"เมืองยอง" วิถีคนยองและความแปรเปลี่ยน (จบ)


 
 
 
แม่น้ำยอง
 
ความขมขื่นของผืนแผ่นดินไตยอง
ทุกวันนี้ คนเมืองยองที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย จึงมักถูกตราหน้าว่าเป็นพม่า หลบหนีเข้าเมือง เป็นแรงงานต่างด้าว แนวชายแดนเป็นเขตหวงห้ามสำหรับผู้คนที่จะเดินทางไปมาหาสู่กัน เส้นพรมแดนแบ่งความเป็นชาติ วรรณะ ผิวพรรณ แต่ชายแดนชายขอบกลับเป็นเขตอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าผู้คนให้ตกเป็นเหยื่อ กับอำนาจในกระแสโลกาภิวัฒน์ รากเหง้าของปัญหาในปัจจุบันจึงนับเป็นเรื่องที่ขมขื่นอย่างที่สุด 
 
ข้อเท็จจริงคนไต ยอง จริงๆ แล้วล้วนต่างเกลียดและชิงชังพม่า คนไตเมืองยองส่วนมาก 99.90 เปอร์เซ็นต์ กับพวกพม่าจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน ถึงแม้ว่าพม่าจะปกครองเมืองยอง นโยบายกลืนชาติของพม่าในเมืองยองได้ผลน้อยมาก ในสังคมเมืองยองหากใครไปแต่งงานกับคนพม่า ก็จะได้รับการรังเกียจ หรือไม่เป็นที่ยอมรับ ไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ
 
ด้วยเหตุเช่นนี้ เอง ที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างพม่าในเมืองยองกับคนยองเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้คนไตยองอยู่ในสถานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก อยู่เมืองยองก็โดนกดขี่ข่มเหง มาเมืองไทยก็ถูกหาว่าเป็นพม่า เส้นพรมแดนระหว่างไทยพม่าที่อำเภอแม่สาย เสมือนเป็นเส้นแบ่งความสัมพันธ์ของเมืองคนยองกับคนไทย (บางคน)... ทางออก ที่ดีที่สุดของพวกเขา นั่นคือ จำต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อมาแสวงหางานทำในประเทศไทย โดยไม่รู้ว่าอนาคตของตนเองจะเป็นอย่างไร
 
"มันอยากจะให้เราไปไหนทำอะไรก็ต้องตามใจมัน...ผู้ชายต้องไปเป็นลูกหาบระเบิด...ขนเสบียง เดินนำหน้าทหารพม่า...เหยียบระเบิดตายไปก็นัก มันเกณฑ์คนไตยองทำถนน สร้างสะพานที่ไหนต่อที่ไหนๆเป็นเดือนเป็นปี...บางคน ก็ตาย พ่อแม่ไม่มีโอกาสได้มาเห็นหน้ากันเลยก็มี...มี โอกาสได้มาอยู่เมืองไทยเหมือนได้เกิดใหม่.สาธุไหว้ สาธาตุโหลง..จะว่าเฮาบ่ฮักบ้านฮักเมืองก็ไม่ใช่...เฮารักเมืองยองรักแผ่นดินยอง แต่ว่าเวลานี้เมืองยองเฮาต้องการที่จะให้มันสงบร่มเย็น..." ขนานแสง ชาวเมืองยองบอกเล่าด้วยน้ำเสียงขมขื่น
 
 
 
 
ผืน ป่าอุดมสมบูรณ์ถูกรุกเพื่อเปิดพื้นที่ทำสวนยางพารา
 
 
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
"เมอยามเมืองยองมีศึก (สงคราม) ระหว่างม่าน (พม่า) กับทหารไตใหญ่ ห้ามคนเมิงไปแอ่วหากัน ม่านห้ามคนเข้าคนออกเมืองยอง ชาวบ้านไปเอาวัวเอาควาย บ่ฮื่อเอาข้าวเอาของไปจ๋อม ม่านกลัวว่าจะไปส่งของให้กับทหารไตใหญ่ พ่อหลวงบ้าน กำนันโดนจับเอาไปสอบสวนหาว่าเป็นสายลับให้กับทหารไตยใหญ่"   
 
"ใจ๋เฮาก็อยากให้พี่น้องไปแอ่วหากั๋น ยามที่มีความสุขอยากฮื้อพี่น้องเฮาทางลำพูน ไปแอ่วหากั๋น ช่วยเหลือกั๋น คิดถึงหากั๋นทุกคน ฝากบอกพี่น้องที่อยู่แหละปูน" ขนานแดง ป่าม่วง เมืองยองบอกเล่า
 
"อยู่บ่มวนก็เพราะวาบ่ได้เหียนหู้ฮิดกอง เห็ดไปก็บ่หู้วาเป็นของเราหรือเป็นของเปือน เวลาจะเห็ดอะสังนิ เปือนเป็นคนหื้อเฮาเห็ด เห็ดไปแล้วจะเป็นของเฮาหรือจะเป็นของเปือน เฮาก็บ่จางวาเขา ใคได้อะหยังเขาก็เอา สพไผแข็งแฮงมันแป้"
 
ขนานอุ่น จากบ้านแพด เมืองยอง บอกเล่าให้ฟังว่า อยู่ไม่ สนุกไม่ได้เรียนรู้จารีตประเพณี ทำไปไม่รู้ว่าจะเป็นของใคร ทำอะไรเขาเป็นคนสั่งให้เราทำ ทำไปแล้วไม่รู้ว่าจะเป็นของเขาหรือของเรา ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร
 
 
ปากใครดีคนนั้นก็รอด
สถานการณ์ปัญหา ที่เกิดขึ้นภายในเมืองยอง ที่เป็นสาเหตุหนึ่ง เป็นตัวผลักดันให้ผู้คนที่คับแค้นใจ และต้องแสวงหาทางเลือกและทางออก ให้พี่น้องเมืองยองต้องมาทำงานในประเทศไทย
 
หลายคนอาจจะนึก ถึงเพื่อนพี่น้องคนไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เนื่องจากต้องการหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว หากถามว่าแรงงานข้ามชาติ เหมือนกันแบบนั้นหรือไม่ คำตอบก็คือ มีทั้งเหมือนและไม่เหมือน การไหลบ่าของผู้คน เพื่อแสวงหาทางเลือกและทางรอดให้กับตนเอง
 
คนจน คนทุกข์คนยาก ต้องดิ้นรนเพื่อหาหนทางที่ดีกว่าของชีวิต เข้ามาทำงานอยู่ในประเทศไทย คนเหล่านี้เกือบทั้งหมดต่างเป็นชาวนา มีเลือดเนื้อเชื้อไข มีเรื่องราวและความเป็นไปทั้งสิ้น มาเป็นผู้ใช้แรงงานที่ได้ค่าแรงถูก เป็นชนเผ่าที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกระทำทารุณกรรมอย่างรุนแรง..ถูกซื้อขายเหมือนผักปลา
 
 
 
ภาพ หญิงสาวชาวยองฟ้อนรำ นับวันเริ่มหาดูได้ยากยิ่ง
 
 
"อยู่เมืองยอง มันตุก อยู่เมืองยองเฮ็ดเกี๋ยงหื่อม่าน มันบักเอา เฮ็ดสวนก็บ่มั่นใจ๋ มันฬคยึดเอาก็เอา"
(อยู่เมืองยองทำนาเกี๋ยงนาครั้งที่ 2 ให้พม่า เขามากำหนดเอาเลย ทำสวนยางยังไม่มั่นใจ มันอยากได้ก็ยึดเอา)
 
"อยู่บ่มวนเพราะวาก๋านมาน ก๋านออกก๋านเสียมันบักออกก๋านสังก็บ่ฮู้ ถ้าบ่มีก๋านมานนิมันก็มวนแต้ๆ เห็ดสวนยางเป็นหลักสวนบ่เกี้ยงสวนบ่เขียวข้าวโพด เห็ดสวนมันได้หน่วย" (อยู่ไม่ สนุกเพราะว่างานพม่า หาเงินออกเงินเสียเท่านั้นเท่านี้ งานอะไรไม่รู้ หากไม่มีเรื่องพม่ามันก็สนุกจริงๆเมืองยอง ทำสวนยางเป็นหลัก สวนส้มเขียวหวาน ข้าวโพด ทำสวนได้ผลดี) ป้อน้อยกัน ทอน วัย 77 ปี จากบ้านกอข่อย เล่าให้ฟัง
 
ท่ามกลาง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางสังคมอย่างมากมาย กลับยังมีการแสวงหาและตักตวงผลประโยชน์ กัดกินเม็ดเหงื่อเม็ดไคล แย่งชิงรีดนาทาเร้น บ้างเข่นฆ่า ในเผ่าพันธุ์เพื่อนพ้องพรรคพวกเดียวกัน จากอำนาจรัฐบาลเผด็จการ แม้มีที่ดิน ทรัพย์สินต่างๆของตนเองก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามีความปลอดภัย ผลผลิตก็ไม่อาจแน่ใจว่าจะตกเป็นของใครต่อไป การอพยพโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย จึงเพื่อเป็นการป้องกัน และเป็นการคุ้มครองชีวิตของตนเอง 
 
 
 
อนาคต เด็กสาวชาวไตยอง ล้วนต่างไม่รู้ชะตากรรม
 
 
ติดคุกเมืองไทยดีกว่าเป็นขี่ข้า ม่าน
"เฮาถูกต้องข้อกล่าวหา...ถูกจับว่าหลบหนี เข้าเมืองโดย เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย...ผู้หญิง ถูกดูหมิ่นดูแคลนด้วยวาจาและสายตาที่หยามเหยียด เฮามันคับอกคับใจเฮา ตำรวจน่าจะเข้าใจเฮามากกว่านี้ อยู่เมืองยองตึงวันนี้อยู่ลำบาก ติดคอกเมืองไทยดีเหลือเปินขี่ข่าม่าน" คำเอ้ย เอ่ยออกมาด้วยน้ำตานองหน้า
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ผลผลักดันให้คนไตยองนั้นเดินทางอพยพเข้ามาเมืองไทยอย่างไม่ขาดสาย วัยหนุ่มสาวเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่ๆ วัยแห่งการสร้างครอบครัวต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่เพื่อความปลอดภัยของชีวิต
 
"มาอยู่เมิงไทยหลายปี๋แล้ว เข้าคอกก็หลายเตอ ตำรวจมายับเปิ่นวาเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่เฮาบ่มีแผ่นดินอยู่ เฮาบ่าวได้เฮ็ดหยังผิด ติดคอกเมิงไทยดีเหลอเปิ่นขี่ข่าม่าน" (มาอยู่เมืองง ไทยหลายปีแล้ว เข้าคุกก็หลายครั้ง ตำรวจมาจับเขาว่าเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่เราไม่มีแผ่นดินอยู่ เราไม่ได้ทำอะไรผิด ติดุกเมืองไทยดีกว่าเป็นขี่ข้าพม่า) พ่อหนานนวน บ้านวังใผ่ อ. แม่อาย จ.เชียงใหม่ บอกเล่าให้ฟัง 
 
มีหมู่บ้านไตยองหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านสันติสุข บ้านใหม่หมอกจ๋าม บ้านอรุโณทัย บ้านวังไผ่ ในเขตอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านอื่นๆอีกเหลายหมู่บ้านในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย คนไตยองได้อพยพพลัดถิ่น ย้ายแผ่นดินเข้ามาอยู่อาศัยภายใต้ผืนแผ่นดินไทย กลายมาเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศก็มีเป็นจำนวนไม่น้อยในเวลานี้
 
 
ไหว้สาชะตากรรมของคนไต..คนไทยร่วม แผ่นดิน
"อย่าลืมพระคูบา อย่าลืมชาติเจื้อจาวยอง มีสังก็บอกข้าวส่งข่าวมา"ครูบากันทะระสะ วังโส วัดราชฐานหลวงหัวข่วง เมืองยองกล่าวย้ำให้พี่น้องไตยองที่เดินทางข้ามมายังฝั่งไทย
 
เสียงสะท้อนจาก การพูดคุยกับครูบาสังฆะในเมืองยองและจากพี่น้องเมืองยองว่า เราไม่อาจที่จะหลีกหนีความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ แต่คนยองจะปรับตัวเองอย่างไรท่ามกล่างสิ่งที่รุมเร้าทั้งหลายทั้ง ปวง ทั้งภายนอกและภายใน 
 
ข้อเท็จจริงก็คือ ว่า ยังมีคนไตยองส่วนมากที่ยังคงอยู่ที่เมืองยองและไม่ละทิ้งแผ่นดิน ยังมีคนยองอีกเป็นจำนวนมากที่รักบ้านเมือง รักผืนแผ่นดิน ยังมีผู้คนที่หลากหลายเผ่าพันธุ์ที่ยังรักและหวงแผ่นดินเกิด ต้องการพบเห็นสิ่งที่ดีกว่า และพัฒนาไปบนรากฐานทางสังคมร่วมกันของคนเมืองยอง และอยากมีสันติสุขดังอุดมการณ์และความเชื่อที่มีต่อพระธาตุหลวงจอมยอง "เมืองยอง คือแผ่นดินมหาธาตุ"ที่อยากจะให้สาธารณะได้รับรู้และ เรียนรู้ร่วมกันนั้นน่าจะทำอย่างไร มีข้อเสนอแนวทางออกและความร่วมมืออย่างไร
 
