Skip to main content
sharethis

กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand หรือ FACT) ได้นำส่งข้อเสนอเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) ต่อคณะกรรมการ 25 คนที่กำลังพิจารณาร่างพ.ร.บ. เพื่อเสนอต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

FACT ไม่คิดว่าประเทศไทยควรออกกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างเร่งด่วน ในเมื่อความผิดหลายประเภทก็อยู่ในขอบเขตของกฎหมายไทยในปัจจุบันอยู่แล้ว

รัฐบาลควรหลีกเลี่ยงการกำกับดูแลที่เข้มงวดเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ออกกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ ดร. สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) เสนอต่อสนช. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 นั้น เป็นกฎหมายที่คลุมเครือและไม่เฉพาะเจาะจง แม้ว่าจะมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขหลายประการจากสำนักงานกฤษฎีกาซึ่งเป็นหน่วยงานสูงสุดของรัฐที่ทำหน้าที่ตีความกฎหมายต่างๆ

รัฐมนตรีไอซีทีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ และให้นำเสนอความเห็นภายในเวลาเพียง 7 วันเท่านั้น!



โชคดีที่กรรมการบางท่านเข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ต้องผ่านการพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แทนที่จะอ่านอย่างลวกๆและประทับตรายางเห็นชอบ

สิ่งที่ไม่ทำให้แปลกใจเลยคือไม่มีใครในคณะกรรมการชุดนี้ที่เป็นนักวิจัย มืออาชีพ หรือวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ทำงานในสาขาอาชีพนี้ รวมทั้งไม่มีสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์และความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่มีแม้แต่ตัวแทนจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้คณะกรรมการยังไม่เคยขอข้อมูลหรือความเห็นจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อประกอบการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังค้างอยู่ที่คณะกรรมการ ณ เดือนมีนาคม 2550

FACT เชื่อว่า ในปี 2550 ไม่มีใครต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างจรวดหรือนักสังคมสงเคราะห์ผู้อ่อนไหว
ก่อนที่จะมองเห็นว่าระดับความรุนแรงของบทลงโทษในกฎหมายดูเหมือนจะไม่มีผลต่ออัตราการเกิดอาชญากรรม โทษประหารชีวิตเปรียบเสมือนการฆาตกรรมโดยรัฐ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เราเห็นบ่อยเกินไปแล้วในประเทศไทย

FACT หวังว่า สนช. จะพิจารณาใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันกับฐานความผิดทื่ระบุในร่าง พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แทนที่จะผ่านกฎหมายฉบับนี้แบบขอไปที เพียงเพื่อจะให้ดูเหมือนว่ากำลังทำงานอย่างแข็งขัน ถ้า สนช. มีมติผ่านกฎหมายฉบับนี้ อำนาจของศาลต่างๆ ต้องไม่ถูกจำกัดอยู่ภายใต้บทลงโทษอันเข้มงวดในกฎหมาย ผู้พิพากษามีประสบการณ์อันยาวนานพอที่จะแยกพิจารณาคดีแต่ละคดีเป็นกรณีๆ ไป

FACT เสนอด้วยว่า รัฐบาลจะต้องมีความรับผิดและความโปร่งใสในการค้นและยึดคอมพิวเตอร์
โดยต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ทุกรายต้องถือเป็นสมบัติส่วนบุคคล และต้องไม่ถูกเก็บโดยรัฐบาลหรือ ISP

โดยปราศจากหมายค้นจากศาล การรับรองว่าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้นคือเหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จ่ายค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือนให้กับISP

FACT ยังขอเสนอให้กระทรวงไอซีทีขยายความ "ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์" ให้ครอบคลุมถึงระบบการรับส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์, ADSL,DSL, เคเบิล, สื่ออิเล็กทริค, WiFi, Wimax, Bluetooth และระบบการรับส่งข้อมูลแบบอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พิจารณา รวมทั้งระบบใดๆ ก็ตามในอนาคตที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับการคุ้มครองจาก "การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน" ตามมาตรา 37  ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งว่าด้วยเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน

หลายมาตราในร่าง พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถตีความได้อย่างง่ายดายในทางที่ทำให้รัฐสามารถใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือในการกดขี่การแสดงความเห็นทางการเมือง
และปิดปากผู้ที่ไม่เห็นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายไทยปัจจุบันระบุประเด็นลามกอนาจารเป็นความผิดทางอาญาไว้เพียงพอแล้ว
มาตรา 15 ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ทำให้การตัดต่อหรือดัดแปลงภาพด้วยโปรแกรมอย่าง Adobe Photoshop เป็นการทำผิดกฎหมาย

FACT ระบุว่า สิ่งหนึ่งที่สะท้อนว่ารัฐบาลนี้ไร้สามัญสำนึกเพียงใด คือการที่ร่างพ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ระบุโทษถึงขั้นประหารชีวิตและจำคุกตลอดชีวิตสำหรับความผิดบางกระทง

มีวิธีแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิธีที่นำไปสู่ภาวะที่ทนาย ผู้พิพากษา อาชญากร และเรือนจำล้วนมีจำนวนเพิ่มขึ้น เราทุกคนต้องเคารพในประสบการณ์อันกว้างขวางของอำนาจตุลาการและมองเห็นว่าบทลงโทษในกฎหมายฉบับนี้ต้องเป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับตามกฎหมายที่ศาลต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เปิดช่องในกรณีที่ลดโทษได้


"

ม่มีกฎหมายเลย ดีกว่าใช้กฎหมายตามอำเภอใจ..." FACT ระบุ



ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net