Skip to main content
sharethis

ประชาไท—16 มิ.ย. 2549 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เวลา 14.30 . หน้าสถานทูตญี่ปุ่น กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) ได้ยื่นหนังสือผ่านสถานทูตญี่ปุ่นไปยังนายจุอิชิโร่ โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอให้ชี้แจงท่าทีที่ชัดเจนของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)


 


จดหมายระบุว่า "นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (1 มิ.. 2549) และ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (27 .. 2549) กล่าวอ้างตรงกันว่า ทางรัฐบาลญี่ปุ่น ได้เร่งรัดการลงนาม และแสดงความพร้อมที่จะลงนามความตกลงฯ แม้ว่าจะเป็นการลงนาม กับรัฐบาลรักษาการ"


 


"ญี่ปุ่นเป็นมิตรประเทศที่มีความใกล้ชิดและดำรงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน การจะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คงจะเป็นสิ่งที่ประชาชนของทั้งสองประเทศอยากที่จะเห็น แต่การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เป็นนโยบายเฉพาะของ พ...ทักษิณ ชินวัตร และคณะ ซึ่งประสบปัญหาความชอบธรรม จนนำไปสู่ความขัดแย้งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การที่รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความจำนงที่จะลงนามกับรัฐบาลรักษาการ อาจถูกมองได้ว่าแสดงท่าทีสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มบุคคลในฝ่ายบริหารซึ่งทำหน้าที่เพียงรักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป"


 


"เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเล็งเห็นถึงการรักษาความสัมพันธ์อันดีในระยะยาวระหว่างประเทศและประชาชนของทั้งสองมากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียว การลงนามเอฟทีเอควรจะต้องได้รับการตรวจสอบและมีส่วนร่วมจากประชาชนก่อน และที่สำคัญ รัฐบาลที่จะมีสิทธิลงนามจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีความชอบธรรม ไม่ใช่รัฐบาลรักษาการ" นางสาวสายรุ้ง ทองปลอน ตัวแทนกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์กล่าว


 


อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กลุ่ม เอฟทีเอว็อทช์ ได้พยายามยื่นผ่านสถานทูตญี่ปุ่น ตั้งแต่เวลา


14.30น. แต่เป็นที่น่าเสียดาย ทางสถานทูตญี่ปุ่นไม่ยอมออกมารับจดหมาย และยืนยันจะให้ตัวแทนกลุ่มเพียง 1 คนเข้าไปยื่นจดหมายภายในสถานทูตแทน โดยกลุ่มเอฟทีเอวอทช์พยายามเจรจาต่อรองขอให้ตัวแทนกลุ่มเข้าพบ 5 คน พร้อมกับสื่อมวลชน 1 คน แต่จนถึงเวลา 15.40 น. ก็ไม่มีการตอบรับใด ๆ จากทางสถานทูตญี่ปุ่นจึงได้แนบจดหมายดังกล่าวไว้ที่ประตูทางเข้า


 


ในวันเดียวกัน ที่ประเทศญี่ปุ่น นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล เป็นตัวแทนเอฟทีเอว็อทช์ ซึ่งได้รับเชิญจากองค์กรประชาสังคมในญี่ปุ่นให้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นคู่ขนานกับเวทีสมัชชาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2549 จะได้เข้าพบสมาชิกรัฐสภาญี่ปุ่นและร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงกรณีผลกระทบของการทำเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น โดยได้เรียกร้องไม่ให้ญี่ปุ่นฉกฉวยโอกาสลงนามเอฟทีเอลับหลังประชาชนไทยอีกด้วย

เอกสารประกอบ

จดหมายจากเอฟทีเอวอทช์ถึงนายกฯ ญี่ปุ่น (ภาษาไทย)

จดหมายจากเอฟทีเอวอทช์ถึงนายกฯ ญี่ปุ่น (ภาษาอังกฤษ)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net