บทความ : คนไทยควรเขียนรัฐธรรมนูญเช่นไร ในเรื่องอำนาจตุลาการ ?

พิเชษฐ เมาลานนท์

นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์ & พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา

"ทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์" แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีกาตะ (ญี่ปุ่น)

 

 

 

.หลักเรื่อง Access to Justice - กล่าวคือ ตุลาการไทยพึงตีความคำว่า "ผู้เสียหาย" อย่างกว้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางอาศัยอำนาจศาลเป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายได้ ทั้งนี้ โดยผมจะเสนอตัวอย่างของศาลอังกฤษที่ตัดสินคดีในลักษณะ Judicial Activism ในคดีปกครองที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป (อ้าง Waltman, "Judicial Activism in English," Judicial Activism in Comparative Perspective (Kenneth M. Holland, ed), 1991) และตีความคำว่า "เสียหาย" กว้างมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งๆ ที่ตุลาการอังกฤษทราบดีว่า การทำเช่นนั้นจะทำให้มีคดีเข้มาสู่ศาลมากขึ้น และจะทำให้งานของตนเองล้นมือ (Waltman,1991:41)

 

.หลักการเรื่อง Judicial Transparency - ซึ่งหมายความว่าศาลไทยต้องพิมพ์เผยแพร่คำพิพากษาของศาลทุกระดับทางเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างเต็มที่และรวดเร็ว โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่า ประชาชนจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคำตัดสินของศาล

 

.หลักการเรื่อง Judicial Accountability - ซึ่งหมายความว่าตุลาการไทยต้องใจกว้างมากขึ้น ในการให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินของศาลในเชิงวิชาการ โดยไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือหมิ่นศาล

 

.หลักการเรื่อง Judicial Communication with the Mass - ซึ่งได้แก่ (๑) ศาลไทยควรทบทวนแนวปฏิบัติที่คลุมเครือเรื่อง  "ชี้นำศาล" เสียใหม่ และยอมให้มีระบบ Amicus Curiae (ภาษาอังกฤษแปลว่า Friend of Court และผมแปลว่า "มิตรของศาล") ซึ่งเป็นการให้ประชาชนให้ข้อมูลแก่ศาล ก่อนการตัดสินคดี ได้ว่าการตัดสินคดีใดคดีหนึ่ง ควรคำนึงถึงข้อมูลใดบ้าง เพราะศาลอาจคิดไม่ถึง (๒) ศาลควรเดินเผชิญสืบ เพื่อไปดูสถานที่เกิดด้วยตนเอง ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า "On-site Inspection" ซึ่งจะทำให้การตัดสินคดีเป็นไปในลักษณะที่ตุลาการมีความเข้าใจเรื่องนั้นถ่องแท้ยิ่งขึ้น และเข้าใจความทุกข์ยากของชาวบ้าน โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, ข้อขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ

 

.หลักการเรื่อง Affirmative Action - ซึ่งได้แก่การให้ความคุ้มครองแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเรียกว่าเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ด้อยโอกาสบางกลุ่มมากกว่าคนที่มีโอกาสดีกว่า ทั้งนี้ เพื่อการทำให้ "โอกาสของคนเราที่ไม่เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน" ได้เท่าเทียมกันมากขึ้น - - ดังที่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มักอ้างคำกล่าวที่ว่า : "คนเกิดมามีน้อย กฎหมายต้องช่วยให้มีมาก" ("He who has less in life should have more in law") โดยอดีตประธานาธิบดี รามอน แมกไซไซ แห่งฟิลิปปินส์ (President Ramon Magsaysay, 1907-1957)

 

.หลักเรื่อง "ศาลจะไม่ตัดสินคดีโดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายไม่ได้" - ซึ่งมีความหมาย 2 นัยยะ คือ (๑) ศาลต้องตีความตามความเป็นธรรมยิ่งกว่าตามตัวอักษร ซึ่งนำไปสู่แนวปฏิบัติเรื่อง Judicial Activism (๒) ศาลต้องตีความวางนโยบายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม คือ Judicial Policy Making ในกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติชักช้าในการออกกฎหมาย และฝ่ายบริหารไม่กล้าตัดสินใจในการรักษาความเป็นธรรมทางสังคมให้กับชาวบ้าน

 


๗.  หลักเรื่อง "ความเป็นธรรมอยู่เหนือกฎหมาย" มีความหมาย ๒ นัยยะ คือ (๑) ศาลต้องตีความตามความเป็นธรรมยิ่งกว่าตามตัวอักษร ซึ่งนำไปสู่แนวปฏิบัติเรื่อง Judicial Activism (๒) ศาลต้องตีความวางนโยบายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม คือ Judicial Policy Making ในกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติชักช้าในการออกกฎหมาย และฝ่ายบริหารไม่กล้าตัดสินใจในการรักษาความเป็นธรรมทางสังคมให้กับชาวบ้าน 


 

 

หมายเหตุ    งานชิ้นนี้นำเสนอในการประชุมเวทีนโยบายสาธารณะเรื่อง "ระดมสมองเพื่อการพัฒนากฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย" วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท