Skip to main content
sharethis

ชื่อเดิมบทความ : 5 ปีที่ล่วงไปของ Doha Declaration on TRIPs ถึงเวลาต้องทบทวน


โดย   ผศ.สุนทรี วิทยนารคไพศาล


ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา, 11 พฤศจิกายน 2549


http://dsgthai.blogspot.com/


 


 


ในวันอังคารที่ 14 พย 49 นี้ องค์กรหมอไร้พรมแดน (Medecins Sans Frontieres) ร่วมกับ the Consumer Project on Technology,Third World Network, Health Action International, World AIDS Campaign และ Oxfam WHERE จัดเสวนาในระหว่าง เวลา 12.00 -14.00 น. ที่เจนีวา ตึก Rue de Varembé 15 , International Conference Centre (CICG)ชั้น 3 ห้อง
 
เรื่องที่นำมาถกกันในการเสวนาครั้งนี้ เป็นการติดตามประเมินปฏิบัติการ การเข้าถึงยาจำเป็น (access to essential medicines) ขององค์สมาชิกองค์การการค้าโลก(World Trade Organization/WTO)ว่า ตั้งแต่ ปี 2544 ที่มีการทำสัญญาใน "ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข" (Doha Declaration on TRIPS and Public Health)ในที่ประชุม the WTO Ministerial meeting ประเทศ Qatar ซึ่งเวลาผ่านมาเป็นเวลา 5 ปี แล้วนั้น ได้มีการดำเนินการตามสัญญาที่จะคุ้มครองสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับยาจำเป็นถ้วนหน้าหรือไม่ นอกจากนี่เป็นการทบทวนและวิเคราะห์สถานการการขับเคลื่อนประเด็นนี้ต่อเนื่องต่อไป การเสวนาครั้งนี้ มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศต่างๆ จากองค์การอนามัยโลก จากองค์การการค้าโลก และจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) 
 
จากการประเมินสถานะภาพการเข้าถึงยาเอดส์ หลังข้อตกลงโดฮา เป็นเอกสารที่เผยแพร่ โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ร้อยละ 74 ยาที่ใช้ในผู้ติดเชื่อเอดส์ ยังเป็นยาที่ผูกขาดด้วยสิทธิบัตร และร้อยละ 77 ของประชากรในประเทศแถบ Africans ยังคงไม่ได้การรักษา และพบว่า ประเทศ Philippines,Indonesia, Niger, Botswana หรือ Haiti, ไม่มี การผลิตยาต้านเชื้อ ( antiretrovirals) ในชื่อสามัญ (generic version) ในประเทศเหล่านี้ แม้ว่าจะมี ตัวยา ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ ที่แตกต่างกันในสารสำคัญถึง 8 กลุ่มตัวยา แต่เป็นยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งคนยากจน ไม่สามารถแสวงหามาได้ 
 
โดยที่วรรค 6 (Paragraph 6) ของ "ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข" เป็นข้อที่ระบุถึงการร่วมกันสร้างระบบการเข้าถึงยาที่ทั่วถึงและเท่าเทียม ให้ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Lisencesing, CL) และการนำเข้าซ้อน (Paralell Import, PI) รวมทั้งให้ประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตยา สามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ เพื่อให้ประเทศอื่นผลิตยาชื่อสามัญส่งมายังประเทศได้ เพื่อเป็นหลักประกัน ให้ผู้ป่วย / ผู้มีเชื้อเอชไอวีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้เข้าถึงบริการบำบัดรักษาทุกคน  



ข้อตกลงนี้ใช่ว่าจะปฏิบัติการได้ทันที รอมาถึงปี 2546 ถึงมีการจัดประชุมของ The WTO General Council เพื่อทำความชัดเจนถึง วิธีการให้ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตยาสามารถผลิตและจัดหายาชื่อสามัญไปยังประเทศที่ไม่มีศักยภาพได้ ซึ่งประเทศแคนาดาเป็นประเทศแรก ที่แสดงความสนใจ ได้ออกกฎหมาย Bill C-9 (the Jean Chretien Pledge to
Africa) ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2547 อนุญาตให้อุตสาหกรรมยาสามัญผลิต และส่งออกไปยังประเทศ Africa. ทำให้องค์กรหมอไร้พรมแดน (MSF) มีความหวัง และเป็นองค์กรแรกที่ร่วมใช้มาตรการนี้สั่งยาต้านเชื้อจากบริษัทยาในแคนาดาไปให้ผู้ป่วยในแถบประเทศ Africa ภายใต้โครงการความช่วยเหลือขององค์กรเอง ผ่านไปแล้วสองปี ผู้ป่วยชาวแอฟริกันยังไม่ได้ยา เพราะยังไม่มียาใดๆ ที่สามารถส่งออกจากประเทศ Canada ภายใต้มาตรการนี้ เนื่องจากติดปัญหาข้อกฎหมายสิทธิบัตรว่าด้วยมาตรการการบังคับใช้สิทธิ ที่ยังไม่มีการแก้ไขภายใต้หลักการนี้ 
 
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 WTO General Council จัดให้มีการประชุมอีกครั้งเพื่อแก้ปัญหา ในทางปฏิบัติอันเนื่องจาก เงื่อนไขจากมาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory license) 
 