 
 พระ ธาตุหลวงเวียงยอง
 
 
พระธาตุหลวงจอม ยอง เมืองยอง ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเฉพาะของคนยองเพียงเท่านั้น แต่เป็นเรื่องราวของการแสวงบุญ เป็นเรื่องราวของผู้คนแต่ละยุคสมัย ที่ได้สะท้อนออกมาให้สังคมได้เห็นและได้เรียนรู้ร่วมกันมาเป็นเวลาอันยาวนาน น่าจะเป็นเรื่องราวตัวอย่างหนึ่งของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของผู้คนอีกแง่ มุมหนึ่งที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ได้เห็นและได้เรียนรู้ความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีการเคลื่อนไหวทางสังคมอยู่ตลอดเวลา
 
แต่ปัญหาทุก วันนี้อย่างที่เราเข้าใจ สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงและ ถูกรุมเร้าจากเงื่อนไขหลายปัจจัย และส่งผลถึงรูปแบบเนื้อหาของพิธีการไหว้พระธาตุ เราได้เห็นการไหว้พระธาตุ (ในประเทศไทย) ที่ไม่ได้ยึดถือและศึกษาเรื่องราวหรือแก่นแท้ของพระธาตุเป็นแบบอย่าง ไม่ได้ศึกษาเรื่องราวให้ถ่องแท้ชัดเจน ทั้งที่โลกนี้มีข้อมูลข่าวสารและเรื่องราวต่างๆอย่างมากมายมหาศาล มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิ มีงบประมาณจำนวนมาก ผู้คนได้รับการศึกษาและได้รับยกย่องว่าเจริญแล้ว กลับไม่รู้คุณค่า พระธาตุที่ทรงคุณค่าจึงถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยว และมุ่งขึ้นไปเพื่อถ่ายรูปชมความงามอย่างฉาบฉวย
 
ผืนแผ่นดินเจ็บปวดกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย แผ่นดินมหาธาตุทั้งหลายและผู้คนกำลังถูกจองจำและ พันธนาการ ผืนแผ่นดินกำลังถูกแย่งชิงไม่ต่างอะไรสัก นิดเหมือน "มหิยงกะนะ"
 
สถานการณ์ความ เปลี่ยนแปลงของเมืองยอง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมความเชื่อ ปัญหาการเมืองที่ถูกกดขี่ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นจะตั้งรับอย่างไรเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งคนเมืองยองต้องตั้งสติและมองตัวเองอย่างพินิจพิเคราะห์ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป คนเมืองยองจะสร้างคุณค่าดั้งเดิมได้อย่างไร ท่ามกลางวิกฤติทางสังคม ในขณะนี้
 
มีแต่เสียงสะท้อน จากคนเมืองยองว่า ต่างหวังแรงใจแรงสนับสนุนจากพี่น้องคนไตลื้อ ไตยองรวมถึงคนไทยที่รับรู้ข้อมูลข้าวสาร จะร่วมกันสร้างส้นติสุขอย่างไรได้บ้าง
 
เราจะร่วม อนุรักษ์คุณค่าต่างๆของแผ่นดินได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ทางอุดมการณ์เรื่อธาตุหลวงจอมยอง มิติทางประเพณีความเชื่อผู้คน องค์ความรู้และ ภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ท่ามกลางกระแสสังคมและโลกในขณะนี้ หรือจะปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นสูญหายตายจากไปกับกาลเวลาและการแย่งชิงแผ่นดิน เพราะเราเชื่อว่ายังมีพี่น้องเชื้อสายไตยองในประเทศไทย ที่ต่างได้ดิบได้ดี และยังรักหวงห่วงแผ่นดินอยู่อีกเป็นจำนวนมาก
 
 
มองอดีต มองปัจจุบัน มองอนาคตของผู้คนไตยองสองแผ่นดิน
อย่างไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นคำถามให้กับผู้คนในสังคม ว่าเรา จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรชุมชนชายขอบ กับการพัฒนาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับตั้งแต่ชุมชน สังคม ประเทศชาติโดยรวมที่เข้มแข็งและยั่งยืนอย่างไร   
 
เราจะส่งเสริม ความร่วมมือส่งเสริมกระบวนการศึกษาเรียนรู้ เพื่อ ให้เห็นความสำคัญและก่อเกิดความสมดุลของการเปลี่ยนแปลงร่วมกันได้อย่างไร   
 
เราจะมีข้อเสนอ ทางยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ในภูมิภาค มีการพัฒนาอย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมร่วมกันได้อย่างไรในอนาคต?
 
ชะตากรรมเมืองยอง ยามนี้ ไม่มีใครที่จะบอกได้ว่าจะก้าวเดินไปในทิศทางได ใครจะรับรู้หรือแบ่งเบาชะตากรรมเหล่านั้นจากพี่น้องเมืองยอง คนไตยองได้บ้าง 
 
..........................................................................

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท