Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 


 







บทความใน "มุมคิดจากนักเรียนน้อย" เป็นผลการศึกษาจากงานวิจัยเกี่ยวกับวงการหนังสือพิมพ์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


 


 


จตุรงค์ ราษฎร์อาศัย


เบญจพร พิทยชินโชติ


ณัฐวุฒิ จิตต์อาจหาญ


ณัฐินี คงสนิท


 


ผมมีโอกาสอ่านการศึกษาเรื่อง "ทิศทางการนำเสนอเนื้อหาทางการเมืองที่อิงกับขั้วอำนาจ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน และกรุงเทพธุรกิจ" ของนักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ทำให้เห็นภาพของสื่อมวลชนอย่างหนังสือพิมพ์ได้ชัดเจนมากขึ้น จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง


 


การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาตั้งข้อสมมติฐาน จากการที่หนังสือพิมพ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี หนังสือพิมพ์เสนอข่าวเพียงด้านเดียว เพราะถูกรัฐบาลแทรกแซง เมื่อคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล จึงน่าเป็นโอกาสดีที่หนังสือพิมพ์จะได้ "ปลดแอก" ตนเองเสียที การนำเสนอข่าวสารจะได้ทำอย่างเต็มที่ และคนที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดก็คงเป็นประชาชนอย่างเราๆ นั่นเอง


 


แต่ผลการศึกษาครั้งนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น!


 


การศึกษาเรื่องนี้ ศึกษาหนังสือพิมพ์ช่วงวันที่ 20-26 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นช่วงหลังการทำรัฐประหารของ คปค.  เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (20-26 กันยายน 2548)  ผลการศึกษาพบว่าในปี 2548 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐให้พื้นที่รวมการนำเสนอข่าวและบทความทางการเมืองในทิศทางบวกกับขั้วอำนาจ อย่างรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดร้อยละ 54.02


 


ในขณะที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและมติชน เน้นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล โดยเสนอข่าวและบทความในทิศทางลบมากที่สุดร้อยละ 47.25 และ 44.73 ตามลำดับ


 


แต่พอ คปค. เข้ามาเป็นขั้วอำนาจ การเสนอเนื้อหาทางการเมืองของหนังสือพิมพ์ก็มีการเปลี่ยนแปลง


 


หนังสือพิมพ์ไทยรัฐยังคงมีจุดยืนที่มั่นคง นำเสนอเนื้อหาทางการเมืองในทิศทางบวกอิงกับขั้วอำนาจอย่าง คปค. มากที่สุด เข้าตำราปลอดภัยไว้ก่อน เป็นทิศทางบวกร้อยละ 58.06 ส่วนหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและมติชน ก็ลดบทบาทการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของขั้วอำนาจลง หันมานำเสนอเนื้อหาในทิศทางกลางมากที่สุดร้อยละ 39.56 และ 36.56 ตามลำดับ


 


เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์ครั้งนี้ชัดเจนขึ้น จึงขอยืนยันด้วยผลการศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมการนำเสนอเนื้อหาทางการเมืองที่อิงกับขั้วอำนาจ โดยคิดพื้นที่รวมการนำเสนอข่าวและบทความของหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ชื่อฉบับ พบว่าปี 2548 หนังสือพิมพ์นำเสนอแง่ลบมากที่สุดร้อยละ 36.63 แต่พอปี 2549 หนังสือพิมพ์หันมาเสนอเนื้อหาแง่บวกมากที่สุดร้อยละ 48.57 ทำให้ผู้ศึกษาต้องตั้งข้อสังเกตต่างๆ ขึ้นมา


 


ผู้ศึกษามองว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจเกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุคือ หนังสือพิมพ์ชื่นชมการทำรัฐประหาร และต้องการส่งเสริมนโยบายของ คปค.จริง หรือเป็นเพราะ คปค.ขอความร่วมมือให้สื่อเสนอข่าวสาร เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในสังคม สื่อจึงต้องเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าวในสอดคล้องตามนั้น


 


ถ้าเป็นอย่างแรกก็คงพอเข้าใจได้ว่าสื่อยังเชื่อถือได้ แต่หากเป็นเพราะ คปค. ขอความร่วมมือแล้วทำให้สื่อต้องแกล้งเพิกเฉย ไม่วิพากษ์วิจารณ์ คปค.ในแง่ลบ แม้จะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ คปค. ก็ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะหากอนาคตขั้วอำนาจเปลี่ยนแปลงอีก และสื่อต้องเปลี่ยนแปลงตามก็คงไม่ใช่เรื่องดี


 


เมื่อสื่อยังเปลี่ยนแปลงบ่อยเช่นนี้ และยังไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงของประชาชน โดยการเสนอข่าวสารต่างๆ อย่างรอบด้านและเป็นกลางที่สุดได้ เราในฐานะผู้บริโภคข่าวสารคงต้องดูแลตัวเองให้ดี ต้องไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับก่อนปักใจเชื่อ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงของสื่อแต่ละครั้ง ไม่สามารถทำร้ายประชาชนอย่างเราได้นั่นเอง


 












บทความทั้งหมด

 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : การ์ตูนล้อการเมือง: เรื่องขำๆ ที่ไม่ขำ(เท่าไร)
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : จุดยืนยอดแย่
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : ยังมีโอกาสแก้ตัว
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : ใครโง่ ?
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : แม่น้ำมูลกับปลาแซลมอน
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : เซ็กส์ยังคงเย้ายวน
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : จะส่องไฟไปทำไม
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : พูดมากขึ้น เข้าใจมากขึ้น
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : แห่นางแมว: ฝนไม่ตก ก็สุขได้
 มุมคิดจากนักเขียนน้อย: อยู่ได้อย่างเป็นสุข (ในใจ)
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : กฎอัยการศึกฉบับป่าชุมชน

 มุมคิดจากนักเรียนน้อย:น้อมรับพระราชดำรัส พูดง่ายแต่ทำยาก

 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : แก้มลิง
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : Children of Heaven เรื่องเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่
 
มุมคิดจากนักเรียนน้อย : ชนะเลิศ...ได้ "ที่สาม"
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : สิทธิบัตรชีวิต
 มุมคิดจากนักเรียนน้อย : เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ โอกาสหรือหายนะ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net