*********** 


ก่อนหน้าในปี 2542 ประเทศไทยได้การเคลื่อนไหวโดยตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จากทุกภาค ประมาณ 100 คน ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ , องค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้บริโภค , สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม 16 องค์กรได้รวมตัวกันหน้ากระทรวงสาธารณสุข ให้รัฐแสดงจุดยืนและสนับสนุนประกาศใช้กลไกบังคับใช้สิทธิตามมาตรา 51 ในกฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยา ดีดีไอ (ddI) เครือข่ายฯ รอคำตอบจากรัฐที่ใช้เวลาถึง 1 ปี จึงได้คำตอบเมื่อถูกทวงถามในปี 2543 โดย กระทรวงสาธารณสุขแสดงจุดยืนประกาศไม่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ แต่ให้องค์การเภสัชกรรมเลี่ยงการผลิตดีดีไอแบบเม็ดให้หันมาผลิตดีดีไอแบบผงแทน เหตุผลในการปฏิเสธการบังคับใช้สิทธินี้ อ้างการถูกบีบจาก ข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐ โดยมีการแทรกแซงจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งได้ทำหนังสือไม่เป็นทางการแจ้งเตือนรัฐบาลไทย (มกราคม 2543) จุดเน้นเพื่อเตือนไทยให้สังวรการบังคับใช้สิทธิเพราะจะละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ผลิตยา ขณะเดียวกันยังได้กล่าวย้ำให้เห็นว่าถ้าไทยยังดื้อดึงในการบังคับใช้สิทธิ รัฐไทยจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของ WTO-TRIPs ที่สำคัญยังได้เน้นอ้างถึงข้อบังคับใช้สิทธิใน Article 31 of the TRIPS ที่เป็นส่วนเอกชน โดยละเลยที่จะกล่าวถึงการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ



ในช่วงเวลาเดียวกัน เครือข่ายฯ ได้รับจดหมายตอบจาก United States Trade Representative มีเนื้อความว่า อเมริกาสนับสนุนการทำให้ผู้ติดเชื้อหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงยารักษาโรค และเข้าถึงการรักษาในทุกวิถีทาง หรือถ้าต้องใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยไม่ขัดต่อข้อตกลงทางการค้า (TRIPS)



การต่อสูเพื่อให้ องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยา ดีดีไอ ภายใต้การบังคับใช้สิทธิ ไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติ อีกทั้งการฟ้องร้องเพิกถอนสิทธิบัตรยา ดีดีไอ ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และผู้ติดเชื้อเป็นโจทย์ ต้องใช้เวลาที่ยาวนาน กรมทรัพย์สินทางปัญญาเองกลับแสดงตัวประกาศขอเป็นจำเลยร่วมกับบริษัทยา เพื่อต่อสู้คดีการสิ้นสุดคดียา ดีดีไอ ยุติด้วยการที่ บริษัทยา Bristol-Myers เจรจาขอถอนการครอบครองสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 เนื่องจากถูกบีบคั้นด้วยการประณามจากสังคมทั่วโลก 



ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป สำนักหลักประกันสุขภาพ (สปสช)ได้ประกาศให้รวมยาต้านไวรัสเข้าไว้ในสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่ติดเชื้อและมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำกว่า 200 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  
 
แต่การใช้ยาต้านไวรัส จำเป็นต้องใช้ยาที่หลากหลายชนิด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ เพราะการรักษานั้นเมื่อผู้ที่ได้รับยาต้านฯ มาเป็นเวลานาน ไวรัสจะปรับตัวและมีปฏิกิริยาดื้อต่อยาที่ใช้อยู่ ต้องเปลี่ยนสูตรยาใหม่ ซึ่งยาต้านไวรัสบางตัวที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้นั้น มีราคาแพง เนื่องจากมีผู้ผลิตรายเดียวที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร ทำให้สามารถกำหนดราคาขายได้อย่างอิสระ จึงมีผลกระทบต่องบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการเข้าถึงยาในระบบหลักประกันสุขภาพมาก ทำให้ สปสช เริ่มมองมาตรการการบังคับใช้สิทธิ โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์โดยรัฐ เมื่อต้นปี 2549 การประชุมได้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ การยกร่างคำสั่งใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และรายการยาในกลุ่มมะเร็งและกลุ่มยาโรคหัวใจที่น่าสนใจในการใช้สิทธิฯ  


การพิจารณาถึงขั้นที่มีการนำเสนอในชุดรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ โดยนายพินิจ จารุสมบัติได้นำเข้า ครม. ประกาศใช้ ขณะนี้ มาตรการการบังคับใช้สิทธิ (CL)อยู่ในขั้นตอนการพิจารณานำมาบังคับใช้เพื่อให้องค์การเภสัช สามารถผลิตยา เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพได้ แต่ได้รับการต่อต้าน คัดค้านจากธุรกิจยา รวมทั้งกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมควบคุมโรค ที่อ้างถึงการจะถูกบริษัทฟ้องร้อง ซึ่งหน่วยงานภาคราชการ มักจะเสนอแนะว่า ควรหลีกเลี่ยงสิทธิบัตรยาที่ไปผนวกเดียวกับเขตการค้าเสรี เพราะน่าจะเกิดผลทางด้านลบมากกว่าด้านบวก จึงไม่คิดทำการใดๆ กับกลไกบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ ตามมาตรา 51 รวมทั้งไม่เปิดการรับรู้เรื่อง วรรค 6 (Paragraph 6) ของ "ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net