ่งกำหนดไว้ที่ 100 ดอลลาร์ กำลังกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นกันทุกวันไปเสียแล้ว


แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ว่าน้ำมันกำลังจะหมดโลก ซึ่งเราเคยได้ยินกันมานาน แต่ความจริงแล้วก็ยังไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ว่าน้ำมันจะหมดโลกจริงหรือไม่ ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกต่างไม่ยอมลงทุนมากพอที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อให้สามารถสนองความต้องการบริโภคน้ำมันของตลาดโลก อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs เชื่อว่า น้ำมันจะยังคงเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่มีวันหมดไป และราคาน้ำมันจะค่อย ๆ ลดลงจนกลับเป็นปกติ แต่ก่อนที่จะถึงเวลานั้น พวกเขาคาดว่า ช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันจะคงอยู่ในระดับสูงอาจกินเวลานานถึงตลอดปี 2009 ก่อนที่จะค่อย ๆ ลดลงจนกระทั่งถึงระดับปกติ ในปี 2014


ผลการศึกษาวิจัยของ Goldman Sachs ชี้ว่า ราคาน้ำมันมักจะพุ่งสูงขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันและบริษัทน้ำมันกำลังทุ่มเงินลงทุนครั้งใหม่ และราคาน้ำมันจะตกลง เมื่อการลงทุนนั้นเริ่มเห็นผล กล่าวคือสามารถผลิตน้ำมันได้มากขึ้น
และในช่วงทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูง ขณะที่การลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ราคาน้ำมันได้ลดลง หลังจากที่การลงทุนเริ่มเห็นผล โดยทำให้กำลังการผลิตน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 และราคาน้ำมันก็ได้ลดลงเรื่อย ๆ เป็นเวลานานจนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งก็กลับกลายเป็นแรงกดดันต่อการลงทุนในการผลิตน้ำมัน ในขณะที่ในภาพรวม ตลาดได้หันเหความสนใจไปลงทุนในธุรกิจไฮเทคทั้งหลาย อันเป็นดาวรุ่งของ "เศรษฐกิจใหม่" (New Economy) ทำให้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กำลังสำรองการผลิตน้ำมันทั่วโลกได้ลดลงจากร้อยละ 15 จนเหลือ เพียงประมาณร้อยละ 1 ในปัจจุบันเท่านั้น และยังไม่มีทีท่าว่า สภาพการณ์เช่นนี้จะกระเตื้องดีขึ้น


นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ยังคำนวณว่า อุตสาหกรรมน้ำมันจำเป็นจะต้องมีการลงทุนใหม่ถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ตลอดช่วงทศวรรษหน้า เพียงเพื่อที่จะผลิตให้เพียงพอกับความต้องการเท่านั้น แต่ดูเหมือนความไม่แน่นอนที่รายล้อมการลงทุนครั้งใหม่ในการผลิตน้ำมันทั่วโลกในทุกวันนี้ จะมีอยู่สูงกว่าในช่วงทศวรรษ 1970 เพียงแค่ความขัดแย้งเรื่องปัญหานิวเคลียร์อิหร่านเพียงเรื่องเดียว ซึ่งหากส่งผลให้อิหร่านลดการส่งออกน้ำมันลงจากระดับ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็จะไม่มีชาติใดที่จะมีกำลังการผลิตสำรองที่จะเข้ามาชดเชยได้ในทันที


นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank ชี้ว่า เพียงแค่การผลิตน้ำมันลดลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวันเท่านั้น ก็เพียงพอแล้วที่จะดันราคาน้ำมันให้พุ่งพรวดแตะระดับ 100 ดอลลาร์ ให้เราได้เห็น ส่วนนักวิเคราะห์จาก Global Insight เห็นว่า เพียงแค่ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองโลกเพียงเรื่องเดียว เช่นการบุกโจมตีอิหร่าน ก็สามารถจะทำให้โลกขาดแคลนน้ำมันได้ในทันที และราคาน้ำมัน อาจพุ่งสูงไปถึงระดับ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


 


40 ปี พระราชดำริพลังงานทดแทน


ลดการน้ำเข้า-อยู่อย่างพอเพียง


เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยคงหลีกไม่พ้นผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำในในขณะนี้ แต่ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น ทางสว่างในการแก้ปัญหาก็ปรากฏขึ้น มิใช่เพิ่งปรากฏในวันนี้ แต่เป็นทางสว่างเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยพึ่งตัวเองได้ในด้านพลังงาน รวมทั้งรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจจะเกิดขึ้น


ทั้งนี้ ได้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนทั้งแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล รวมถึงพลังงานทดแทนอื่นๆ ตามแนวพระราชดำริในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ก็ใช้ในรถยนต์ทุกคันของโครงการส่วนพระองค์


ความเดือดร้อนจากวิกฤติด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่เราประสบอยู่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล็งเห็นและมีพระราชดำริให้เตรียมรับกับปัญหามากว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งอ้างจากหนังสือ "72 ปี แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง"


นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังกล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งตั้งแต่ พ..2504 ว่าค่ารถและน้ำมันจะแพง


โดยการพัฒนาแก๊สโซฮอล์เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาใน พ..2528 โดยทรงมีพระราชดำรัสให้ศึกษาการผลิตเอทานอลจากอ้อย เพราะอนาคตอาจเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันและราคาอ้อยตกต่ำ การแปรรูปอ้อยเป็นเอทานอลจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อีกทาง


ทั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงทั้งคุณภาพและกำลังการผลิตเอทานอลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับปรุงความบริสุทธิ์ของเอทานอลจาก 95% ให้มีความบริสุทธิ์ 99.5% และได้ทดลองผสมเอทานอลด้วยสัดส่วน 10% ในน้ำเบนซิน ซึ่งใช้ได้ผล และเมื่อวันที่ 16 ..2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคือบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์เพื่อให้บริการแก่รถยนต์ที่ใช้ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา


ส่วนโครงการไบโอดีเซลเพื่อนำน้ำมันพืชมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลก็เริ่มพร้อมๆ กับการพัฒนาแก๊สโซฮอล์ โดยใน พ..2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ.กระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก ที่ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส


กระทั่งใน พ..2543 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยและพัฒนา พร้อมทดลองใช้น้ำมันปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเริ่มมีการทดลองใช้น้ำมันปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซลของกองงานส่วนพระองค์ ที่วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เดือน ก..2543 ทั้งนี้ การใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 100% ไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อเครื่องยนต์ดีเซลที่มีปั๊มและหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตงานละเอียด


พระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นโครงการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนี้จึงทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง ใน "โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม" พร้อมกับโครงการ "ฝนหลวง" แล"ทฤษฎีใหม่" ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้นำไปจัดแสดงในงาน "Brussels Eureka 2001" ซึ่งเป็นนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ประจำ พ.. 2544 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังได้รับสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยจากกระทรวงพาณิชย์ในปีเดียวกันด้วย


นอกจากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริในเรื่องพลังงานทดแทนอื่น ๆ อีก เช่น การผลิตดีโซฮอล์ซึ่งเป็นการผลิตเชื้อเพลิงจากการผสมเอทานอลกับน้ำมันดีเซล ผลการทดลองพบว่าสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และลดควันดำถึง 50% หรือพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ทดลองผลิตแก๊สซีวภาพจากมูลโคนม ซึ่งได้ก๊าซมีเทนที่เป็นก๊าซติดไฟกว่า 50% และก๊าซอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้


โครงการตามพระราชดำริด้านพลังงานทดแทน แสดงให้เห็นสายพระเนตรอันยาวไกล เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพาพลังงานนำเข้า เราทุกคนควรน้อมรำลึกถึงพระเมตตาและน้อมนำไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลจริง ดังที่ทรงแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาให้พึ่งพาตัวเองได้ตามแนวพระราชดำริเรื่องความพอเพียง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net