Skip to main content
sharethis

งานสมัชชาสังคมไทยที่ มธ.ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 21 ต.ค.49 ในเวทีสัมมนาหัวข้อ "ทางเลือกนโยบายเศรษฐกิจกระแสโลกาภิวัตน์" ทวิสันต์ โลฌานุรักษ์ กรรมการการค้าปลีก หอการค้าไทย กล่าว เกี่ยวกับนโยบายในระบบเศรษฐกิจ ความสัมพันธุ์เชิงอำนาจ รวมถึงธุรกิจการค้าปลีกไว้อย่างน่าสนใจดังนี้


 


สำหรับนโยบายเศรษฐกิจการเมืองในระดับโลกนั้น มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถเป็นผู้กำหนดได้ คือ ประเทศมหาอำนาจต่างๆ เช่นเดียวกับในระดับชาติที่ผู้กุมอำนาจในการกำหนดนโยบายก็เป็นเพียงคนไม่กี่กลุ่มในสังคม


 


ทั้งนี้ในกระแสในการกำหนดนโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจ ล้วนแล้วแต่ถูกกำหนดโดยระบบทุนนิยมทั้งสิ้น


 


ในระบบการแข่งขันธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน ความหลากหลาย ความแตกต่าง ของแบรนด์ไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่ปัจจัยหลักอยู่ที่การกุมระบบการซื้อขาย ในโลกธุรกิจการค้าปลีก มีทุนใหญ่เพียงไม่กี่เจ้า


 


การค้าปลีกในปัจจุบันนั้นรัฐควรที่จะคุ้มครองผู้ค้ารายย่อยภายในประเทศ ดังเช่น ประเทศเวียดนาม และประเทศอื่นๆ แต่การกระทำของรัฐบาลไทยภายใต้การนำของอดีตนายกฯ กลับเห็นว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้กุมนโยบายเกื้อหนุนให้ทุนต่างชาติเข้ามาทำลายธุรกิจรายย่อยในประเทศ นอกจากนี้การเข้ามาของยักษ์ใหญ่ค้าปลีกต่างชาติยังได้ทำลายวัฒนธรรมของไทย


 


ทวิสันต์ ยังได้เสนอว่า การที่จะทำให้ภาคประชาชนได้เข้าสู่การกำหนดนโยบายและทำให้เกิดการค้าปลีกที่เป็นธรรมนั้น ควรจะปฏิบัติ 1.จะต้องให้เกิดกระบวนการที่มีส่วนร่วมในการวางนโยบาย 2.จะต้องค้าขายด้วยความพร้อม 3.จะต้องทำตามนโยบายที่วางไว้นั้นได้ 4.การวัดผลนโยบายจะต้องวัดผลด้วยหลักเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงว่าประชาชนได้รับประโยชน์ ซึ่งจะทำให้สังคมไทยมีทางออกในการกำหนดนโยบายได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net