Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 15 .. 50นายจรัญ ภักดีธนากุล ประธานอนุคณะกรรมาธิการยกร่างฯ กรอบที่ 2 รายงานว่า ในประเด็นหมวดรัฐสภา อนุกรรมาธิการฯ ได้ข้อยุติทั้งหมด 4 ประเด็น คือ 1. วุฒิสภา จำนวน ส..ไม่ควรเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.. โดยหาก ส..มีจำนวน 400 คน ส..ไม่ควรเกิน 200 คน ส่วนอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภานั้น เห็นว่า ควรมีอำนาจหน้าที่น้อยลง โดยเหลือหน้าที่ 4 ข้อ คือ การพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย การถ่วงดุล ส..และอำนาจฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งกระทู้ถาม การสนับสนุนการทำงาน ของ ส..และฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งกรรมาธิการศึกษาเรื่องต่าง ๆ เพื่อเสนอ ผลการศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎรและฝ่ายบริหารให้รับไปดำเนินการ และการกลั่นกรองบุคคลเพื่อเข้าสู่องค์กรตรวจสอบอิสระ ส่วนอำนาจหน้าที่ที่ไม่ควรมีอยู่ต่อไป คือ อำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในเมื่อวุฒิสภาไม่ได้มาจาก การเลือกตั้งแล้ว ก็ควรทำหน้าที่เพียงเสนอเรื่องต่อองค์กรตรวจสอบอิสระเพื่อดำเนินการต่อไป



สำหรับประเด็นที่มาของ ส..นั้น อนุกรรมาธิการ ฯ เห็นว่า ไม่ควรใช้วิธีเลือกตั้ง ส..โดยตรง และไม่ควรใช้วิธี แต่งตั้งโดยบุคคลคนเดียวเหมือนในอดีต จึงได้เสนอแนวทางการได้มาของ ส.. 2 แนวทาง คือ 1. มาจากการสรรหาบุคคลจากทุกสาขาอาชีพและทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้มีอิสระปลอดจากอำนาจทางการเมือง 2. มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม ซึ่งวิธีนี้ยังหารายละเอียดที่ลงตัวไม่ได้ว่าจะจัดการเลือกตั้งอย่างไร ส่วนกระบวนการสรรหา ส..นั้น เห็นควรกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา เพื่อดำเนินการการสรรหาเบื้องต้น อาจจะมอบหมายให้ กกต. ทำหน้าที่นี้ โดยมีคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งที่ประกอบด้วย อดีตผู้นำฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองไม่น้อยกว่า 2 ปี มาทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมา เพื่อให้มาดำรงตำแหน่ง ส..


ประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ส.. อนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า ควรจะคงไว้ตามหลักการเดิม และเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็น คือ ส..ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี เป็นผู้มีคุณสมบัติสูงกว่า ส.. และไม่เคยเป็นผู้ดำรง ตำแหน่งบริหารในพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม มีการเสนอประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดไม่ให้คู่สมรส ทายาท หรือญาติของผู้ได้รับเลือกเป็น ส.. มาดำรงตำแหน่ง ส..ด้วย เพื่อตัดข้อเสียของระบบเลือกตั้งโดยตรงออกไป


นายจรัญ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวอนุกรรมาธิการ ฯ มีความเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ 1. ให้กำหนดไว้ในคุณสมบัติต้องห้ามของผู้สมัคร ส.. (ถ้าต้องเลือกตั้งโดยตรง ) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดภาพที่ไม่ดีของผู้ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และทำให้มีอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำซึ่งกันและกัน เหมือนที่เรียกว่า "สภาผัว สภาเมีย" 2. ไม่ต้องกำหนดเรื่องนี้ไว้ชัดเจน เพราะจะเป็นการจำกัดสิทธิทางการเมืองในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะหามาตรการอื่นมาป้องกันปัญหาดังกล่าวแทน



เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.. เห็นสมควรให้มีวาระ 6 ปี แต่ควรคัดออกกึ่งหนึ่งและให้เลือกตั้งเข้ามาใหม่ทุก 3 ปี ยังไม่ได้กำหนดว่า ส..สมควรดำรงตำแหน่งได้วาระเดียวหรือหลายวาระ เพราะยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เห็นว่าควรกำหนด ทางอนุกรรมาธิการฯ จะรับไปพิจารณาอีกครั้ง


ประเด็น 2. สภาผู้แทนราษฎร อนุกรรมาธิการฯ ได้พิจารณา ข้อเสนอไว้ 8 ประเด็น คือ 1. สภาผู้แทนราษฎร ควรมีสมาชิกไม่เกิน 400 คน โดยทั้ง 400 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 2. ให้ยกเลิก ส..ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) 3. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ส.. ให้ถือตามรัฐธรรมนูญ พ.. 2540 แต่ไม่ต้องไปจำกัดเรื่องวุฒิการศึกษา และควรมีข้อจำกัดเช่นเดียวกับ ส.. ในการห้ามญาติลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส..หรือ ส.. นอกจากนี้ควรแก้ไขข้อห้าม การเคยได้รับโทษจำคุกอย่างน้อย 2 ปี โดยตัดเรื่องระยะเวลา 2 ปี ออกไป ทั้งนี้หากผู้ใดต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาของศาลและพ้นโทษไม่เกิน 5 ปี ถือว่า ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ต้องไปคำนึงว่าจะต้องโทษจำคุก 1 ปีหรือ 2 ปี


4. การพ้นจากตำแหน่ง ส.. มีข้อเสนอว่า กรณีถูกจำคุก ที่กำหนดไว้ว่า ต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนจึงให้พ้นจากตำแหน่ง แต่อนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า ไม่จำเป็น เพราะหากรอให้คำพิพากษาถึงที่สุด อาจต้องใช้เวลานานจนหมดวาระของสภาฯ ก็ได้ ทำให้ข้อกำหนดนี้ไม่มีความหมายในความเป็นจริง ส่วนประเด็นที่ต้องคำพิพากษาและรอลงอาญาให้พ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นว่าควรใช้เฉพาะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเท่านั้น


5. ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง อนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า ยังมีความจำเป็น ที่ผู้สมัคร ส..ต้องสังกัดพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งและมีระเบียบในการทำงาน แต่ผ่อนปรนระยะเวลาสังกัดพรรคก่อนวันเลือกตั้ง โดยหากเป็นการเลือกตั้งตามวาระของสภาฯ ให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ถ้ามีการยุบสภาจะกำหนดให้สังกัดพรรคก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน เพราะกรณียุบสภาไม่มีใครเตรียมตัวได้ทัน จึงควรให้โอกาสผู้สมัครได้ย้ายพรรค หรือผู้ที่ลงสมัครครั้งแรก สามารถตัดสินใจเลือกพรรคลงสมัครได้




6. การกำหนดเขตเลือกตั้ง เห็นว่าระบบเขตเดียวเบอร์เดียวเป็นเขตเลือกตั้งที่เล็กเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันรุนแรง จึงน่าจะขยายเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น โดยอาจจะมีจำนวนผู้สมัคร 3 คน แต่ให้ผู้ลงคะแนนเลือกได้เพียง 1 คน ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมกับประชาชน ไม่ว่าอยู่ในเขตใดก็สามารถใช้เสียงเลือกผู้แทนได้เพียง 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม อนุกรรมาธิการฯ รับทราบข้อโต้แย้ง ของหลายฝ่าย ที่เห็นว่าหากใช้วิธีนี้จะเกิดข้อขัดแย้งของผู้สมัครที่มาจากพรรคเดียวกัน ซึ่งมีผู้เสนอว่า หากจะใช้ระบบเขตเดียว ก็ควรให้ประชาชนเลือกผู้แทนได้ 3 คน ไม่ควรบังคับให้เลือกได้เพียงคนเดียว อย่างไรก็ตามอนุกรรมาธิการฯ ยังไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่รับทราบและจะนำไปทบทวน



7. การนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ควรเปลี่ยนวิธีจากให้นำบัตรเลือกตั้งมานับรวมที่เขตเลือกตั้ง เป็นการนับที่หน่วยเลือกตั้ง แต่ควรนำบัตรเลือกตั้ง 2-3 หน่วยมารวมกันนับในหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบการลงคะแนนได้ และสามารถแก้ปัญหาการทุจริตจากการเคลื่อนย้ายหีบบัตร


8. ข้อจำกัดสิทธิของ ส.. เห็นควรให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.. 2540 ในมาตรา 110-111 ที่ห้ามการดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ การไม่รับสัมปทานจากรัฐ การไม่เข้าเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐ และการไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ ซึ่งอนุกรรมาธิการฯ ให้ขยายข้อห้ามนี้ไปยังคู่สมรส เครือญาติของ ส..และ ส..ด้วย แต่จะไม่ใช้คำว่า "เครือญาติหรือคู่สมรส" โดยเปลี่ยนเป็นถ้อยคำว่า ห้ามไม่ให้บุคคลอื่นที่ใช้ตำแหน่ง หน้าที่ของ ส..หรือ ส..ในการแสวงหาประโยชน์จากการเป็น ส..หรือ ส.. เข้าครอบงำหรือก้าวก่าย รวมทั้งควรตัดข้อยกเว้นกรณีแต่งตั้ง ส..หรือ ส..เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในหน่วยงานของรัฐได้ตามกฎหมาย เพราะปัจจุบัน ส..หรือ ส..ที่เข้าไปเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐบาล ได้เข้าไปครอบงำ และมิอิทธิพลในหน่วยงานของรัฐ


ประเด็นที่ 3. การควบคุมการเลือกตั้ง ควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายพื้นฐานของรัฐที่ต้องจัดการเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม กำหนดมาตรการการควบคุมการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เปิดเผยบัญชีทางการเมืองต่อสาธารณชนเพื่อให้ตรวจสอบได้ พร้อมกำหนดบทลงโทษพรรคการเมืองในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคซื้อเสียง หรือทุจริตเลือกตั้ง โดยให้สันนิษฐานว่า พรรคการเมือง หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคนั้น รู้เห็นหรือให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้ให้อำนาจกกต. ไปกำหนดหลักการ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง ส..และ ส..ต้องปฏิบัติหรือห้ามมิให้กระทำ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม



ประเด็น 4 . (กกต.) อนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า ควรคงระบบการสรรหาบุคคล เข้ามาดำรงตำแหน่ง กกต. แต่ปรับเปลี่ยนจากการสรรหา เพื่อเสนอรายชื่อบุคคล จำนวน 2 เท่าของจำนวนที่พึงมี ให้เปลี่ยนเป็นให้คณะกรรมการสรรหาทำหน้าที่ เลือกผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.ให้เหลือเพียง 5 คน แล้วเสนอให้วุฒิสภา ให้ความเห็นชอบหากวุฒิสภาไม่เห็นชอบให้กรรมการสรรหาพิจารณาเสนอรายชื่อใหม่จนกว่าวุฒิสภาจะเห็นชอบ


ส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายค้าน ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ทำหน้าที่สรรหาผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต. 3 คน และให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกาสรรหาผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.อีก 2 คน


สำหรับอำนาจหน้าที่ของ กกต. ให้คงไว้ ตามรัฐธรรมนูญ พ..2540 แต่ไม่ควรให้ กกต.มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการให้ใบแดง-ใบเหลือง โดยควรให้ศาลมาทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจ ดังกล่าว ของ กกต. ซึ่งผู้สมัครที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่ง กกต.ดังกล่าว สามารถร้องต่อศาล เพื่อให้พิจารณา ตรวจสอบ และวินิจฉัย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net