ชาวแก่งคอยยื่นข้อมูล คตส.เพิ่ม ชี้ปมสัญญาหมกเม็ดสร้างโรงไฟฟ้า

ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย ยื่นเรื่องต่อ คตส.เป็นรอบที่ 2 ติดตามการทำงานและให้ข้อมูลเพิ่ม กรณีสัญญาที่ กฟผ. ยอมเสียเปรียบบริษัทฯ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงนั่งในตำแหน่งสำคัญทั้งในส่วนของบริษัทและในบอร์ด กฟผ.

ประชาไท - 26 ..50 ตัวแทนชาวบ้านจากชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เข้ายื่นหนังสือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อเกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กรณีปัญหาโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ของบริษัท กัลฟ์ พาเวอร์เจเนอเรชั่น จำกัด พร้อมทั้งขอทราบความคืบหน้าการทำงานของ คตส. หลังจากได้ยื่นหนังสือร้องเรียนครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 27 ..49

ในจดหมายดังกล่าวระบุถึงข้อสังเกตและข้อเรียกร้องให้ตรวจสอบสัญญาที่รัฐเป็นฝ่ายเสียเปรียบบริษัทกัลฟ์ฯ เพราะหลังจากโครงการของบริษัทกัลฟ์ฯ ถูกต่อต้านอย่างหนักจนไม่สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ในพื้นที่บ้านบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางบริษัทฯ ได้อ้างว่าเกิดความเสียหายขอให้ กฟผ. ซึ่งเป็นคู่สัญญา ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินประมาณ ๔,๐๐๐-,๐๐๐ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้เป็นความบกพร่องของเอกชนเอง แต่กลับมีการเจรจาตกลงกันโดย กฟผ.ยอมรับผิดและจ่ายค่าเสียหายด้วยการให้บริษัทฯ ย้ายมาสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีการ และเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1 โรงเป็น 2 โรง โดยไม่ต้องประมูล ทางชมรมฯ จึงเรียกร้องให้คตส.ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและยกเลิกสัญญาที่เสียเปรียบดังกล่าว

นอกจากนี้ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กฟผ. และหน่วยงานที่ควบคุมดูแล กฟผ. กับบริษัทเอกชน ยังมีตำแหน่งทับซ้อนกันไป เช่น นายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการบริษัทกัลฟ์ อิเล็คตริค จำกัด(มหาชน) และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทตามเอกสารการจดทะเบียนของบริษัทเมื่อปี 2541 และนายสมหมาย ยังดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร กฟผ. ในปี 2543-2544 ด้วย

"การย้ายโรงไฟฟ้าและเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงมาเป็นแก๊ซนั้น ทำให้กลุ่มทุนแก๊สในรัฐบาลที่แล้วได้ประโยชน์ และตอนนั้นใครๆ ก็รู้ว่าอดีตรัฐมนตรีอย่างสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจมีหุ้นใหญ่ในปตท." ตัวแทนชมรมอนุรักษ์ฯ กล่าว

ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอยมีกำลังการผลิตทั้ง 2 หน่วยรวม 1,468 เมกกะวัตต์ โดยหน่วยผลิตแรกจะผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบในเดือนมีนาคมปีนี้ และอีกหน่วยหนึ่งจะส่งไฟฟ้าเข้าระบบในปีหน้า โดยมีปัญหาขัดแย้งกับชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อแก่งคอยมาตั้งแต่ยังไม่ดำเนินการก่อสร้าง ในประเด็นปัญหาการแย่งชิงน้ำในแม่น้ำป่าสักเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และที่ตั้งโครงการที่อยู่ใกล้ชุมชนเพียง 2 กิโลเมตร

 

 

 

จดหมายชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อแก่งคอย

 

 

ที่ ๖ / ๒๕๕๐ ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย

/๑ ถ.พระพายัพ ต.แก่งคอย

.แก่งคอย จ.สระบุรี ๑๘๑๑๐

๒๔ มกราคม ๒๕๕๐

เรื่อง ขอทราบความก้าวหน้าและขอให้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบสัญญาโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2

