โครงสร้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

หมายเหตุ: โครงสร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นแบบใช้ในการศึกษาเพื่อปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม 

 

 

โครงสร้าง

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550


 

 

 

หมวด 1 บททั่วไป

            คงหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 2540

 

หมวด 2 พระมหากษัตริย์

            คงหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 2540

 

หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย

คงสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และเพิ่มให้ประชาชน และชุมชนมีสิทธิเสรีภาพตามข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

กำหนดให้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพมีผลใช้บังคับได้ และสามารถกล่าวอ้างเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองโดยตรง

ระบุสาระสำคัญแห่งสิทธิและข้อจำกัดให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ โดยให้การตรากฎหมายเป็นการกำหนดรายละเอียดในการใช้สิทธิ

ปรับปรุงวิธีการบัญญัติ โดยมีการจัดกลุ่มบทบัญญัติใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจชัดเจนได้ง่ายขึ้น

ปรับปรุงการใช้ถ้อยคำเพื่อให้สั้นมีข้อความกระชับ และสามารถนำไปปรับใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตระยะยาวได้

 

หมวด4 หน้าที่ของชนชาวไทย

            คงหลักการตามเดิมรัฐธรรมนูญปี 2540 และเพิ่มเติมตามข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ปรับปรุงวิธีการบัญญัติ โดยมีการจัดกลุ่มบทบัญญัติใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจชัดเจนได้ง่ายขึ้น

ปรับปรุงการใช้ถ้อยคำเพื่อให้สั้น มีข้อความกระชับ และสามารถนำไปปรับใช้ กับเหตุการณ์อนาคตระยะยาวได้

 

หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ

            คงหลักการตามเดิมรัฐธรรมนูญปี 2540 และเพิ่มเติมตามข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ปรับปรุงการใช้ถ้อยคำเพื่อให้สั้นมีข้อความกระชับ และสามารถนำไปปรับใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตระยะยาวได้

            จัดกลุ่มเรื่องที่ใกล้เคียงไว้ด้วยกัน แต่แบ่งส่วนเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ดังต่อไปนี้

     

            ส่วนที่ 1 บททั่วไป

            กำหนดความหมายของแนวนโยบายแห่งรัฐ และการบังคับใช้ให้เป็นผลในทางปฏิบัติ

            ส่วนที่ 2 แนวนโยบายด้านความมั่นคงแห่งรัฐ

            ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

            ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านสังคมและการศึกษา

           ส่วนที่ 5 แนวนโยบายด้านการยุติธรรม

            ส่วนที่ 6 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ

           ส่วนที่ 7 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ

           ส่วนที่ 8 แนวนโยบายด้านการเกษตรและที่ดิน

            ส่วนที่ 9 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

            ส่วนที่ 10 แนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

 

หมวด 6 รัฐสภา

            ส่วนที่ 1 บททั่วไป

            กำหนดองค์ประกอบของรัฐสภา

            ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร

            กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการได้มา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณสมบัติลักษณะต้องห้าม การพ้นจากตำแหน่งและอำนาจหน้าที่

            ส่วนที่ 3 วุฒิสภา

            กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่

            ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง

            กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการปฎิบัติหน้าที่การปรชุม เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน การตราข้อบังคับการประชุม และการตั้งกรรมาธิการ

            ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

            กำหนดหลักเกณฑ์แห่งการประชุมร่วมกัน และวิธีการประชุม

            ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

กำหนดรายชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและวิธีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ

            ผลบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติจนกว่าจะมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้ยกเลิก

            ส่วนที่ 7 การตราพระราชบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์

กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนเกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติตั้งแต่การเสนอพระราชบัญญัติการพิจารณาและการมีผลใช้บังคับ

ส่วนที่ 8 การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งกรณีก่อนใช้บังคับ และหลังจากใช้บังคับแล้ว

ส่วนที่ 9 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังต่อไปนี้

1.การตั้งกระทู้

2.การเสนอญัตติ

3.การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

 

หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการใช้สิทธิโดยตรงของประชาชนในเรื่องดังต่อไปนี้

1.เข้าชื่อเสนอกฎหมาย

2.เข้าชื่อถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

3.ประชามติ

 

หมวด 8 การเงิน การคลัง และการงบประมาณ

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้จ่าย การเงินของรัฐบาล และการตราพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

 

หมวด 9 คณะรัฐมนตรี

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การพ้นจากตำแหน่ง การบริหารประเทศ การตราพระราชกำหนดและการรักษาการ

 

หมวด 10 ศาล

กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเป็นอิสระ ในการปฏิบัติหน้าที่ของศาล การจัดตั้งศาล และอำนาจหน้าที่

 

หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการได้มาซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ลัอำนาจหน้าที่หลักในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

กำหนดความเป็นอิสระในการเสนรอกฎหมายและอิสระในทางการเงินเพิ่มขึ้น

รวมองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาบัญญัติรวมไว้ในหมวดเดียวกัน และปรับปรุงใหม่ตามมติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

กำหนดฐานะขององค์กรให้ชัดเจน โดยแยกเป็นสองส่วนคือ

(1) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้แก่ คณะกรรมการเลือกตั้ง คณะกรรมการปปช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

(2) องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

 

หมวด 12 การตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐ

กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อตรวจสอบและควบคุมบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐให้มีการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และเที่ยงธรรม โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้

ส่วนที่1 การตรวจสอบทรัพย์สิน

ส่วนที่2 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์

ส่วนที่3 การถอดถอนออกจากตำแหน่ง

ส่วนที่4 การดำเนินคดีอาญาแก่นักการเมือง

 

หมวด 13 จริยธรรมนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ และการควบคุมเพื่อให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมที่กำหนด

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างฝ่ายการเมืองกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย

 

หมวด14 การปกครองส่วนท้องถิ่น

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหลักการส่วนใหญ่คงไว้ตามหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 แต่กำหนดให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นในด้านความมีอิสระในการปกครองตนเองโดยเชื่อมโยงกับประชาชนในท้องถิ่นและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยมีระบบตรวจสอบที่เหมาะสม

 

หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

กำหนดหลักเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

กำหนดให้มีการทบทวนเพื่อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยองค์กรอิสระ 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท