Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 24 พ.ย. 2549 จากกรณีที่มีการรายงานว่า รัฐบาลไทยและพม่าเตรียมลงนามก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนฮัดจ์ยี 1,200 เมกะวัตต์ ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ โดยคาดว่าจะเสริมสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าและได้ค่าไฟฟ้าในอัตราต่ำ


 


โดยนายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะลงนามเอ็มโอยู กับการไฟฟ้าแห่งพม่า เพื่อร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนฮัดจ์ยีในพม่า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของ 2 ประเทศเป็นประธาน โดยเขื่อนดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตประมาณ 1,200 เมกะวัตต์อยู่ริมชายแดนไทยและพม่า ช่วงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งหลังลงนาม กฟผ.จะหาพันธมิตรมาร่วมทุนก่อสร้าง ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยขณะนี้จีนให้ความสนใจที่จะร่วมทุน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5 - 6 ปี จึงจะก่อสร้างแล้วเสร็จ


 



นอกจากนี้ ในอนาคตไทยและพม่าจะร่วมมือที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำสาละวินอีกหลายแห่ง โดยคาดว่าแห่งที่ 2 จะอยู่ที่เขื่อนตะนาวศรี กำลังผลิตประมาณ 600 เมกะวัตต์ ติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะทำให้มีไฟฟ้ามาป้อนให้กับโครงการเหล็กต้นน้ำที่เครือสหวิริยามีแผนลงทุนและเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านไฟฟ้าในภาคใต้ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและพม่าได้หารือร่วมกันเพื่อเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำสาละวิน ที่นอกจากมีเป้าหมายขายไฟฟ้าให้กับ 2 ประเทศแล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าป้อนให้กับประเทศต่างๆ ในโครงการอาเซียนกริดอีกด้วย


 



ทั้งยังมีรายงานว่า วันนี้ (23 พ.ย.) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางเยือนสหภาพพม่าพร้อมกับนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือความร่วมมือด้านพลังงานและกระชับความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ


 



อย่างไรก็ตาม การที่ทางกระทรวงพลังงาน และ กฟผ.ออกมากล่าวเสนอให้มีการเตรียมลงนามก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนฮัดจ์ยีในเร็วๆ นี้ ได้ทำให้กลุ่มนักวิชากร นักเคลื่อนไหว องค์กรสิทธิมนุษยชนได้ออกมาคัดค้านเคลื่อนไหวไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าว


 


ล่าสุด วันเดียวกัน ที่โรงแรมเซ็นทรัล ดวงตะวัน จ.เชียงใหม่ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย จัดเวทีการสัมมนาวิชาการ - Seminarแม่น้ำโขง-สาละวิน : ผู้คน ผืนน้ำ และสุวรรณภูมิของอุษาคเนย์ (Mekong-Salween: Peoples, Water, and the Golden Land of Suvarnabhumi/Southeast Asia) โดยมีนักวิชาการ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมรับฟังการสัมมนากันอย่างคับคั่ง


 



 


โดยในเวทีดังกล่าว ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมือง ได้อ่านจดหมายเปิดผนึกถึง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนนโยบาย หรือโครงการ ที่นำไปสู่การสร้างเขื่อน ในลุ่มแม่น้ำโขงและสาละวิน ตลอดจนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ที่จะก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของประชาชน


 


โดยเนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก ความว่า ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวิน ที่ได้หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของประชาชนกว่าร้อยล้านคน ประชาชนทั้งหมดในภูมิภาคถือเป็นเจ้าของร่วมกัน และได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันมาอย่างยั่งยืนและยาวนาน


 


ดังนั้น รัฐบาลของประเทศหนึ่งประเทศใด หรือองค์กรระหว่างประเทศหนึ่งใด ไม่พึงมีสิทธิที่จะตัดสินใจในการพัฒนาใดๆ โดยพลการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของท้องถิ่นและข้ามพรมแดน และต่อฐานทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคแม่น้ำโขงและสาละวิน พึงมีสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง สิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และร่วมมีส่วนในการดำเนินการ จัดการทรัพยากรในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ การเมืองระดับภูมิภาคในอนาคต


 


รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคแม่น้ำโขงและสาละวิน ควรมีสิทธิดำเนินการจัดการและปกป้องดุลภาพของทรัพยากรธรรมชาติ บนพื้นฐานของการเคารพในสิทธิ และจิตวิญญาณแห่งความสมานฉันท์ของประชาชนในภูมิภาค เพื่อความร่วมมือและก่อผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงประเด็นการประสานให้เกิดดุลยภาพระหว่างอธิปไตยและความมั่นคงของมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะในประเด็นแม่น้ำข้ามพรมแดน ประเด็นต้นน้ำ-ปลายน้ำ และประเด็นสิทธิมนุษยชนของประชาชนพื้นถิ่นและชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ มิใช่คำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีแต่เพียงอย่างเดียว



ข้าพเจ้าผู้ร่วมกันลงชื่อแนบท้ายจดหมายฉบับนี้ ได้เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง
"แม่น้ำโขง-แม่น้ำสาละวิน : ผู้คน ผืนน้ำ และสุวรรณภูมิของอุษาคเนย์" ระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย.2549 ณ จ.เชียงใหม่ ใคร่ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลของ ฯพณฯ ได้ทบทวนนโยบาย หรือโครงการ ที่นำไปสู่การสร้างเขื่อน ในลุ่มแม่น้ำโขงและสาละวิน ตลอดจนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ที่จะก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของประชาชน


 


ทั้งนี้ เพราะกลไกและกระบวนการ ในการวางแผน ตัดสินใจ และดำเนินการ และมาตรการดูแลผลกระทบทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ขาดความโปร่งใส ขาดการมีส่วนร่วม และขาดความสมดุล ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูป การละเลยให้ยังคงมีการดำเนินการดังเช่นที่ผ่านมา จะนำไปสู่ความขัดแย้ง การบ่อนทำลายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่น และระบบนิเวศซึ่งเป็นต้นทุนร่วมกันทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจการเมืองในเวทีโลกอย่างยากจะหลีกเลี่ยง


 