เรียน ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)

สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. สำเนาสังเขปรายงานการวิเคราะห์สัญญาโรงไฟฟ้า ฯ ของคณะทำงาน

คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จำนวน ๑ ชุด

. สำเนาเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

บริษัทกัลฟ์อิเล็คตริกจำกัด (มหาชน) จำนวน ๑ ชุด

. สำเนาเอกสารรายชื่อคณะกรรมการบริหาร กฟผ.ปี 2543-2544 จำนวน ๑ ชุด

. สำเนารายละเอียดข้อมูลการจัดตั้ง บ.กัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น จำนวน ๑ชุด

 

ด้วยชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย ได้ยื่นจม.ร้องเรียนต่อ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยหนังสือชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย ที่ ๔๘/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ขอให้ คตส. ตรวจสอบมติเห็นชอบของ ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีโครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอย ๒  ซึ่งพวกข้าพเจ้าได้ทราบข่าวจากสื่อมวลชนว่า คตส.ได้ถามไปยังหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบให้ส่งข้อมูลคำชี้แจงเรื่องการอนุมัติของครม. , รัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมายัง คตส. ซึ่ง คตส.จะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาในการรับเรื่องนี้ไว้ตรวจสอบหรือไม่เป็นลำดับไป

 

 ชมรมฯ ใคร่ขอทราบความคืบหน้าและขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมและขอให้ คตส.ตรวจสอบโดยเร่งด่วนในเรื่องการเซ็นต์สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทกัลฟ์อิเล็คตริกจำกัด โดยชมรมฯ มีข้อมูลเบื้องต้นว่าสัญญานี้เป็นสัญญาที่ทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบ เป็นสัญญาที่ได้มีการตกลงยอมรับข้อเรียกร้องของบริษัทเอกชนคู่สัญญาโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว(รัฐบาลทักษิณ)ยอมให้ กฟผ.จ่ายค่าเสียหายให้บริษัทกัลฟ์ ฯ เนื่องจากบริษัท กัลฟ์ ฯ ไม่สามารถก่อสร้างตามสัญญาเดิมที่บ้านบ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และต้องย้ายมาสร้างที่  ม.๒ บ้านหนองแหน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดย บริษัท กัลฟ์ ฯ อ้างว่าเกิดความเสียหาย

 

ขอให้ กฟผ. ซึ่งเป็นคู่สัญญา ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินประมาณ ๔,๐๐๐-,๐๐๐ล้านบาท และได้เจรจาตกลงกันโดย กฟผ.ยอมจ่ายค่าเสียหายโดยการเพิ่มสัญญาอีก ๑ สัญญา โดยให้บริษัท กัลฟ์ ฯ สร้างโรงไฟฟ้าที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพิ่มเป็น ๒ โรง (เดิมในสัญญามีเพียง ๑ โรงทั้งนี้ชมรมฯ มีข้อมูลจากการตรวจสอบสัญญาโรงไฟฟ้าบ่อนอก ของคณะทำงานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภาระบุว่าสัญญาระหว่าง กฟผ. และ บริษัทเอกชน ๒ บริษัทมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากจนเกินไปโดยรัฐอันมี กฟผ.เป็นตัวแทนต้องรับผิดหมดทุกกรณี ทั้ง ๆ ที่ การที่บริษัท กัลฟ์ ฯ ไม่สามารถสร้างที่ บ้านบ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบ ฯ ได้นั้น นับเป็นความผิดของบริษัท กัลฟ์ ฯ เองซึ่งไม่สามารถทำความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่ยอมรับโครงการได้ อันเป็นความผิดที่ บริษัท เอกชนควรต้องยอมรับผิดชอบเอง แต่ทำไม ตัวแทนของ กฟผ. และตัวแทนรัฐบาลที่ควบคุมดูแล กฟผ. ไม่มีความรอบคอบในการเจรจาทำให้ยอมรับชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัท กัลฟ์ ฯ โดยการยินยอมให้ บริษัท กัลฟ์ ฯ ย้ายจากบ้านบ่อนอก จ.ประจวบ ฯ มาก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรีได้ และยังเซ็นสัญญาเพิ่มให้เอกชนได้ก่อสร้างอีก ๑ โรง ทั้งๆที่บริษัท เอกชนทุกบริษัทที่จะได้สร้างโรงไฟฟ้าต้องผ่านการประมูล บริษัท กัลฟ์ ฯได้โรงไฟฟ้าโรงที่ ๒ ไปโดยไม่ต้องประมูล ตัวอย่างของสาระสำคัญของสัญญาที่เอื้อให้บริษัทเอกชนมากเกินไปก็คือ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้าตลอด ๒๕ ปี ในราคาไฟฟ้า ที่บวกกำไร ให้แล้วไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๑๕ และ ไม่มีการระบุความผิดของเอกชนที่ กฟผ. สามารถบอกเลิกสัญญาได้ โดย กฟผ.ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ใด ทั้งสิ้น

