Skip to main content
sharethis

 

ประชาไท - 15 .. 2550วานนี้ (14 ..) เวลา 10.00. ที่อาคารรัฐสภา 3 มีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมืองในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นประธานคณะอนุฯ มีการพิจารณาเรื่องการควบคุมระบบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น




ตามที่มาตรา 138 เรื่อง การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดให้ (1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือก กันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติ สมควรเป็น กกต. จำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยมติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และ (2) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้งจำนวน 5 คนเสนอต่อประธานวุฒิสภา




          ที่ประชุมมีข้อสรุปให้ กกต. มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา 2 ส่วน คือ คณะกรรมการสรรหาที่มาจากตัวแทนองค์กรอิสระ และจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
          
โดยคณะกรรมการสรรหา กกต. จากองค์กรอิสระ 7 คน ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครอง ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน สรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรเป็น กกต. จำนวน 3 คน โดยมติในการเสนอชื่อต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาและจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกมา 2คน
         
หากไม่สามารถเลือก กกต.ได้ใน 30 วัน ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาทำหน้าที่สรรหาให้ครบทั้ง 5คน จากนั้นส่งให้วุฒิสภา ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยหากไม่เห็นชอบให้คณะกรรมการฯ สรรหาใหม่และส่งให้วุฒิสภาอีกครั้ง


 


เสนอตัดตัวแทนอธิการบดี-พรรคการเมือง


นายประพันธ์ นัยโกวิท กล่าวว่า ตามที่ระบุในมาตรา 138 (1) ให้คณะกรรมการสรรหา กกต. ในส่วนของผู้แทนพรรคการเมืองเลือกกันเองให้เหลือ 4 คนนั้น หากนักการเมืองฮั้วกันก็อาจบล็อกโหวตได้ ส่วนกรณี มาตรา138 (2) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้สมควรเป็น กกต. มาให้วุฒิสภา เขาเสนอว่า ให้เป็นการเสนอ 5 ชื่อแล้ววุฒิสภาลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่ หากไม่เห็นชอบก็ให้เสนอไปใหม่จนกว่าจะเห็นชอบ แบบเดียวกับศาลปกครองสูงสุด การล็อบบี้ในชั้นวุฒิสภาจะน้อยลง


นายพิสิฐ ลี้อาธรรม เสนอให้ตัดสัดส่วนของอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาออก โดยให้เหตุผลว่า อธิการบดีถูกกล่าวหาเรื่องความเป็นกลางเพราะนายกสภามหาวิทยาลัยเป็นนักการเมือง โดยเมื่อปี 2540 นั้น มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเพียง 60-70 แห่ง แต่ขณะนี้มี 150กว่าแห่ง จึงอาจเกิดการบล็อกโหวตได้ นอกจากนี้ ในส่วนที่จะให้เฉพาะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหา กกต. เสนอว่า น่าจะให้ศาลปกครองเข้ามามีบทบาทด้วย เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลกัน




กังขาให้ฝ่ายตรวจสอบทำหน้าที่สรรหา
ทั้งนี้ นายพิสิฐเห็นว่า ป... หรือผู้ตรวจการฯ เป็นฝ่ายตรวจสอบไม่ควรมาแต่งตั้ง แต่กรณีศาลเห็นด้วยเนื่องจากมีอำนาจตัดสิน


นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง กล่าวว่า ที่รัฐธรรมนูญ 40 กำหนดให้มีตัวแทนจากพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดการยอมรับจากพรรคการเมืองว่า กกต. น่าเชื่อถือให้มาจัดการเลือกตั้ง หากจะตัดตัวแทนตรงนี้ออกต้องมีเหตุผล โดยเมื่อไม่มีตัวแทนพรรค จะทำให้องค์ประกอบไม่ครบ นอกจากนี้ ไม่เห็นด้วยกรณีให้องค์กรอิสระสรรหา ผู้สมควรเป็น กกต. เนื่องจากจะกลายเป็นว่า องค์กรเหล่านี้ยอมรับคนเหล่านั้นแล้วจะตรวจสอบเขาอีก เพราะเหมือนไปประกันให้เขาแล้วว่าเขาดี




เพิ่มตัวแทนการเมืองเป็นสอง มั่นใจไม่ฮั้วกัน
ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล เสนอว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ในส่วนของการสรรหา ป... ถือว่าทำได้ดี โดยให้มีตัวแทนจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล 1คน และฝ่ายค้าน 1คนในคณะกรรมการสรรหา กกต. โดยให้เหตุผลว่า ผู้ที่จะมาเป็น กกต. ต้องเป็นกลางทางการเมือง หากให้พรรคการเมืองมีส่วนในการสรรหา จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่จะรับการสรรหา นอกจากนี้ ยังช่วยคานอำนาจกันและตัวแทนจากพรรคการเมืองทั้งสองคงไม่ฮั้วกันแน่



นายคมสัน โพธิ์คง กล่าวว่า การเลือกคณะกรรมการศาลรัฐธรรมนูญของศาลฎีกาที่ผ่านมาก็มีปัญหา อย่างที่ทราบกันว่ามีรายหนึ่งถูกตัดสินให้จำคุก จึงเสนอว่าอยากให้น้ำหนักไปที่ศาลใดมากเกินไป


นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการที่วุฒิสภามีหน้าที่เห็นชอบหรือไม่ เพราะเดิม การมีตัวเลือกให้เลือกทำให้เกิดการเมืองในวุฒิสภา




ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า เมื่อกกต. วินิจฉัยแล้ว ต้องไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคำตัดสินสามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาใน 7วัน และเห็นว่า ไม่ควรมีศาลเลือกตั้ง เนื่องจากต้องออกพ...มารองรับ และต้องใช้งบประมาณ จึงให้เป็นหน้าที่ของศาลฎีกาแทน




นายประพันธ์ เสนอว่า กรณี กกต. ประกาศผลแล้ว หลังจากนั้นมีหลักฐานว่าทุจริต อยากให้มีผลเหมือน ป... ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อนการตัดสินจะแล้วเสร็จ




นายจรัญ กล่าวว่า เสนอให้เพิ่มต่อจากมาตรา 147 ว่า คำวินิจฉัยของกกต. รวมถึงใบเหลืองใบแดง ผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยให้ร้องคัดค้านต่อศาลฎีกาใน 7 วัน วินิจฉัยใน 15 วัน แล้วให้ที่ประชุมศาลฎีกาไปเขียนวิธีพิจารณา โดยไม่จำเป็นต้องตั้งศาลเลือกตั้งที่ 4ปีทำงาน1ครั้ง



ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net