รายชื่อผู้ร่วมลงนามจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี


1. เสน่ห์ จามริก
2. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
3. เตือนใจ ดีเทศน์
4. วสันต์ พานิช
5. วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ
6. ศรีประภา เพชรมีศรี
7. วรศักดิ์ มหัทโนบล
8. วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์
9. จิระนันท์ พิตรปรีชา
10. ปรียา แววหงษ์
11. ทรงยศ แววหงษ์
12. ยศ สันตสมบัติ
13. เพียรพร ดีเทศน์
14. ฟิลิป เฮิร์ช
15. สมฤทธิ์ ลือชัย
16. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
17. กัมปนาท ภักดีกุล
18. ปกศักดิ์ นิลอุบล
19. ไพจง ไหลสกุล
20. พัชราพรรณ ชัยเมือง
21. จ๋ามตอง
22. ฉลาดชาย รมิตานนท์
23. อัครพงษ์ ค่ำคูณ
24. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
25. ภากร กังวานพงศ์
26. ไปรวัน ลิ้มพันธ์บุญ
27. สุนทร ปัญญาวงษ์
28. ปนัดดา ภู่เจริญศิลป์
29. วิบูลย์ อิงคากุล
30. บุญชู อิงคากุล
31. อัจฉรียา สายศิลป์
32. ปวีณา บุหร่า
33. ธีระวัฒน์ แสนคำ
34. สุพัตรา เร้าวงษ์
35. นันทกา แก้วล้อม
36. สุวิทย์ รัตนปัญญา
37. ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์
38. สุภัทรา สามัง
39. นฤมล ลือชา
40. วัฒนะ คงถาวร
41. บัววัน สิริพงศ์
42. วรกานต์ วงษ์สุวรรณ
43. ศุภรัตน์ ตีคะกุล
44. ภิชา ผลเรือง
45. ดำเกิง โถทอง
46. กุลวรรณ วิทยาวงศ์รุจิ
47. จริยา ธรรมบุญ
48. สุนันทา วีรกุลเทวัญ
49. พลอยศรี โปราณานนท์
50. ชนัท พานิชวิทัตกุล
51. พจนีย์ วานิช
52. ทะนงศักดิ์ วานิช
53. วันชัย ทัศนิยม
54. บุษกร พิชยาทิตย์
55. ออมสิน บุญเลิศ
56. มยุรณี หล้ากวนวัน
57. วาสนา แก้วหล้า
58. สิทธิกร อ้วนศิริ
59. วันดี สันติวุฒิเมธี
60. ภทรพรรณ สุขพงษ์ศรี
61. พิมพรรณ ทิพยภิบาล
62. ณัฐเชษฎ์ พูลเจริญ
63. สมใจ ดำรงสกุล
64. พินิตตา สุขโกศล
65. นิรมล ยุวนบุณย์
66. สุดารัตน์ พ่วงพี
67. สุธรรมา มณีพิทักษ์
68. ชมพูนุท วราศิระ
69. สุภาวดี สำราญ
70. ประเสริฐ แรงกล้า
71. ยุวดี มณีกุล
72. ผุสรัตน์ สองเมือง
73. ปาริชาติ มะโนจิตร
74. อุมาภรณ์ ตั้งเจริญบำรุงสุข
75. ภานี ลอยเกตุ
76. วิษณุ ฟองคำ
77. ซี บุญยโกศล
78. พยงค์ ทับสกุล
79. พิทยา วงศ์ใหญ่
80. กมลพร ปีอาทิตย์
81. สุชิน ฤทธิบุตร
82. สายณรงค์ รสานนท์
83. รพีพร พานะมัย
84. ศิริพร จิตเย็น
85. วรรษมล ทองภักดี
86. ทวีป ศิริรัศมี
87. จีริจันทร์ ประทีปะเสน
88. สุดารัตน์ กัลยา
89. จารุวรรณ โยธา
90. กานต์กมล สินเจริญ
91. สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ
92. สมหญิง สุนทรวงษ์
93. อร่ามศรี ชูศรี
94. พรเพ็ญ พยัคฆาภรณ์
95. อรรคพล พยัคฆาภรณ์
96. ร่มเย็น โกไศยกานนท์
97. ยิ่งลักษณ์ ศรีตองอ่อน
98. กุลเชษฎร์ สุทธิดี
99. นงลักษณ์ ทองอยู่
100. บัวทอง จูมพระบุตร
101. พันทิพา พงษ์เพียจันทร์
102. สุมาลี สุขดานนท์
103. วรางค์รัตน์ บูลกุล
104. พรพิมล ตรีโชติ
105. ศรัณย์ สุดใจ
106. ศรีสุข มงกุฎวิสุทธิ์
107. ศุภชัย จันทร์ประเสริฐ
108. กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
109. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
110. สุนี สุทธิอนันต์
111. อมรา ทีปะปาล
112. ลัลธริมา หลงเจริญ
113. สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์
114. กรรณิกา เพชรแก้ว
115. ทวีคูณ มาลยาภรณ์
116. สำลี สุตันทวงษ์
117. ฐิตสิริ ดงเมือง
118. มัทนียา พงศ์สุวรรณ
119. สุริษา มุ่งมาตร์มิตร
120. สิริภา สงเคราะห์
121. วาเนสซา แลมบ์
122. โสมวดี ศรีเจริญ
123. วีณาภรณ์ พรมพิทักษ์
124. พัชรีภรณ์ ทิพวงศ์
125. บุญวัฒน์ บุญทะวงศ์
126. นันทพร อนุสรณ์พานิช
127. คำศรี สิทธิอรดา
128. จักริน เณรพงษ์
129. ดุจฤดี คงสุวรรณ์
130. เกษม พงษ์พานิช
131. พิเชษฐ์ นันตา
132. สุวดี แก้วอินศรวล
133. อาร์ม เจียมจตุรงค์
134. วรวุฒิ สุภาพ
135. สุภาพร ทองพุก
136. ดาวเรือง แนวทอง
137. ผวรรณัตรี ปะกิรนา
138. สุริยา มาตย์คำ
139. พระครูอรัญเขตพิทักษ์
140. นุ ชำนาญคีรีไพร
141. สุรศักดิ์ ราศี
142. ปานฤทัย พุทธทองศรี
143. เกรียงไกร วงษ์มาลีวัฒนา
144. รังสรรค์ จันต๊ะ
145. ชมพูนาฏ ชมพูพันธ์
146. สมปอง วิมาโร
147. เพชรตะบอง ไพศูนย์
148. วัลลีย์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net