 

ชมรมฯ ขอเรียกร้องให้คตส.ตรวจสอบ เรื่องนี้โดยเร่งด่วน โดยการตั้งคณะทำงานเฉพาะขึ้นมาตรวจสอบ เพื่อนำไปสู่การยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกฟผ.และบริษัท กัลฟ์ ฯคือโครงการโรงไฟฟ้า

แก่งคอย ๒ และเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ กฟผ.และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่ควบคุมดูแล กฟผ. ที่ยินยอมให้เกิดสัญญาดังกล่าวขึ้นทำให้ต้องสูญเสียผลประโยชน์ของประเทศมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ตลอดสัญญา ๒๕ ปี    นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กฟผ. และหน่วยงานที่ควบคุมดูแล กฟผ. ซึ่งเป็นผู้เจรจาและตกลงกับ บริษัทเอกชน ยังมีตำแหน่งทับซ้อนกันไปมาระหว่าง กฟผ . และบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า

เอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาของกฟผ. เข้าข่าย อนุมัติเงินจากกระเป๋าซ้ายย้ายไปเข้ากระเป๋าขวานั่นเอง ตัวอย่าง

เช่น นายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการบริษัทกัลฟ์ อิเล็คตริค จำกัด(มหาชน)และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทตามเอกสารการจดทะเบียนของ บริษัท.กัลฟ์อิเล็คตริก เป็นบริษัทมหาชนเลขที่ บมจ.๖๔๘ เมื่อ ๑๒พย.๔๑  (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒และ นายสมหมาย ภาษี ยังดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร กฟผ.ในปี ๒๕๔๓-๒๕๔๔(สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓) ชมรมฯ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแก่งคอย ๒ อันเนื่องมาจากการเซ็นสัญญาดังกล่าวระหว่าง กฟผ.และบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท กัลฟ์อิเล็กตริก จำกัด(มหาชน)(สิ่งที่ส่งมาด้วย ๔ )

 

ชมรม ฯ จึงขอให้ข้อมูลเบื้องต้นในการตรวจสอบสัญญาโรงไฟฟ้าแก่งคอย ๒ แก่ท่าน และขอให้ท่านตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อมิให้ผลประโยชน์ของประเทศชาติต้องเสียหายไปอีก มากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อันเนื่องมาจากการต้องปฏิบัติตามสัญญาที่เสียเปรียบดังกล่าวข้างต้น หากชมรมฯ พบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องจะรีบนำมายื่นเพิ่มเติมให้แก่ท่านโดยเร่งด่วนต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา โดยเร่งด่วน

 

ขอแสดงความนับถือ

 

(นายพีระศักดิ์ สุขสำราญ) (นายสมคิด ดวงแก้ว) (นายอรัญ สวัสดิ์ธนาคูณ)

 

(นางสำลี อินทโชติ) (นายบวร ห้วงสุวรรณ) (นายสมชาย ริมไธสง)

คณะกรรมการชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท