Skip to main content
sharethis




อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)


ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา


Shukur2003@yahoo.co.uk 


 


 


 


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีกรุณาปรานีเสมอขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัด(นบี)และผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


 


ปัจจุบัน คำว่า "ญิฮาด" (Jihad) เป็นคำหนึ่งในภาษาอาหรับที่ถูกเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุด จนทำให้เกิดเป็นมายาคติที่ว่า "อิสลามเป็นศาสนาแห่งความรุนแรง และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดการก่อการร้าย" มีมุสลิมบางคนได้ใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะสมจากกรอบแนวคิดเรื่อง ญิฮาด เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายทางการเมืองของตน


 


ขณะเดียวกันก็มีผู้ที่มิใช่มุสลิมจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจ ญิฮาด แล้วตีความหมายแบบผิดๆ ซึ่งทำให้มุสลิมและอิสลามเกิดความเสื่่อมเสีย หรือทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือ


 


บทความนี้(และทุกบทความ)เขียนขึ้นบทหลักการศาสนาตามความเข้าใจของผู้เขียนโดยไม่ยึดติดบนความเป็นเชื้้อชาติสีผิวและยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สานเสวนา ข้อเสนอแนะจากผู้อ่านบนหลักวิชาการและเหตุผล เพราะอัลลอฮฺเจ้าได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานความว่า "ท่านทั้งหลายจงสานเสวนาด้วยวาจาที่สุภาพยิ่งด้วยเหตุและผล"(โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัลอันนะห์ลุ .16 : 125)  


 


ความหมายของ ญิฮาด ในด้านภาษาญิฮาดเป็นภาษาอาหรับที่มาจากคำว่า ญะฮฺดุน ซึ่งหมายถึง การทำอย่างยากลำบาก,การปฏิบัติอย่างเต็มที่ด้วยความเหนื่อยล้า หรือมาจากคำว่าญุฮฺดุน  ที่หมายถึงความพยายามอย่างจริงจัง- ในด้านวิชาการ


 


ญิฮาดหมายถึงการใช้ความพยายามเพื่อบรรลุถึงความดีและการป้องกันความชั่ว ตามพจนานุกรมอาหรับ - ไทย แปลไว้ 2 ความหมาย คือ การพลีและการต่อสู้ เป็นคำที่บ่งบอกถึงจิตสำนึกอันสะท้อนถึง ญชาตญาณแห่งการรักษาและปกป้องชีวิตของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งปวง ญิฮาดสามารถปฏิบัติได้ในหลายๆด้านโดยวิธีการต่างๆ


 


เช่น การต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง การต่อสู้กับมารร้าย ความยากจน การไม่รู้หนังสือโรคภัยไข้เจ็บและการต่อสู้ต่อพลังความชั่วในโลกทั้งหมด การต่อสู้นั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยการต่อสูกับตัวเอง เรียกว่า "ญิฮาดุนนัฟส์" ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด คือ ตัวเอง การต่อสู้กับตัวเอง หมายถึงการเอาชนะอารมณ์ของตนเองให้ได้และอารมณ์ของมนุษย์นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 อารมณ์ เป็นขั้นพื้นฐาน นั่นคือ 1.อารมณ์ใฝ่ชั่ว คัมภีร์อัล-กุรอาน เรียกว่า "อัมมาเราะตุลบิซซูอ์" เรียกสั้น ๆ ว่า"อัมมาเราะฮ์" หมายถึงอารมณ์ที่ถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหา เช่น โกรธ หลง ริษยา เกลียด หยิ่ง ผยอง เป็นต้น 2. อารมณ์ใฝ่ดี คัมภีร์อัล-กุรอาน เรียกว่า "อันนัฟซุนมุฏมะอินนะฮ์" เรียกสั้นๆ ว่า "มุฏมะอินนะฮ์" หมายถึงอารมณ์สงบสะอาดบริสุทธิ์เนียนนิ่ง


เนื่องจากต่อสู้เอาชนะกิเลสต่างๆ ได้อย่างราบคราบแล้วศาสดามุฮัมมัดได้บัญชาแก่มนุษย์ทุกคนให้พยายามต่อสู้เอาชนะตัวเองให้ได้ เพื่อบรรลุสู่อารมณ์ "มุฏมะอินนะฮ์"


 


และพระเจ้าทรงเชิญชวนคนที่เอาชนะตัวเองจนอารมณ์สงบบริสุทธิ์ดังกล่าวนั้นให้เข้าสวรรค์ดังบัญญัติในอัลกุรอาน ความว่า "อารมณ์อันสงบเอ๋ย เจ้าจงเข้ามาหาพระเจ้าของเจ้าโดยความยินดีและได้รับความยินดีเถิด ดังนั้นเจ้าจงเข้ามาอยู่ในกลุ่มทาส (ผู้จงรักภักดี) ของข้า และจงเข้าสวรรค์" (อัลฟัจร์ : 27)


 


สงครามอันยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของมนุษย์ คือ การต่อสู้เอาชนะตัวเอง ด้วยวิธีการและยุทธวิธีอันหลากหลายเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้


 


1. รู้จักตัวเอง กล่าวคือ ผู้เข้าสู่สมรภูมิรบกับตนเองจะต้องรู้จักตัวเองให้ดี เรียนรู้ว่ากิเลสของตนเองปัจจุบันมีมากน้อยเพียงใด สามารถนิยามกิเลสตัณหาที่อยู่ในชีวิตภายในอย่างแจ้งชัด ผลแห่งกิเลสที่ทำให้ชีวิตต้องอับเฉาและอับปาง กิเลสเป็นต้นเหตุแห่งความเครียดและความทุกข์อันเป็นพิษร้ายแห่งชีวิต เมื่อมนุษย์ปล่อยให้กิเลสครอบงำมนุษย์จะอยู่ในความมืดบอดมองหนทางไปสู่สวรรค์ไม่เห็นกระจกสะท้อนภาพแห่งกิเลสต่าง ๆ คือความศรัทธา (อีมาน), การปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ (อิสลาม), และคุณธรรม (อิห์ซาน) ที่สร้างสมอยู่ในชีวิตอย่างบูรณาการ


 


2.สร้างกติกาแห่งชีวิต (มุซาเราะเฏาะฮ์) กล่าวคือ การดำเนินชีวิตในแต่ละวันจะต้องกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และกำหนดการประจำวัน และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ให้เป็นไปตามกติกาที่ตัวเองวางไว้จากคำสั่งที่บัญญัติโดยศาสนา ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน แบ่งเวลาของตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แบ่งเวลาสำหรับการทำงานหาเลี้ยงชีพ นอนพักผ่อน ออกกำลังกาย ปฏิบัติศาสนกิจ ร่วมกิจกรรมทางสังคม


 


3.หมั่นเพียรประกอบศาสนกิจอย่างเอาจริงเอาจังและเคร่งครัด (มุญาฮะดะฮ์) ต้องให้ความสำคัญแก่ศาสนกิจเหนือกว่ากิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ศาสนกิจมีทั้งส่วนที่ต้องทำเป็นประจำวัน เช่น  ละหมาดวันละ 5 เวลา ละหมาดประจำสัปดาห์ เช่น ละหมาดวันศุกร์ ละหมาดประจำปี เช่น ละหมาดวันอีด และศาสนกิจประจำชีวิต เช่น การประกอบพิธีฮัจญ์


 


4.ต้องประเมินผลตัวเองทุกวัน (มุฮาซะบะฮ์) ในสิ่งที่ตนเองได้กระทำผ่านพ้นไป เพื่อการปรับปรุงตัวเองในวันต่อไป เมื่อตื่นจากนอน ชีวิตเริ่มมีกิจกรรมของตัวเองหลังจากพักผ่อนอย่างเพียงพอ จนถึงเวลาก่อนนอนเป็นเวลาที่ประเมินผลตัวเองในกิจกรรมที่ได้กระทำทั้งวันนั้นได้อย่างสมบูรณ์ อัลกุรอานบัญญัติ ความว่า "และเจ้าจงพินิจพิเคราะห์สิ่งที่ได้กระทำไปแล้วเพื่อวันพรุ่ง" (ฮัซร์:18)


 


การพลีหรือการต่อสู้ ย่อมมีความหมายกว้างขวาง รวมทั้งการเสียสละก็ถือเป็นญิฮาด หากการกระทำเป็นไปตามข้อบัญญัติของพระเจ้า สิ่งที่ใช้เพื่อการพลีหรือต่อสู้หรือเสียสละในทางของพระเจ้าได้แก่ทรัพย์สินหรือชีวิตคำว่า ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์สินทั่วไปที่เข้าใจกัน ส่วนคำว่าชีวิต หมายความรวมไปหมดทั้งสมอง แรงงาน ร่างกาย และวิญญาณ ดังนั้น ผู้เสียสละในทางของพระเจ้า จะโดยปัจจัยใด ๆ ก็ตามย่อมได้รับผลตอบแทนจากพระเจ้า บัญญัติจากอัลกุรอานความว่า "เจ้าทั้งหลายจงเสียสละทรัพย์สินของพวกเจ้าและชีวิตของพวกเจ้าในทางของอัลลอฮ์เถิด" (อัตเตาบะฮ์ :41)


 


จากคำสอนของท่านศาสดาการพูดจริงต่อหน้าผู้มีอำนาจก็ถือเป็นญิฮาด คือ การต่อสู้หรือการพลีหรือการเสียสละชนิดหนึ่ง ดังท่านศาสดาสอนไว้ความว่า "การญิฮาดที่ประเสริฐสุดคือการพูดจริงต่อหน้าผู้มีอำนาจที่ฉ้อฉล"ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงกล้าคิดกล้าพูดกล้าทำ เพราะนั่นคือการญิฮาดที่ได้รับกุศลจากพระเจ้าญิฮาดที่เป็นประเด็นร้อนของสังคมโลก


 


ดังนั้นญิฮาดจึงมีหลายประเภทสำหรับญิฮาดที่เป็นประเด็นร้อนของสังคมโลก กล่าวคือญิฮาดที่หมายถึงการต่อสู้และการทำสงครามซึ่งภาษาอาหรับใช้คำว่า กิตาล (Qital ) จะเรียกว่าญิฮาดชนิดนี้ได้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1.ถูกกดขี่และถูกขับไล่อย่างอยุติธรรม 2. ถูกริดรอนสิทธิด้านศาสนา 3.


จะต้องญิฮาดเพื่อนำสิทธิในข้อหนึ่งและสองกลับคืน 4.ที่สำคัญซึ่งศาสดาและกัลยานชนได้เคยปฏิบัติเมื่อทำสงครามคือการรักษาจริยธรรมในการทำสงคราม[1]เช่น ต่อสู้ต่อบรรดาผู้เป็นศัตรู แต่อย่าเริ่มการเป็นศัตรูก่อน แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงรักผู้รุกราน (ดูกุรอาน2:190) ไม่ทำลายศพ ฆ่าเด็กๆ คนแก่ ผู้หญิง


หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญญาสงบศึก ไม่ตัดหรือเผาทำลายต้นไม้ที่ออกผล ไม่ฆ่าสัตว์เช่นแกะวัวหรืออูฐนอกจากเพื่อเป็นอาหาร,ให้ความเมตตาและการเอาใจใส่หรือบริการทางการแพทย์และการพยาบาลต่อเชลยสงคราม เพราะอัลลอฮฺดำรัสความว่าแท้จริงบรรดาผู้ทรงคุณธรรมนั้นจะได้ดื่มน้ำที่ผสมด้วยการบูรหอมจากแก้วน้ำเป็นตาน้ำพุที่บ่าวของอัลลอฮฺจะได้ดื่มโดยทำให้มันพุ่งออกมาอย่างล้นเหลือ


เพราะพวกเขาปฏิบัติตามคำสัตย์สาบาน และกลัววันที่ความชั่วร้ายของมันแพร่กระจายออกไป


และพวกเขาให้อาหารแก่คนขัดสน เด็กกำพร้าและเชลยเพราะความรักต่อพระองค์


 


พวกเขากล่าวว่า "เราให้แก่พวกท่านโดยหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺเท่านั้นและเรามิได้หวังการตอบแทนหรือการขอบคุณจากท่านแต่ประการใด"(อัลอินซาน :5-9) และท่านนบีมุฮัมมัดได้สั่งบรรดาสาวกของท่านให้ทำดีต่อเชลยโดยครั้งหนึ่งท่านได้สั่งสาวกของท่านโดยกล่าวว่า"ท่านจะต้องปฏิบัติต่อเชลยด้วยดี" 


 


การระเบิดที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จะนะ หาดใหญ่หรือที่ไหนๆ ที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจะเรียกว่าญิฮาดได้อย่างไร เพราะฉะนั้นสงครามใดในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นที่ภาคใต้ของไทยหรือต่างประเทศหากไม่ได้อยู่อยู่ภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ดังกล่าวคือการก่อการร้าย (ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐหรือผู้ก่อการ)


 


หากการกระทำดังกล่าวเป็นปฏิกริยาโต้ตอบอาชญากรรมที่คนของรัฐเคยกระทำต่อชาวมลายูมุสลิมใต้ ด้วยเงื่อนไขที่เกิดขึ้น แต่ไม่อาจถือว่ามันเป็นเหตุผลหรือข้ออ้างที่จะนำมาใช้ในการแก้แค้น ที่เป็นที่ต้องห้ามอย่างสิ้นเชิงในอิสลามได้ หากต้องการเรียกร้องและสถาปนาความเป็นธรรมจากผู้อื่น ผู้ก่อการ(ไม่ว่าใครทำ)ก็ต้องมีจริยธรรมในการตอบโต้ เมื่อไม่ชอบถูกละเมิดสิทธิแล้วทำไมจึงชอบละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยเฉพาะผูููุุูู้ึึุบริสุทธิ ดังนั้นเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าวไม่เพียงว่าไม่เรียกว่าญิฮาดและไม่สมควรเรียกว่า นักรบเพื่อพระเจ้า หรือ ศาสนา แต่จำเป็นต้องออกมาประณามดังที่ปราชญ์โลกมุสลิมเคยประณามการทำร้ายผู้บริสุทธิของมุสลิมเอง ณ ที่ต่างๆโดยเฉพาะในประเทศที่ถูกยึดครองเช่นเชชเนีย อิรัคและที่อื่นๆ ที่กลุ่มที่ทำการญิฮาดแต่ใช้วิธีการก่อการร้ายผู้บริสุุทธิเช่นชัยคฺซัลมาน อัลเอาดะฮฺ ได้ประณามผู้ระเบิดทำลายผู้บริสุทธิ์อย่างรุนแรงถึงแม้จะเป็นต่างศาสนิกผ่านเว็บไซต์ www.islamtoday.net ของท่าน


 


"... เรื่องราวได้เกินเลยขอบเขตของความสมเหตุสมเหตุผล โดยที่ไม่ต้องกล่าวถึงกฏหมายของอิสลาม (ชะริอะฮฺ) เลย..." "...พวกเขาไม่ได้ทำความเสื่อมเสียเฉพาะแก่ตัวพวกเขาเอง ท่านั้น แต่จะเกิดแก่มุสลิมทั่วทั้งโลก ผลการกระทำของพวกเขาทำให้เกิดความ อับอาย..." "...ฉันเรียกร้องผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้อย่างน้อยที่สุดคือ การพิจารณาถึงเกียรติยศและศักดิศรีของมุสลิม..." ยุซุฟ อัลก็อรฏอวีย์เรียกร้องให้มุสลิมหยุดใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งมันจะทำความหม่นหมองให้กับภาพลักษณ์ของอิสลามและนำอิสลามข้องเกี่ยวกับลัทธิก่อการร้าย "ฉันขอเรียกร้องให้พวกเขารำลึกถึงอัลลอฮฺ ซบ. และหยุดการกระทำของพวกเขาเถิด ซึ่งมันจะตีตราอย่างอธรรมต่ออิสลามและเป็นการเสียหายแก่ผู้ที่ยึดมั่นอิสลาม"สรุป :


จะเรียกญิฮาดได้ต้องมีเงื่อนไขที่สมบูรณ์ เจตนาดีและวิธีการถูกต้อง


 


หากมีเพียงเงื่อนไขสมบูรณ์ เจตนาดีแต่ไม่คำนึงวิธีการจะไม่เรียกว่าญิฮาดแต่จะกลับกลายเป็นการก่อการร้ายทันทีวิธีแก้ปัญหาแนวคิดสุดโต่งในหมู่มุสลิมโดยเฉพาะเยาวชน เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาอิสลามและบทบัญญัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันระหว่างมุสลิมกับต่างศาสนิกหรือต่างวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงมุสลิมส่วนใหญ่โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษา และเยาวชนมุสลิมส่วนใหญ่อย่างเพียงพอ และมีโอกาสค่อนข้างจำกัดที่นิสิตนักศึกษาและเยาวชนมุสลิมจะได้รับฟังในเวทีของการทำความเข้าใจต่างๆ รวมทั้งยังคงเห็นบทบาทของบุคลเหล่านี้ไม่เด่นชัดนัก ในการเป็นแนวร่วมของการสร้างสันติภาพสู่สังคมดังนั้นองค์กรศาสนาอิสลาม


 


โดยเฉพาะคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทยหรือห้าจังหวัดชายแดนใต้ควรร่วมมือกับสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม (ส.น.ท.) และสมาคมยุวมุสลิมแก่งประเทศไทย (ยมท.) ควรจะจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการสร้างสันติภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเป็นเวทีในการสร้างความเข้าใจแก่ นิสิตนักศึกษามุสลิมและเยาวชนมุสลิม ซึ่งมีภูมิลำเนาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งนิสิตนักศึกษามุสลิมถือเป็นปัญญาชนที่ควรได้รับความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวนี้อย่างลึกซึ้ง


 


การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติและอบรมอย่างจริงจังต่อเนื่องดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ของนิสิตนักศึกษามุสลิมและเยาวชน ที่จะมาทำหน้าที่เป็นทูตแห่งสันติภาพที่จะทำการเคลื่อนไหว สร้างความเข้าใจ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อันนำไปสู่สันติภาพของสังคมไทยต่อไปในขณะเดียวกันคนของภาครัฐเองจะต้องได้รับการอบรมอย่างดีเมื่อมาปฏิบัติหน้าที่ในภาคใต้


 


 


สังคมส่วนรวมที่มีความแตกต่างและหลากทางวัฒนธรรม (ในยุคโลกาภิวัตน์) สำหรับสังคมส่วนรวมที่มีความแตกต่างและหลากทางวัฒนธรรมที่อยู่ในประเทศนี้ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ต่างจากเรา นอกจากจะสร้างความรัก ความผูกผัน ทำความรู้จักต่อกันแล้ว ยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนักและพัฒนาความเป็น ชาติ ศาสนา ท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งยังสามารถเกิดการพัฒนาในระดับบุคคล คือ การพัฒนา ความรู้ สติปัญญา ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการหล่อหลอมให้เกิดการใช้ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม


เพื่อ "เข้าใจผู้อื่น" เข้าใจความเป็นอยู่ของคนในที่ต่างๆ ทั้งที่อยู่ห่างไกลและอยู่ใกล้ชุมชนรอบตัวเรา รวมทั้งรู้ "วิธีการ" ที่เราจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


 


การเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชน ศาสนิกอื่น มีประโยชน์และกำไรสำหรับผู้ที่รู้ เป็นผู้รู้กาละเทศะ การปรับตัวเพื่อการเข้าใจกัน สามารถลดความขัดแย้ง สร้างสันติสุขในการอยูร่วมกัน นอกจากนั้นการรู้วัฒนธรรม ยังทำให้เรารู้อีกว่า อะไรที่ควรทำหรืออะไรที่ไม่ควรทำเรื่องใดที่เขายึดถือ


เคารพ ห้ามละเมิดและยอมได้หรือยอมไม่ได้ ในบางเรื่องผู้ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมจะเป็นคนบอกเองว่า อะไร ที่เป็นข้อผ่อนปรนได้ อะไรที่ผ่อนปรนไม่ได้ อะไรคือเรื่องหลัก อะไรคือเรื่องรอง  การศึกษาเรียนรู้ "วัฒนธรรม" ที่เขาเชื่อ คิด ปฏิบัติ จะทำให้เราเข้าใจและรู้ว่าควรปฏิบัติต่อเขาต่างจากเราอย่างไร ด้วยความต่างทั้งเรื่อง เพศ วัย ครอบครัว การศึกษา ศาสนา ความเชื่อ ต่างถิ่น ต่างชาติ ว่าเรา(ทั้งในฐานะรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ)จะอยู่ร่วมกับเขา หรือสัมพันธ์กับเขา(ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่) ในลักษณะของ การช่วยเหลือ


 


การวางนโยบายทางการปกครอง การส่งเสริมและแก้ปัญหาความยากจน ส่งเสริมการค้าขาย การให้การศึกษากับเขาได้อย่างไร ในแบบที่เรียกว่า ตรงกับความต้องการ ตรงกับกาละเทศะ และสอดคล้องกับหลักศรัทธาในศาสนาที่เขาเหล่านั้นยึดถือ ปฏิบัติ  ผู้ที่ศึกษาวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชนอื่นอย่างลึกซึ้งแล้ว จะส่งผลทำให้สามารถสะท้อนความเข้าใจต่อกลุ่มชน ของตนเองมากขึ้น เพราะการที่เราจะเข้าใจ


"ตัวตน" ของตนเองได้จะต้องมองผ่านผู้อื่น สะท้อน "ตัวตนของเรา" ให้เรารู้และให้เราเห็น และเมื่อเข้าใจและรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่นแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า เขาเหล่านั้น จะเลือกใช้วัฒนธรรมในฐานะ "กำแพง" ที่ก่อเพื่อปิดกั้นและอยู่เฉพาะกลุ่มชนตนเอง หรือมุ่งที่จะสร้างเป็น "สะพาน" เพื่อที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อการแลกเปลี่ยน สังสรรค์ เป็นที่รู้จักและนำสู่การอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ 


 


นักปราชญ์อิสลามได้ระบุจริยธรรมสงครามในอิสลามไว้ ประเด็นหลักๆดังต่อไปนี้ : 1) พฤติกรรมส่วนตัวของทหาร ในยามสงครามก็เช่นเดียวกับในยามสงบ คำสั่งของอิสลามทั้งหมดจะต้องได้รับการปฏิบัติ เช่น การนมาซก็จะต้องทำแม้ในยามสู้รบ กฎหมายอิสลามถือว่าอะไรก็ตามที่เป็นที่ต้องห้ามระหว่างที่มีความสงบก็ถือเป็นที่ต้องห้ามในระหว่างสงคราม สงครามมิใช่เหตุผลที่จะนำมาใช้แก้ตัวเพื่อผ่อนปรนให้แก่ทหารที่มีความประพฤติเสีย หาย ท่าน นบีได้กล่าวว่า "จงระวังการนมาซของผู้ถูกกดขี่ เพราะไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างมันกับอัลลอฮฺ" ตรงนี้ท่านนบีได้แยกแยะระหว่างผู้ศรัทธาที่ถูกกดขี่และผู้ไม่ศรัทธา


 


2) จะต่อสู้กับใคร การต่อสู้จะต้องกระทำกับทหารที่กำลังต่อสู้ด้วยเท่านั้น มิใช่รบกับคนที่ไม่ได้ต่อสู้


ดังที่กุรอานได้สั่งไว้ว่า "จงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺต่อบรรดาผู้ต่อสู้สูเจ้า แต่จงอย่าเริ่มการเป็นศัตรูก่อน แท้จริง อัลลอฮฺไม่ทร งรักผู้รุกราน" (กุรอาน 2:190) ในการรบครั้งหนึ่ง มีการพบศพผู้หญิงคนหนึ่ง ท่านบีได้ตำหนิเรื่องนี้โดยกล่าวว่า "นางไม่ได้ต่อสู้" นับตั้งแต่นั้นมาท่านนบีและบรรดาเคาะลีฟะฮฺจึงได้มีการออกคำสั่งย้ำรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปยัง1กองทัพและแม่ทัพ


 


3) คำสั่งของท่านนบีไปยังแม่ทัพ ท่านนบีมุฮัมมัดได้ออกคำสั่งไปยังแม่ทัพของท่านว่า : "จงต่อสู้ในหนทางของอัลล อฮฺ จงต่อสู้บรรดาผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺ จงอย่าเป็นผู้ขมขื่น จงอย่าทรยศ จงอย่าฟันศพ จงอย่าฆ่าเด็กๆหรือคนที่ มีสัญญากับเรา"


 


4) คำสั่งของอบูบักรฺถึงอุซามะฮฺที่ออกศึกยังซีเรีย "จงอย่าทรยศหรือหลักหลังอาฆาตพยาบาท


จงอย่าฟันศพ จงอ ย่าฆ่าเด็ก คนแก่หรือผู้หญิง จงอย่าตัดหรือเผาต้นปาล์มหรือต้นไม้ที่ออกผล จงอย่าฆ่าแกะ วัวหรืออูฐนอกจากเพื่อเป็นอาหารและท่านจะพบคนที่พากเพียรปฏิบัติธรรมโดยดำรงตนสันโดษ


จงปล่อยพวกเขาให้ปฏิบัติธร รมของพวกเขาต่อไป"


 


5) คำสั่งของอบูบักรฺที่มีไปถึงยะซีด อิบนุ อบีซุฟยาน "ฉันขอให้คำบัญชาสิบประการแก่ท่าน ดังนี้คือ อย่าฆ่าผู้หญิงหรือเด็กหรือคนแก่และจงอย่าตัดต้นไม้หรือทำลายที่อยู่อาศัยหรือฆ่าแกะนอกจากเพื่อเป็นอาหาร จงอย่าเผาต้นอินทผลัมหรือโค่นมัน และจงอย่าเป็นผู้มุ่งร้ายหรือไม่เป็นธรรม"


 


6) การรักษาความยุติธรรมและการหลีกเลี่ยงการแก้แค้นอย่างมืดบอด เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มีอะไรที่ชัดเจนยิ่งไปกว่าถ้อย คำในกุรอาน อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย….จงเป็นพยานด้วยความยุติธรรมและจงอย่าให้ก ารเกลียดชังผู้หนึ่งผู้ใดทำให้สูเจ้าไม่มีความยุติธรรม จงมีความยุติธรรม นั่นเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงมาก กว่า จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งที่สูเจ้ากระทำ" (กุรอาน 5:8)7)


 


การให้บริการทางการแพทย์และการพยาบาล อิสลามให้การยอมรับและให้ความสำคัญแก่อาชีพทางด้านการแพทย์มา ตั้งแต่เริ่มต้นแพทย์ชาวคริสเตียนและชาวยิวได้ถูกว่าจ้างโดยรัฐอิสลามมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์อุมัยยะฮฺและบางคนก็ได้เป็นแพทย์ส่วนตัวหรือแพทย์ประจำราชสำนักของเคาะลีฟะฮฺ ด้วยความใจกว้างของอิสลาม แพทย์บางคนได้มีโอกาสแส ดงความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ดังนั้น แพทย์เหล่านี้จึงได้มีส่วนต่อความรู้ทางด้านการแพทย์ ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์เป็นสิทธิ์ของมนุษย์ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงศาสนาหรือความเชื่อ และรวมไปถึงศัตรูด้วย


 


ตัวอย่างที่รู้จักกันดีในตะวันตกก็คือตัวอย่างของเศาะลาฮุดดีนที่จัดหาความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์แก่ริชาร์ดใจสิงห์ศัตรูของเขาที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสในระหว่างสงครามครูเสด เศาะลาฮุดดีนได้ส่งริชาร์ดไปหาหมอของเขาและดูแลการรักษากษัตริย์ริช าร์ดด้วยตัวเองจนกระทั่งเขามีอาการดีขึ้น ในการยกตัวอย่างเช่นนี้เรากล้ากล่าวได้ว่าท่าทีเช่นนี้เป็นท่าทีที่แตกต่างไปจาก พฤติกรรมของพวกครูเสดที่รุกราน


 


เมื่อพวกครูเสดเข้าเมืองเยรูซาเล็มเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1099 พวกเขาได้ฆ่ามุสลิมไปถึง 70,000 คนรวมทั้งผู้หญิง เด็กและคนแก่ พวกเขาหักกระดูกของพวกเด็กโดยการฟาดกับกำแพง โยนทารกล งมาจากหลังคาย่างสดผู้ชายและผ่าท้องผู้หญิงเพื่อดูว่าพวกนางกลืนทองคำไว้หรือเปล่าที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่กิบบ็อน


 


นักเขียนชาวคริสเตียนเองเขียนไว้และทำให้ปัญญาชนหลายคนประหลาดใจว่าเป็นไปได้อย่างไรที่หลังจากสร้างความหฤโหด เช่นนั้นไว้แล้ว คนพวกนี้ยังมีหน้ามาสวดอธิษฐานต่อพระเยซูคริสต์เพื่อขอความจำเริญและการอภัยบาป (Draper, Hi story of t he Intellectual Development of Europe, Vol.2, p.77) เราไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เนื่องจากความขมขื่นหรือความอคติ เพราะมุสลิมหรือชาวคริสเตียนผู้ซื่อตรงรู้ดีว่าศาสนาคริสต์เป็นเรื่องหนึ่งและการกระทำของพวกครูเสดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง8) ให้ความเมตตาและการเอาใจใส่ต่อเชลยสงครามที่ถูกจับได้ก่อนหน้านี้ไม่มีระบบกฎหมายใดและก่อนหน้าที่จะมีสนธิสัญญาเจนีวาเป็นเวลานาน


 


อิสลามได้วางกฎระเบียบไว้ว่าเชลยจะต้องได้รับที่พักโดยผู้ที่จับเขาไว้และความบาดเจ็บของเขาจะต้องได้รับการรักษา ก่อนหน้านี้มีธรรมเนียมว่าเชลยจะต้องทำงานเพื่ออาหารของตนเอง แต่คัมภีร์กุรอานได้ถือว่าการให้อาหารเชลยเป็นทานอย่างหนึ่ง "แท้จริง บรรดาผู้ ทรงคุณธรรมนั้นจะได้ดื่มน้ำที่ผสมด้วยการบูรหอมจากแก้วน้ำเป็นตาน้ำที่บ่าวของอัลลอฮฺจะได้ดื่มโดยทำให้มันพุ่งออกมาอย่างล้นเหลือ เพราะพวกเขาปฏิบัติตามคำสัตย์สาบานและกลัววันที่ความชั่วร้ายของมันแพร่กร ะจายออกไป และพวกเขาให้อาหารแก่คนขัดสน เด็กกำพร้าและเชลยเพราะความรักต่อพระองค์


 


พวกเขากล่าวว่า "เราให้แก่พวกท่านโดยหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺเท่านั้น และเรามิได้หวังการตอบแทนหรือการขอ บคุณจากท่านแต่ประการใด" (กุรอาน 76:5-9) ท่านนบีได้สั่งบรรดาสาวกของท่านให้ทำดีต่อเชลย ครั้งหนึ่งท่านได้สั่งสาวกของท่านโดยกล่าวว่า "ท่านจะต้องปฏิบัติต่อเชลยด้วยดี"อบูอะซีซ อิบ นุอุมัยร์ เชลยคนหนึ่งที่ถูกมุสลิมจับได้ในสงครามบะดัรฺได้ฟื้นความจำว่า : "เมื่อใดก็ตามที่ฉันนั่งกับผู้ที่จับกุมฉันเพื่อกิน อาหารกลางวันหรืออาหารเย็น พวกเขาจะนำขนมปังมาให้ฉันและพวกเขาเองจะกินอินทผลัม (ในทะเลยทราย ขนมปังเป็นอาหารที่มีค่ามากกว่าอินทผลัม) เมื่อใดก็ตามที่พวกเขามีขนมปังอยู่เขาจะเอามาให้ฉัน ด้วยความรู้สึกอาย ฉันจะให้มั นกลับคืนไป แต่เขาก็ยื่นมาให้ฉันอีก"


 


อีกครั้งหนึ่ง ษุมามะฮฺ อิบนุ อะษัลได้ถูกจับตัวเป็นเชลยและเมื่อถูกนำตัวไปยังท่าน นบี ท่านได้กล่าวว่า


"จงปฏิบัติต่อเชลยด้วยดี" เมื่อนบีได้กลับไปยังบ้าน ท่านได้สั่งให้นำเอาอาหารที่มีอยู่ที่นั่นไปให้เชลย


เมื่อพวกยิวเผ่าบนีกุร็อยเซาะฮฺถูกจับ ท่านนบีได้สั่งให้ขนอินทผลัมไปให้พวกเขากินตามปกติ นอกจากนั้นท่านยังได้สั่งให้จัดหาที่พักให้พวกเชลยพ้นจากแสงแดดในฤดูร้อนและจัดหาน้ำให้พวกเชลยได้ดื่มด้วย


จากทัศนะทางด้านกฎหมาย มุสลิมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับเรื่องการห้ามกระทำทารุณต่อเชลยโดยการสั่งงดอาหารและน้ำหรือเสื้อผ้า


 


9) ชะตากรรมของเชลยศึก คัมภีร์กุรอานได้สั่งไว้ว่า : "และเมื่อสูเจ้าพบบรรดาผู้ปฏิเสธในสนามรบ จงฟันคอพวกเขาจนกระทั่งสูเจ้าปราบพวกเขาจนราบคาบแล้ว จงจับพวกเขาเป็นเชลย หลังจากนั้นจะปล่อยพวกเขาเป็นอิสระ หรือจะเรียกเอาค่าไถ่ก็ได้จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลงด้วยการวางอาวุธนั่นแหละคือคำสั่ง


และหากอัลลอฮฺทรงป ระสงค์ พระองค์ก็สามารถลงโทษพวกเขาโดยไม่ต้องอาศัยสูเจ้า แต่ที่กำหนดเช่นนี้ก็เพื่อที่จะพระองค์ไ ด้ทดสอบบางคนในหมู่สูเจ้าโดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง และบรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮฺนั้นพระองค์จะไม่ทร งทำให้การงานของเขา ไร้ผลเป็นอันขาด" (กุรอาน 47:4) ตามกฎหมายอิสลาม เชลยจะตกเป็นของรัฐ ไม่ใช่เป็นของคนที่จับได้ ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดในการที่จะให้อิสรภาพแก่เชลยหรือปล่อยให้เป็นไทหลังจากที่ได้รับค่าไถ่แล้วก็ได้


 


ในบรรดาผู้ที่ท่านนบีมุฮัะมมัดได้ให้อิสรภาพนั้นมีกวีคนหนึ่งซึ่งถูกเรียกว่าอบู-อัซซา เขาได้กล่าวแก่ท่านนบีว่า "ฉันมีลูกสาวห้าคนที่ไม่มีใครเลี้ยงดู ดังนั้นกรุณาปล่อยฉันไปยังพวกเขาเป็นทานด้วยเถิดและฉันสัญญาว่าจะไม่ต่อสู้ท่านหรือช่วยศัตรูของท่านอีกต่อไป" อบุลอาศ อิบนุ อัรฺ-เราะบีอฺ ก็ได้รับอิสรภาพเนื่องจากมีคนมาไถ่ตัว แต่หลังจากนั้นท่านนบีก็ได้คืนเงินค่าไถ่กลับไปให้เขา ต่อมาเขาก็ได้เข้ารับอิสลาม อุมามะฮฺ อิบนุ อะษัลได้ถูกปล่อยให้เป็นอิสระเพราะเขาสัญญาว่ าจะไม่จัดหาอาหารให้ศัตรู การปฏิบัติด้วยดีเช่นนี้สามารถชนะใจเขาได้และหลัง


 


จากนั้นเขาก็ได้หันมารับอิสลามโดยกล่าวแก่ท่านนบีว่า : "มีครั้งหนึ่งที่ใบหน้าของท่านเกลียดชังฉัน


และตอนนี้ก็เป็นวันที่ใบหน้าของท่านมีความรักอย่างที่สุด" บางครั้งเชลยจะถูกแลกเปลี่ยนกับเชลยมุสลิมที่ถูกศัตรูจับตัวไป ค่าไถ่ตัวที่ยอมรับได้และเป็นที่ปฏิบัติกันก็คือการสอนเด็กมุสลิมสิบคนให้อ่านออกเขียนได้ อยากให้ท่านได้ทราบว่ากฎหมายระหว่างประเทศยุคปัจจุบันก็อนุญาตให้ปล่อยเชลยสงครามด้วยเหตุผลนี้เช่นเดียวกัน นายทหารจะได้รับอิสรภาพด้วยการให้สัญญาว่าจะไม่ต่อสู้อีกและรัฐบาลของพวกเขาจะต้องไม่ส่งเขาให้ไปทำการรบอีก ถ้าพวกเขาทำลายสัญญาพวกเขาจะต้องถูกประหารชีวิตถ้าหากพวกเขาถูกจับเป็นเชลยอีก


 


10) ฝ่ายที่ไม่ใช่คู่สงครามอิสลามไม่เคยต่อสู้ชาติใดนอกไปจากอำนาจเผด็จการ สงครามของอิสลามเป็นสงครามเพื่อการปลดปล่อย มิใช่เพื่อบังคับ เสรีภาพของคนที่จะตัดสินใจว่าจะนับถือศาสนาอะไรนั้นได้ถูกกล่าวไว้แล้วและเพื่อความแน่ใจในเสรีภาพนี้เองที่มุสลิมต่อสู้ มันเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะกล่าวว่าเมื่อมุสลิมทำสงครามกับพวกโรมันในอียิปต์ พวกอียิปต์ได้เข้าข้างและช่วยเหลือมุสลิมต่อต้านพวกโรมันที่เป็นชาวคริสเตียนเหมือนกับพวกตน นั่นก็เพราะว่าชาวอียิปต์คริสเตียนได้รับการกดขี่ทางศาสนาโดยพวกโรมันคริสเตียนที่บังคับพวกเขาให้ยึดถือความเชื่อทางศาสนาของพวกเขา


 


การกระทำอีกอย่างหนึ่งของมุสลิมยุคแรกในอียิปต์ก็คือการให้หลักประกันในเสรีภาพทางศาสนาและการให้เบนจามินก ลับมาเป็นบิชอปแห่งอเล็กซานเดรียอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ต้องหลบซ่อนตัวจากพวกโรมันในทะเลทรายตะวันตก แต่เสรีภาพทางด้านศาสนาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อิสลามให้ ไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับหรือชาวอียิปต์ มุสลิมหรือคริสเตียน อิสลามได้ สร้างความเป็นมิตรที่มนุษยชาติต้องการเพื่อความเสมอภาพและความเป็นภราดรภาพ


 


มีเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในอดีตและเป็นที่รู้จักกันดีก็คือเรื่องการวิ่งแข่งขันที่จัดขึ้นในอียิปต์ ในการแข่งขันครั้งนั้นปรากฏว่าชาวอียิปต์ชนะการแข่งขันซึ่งทำให้ บุตรชายของอัมร์ อิบนุ อัลอาศ เจ้าเมืองอียิปต์ซึ่งเข้าแข่งขันด้วยไม่พอใจ จึงได้ตีเด็กคนนั้นและกล่าวว่า  "เจ้ากล้าดีอ ย่างไรที่มาเอาชนะฉันทั้งที่ฉันเป็นลูกของผู้สูงศักดิ์" เมื่อเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺทราบข่าว จึงได้สั่งให้คนทั้งสามมายังมะดีนะฮฺและสั่งให้ชาวอิยิปต์แก้แค้นโดยกล่าวว่า "ตีเขากลับ ตีลูกผู้สูงศักดิ์นั่นแหละ"


 


