ข่าวประชาธรรม : ตะรุเตา พื้นที่พิเศษท่องเที่ยว ชุมชนท้องถิ่นอยู่ตรงไหน?


ทิพย์อักษร มันปาติ
สำนักข่าวประชาธรรม

ย้อนรอย อพท

.


หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

(องค์การมหาชน) ..2546 ก็เกิดคำถามตามมามากมายว่า แท้จริงแล้ว อพท. จะนำพาประเทศชาติไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้หรือไม่ เพราะดูเหมือนว่า แผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานบริหารของ อพท. มีความขัดแข้งขัดขากันอยู่ในตัวเอง

ตามที่ อพท

. มีวิสัยทัศน์ในการ "บริหารและพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อความเป็นเลิศเป็นที่ไฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั่วโลก" ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ คือ 1.การสร้างเอกภาพและการบูรณาการ การบริหารการจัดการอย่างสมดุล 2.สร้างความเป็นเลิศของแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ 3.การสร้างความพร้อมในการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่การเพิ่มจำนวน และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเป็น 2 เท่าของปัจจุบันภายใน 4 ปี (2547-2550)

แนวคิดด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวของดังกล่าว มีความชัดเจนในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างจุดขายทางการท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากขึ้น มาเที่ยวบ่อยและอยู่นานขึ้น และจ่ายมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จึงดูประหนึ่งว่าเป็นการส่งเสริมทัศนคติของลัทธิบริโภคนิยม จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่วยวนก็คงจะไม่ไกลจากความเป็นจริงเท่าไหร่นัก เพราะการพุ่งเป้าไปที่การกอบโกยเม็ดเงินของนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายชนิดหูดับตับแลบ เน้นความความหรูหรา และความสะดวกสบายเป็นหลัก นับเป็นสิ่งที่ห่างไกลยิ่งกับความหมายของความยั่งยืนในรูปแบบของชาวบ้าน ซึ่งมีใจความสำคัญของการท่องเที่ยวอยู่ที่นักท่องเที่ยวได้รับสุนทรียรสจากการเรียนรู้ความเป็นชุมชนท้องถิ่น


ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของ อพท

. ได้วางกรอบเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเรียงตามลำดับดังนี้

ปี

2547 พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง จ.ตราด (ประกาศ 24 .. 2547), พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี จ.เชียงใหม่ (ประกาศ 11 มี.. 2548)

ปี

2548 พื้นที่พิเศษแหลมถั่วงอก จ.กาญจนบุรี, พื้นที่พิเศษหมู่เกาะเสม็ดและพื้นที่เชื่อมโยง จ.ระยอง

ปี

2549 พื้นที่พิเศษหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่, พื้นที่พิเศษหมู่เกาะตะรุเตาและพื้นที่เชื่อมโยง จ.สตูล

ปี

2550 พื้นที่พิเศษหาดเจ้าไหมและหมู่เกาะทะเลตรัง จ.ตรัง, พื้นที่พิเศษภูหลวง ภูเรือ จ.เลย

จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของ อพท

. ดังกล่าว โดยการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ทางธรรมชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบนิเวศน์อุดมบูรณ์ ทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ป่า สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่งว่า พื้นที่อุทยานของประเทศไทยที่ขณะนี้ จะถูกรุกรานจนเสื่อมโทรมไปในที่สุด

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบฉบับท้องถิ่น


 

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ

.สตูล
เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในปี 2549 ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดสตูล ในการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การเกษตร และเมืองท่าฝั่งอันดามัน บนพื้นฐานการศึกษา การพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อสังเกตประการสำคัญเรื่องทิศทางและแนวทางการพัฒนาการพัฒนาการท่องเที่ยวที่กำลังจะเกิดขึ้นว่า ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวได้มากน้อยพียงไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างสูงสุด

โครงการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยองค์กรชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มชุมชนชาวประมงพื้นบ้านบ้านบ่อเจ็ดลูก อ

.ละงู จ.สตูล ซึ่งเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว ทำให้ผลประโยชน์ที่ชาวบ้านได้รับจากท่องเที่ยวเป็นเพียงส่วนเสี้ยวของรายได้มหาศาลของกลุ่มทุนเท่านั้น

นายยูหนา หลงสมัน หัวหน้าโครงการศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวบ้านบ่อเจ็ดลูก กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวเกิดการกระจุกตัว ชาวบ้านได้รับประโยชน์น้อยที่สุด ทำให้ย้อนกลับมาถามตัวเองว่า หมู่บ้านของเราก็มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเช่นกัน ดังนั้นการจัดการการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนจะเป็นทั้งรายได้เสริม อีกทั้งยังสามารถกำหนดทิศทางของชุมชน เพื่อป้องกันวัฒนธรรมจากข้างนอกที่ล่อแหลมต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนั้นผู้สนใจปัญหาการท่องเที่ยวของท้องถิ่น ซึ่งเป็นทีมวิจัยชาวบ้านจึงร่วมกันจัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยได้เริ่มต้นจัดทำโครงการส่งไปที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย

(สกว.) จนกระทั่งได้รับอนุมัติงบประมาณโครงการเมื่อปี 2547 ทั้งหมดจำนวน 210,000 กว่าบาท

"

สภาพการท่องเที่ยวทุกวันนี้ ชาวบ้านได้รับประโยชน์น้อยที่สุด อย่างไรก็ตามการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในชุมชนของเรา ย่อมต้องเกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง ดังนั้นเราจะใช้ชุมชนเป็นพื้นที่ในการศึกษาเพื่อจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม โดยมีกฎระเบียบของชุมชน โดยนำเอาเรื่องคุณธรรม และปัญญาตามแนวทางศาสนาอิสลามมาเป็นตัวชูในการดำเนินงาน เพื่อปกป้องสิทธิความเป็นมุสลิม เพื่อนำไปสู่การขยายความเป็นชุมชนของเราให้คนมาเที่ยวอย่างมีความสุข มีความเคารพชุมชน โดยที่ไม่ทำลายวัฒนธรรมชุมชน "

ขณะนี้การดำเนินงานโครงการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยองค์กรชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก มีพื้นที่ในการบริหารงานทั้งหมด

3 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา จัดทำบ้านพัก 2 หลัง และเต็นท์ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50-60 คน การดำเนินงานประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร กลุ่มจัดการที่พัก กลุ่มแพชุมชน กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน กลุ่มเรือหางยาวนำเที่ยว ซึ่งมาจากคนในชุมชนที่ร่วมลงหุ้น หุ้นละ 100 บาท โดยกำหนดให้แต่ละครัวเรือนลงหุ้นได้ไม่เกิน 200 หุ้น โดยมีชาวบ้านผู้ร่วมลงหุ้นทั้งหมด 24 ครอบครัวแล้ว

ทั้งนี้ประโยชน์ทางตรงที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนคือ รายได้จากการทำอาหาร และการจัดการที่พัก นอกจากนี้ รายได้บางส่วนจะแบ่งเข้ากองทุนสะสมซากาต

2.5% และกองทุนพัฒนาสังคม 10% ซึ่งจะเป็นแนวทางในการที่คนในชุมชนใช้ดูแลกันเองในส่วนที่รัฐบาล หรือหน่วยราชการเข้าไม่ถึงไม่ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ที่อ่อนแอในชุมชน เพื่อให้พวกเขาอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

"

ชาวบ้านมีองค์ความรู้ในชุมชนอยู่ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จัดการการท่องเที่ยวอยู่แล้ว แต่หากจะให้การจัดการท่องเที่ยวสมบูรณ์ ทุกภาคส่วนควรเข้ามาร่วมเป็นส่วนเสริมให้กับชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการกำหนดทิศทาง เพื่อให้ชุมชนก้าวไปข้างหน้า" นายยูหนากล่าว

ชุมชนยั่งยืน


ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งเป็นอาชีพหลัก ใช้เรือหัวโทงเป็นพาหนะออกเดินทางทำการประมงในเขตชายฝั่งถึง

5 ไมล์ทะเล โดยอาศัยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ออกหากิน อุปกรณ์ประมงที่ใช้คือ อวนปลา(อวนถ่วง) อวนกุ้ง ไซปลาเก๋า โดยสัตว์น้ำที่จับได้มี ปลาทู ปลาทราย ปลาจวด กุ้งแชบ๊วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพเลี้ยงปลากระชัง หอยกระชังขาย รวมทั้งมีการทำการเกษตรปลูกแตงโม ปลูกผัก แตงกวา บวบ ฟักเขียว ถั่วฝักยาว เป็นรายได้เสริม

ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

(พฤศจิกายน-ธันวาคม) ชาวประมงทำการประมงชายฝั่งได้น้อย มีรายได้เฉลี่ยประมาณวันละ 400-500 บาท ออกเรือหาปลาในช่วงตี 3-6 โมงเช้า ส่วนเวลากลางวันน้ำทะเลใส แดดจัด ไร้มีลมพายุ สัตว์น้ำชุกชุมอยู่นอกชายฝั่งซึ่งเป็นเขตน้ำลึกอย่างไรก็ตาม ชาวประมงพื้นบ้านมีเรือเล็ก จึงไม่สามารถออกเรือไกลได้

ขณะที่หน้ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้

(มิถุนายน-ตุลาคม) จะมีลมพายุ คลื่นซัดเข้าฝั่งมีสัตว์น้ำชุกชุม เป็นฤดูทำประมงช่วงการทำประมง เรือเล็กออกทำการประมงชายฝั่ง 20 วัน พัก 10 วัน ช่วงนี้ชาวประมงมีรายได้เฉลี่ยวันละ 2,000-10,000 บาท ที่ดีสำหรับเรือเล็กช่วงเดือน เรียกว่าช่วงลมมรสุมตะวันตกเป็นช่วงที่ทรัพยากรสัตว์น้ำเยอะ

นายยูหนา กล่าวเสริมว่า การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนเพื่อเป็นอาชีพเสริมนอกฤดูทำการประมงนั้น สามารถจัดการไปพร้อมๆ กับการรักษาทรัพยากรชายฝั่ง

3,000 เมตร อีกด้วย โดยโปรแกรมการท่องเที่ยวเน้นย้ำการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลาย ยืนหยัดในความถูกต้อง เพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิต ธรรมเนียม ประเพณี ของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในทำกิจกรรมของชุมชน เช่น ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกป่าชายเลน ซึ่งทำปีละ 2 ครั้ง ทำให้ทรัพยากรยังอยู่เคียงคู่กับชุมชน

"

ต้องบอกให้คนอื่นรู้ว่าชาวบ้านจัดการเอง ชาวบ้านก็จะเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วย เพราะที่นี่เป็นบ้านของเรา เราต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรของเรา ถ้าระบบสัมปทานเข้ามาเราลำบากแน่ เพราะเป็นการเข้ามาทำกิจกรรมของคนภายนอกเพื่อเอาประโยชน์ เราต้องคิดให้ดีว่าเราจะมีความเป็นอยู่อย่างไร เป็นแรงงานของคนที่เข้ามาเท่านั้นหรือ"

นายอำรุง เหมมะรา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก กล่าวว่า โครงการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างมีศักดิ์ศรีของชุมชน ซึ่งคำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ และการมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรของคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่ได้อย่างมั่นคง มีความสุข พอเพียง ไม่ตามกระแสไปตามสภาพการพัฒนาทั่วไป นอกจากนี้ โรงเรียนยังเป็นจุดหนึ่งที่ช่วยรองรับ ประยุกต์ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งโอกาสต่อไปในเมื่อโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของจุดการจัดการท่องเที่ยวด้วยก็ต้องผลักดันเรื่องเหล่านี้ ให้นักเรียนได้เข้าร่วมเรียนรู้ ชุมชนเราก็ต้องดึงลูกหลานเข้ามาร่วมเรียนรู้ตรงนี้ด้วย


นายนฤเบศ ชุมทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา กล่าวเสนอแนะว่า มีความยินดีที่ชาวบ้านร่วมกันจัดการท่องเที่ยวขึ้นมาเอง เพราะเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย แต่อย่างไรก็ตามชุมชนต้องคำนึงถึงเรื่องศักยภาพของชุมชนว่าทำได้แค่ไหน เพราะหากพื้นที่บางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานก็ต้องให้หน่วยราชการเข้ามาร่วมดูแลด้วย เพื่อไม่ให้กระทบกับฝ่ายอื่นๆ จำเป็นต้องมีการปรึกษาหารือ และคุยกันด้วยว่าจะทำอย่างไร

"

ขณะที่ อพท

.เตรียมประกาศพื้นที่เกาะตะรุเตาเป็นพื้นที่พิเศษนั้น ยังมีคำถามตามมาว่าเจ้าหน้าอุทยานฯ จะให้พื้นที่แก่ชุมชนที่รุกขึ้นมาจัดการท่องเที่ยวนี้เองอย่างไร ? หรือจะเป็นพื้นที่พิเศษเฉพาะสำหรับกลุ่มทุนผลประโยชน์ และนักการเมืองเข้าอีหรอบเดียวกับไนท์ซาฟารี จ.เชียงใหม่หรือไม่ ?

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท