Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 31 .. 50 "พวกเราดีใจมากที่มีบ้าน มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองเสียที เคยทำนาปลูกข้าวบนที่ดินคนอื่นมานาน รู้สึกไม่ภูมิใจเท่าอยู่บนที่ดินของตนเอง ถึงแม้ว่ากว่าจะมีวันนี้พวกเราเหนื่อยและใช้เวลานาน แต่เมื่อเห็นสภาพของบ้านที่ดิน ที่นาจากหยาดเหงื่อของพวกเราก็รู้สึกชื่นใจ" สมาชิกบ้านมั่นคงชนบทบ้านหัวคูกล่าวในโอกาสที่มีที่ดินเป็นของตนเองตามโครงการบ้านมั่นคงชนบทที่แรกของประเทศไทย หลังจากจากทำกินบนที่คนอื่นมา 4 ชั่วอายุคน


 


เมื่อวันที่ 29 .. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)เป็นประทานพิธีเปิดโครงการแก้ไขปัญหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยชนบทบ้านหัวคู(บ้านมั่นคง) .พระยาบันลือ อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นตามโครงการบ้านมั่นคงชนบทเป็นโครงการนำร่องที่สำเร็จเป็นรูปธรรมโครงการแรกในประเทศไทย


 


จากข้อมูลในนิทรรศการบ้านมั่นคงบ้านหัวคู ที่จัดขึ้นข้างเวทีพิธีเปิดโครงการทำให้ทราบว่า ชาวบ้านหัวคู อาศัยบนพื้นที่ของหลวงประสิทธิ์นรกรรมมาร่วม 100 ปี สมัยแรกไม่คิดค่าเช่า เพราะมีผู้เข้ามาอยู่ไม่กี่ครอบครัวโดยมารับจ้างทำนาให้ ต่อมาบ้านเรือนมีมากขึ้นเป็น 47 ครอบครัว เจ้าของที่ดินจึงให้เช่าเป็นรายปี แต่ไม่ยอมให้สร้างบ้านและมีการกว้านซื้อที่ดินโดยนายทุนเป็นจำนวนมาก ช่วงสมัยรัฐบาลพล..ชาติชาย ชุณหะวัณ รวมทั้งเมื่อมีการปฏิรูปที่ดิน นโยบาย สปก.4-01 มีความพยายามทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเกษตรกรจึงต้องหันมาผลิตเพื่อสนองตลาด ต้นทุนสูงหนี้จึงเพิ่มกว่าเดิม ที่ดินหลายส่วนจึงหลุดไป


 


สภาพชุมชนจึงคล้ายๆชุมชนแออัดในเมือง อีกทั้งต้องเผชิญกับน้ำท่วมทุกปีเพราะอยู่ในที่ลุ่ม ทำให้ชุมชนต้องการบ้านและที่ดินเป็นของตัวเอง ต่อมาเมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสผ่านโครงการบ้านมั่นคงจึงทำโครงการนำเสนอสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) และศูนย์ประสานงานสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน (ศตจ.ปชช.) นอกจากนี้ยังรวมตัวกันต้องเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อซื้อที่ดินครอบครัวละ 1,500 บาทต่อเดือน และตั้ง คณะกรรมการบ้านมั่นคงชุมชนบ้านหัวคูแล้วจดทะเบียนเป็นสหกรณ์โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก พอช. 2,246,990 บาท ส่วนด้านสาธารณูปโภคสนับสนุนโดย ศตจ.ปชช


 


จากนั้นจึงนำไปซื้อที่ดินจำนวน 37 ไร่ ราคาไร่ละ 1,700,000 บาท ชาวบ้านจึงนำมาแบ่งกันครอบครัวละ 1ไร่ ทำโฉนดชุมชน การจัดสรรที่ดินครอบครัวละ 1 ไร่จะขุดบ่อปลา 50 ตารางวา เอาดินจากขุดบ่อมาถมที่สร้างบ้านบนเนื้อที่ 50 ตารางวา ปลูกข้าว 1 งาน สวนผัก 1 งาน ปลูกพืชผลและสมุนไพร 1 งาน และเลี้ยงสัตว์ ในส่วนพื้นที่ที่เหลือจัดสรรเป็นที่ตั้งสหกรณ์ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนชุมชนทั้งรับซื้อและขายสินค้าแบบไม่เน้นการมองหาตลาด


 


นายสำรวย มีสมชัย แกนนำสำคัญในการผลักดันโครงการ กล่าวว่า โครงการบ้านมั่นคงนั้นเป็นเพียงเครื่องมือในการรวมคนเพื่อให้มาจัดการปัญหาต่างร่วมกัน เดิมพื้นที่ ต.พระยาบันลือเป็นพื้นที่ที่ราชการมักจะหลงลืม(เนื่องจากพื้นที่ติดกับ จ. ปทุมธานี การจัดสรรงบประมาณจึงคาบเกี่ยวและเกี่ยงระหว่างพื้นที่) การที่กว่าจะได้กู้เงินจาก พอช. มาซื้อที่ดินก็ใช้เวลานาน เพราะการที่จะทำโครงการให้ พอช.เชื่อชาวบ้านต้องร่วมใจ ร่วมคุยกัน แต่ปัญหาคือคนในท้องถิ่นจะไม่เชื่อใจคนในท้องถิ่นด้วยกัน เพราะเห็นๆกันมาในหมู่บ้านไม่เห็นมีอะไรต่างปกติทุกๆวัน จะมาช่วยให้มีที่ดินได้อย่างไร หลอกเอาเงินหรือไม่ ดังนั้นเมื่อทราบข่าวและนำโครงการบ้านมั่นคงมานำเสนอแรกๆก็ไม่มีใครเชื่อ มองว่าทำได้จริงหรือ โครงการมันใหญ่ แต่ด้วยความที่ใกล้กันก็สามารถเดินคุยทำความเข้าใจได้ทุกเช้าเย็น


 


นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ภาครัฐไม่เข้าใจโครงการแบบนี้ เพราะเห็นว่าไม่เคยมีมาก่อน แต่โชคดีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) เข้าใจจึงมีการพูด ถาม และให้ความช่วยเหลือตลอด ปัญหาอีกอย่างในการซื้อที่แถบนี้คือต้องซื้อยกแปลงเพราะเดิมเจ้าของที่ต้องการแบ่งให้ทายาท ไม่ต้องการแบ่งขายแยกส่วน เงินทุนที่นำมาซื้อจึงสูงและต้องใช้การกู้ยืมจาก พอช.


 


นายสำรวย ยังกล่าวถึงปัญหาการจัดสรรที่ดินในประเทศไทยที่ไม่มีความยุติธรรมด้วยว่า บางคนมีที่ดินมากมายนับพันนับหมื่นไร่ ในขณะที่บางคนไม่มีเลยซักกระเบียด ดังนั้นรัฐควรจัดสรรที่ดินจากความต้องการของภาคประชาชน การปฏิรูปที่ดินที่ผ่านมาก็ไม่ได้ป้องกันการขายสิทธิต่ออีกทอดและมีกรณีที่ดินถูกล่ามโซ่หรือก็คือถูกผูกไว้ในธนาคาร ต้องมีวิธีการจัดการให้ประชาชนนำมาเป็นที่ทำกินได้


 


ส่วนกรณีนายทุนสะสมที่ไว้เก็งราคาแม้จะมีคนบอกว่าให้ใช้มาตรการภาษีเข้าไปจัดการนั้นมองว่ายังแก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะนายทุนจะยอมเสียภาษีเพื่อรอเวลาที่ที่ดินราคาสูงขึ้นแล้วขายซึ่งยังได้กำไรอีกมากมายแม้ภาษีสูง รัฐต้องหาวิธีจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรม อย่างในกรณีตำบลพระยาบันลือสำรวจแล้วยังมีผู้ไม่มีที่ทำกินอีกกว่า 300 ครอบครัว ในขณะที่ที่ดินบริเวณนี้มีเจ้าของหมด รูปแบบบ้านมั่นคงที่นำร่องในบ้านเขาคูจะทำให้คนมีที่ได้และรู้วิธีว่าจะรักษาที่ดินนั้นอย่างไรจึงมีแผนจะขยายแนวทางไปสู่พื้นที่อื่นด้วย ดังนั้นช่วงโอกาสที่ที่ดินราคายังไม่แพงนี้รัฐต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ภาคประชาชนมีที่ทำกิน


 


ส่วนตัวเสนอว่ารัฐควรจะจำกัดการถือครองที่ดินให้อยู่ประมาณ 10 - 15 ไร่ต่อคน และต้องมองไปในอนาคตว่าต่อไปคนที่ไม่มีที่ทำกินก็จะมีลูกหลานซึ่งจะแก้ยากมากเพราะไม่สามารถมีทะเบียนบ้านเป็นของตัวเองได้ ก็ต้องอพยพโยกย้ายเข้าชุมชนใหญ่เพื่อหางานทำ เรื่องนี้ต้องให้ความสำคัญโดยสำรวจและเปิดเผยผู้ไม่มีที่ดินเลยต่อสาธารณะชนเพื่อนำมาออกแบบแก้ไข ในกรณีที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่ดินธรณีสงฆ์หรือมัสยิด ตอนนี้ประชาชนเข้าไปทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากเช่า ต้องไปแก้ไขกฎหมายโดยให้ประชาชนดูแลในที่ที่ไม่ได้ทำประโยชน์


 


..สุรินทร์ พิกุลทอง ประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดิน กล่าวว่าโครงการบ้านมั่นคงมีความหมายครอบคลุมในทุกเรื่องของชีวิตที่สามารถสร้างความมั่นคงในชีวิตให้เกิดขึ้นได้ใน 5 ปี โดยไม่ใช่ความมั่นคงในมุมมองของทหาร วิธีการคือประชาชนจะต้องรวมกัน มีความเห็นรวมกัน มีออมทรัพย์รวมกัน ทำงานรวมกันแล้วจะแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง เมื่อวันที่ 29 .. ที่ผ่านมา พล..สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ(กอ.รมน.)เป็นผู้ดูแลปัญหาความยากจนและตั้งเป็นผู้อำนวยการ ศตจ.ปชช. คนใหม่ โดยนายกรรัฐมนตรีจะมาเป็นที่ปรึกษาเอง การแก้ปัญหาด้วยการรวมกันให้มากๆจะทำให้ราชการและคนรวยอยู่ไม่ได้ต้องลงมาคุยจะนำมาสู่ความสร้างสรรค์และเป็นธรรมในสังคม


 


 ..สุรินทร์ กล่าวด้วยว่าที่ผ่านมามีการขึ้นทะเบียนคนจนไว้มากมายจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่การที่ประชาชนรวมตัวกัน คุยกันจะทำให้รู้ว่าใครจนจริงหรือไม่จริง อีกปัญหาหนึ่งที่พบคือ การทำความเข้าใจกับข้าราชการนั้นทำได้ยากที่สุดและเป็นระบบที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง การรวมตัวกันจึงเป็นเรื่องจำเป็น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net