หลังจากนั้น อุมัรฺก็หันมากล่าวกับอัมร์ด้วยคำ พูดที่รู้กันดีว่า "ท่านทำให้คนเป็นทาสตั้งแต่เมื่อใดในขณะที่แม่ของพวกเขาเกิดมาเป็นอิสระ"11) กฎหมายระหว่างประเทศ กระบวนการของการเข้าแทรกแซงเพื่อยุติหรือขจัดการรุกรานเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่กฎหมายสากลสมัยใหม่ยอมรับ ตัวอย่างเช่นสงครามโลกครั้งที่สองที่เริ่มต้นโดยการรุกรานโปแลนด์โดยเยอรมั นซึ่งดึงให้ประเทศต่างๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขัดแย้งโดยตรงต้องเข้าไปร่วมต่อสู้ด้วยผลอย่างหนึ่งของสงครามก็คือการเกิดขึ้นของสหประชาชาติเพื่อที่จะไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างชาติโดยวิธีการสันติหรือถ้าจำเป็นก็ต้องใช้กำลังทหารร่วม ดังนั้นจึงไม่


ควรมีใครมาโต้แย้งว่าควรจะปล่อยให้อียิปต์และอาณาจักรโรมันแก้ปัญหากันเองตามลำพังเป็นตัวอย่างในยุคสมัยใหม่นี้


 


ครอบครัวแห่งชาติถือว่ามันเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้สิบสี่ศตวรรษก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้งสันนิบาตนานาชาติและต่อมาได้กลายเป็นสหประชาชาติ อิสลามได้ประกาศเรื่องความรับผิดชอบเช่นนี้มาแล้ว หลักการทางกฎหมายในการแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทได้ถูกเสนอไว้โดยกุรอานในคำพูดต่อไปนี้ :"ถ้าหากผู้ศรัทธาสอง ฝ่ายพิพาทกัน สูเจ้าก็จงหาทางสร้างความสันติระหว่างสองฝ่าย แต่ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดละเมิดขอบเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็จงปราบปรามฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับม สู่พระบัญชาของอัลลอฮฺ แต่ถ้าหากฝ่ายนั้นปฏิบัติตามแล้ว ดังนั้น จงสร้างความสันติระหว่างสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม เพราะอัลลอฮฺทรงรักผู้ยุติธรรม"(กุรอาน 49:9)12)


 


การเคารพสัญญาและข้อตกลง ข้อบกพร่องประการหนึ่งของการเมืองระหว่างประเทศสมัยใหม่ก็คือการขาดความเคา รพต่อหน้าที่ทางศีลธรรม ครั้งแล้วครั้งเล่าที่สัญญาและข้อตกลงได้กลายเป็นแค่เพียงกระดาษที่ไม่มีค่าซึ่งทำให้ผลผลิตอันสวยงามของปัญญามนุษย์ในด้านกฎหมายระหว่างประเทศต้องถูกทำลายไปในทันทีเพราะความโลภและความเชื่อในยุค นี้ที่เราคิดว่าเป็นยุคแห่งอารยธรรม แต่ที่เลวร้ายไปยิ่งกว่านั้นก็คือความสำเร็จของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มัก จะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ไม่มีพระเจ้าแทนที่จะถูกใช้ในหนทางของพระเจ้าอิสลามได้ห้ามการหักหลังโจมตีศัตรูโดยไม่รู้ตัว


 


การลงนามในสัญญากับชาติใดชาติหนึ่งเพื่อเป็นการปิดบังเจตนาโจมตีชาตินั้นถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการอิสลามดังที่กุรอานกล่าวไว้หลายแห่งด้วยกัน เช่น "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาจงปฏิบัติตามสัญญาของสูเจ้าให้ครบ…" (กุร อาน 5:1) และ"จงปฏิบัติตามสัญญาของอัลลอฮฺให้ครบเมื่อสูเจ้าได้ทำสัญญาไว้และจงอย่าละเมิดคำสาบานหลังจากที่สูเจ้าได้ยืนยันไว้แล้วแท้จริง สูเจ้าได้ให้อัลลอฮฺเป็นพยานแก่สูเจ้าแล้ว


เพราะอัลลอฮฺทรงรอบรู้ในสิ่งที่ สูเจ้ากระทำ" (กุรอาน 16:91)


 


ถ้าหากมุสลิมรู้สึกว่าศัตรูกับผู้ที่เขาทำสัญญาด้วยจะทรยศหักหลัง พวกเขาจะต้องประกาศเลิกสัญญาก่อนที่จะทำสงคราม ถึงแม้ว่ามุสลิมมีหน้าที่จะต้องไปช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมที่ถูกกดขี่ข่มเหงทางศาสนาในดินแดนของศัตรู พวกเขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่นี้ถ้าหากว่ามีประชาคมมุสลิมมีสัญญากับศัตรูนี้


การให้เกียรติแก่สั ญญาเป็นสิ่งที่จะต้องมาก่อน "แต่ถ้าหากพวกเขาขอให้สูเจ้าช่วยเหลือในเรื่องศาสนา มันก็เป็นหน้าที่ของสูเจ้าที่จะ ต้องช่วยเหลือพวกเขายกเว้นต่อคนที่สูเจ้ามีสัญญาระหว่างกันอยู่


และอัลลอฮฺทรงเห็นสิ่งที่สูเจ้ากระทำ" (กุรอา น 8:72)


 


เอาละ ตอนนี้มีกฎหมายใดๆที่จะเป็นกฎหมายในอุดมคติได้มากไปกว่านี้บ้าง ? และที่สำคัญก็คือ


นี่มิใช่ความพิถีพิถันที่จะ ต้องปฏิบัติหรือละทิ้งโดยรัฐ หากแต่มันเป็นคำสั่งทางศาสนาที่อยู่เหนือความรู้สึกและความอคติ มิเช่นนั้นแล้ว มันก็จะเป็นการฝ่าฝืนอิสลามอย่างรุนแรง


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net