Skip to main content
sharethis










สรุปผลการศึกษา  รอบที่ 12 (23 มีนาคม 2550)


โทรทัศน์ไทยมองผู้ชมเป็น "ผู้บริโภค" (consumers) หรือ "พลเมือง" (citizens)


โดย โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor)


www.mediamonitor.in.th, โทรศัพท์ 02-621-6705 โทรสาร 02-621-6706


 


การศึกษารอบที่ 12 ของโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) เรื่อง: โทรทัศน์ไทยมองผู้ชมเป็น "ผู้บริโภค" (consumer) หรือ "พลเมือง" (citizen) เป็นการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการทุกประเภทของสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ itv) ในช่วง 1 สัปดาห์ (1-7) ของเดือนกุมภาพันธ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างของสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง ในมิติสถานภาพ บทบาท หน้าที่ วัตถุประสงค์ว่ามองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1-Consumers) และ พลเมือง (C2-Citizens) ในสัดส่วนเท่าใด อย่างไร


 


โดยมีกรอบแนวคิดในการศึกษาดังนี้


 













รายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค :C1 (Consumers)


คือรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารายการโดยรวมมุ่งเน้นมองผู้ชมในฐานะผู้บริโภคในระบบตลาดเป็นหลัก


รายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง : C2 (Citizens)


คือรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารายการโดยรวมมุ่งเน้นมองผู้ชมในฐานะพลเมืองในระบบสังคมสาธารณะเป็นหลัก


ซึ่งในแต่ละรายการอาจมีคุณลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้


1.       (C11) มองผู้ชมในฐานะลูกค้า ที่มีพลังอำนาจการซื้อ


2.       (C12) มีเนื้อหาที่ส่งเสริมและโน้มน้าวใจเพื่อซื้อ-ขายสินค้าและหรือบริการ


3.       (C13) เพื่อสร้างความระลึกได้หรือความจงรักภักดีต่อตราสินค้า เพื่อนำไปสู่การบริโภคอุปโภค


4.       (C14) ให้ความสำคัญกับปริมาณผู้ชม (rating) เพื่อผลการสนับสนุนด้านการขายเวลาเพื่อการโฆษณาสินค้า


5.       (C15) มีเนื้อหาที่ให้มุ่งให้เกิดประโยชน์ส่วนตัวและสนองความพอใจในระดับบุคคล


1.       (C21) ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การศึกษา และความบันเทิงที่มีคุณค่า


2.       (C22) มองผู้ชมในฐานะพลเมืองที่มีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ต่อสังคม


3.       (C23) สร้างสำนึก ความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องของส่วนรวม


4.       (C24) แม้มีเนื้อหาที่ให้มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ส่วนตัวแต่ผลนั้นนำไปสู่ประโยชน์ส่วนรวมในสังคม


 


การที่จะวิเคราะห์สรุปว่ารายการใดมองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (c1-consumers) หรือพลเมือง (c2-citizens) นั้นพิจารณาจาก "ลักษณะโดยรวมที่เด่นๆ" ของรายการเป็นสำคัญ โดยเฉพาะพิจารณาที่วัตถุประสงค์ และเนื้อหาสาระของรายการ


 


 


 


ผลการศึกษาพบว่า……..


1.      โครงสร้างสถานีโทรทัศน์


เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างความเป็นเจ้าของ, นโยบาย ลักษณะการบริหารจัดการ แนวคิด วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการรวมทั้งผลสำเร็จที่คาดหวัง อาจแบ่งสถานีโทรทัศน์ออกเป็น 2 กลุ่มคือ สถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์หรือสถานีโทรทัศน์ในระบบตลาด (commercial television) ได้แก่ช่อง 3, 7 และ itv และสถานีโทรทัศน์เชิงรัฐ-รัฐวิสาหกิจ (state television) ได้แก่ช่อง 5, 9 และ ช่อง 11


 


 


































































ตารางที่ 1 แสดงเปรียบเทียบโครงสร้างสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์


มิติโครงสร้าง


สถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ (commercial television)


ช่อง3


ช่อง 7


ไอทีวี


เจ้าของ


กรมประชาสัมพันธ์


สำนักนายกรัฐมนตรี


กองทัพบก


กระทรวงกลาโหม


สำนักงานปลัด


สำนักนายกรัฐมนตรี


ผู้ดำเนินการ


บริษัท บางกอก


เอนเตอร์เทนเม้นท์(BEC)


บริษัทกรุงเทพโทร


ทัศน์และวิทยุจำกัด


บริษัทไอทีวีจำกัด(มหาชน)


ระยะเวลาดำเนินการ


50 ปี (ถึงปี 2563)


56 ปี (2510-2566)


30 ปี (2538-2568)


เป้าหมาย/วัตถุประสงค์


1.       ประกอบธุรกิจสื่อโทรทัศน์


2.       เป็นสื่อบันเทิง


1.       ประกอบธุรกิจสื่อโทรทัศน์


2.       เป็นสื่อบันเทิง


1.       ประกอบธุรกิจสื่อโทรทัศน์


2.       เป็นสื่อสาระและบันเทิง


กลุ่มผู้ชมหลัก/รอง


·          ผู้ใหญ่,วัยรุ่น/ชนชั้นกลาง/เมือง


·          ผู้ใหญ่,วัยรุ่น/ระดับล่าง/ขนบทและเมือง


·          ผู้ใหญ่,วัยรุ่น/ชนชั้นกลาง/เมือง


แนวรายการหลัก


·          ข่าวและละคร


·          ปกิณกะบันเทิง


·          บันเทิง-ละคร


·          ปกิณกะบันเทิง


·          เกมโชว์


·          กีฬา


·          ข่าวและสาระ (70 %)


·          บันเทิง (30%)


รายการเด่น


·          ข่าว/แม็กกาซีนข่าว


·          ละครไทย/จีน


·          ปกิณกะบันเทิง


·          ละครไทย/พื้นบ้าน


·          ถ่ายทอดสดกีฬา


·          ภาพยนตร์ต่างประเทศ


·          ข่าว


·          แม็กกาซีนทั่วไป


·          ละครต่างประเทศ


การบริหารและการผลิตรายการ


1.       ผลิตรายการข่าวและละคร


2.       ซื้อ/จ้างผลิตรายการบันเทิง(ละคร ภาพยนตร์ชุด เกมโชว์ ปกิณกะบันเทิง)


1.       ผลิตรายการข่าว


2.       ซื้อ/จ้างผลิตรายการบันเทิง(ละคร ภาพยนตร์ชุด เกมโชว์ หกิณกะบันเทิง)


1.       ผลิตรายการข่าว


2.       ซื้อ/จ้างผลิตรายการบันเทิง(ละคร ภาพยนตร์ชุด เกมโชว์ ปกิณกะบันเทิง)


บุคลากร


พนักงานบริษัท


พนักงานบริษัท


พนักงานบริษัท


เวลาออกอากาศ


24 ชั่วโมง


24 ชั่วโมง


24 ชั่วโมง


ดัดแปลงจาก: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ "สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม" 2547


 


 


 


































































ตารางที่ 2 แสดงเปรียบเทียบโครงสร้างสถานีโทรทัศน์เชิงสาธารณะ


มิติโครงสร้าง


สถานีโทรทัศน์-ของรัฐ (state television)


ช่อง 5


ช่อง 9


ช่อง 11


เจ้าของ


กองทัพบก


กระทรวงกลาโหม


สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี


บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)


กระทรวงการคลังถือหุ้น ~77%


กรมประชาสัมพันธ์


สำนักนายกรัฐมนตรี


ผู้ดำเนินการ


บริษัทไทยโกลบอลเน็ทเวิร์คจำกัด (TGN)-บริหารผังรายการโทรทัศน์


 


บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)


กรมประชาสัมพันธ์


สำนักนายกรัฐมนตรี


ระยะเวลาดำเนินการ


-


-


-


เป้าหมาย/วัตถุประสงค์


1.       ฝึกเจ้าหน้าที่การทหารด้านสื่อสาร


2.       ประชาสัมพันธ์กิจการของทหาร


1.       สื่อสารเชื่อมโยงและพัฒนาสังคม


2.       ประกอบธุรกิจเพื่อหารายได้เข้ารัฐ


1.       ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของรัฐและรัฐบาล


2.       ส่งเสริมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม


กลุ่มผู้ชมหลัก/รอง


·          ผู้ใหญ่/มีการศึกษากลาง-ล่าง


·          คนไทยในต่างประเทศ


·          ผู้ใหญ่/มีการศึกษากลาง-สูง


·          เด็ก,วัยรุ่นระดับกลาง-ล่าง


·          ข้าราชการ


·          ประชาชนทั่วไป/เกษตรกร


แนวรายการหลัก


·          บันเทิงและปกิณกะบันเทิง


·          กีฬาและดนตรี


·          ข่าวสารและความรู้


·          บันเทิง-ดนตรี


·          เศรษฐกิจ


·          เด็ก,กีฬา


·          ข่าวและความรู้


·          การถ่ายทอดสดต่างๆของรัฐและรัฐบาล


·          เด็ก,กีฬา,ศาสนา


รายการเด่น


·          แม็กกาซีนทั่วไป


·          เกมโชว์


·          ข่าว


·          ข่าวและสารบันเทิง


·          สนทนาสารคดี


·          ซิทคอม


·          ข่าวและสารคดี


·          ถ่ายทอดสดประชุมรัฐสภาและงานต่างๆ


การบริหารและ


การผลิตรายการ


1.       ผลิตรายการข่าวและสนทนา


2.       ซื้อ/จ้างผลิตรายการจากผู้ผลิตใน/ต่างประเทศ


3.       แบ่งเวลาให้ผู้ผลิตเช่า


1.       ผลิตรายการข่าวและสนทนา


2.       ซื้อ/จ้างผลิตรายการจากใน/ต่างประเทศ


3.       แบ่งเวลาให้ผู้ผลิตเช่า


1.       ให้เอกชนเหมาผลิตรายการข่าว รายการสนทนา(ช่วงไพร์มไทม์ทั้งหมด)


2.       ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนในการผลิตรายการสาระความรู้


บุคลากร


เจ้าหน้าที่ทางทหาร (ยืมตัวจากหน่วยงานต้นสังกัด)


เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ*


มีสหภาพแรงงาน


ข้าราชการและลูกจ้าง


ของรัฐ


เวลาออกอากาศ


24 ชั่วโมง


24 ชั่วโมง


4.20-2.00 น.


ดัดแปลงจาก: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ "สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม" 2547


 


2.      ภาพรวมของรายการโทรทัศน์ในแต่ละช่อง เมื่อศึกษาจากรายการโทรทัศน์ในแต่ละช่องพบว่า


·        สัดส่วนรวม*  ประเภทรายการที่มีสัดส่วนเฉลี่ยสูงสุดในทุกช่องสถานี คือ


-          อันดับ 1 คือรายการแม็กกาซีน เฉลี่ยรวม 30.9 % (3,297 นาที/สัปดาห์)


-          อันดับ 2 คือรายการข่าว เฉลี่ยรวม 27.2 % (1,426 นาที/สัปดาห์)


-          อันดับ 3 คือ รายการละคร/ซิทคอม/ภาพยนตร์/การ์ตูนเฉลี่ยรวม 17.0 % (915 นาที/สัปดาห์),


ส่วนอันดับอื่นๆ ได้แก่รายการสารคดี, รายการสนทนา, รายการโชว์/ถ่ายทอดสด, รายการเกมโชว์/ควิซโชว์, รายการแนะนำสินค้า และรายการวาไรตี้ตามลำดับ (5.6 %, 5.2 %, 4.4 %, 4.2 %, 3.3 % และ 2.2 % ตามลำดับ)


·        สัดส่วนแยกตามช่องและประเภทรายการ*


-          รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าวมีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 11 คือ 39.9 % (3,620 นาที/สัปดาห์),


-          รายการสารคดีมีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 9 คือ 14.6 % (1,470 นาที/สัปดาห์)


-          รายการแม็กกาซีนมีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 5 คือ 49.9 % (4,960 นาที/สัปดาห์)


-          รายการสนทนามีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 11 คือ 13.2 % (1,200 นาที/สัปดาห์)


-          ละคร/ซิทคอม/ภาพยนตร์/การ์ตูนมีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 7 คือ 44.2 % (4,057 นาที/สัปดาห์)


-          รายการเกมโชว์/ควิซโชว์มีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 5 คือ 8.8 % (890 นาที/สัปดาห์)


-          รายการวาไรตี้มีสัดส่วนสูงสุดในช่อง itv คือ 6.7 % (681 นาที/สัปดาห์)


-          รายการโชว์/ถ่ายทอดสดมีสัดส่วนสูงสุดคือช่อง 11 คือ 8.9 % (810 นาที/สัปดาห์)


-          รายการแนะนำสินค้าและบริการมีสัดส่วนสูงสุดในช่อง 5 คือ 7.6 % (770 นาที/สัปดาห์)


(* หมายเหตุ ตัวเลขนี้ไม่นับรวมสัดส่วนเวลาของโฆษณา)


แสดงดังกราฟ










แผนภูมิที่ 1 แสดงสัดส่วนประเภทรายการโทรทัศน์เปรียบเทียบในแต่ละช่อง (กุมภาพันธ์ 2550)


 


 


3. ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคและพลเมือง (C1"/C2" Index)


เมื่อศึกษาว่ารายการโทรทัศน์ใดมองผู้ชมเป็นผู้บริโภคหรือพลเมือง (C1-Consumers หรือ C2-Citizens) โดยสรุปเปรียบเทียบเป็น "ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค" (C1") และ "ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมแบบพลเมือง" (C2") ได้ดังนี้


 










































































ตารางที่ 3 แสดงดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาผู้บริโภคพลเมือง (C1'/C2' Index) ในสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง


ดัชนีเนื้อหารายการ/สถานีโทรทัศน์


หน่วย


ช่อง 3


5


7


9


11


ไอทีวี


Avg.


ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์


ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1'-Index)


นาที/สัปดาห์


6,699


6,411


7,587


4,919


1,197


6,552


5,561


เปอร์เซ็นต์


66.7


63.6


82.6


48.7


13.2


64.9


57.0


ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์


ที่มองผู้ชมเป็นผู้พลเมือง (C2'-Index)


นาที/สัปดาห์


3,341


3,664


1,602


5,176


7,878


3,538


4,200


เปอร์เซ็นต์


33.3


36.4


17.4


51.3


86.8


35.1


43.0


รวม


นาที/สัปดาห์


10,040


10,075


9,189


10,095


9,075


10,090


9,761


เปอร์เซ็นต์


100


100


100


100


100


100


100


จากตารางที่ 3 พบว่า


·        มีสถานีโทรทัศน์ 4 ช่องที่มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคมากกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C1' > C2') คือช่อง 7  คือ 82.6 % (7,587 นาที/สัปดาห์) ตามด้วยช่อง 3 คือ 66.7 % (6,699 นาที/สัปดาห์) ช่อง itv คือ 64.9 % (6,552 นาที/สัปดาห์) และช่อง 5 คือ 63.6 % (6,411 นาที/สัปดาห์)


·        มีสถานีโทรทัศน์ 2 ช่องที่มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองมากกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C2' > C1') คือช่อง 11 คือ 86.8 % (8,123 นาที/สัปดาห์) และช่อง 9 คือ 48.7 % (4,919 นาที/สัปดาห์)


·        สถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1') ในฐานะผู้บริโภคสินค้าที่อยู่ในระบบตลาด เฉลี่ยที่ 57 % (5,561 นาที/สัปดาห์) ขณะที่ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2') ในฐานะเป็นพลเมืองที่อยู่ในระบบสังคม (C2") มีค่าเฉลี่ยที่ 43 % (4,/200 นาที/สัปดาห์) เท่านั้น


หรือกล่าวได้ว่า ใน 100 นาทีของเวลาออกอากาศรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งๆ โอกาสที่จะได้ชมเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคมี 57 นาที ขณะที่เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองมี 43 นาที


แสดงได้ดังแผนภูมิ


 










แผนภูมิที่ 2 เปรียบเทียบดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคและพลเมือง (C1'/C2' Index)


(* หมายเหตุ ตัวเลขใน C1"/C2" คำนวณกับปริมาณการโฆษณาในแต่ละช่อง จากกองงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ - กกช.:7 ตุลาคม 2548)


 


 


4. ดัชนีการรับชมเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคและพลเมือง (C1"/C2" Index)


เมื่อนำดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2' Index) เปรียบเทียบกับส่วนแบ่งผู้ชมในสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง (Share of Audience) จากบริษัทวิจัยสื่อ (AGB Nielsen Media Research 2005-2006) ที่สรุปว่าช่องที่มีส่วนแบ่งผู้ชมมากที่สุดคือ ช่อง 7 (41.3 %) รองลงมาคือช่อง 3 (26.2 %) ช่อง itv (12.0 %) ช่อง 9 (10.3 %) ช่อง 5 (7.3 %) และน้อยที่สุดคือช่อง 11 (2.9 %)


 


·        ช่องที่มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2") มากที่สุดอย่างช่อง 11 (89.6 %) กลับมีส่วนแบ่งผู้ชมน้อยที่สุดคือ 2.9 %


·        ขณะที่ช่องที่มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2") น้อยที่สุดอย่างช่อง 7 (17.4 %) กลับมีส่วนแบ่งผู้ชมมากที่สุดคือ 41.3 %


·        และสถานีโทรทัศน์ทั้งหมด (ยกเว้นช่อง 7) มีส่วนแบ่งผู้ชมน้อยกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2" Share of Audience)


 


แสดงได้ดังแผนภูมิ


 










แผนภูมิที่ 3 เปรียบเทียบดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2' Index) กับส่วนแบ่งผู้ชม (share of audience)


 


และเมื่อนำค่า "ดัชนีเนื้อหา" มาวิเคราะห์ร่วมกับ "ส่วนแบ่งผู้ชม" ในแต่ละช่อง จะได้ค่า "ดัชนีการรับชมรายการรายการที่มีเนื้อหาผู้บริโภคหรือพลเมือง (C1"/C2" Index)


 

























































ตารางที่ 4 แสดงดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาผู้บริโภคพลเมือง (C1'/C2' Index) ในสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง


ดัชนีการรับชมรายการ/สถานีโทรทัศน์


หน่วย


ช่อง 3


5


7


9


11


ไอทีวี


Avg.


ส่วนแบ่งผู้ชมแต่ละช่อง*(AGB Nielsen)


เปอร์เซ็นต์


26.2


7.3


41.3


10.3


2.9


12.0


16.7


ดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์


ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1"-Index)


เปอร์เซ็นต์


17.5


4.7


34.1


5.0


0.4


7.8


69.4


ดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์


ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2"-Index)


เปอร์เซ็นต์


8.7


2.7


7.2


5.3


2.5


4.2


30.6


รวม


เปอร์เซ็นต์


26.2


7.3


41.3


10.3


2.9


12.0


100


 


จากตารางที่ 4 พบว่า ช่องที่มีดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1") มากที่สุดคือช่อง 7 (34.1 %) ตามด้วยช่อง 3 (17.5 %) (สองช่องนี้รวมกันเท่ากับ 51.6 %) ขณะที่ช่องที่มีดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2") มากที่สุดคือช่อง 3 (8.7 %) รองลงมาคือช่อง 7 (7.2 %) เช่นเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้ชมส่วนมาก (51.6%) เลือกรับชมรายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคในช่อง 7 และช่อง 3 มากกว่าช่องอื่น ทั้งๆ ที่สถานีโทรทัศน์สองช่องนี้มีสัดส่วนเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองน้อยที่สุด (เฉลี่ยเพียง 17.4% และ 33.3 % ตามลำดับ) ขณะที่ช่องที่มีสัดส่วนเนื้อหารายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองสูงอย่างช่อง 11 และช่อง 9 (86.8% และ 51.3 % ตามลำดับ) กลับมีผู้ชมรายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองในระดับต่ำมาก (เพียง 2.5 % และ 5.3 % ตามลำดับ) แสดงให้เห็นถึง "ความไม่สมดุล" ของส่วนแบ่งผู้ชมกับเนื้อหารายการโทรทัศน์อย่างชัดเจน


และเมื่อพิจารณาในภาพรวมทุกช่อง มีดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยคือ 69.4 % ขณะที่ดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมืองคือ 30.6 %


หรือกล่าวได้ว่า หากมีคนที่ดูโทรทัศน์ฟรีทีวี 10 คน 7 ใน 10 คนจะเลือกชมรายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค ขณะที่มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่ชมรายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง และ 5 ใน 10 คนเลือกรับชมจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และ 3


 


5. สรุป


จากการศึกษารายการโทรทัศน์ในช่องฟรีทีวี (3, 5, 7, 9, 11 และ itv) ตลอด 24 ชั่วโมงด้วยการใช้ในแนวคิดเรื่อง "การมองผู้ชมเป็นผู้บริโภคหรือพลเมือง" (Consumer VS Citizen) ให้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่าสถานีโทรทัศน์ของไทยยังตกอยู่ในอิทธิพลอำนาจรัฐและอำนาจทุน เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ทั้งหมด 6 ช่องนั้นมีภาครัฐเป็นเจ้าของ โดยมี 3 ช่องสถานีที่ภาครัฐดำเนินการเอง ส่วนอีก 3 สถานีโทรทัศน์ภาครัฐสัมปทานให้ภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งทำให้สถานีโทรทัศน์ 3 ช่องดังกล่าว (ช่อง 3, 7 และ itv) สร้างและผลิตรายการเพื่อผู้ชมแบบผู้บริโภค (consumers) เป็นสำคัญ


เมื่อพิจารณาในระดับเนื้อหารายการก็พบว่า มีเพียงสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และช่อง 11 เท่านั้นที่ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์มองผู้ชมเป็นพลเมืองมากกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค โดยช่อง 11 มีมากถึง 86.8 % ขณะที่ช่อง 9 มี 51.3 % อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ที่เป็นของรัฐทั้งเชิงโครงสร้างและการบริหารงานนั้น กลับมีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองน้อยกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C2") ซึ่งอาจชี้ให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่มีแนวโน้มไปสู่ทิศทางของการตลาดมากขึ้น จนส่งผลให้โครงสร้างของผังรายการสะท้อนการมองผู้ชมเป็นผู้บริโภคมากกว่าเป็นพลเมือง


สำหรับสถานีโทรทัศน์ช่อง itv ที่ก่อกำเนิดจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ "35 ที่มีเป้าหมายเพื่อการผลิตข่าวอย่างมีเสรีภาพ และมีการกำหนดสัดส่วนรายการประเภทสาระ 70 % บันเทิง 30 % (ในช่วงที่ทำการศึกษาเป็นช่วงที่ ITV ได้รับคำวินิจฉัยจากศาลปกครองสูงสุดให้กลับมานำเสนอรายการตามสัดส่วนเดิม คือ 70:30) ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้คาดหวังได้ว่า itv ควรเป็นสถานีโทรทัศน์ที่เน้นรายการที่มีสาระเพื่อผู้ชมแบบพลเมืองมากกว่าผู้บริโภค แต่จากการศึกษากลับพบว่าดัชนีเนื้อหารายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองมีเพียง 33.8 % แต่สัดส่วนรายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคในช่อง itv กลับมีมากถึง 64.9 % ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสถานีโทรทัศน์ itv มีความโน้มเอียงในการผลิตรายการที่สนองตอบผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ซึ่งสวนทางกับหลักการและเหตุกำเนิดของ itv หรือ "independence television" สถานีที่มีความเป็นอิสระของวิชาชีพ มีสาระที่มุ่งสร้างความเป็นพลเมืองในผู้ชม


สำหรับสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และช่อง 3 นั้นมีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองน้อยมาก แต่กลับมีส่วนแบ่งผู้ชมมากที่สุด (มีเนื้อหารายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองประมาณ 33 % แต่กลับมีส่วนแบ่งผู้ชมรวมกันกว่า 67 %) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง "สัดส่วนที่ไม่สมดุล" ของการรับชมรายการโทรทัศน์ของประชาชนกล่าวคือ ช่องสถานีที่มีเนื้อหารายการเพื่อ "ความเป็นพลเมือง" สูง กลับมีสัดส่วนผู้ชมในปริมาณต่ำ ในขณะที่  ช่องสถานีที่มีเนื้อหารายการเพื่อ "ความเป็นพลเมือง" ต่ำ กลับมีสัดส่วนผู้ชมในปริมาณสูง


สัดส่วนที่ไม่สมดุลนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อพิจารณาค่าดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ โดยพบว่าจากผู้ชม 100 คนที่ดูโทรทัศน์ฟรีทีวี มีผู้ชมมากถึง 69.4 % ที่ชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นผู้บริโภค ขณะที่ 30.6 % ชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง และกว่าครึ่งของผู้ชมทั้งหมดเลือกรับชมรายการโทรทัศน์จากสถานีโทรทัศน์ช่องที่เน้นมองผู้ชมเป็นผู้บริโภคในช่อง 7 และช่อง 3


"ความไม่สมดุล" ของสภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค : เป็นพลเมือง และส่วนแบ่งผู้ชมโทรทัศน์นี้ ชี้ให้เห็นว่า ฟรีทีวีโดยรวม โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการหล่อหลอมผู้ชมให้เป็นผู้ซื้อ-ผู้ขายในระบบตลาด ในขณะที่ผู้ชมส่วนใหญ่ก็สนใจในเนื้อหาที่สร้างความพึงพอใจและประโยชน์ส่วนตน มากกว่าเนื้อหาที่จะพัฒนา "ความเป็นพลเมือง" ในระบบสังคมที่ประชาชนทุกคนควรใส่ใจในการพัฒนาตนเอง และสนใจมีส่วนร่วมในเรื่องของส่วนรวม และ ประเด็นสาธารณะ


หากสังคมต้องการหรือคาดหวังให้สื่อ (โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา "ความเป็นพลเมือง" แล้ว ผลของการศึกษาครั้งนี้ โทรทัศน์ไทยยังไม่สามารถแสดงบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นพลเมืองได้


ในช่วงเวลาสำคัญของการเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องการปฏิรูปการเมือง และ การร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะสถานีที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมจำนวนมาก ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตเนื้อหาที่ส่งเสริม การตื่นตัว การมีส่วนร่วม และ ความเป็นพลเมืองของผู้ชม ก็จะเป็นโอกาสสำคัญของสื่อโทรทัศน์ในการร่วมพัฒนาประชาธิปไตยและสร้างความเข้มแข็งของสังคม อันหมายถึงสถานีโทรทัศน์ก็จะมีผู้ชมที่มีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net