ในวันที่ 9 มี.ค.50 องค์กรอนุรักษ์ 6 องค์กร ประกอบไปด้วย นางรตยา จันทรเทียร ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร นายสุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ จะเข้ายื่นหนังสือเพื่อยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ 2 ฉบับที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.อุทยาทแห่งชาติ พ.ศ.... และ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งชาติ เนื่องจาก ร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ส่อเค้าว่าจะเป็นการนำพื้นที่ป่าของประเทศมาแปลงเป็นทุนในรูปแบบของการท่องเที่ยว อีกทั้งยังจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการฟอกสัตว์ป่าอย่างถูกกฎหมายด้วย
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่องค์กรอนุรักษ์ดังกล่าวได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยขอให้กระทรวงทรัพยากรฯ ระงับการเสนอร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ไว้ก่อน อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังยืนยันที่จะนำเสนอร่าง พระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 นี้ โดยไม่มีการปรับแก้ตามคำท้วงติงของบรรดาองค์กรอนุรักษ์แต่อย่างใด
เหตุผลข้อเรียกร้องที่ปรากฏในจดหมายขององค์กรอนุรักษณ์นั้น ระบุถึงข้อสรุปที่ไม่อาจยอมรับได้ในเจตนาร่างกฎหมายเพื่อเปิดป่า ค้าสัตว์ มีดังนี้
1. การร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทุนนิยมที่ผ่านมา มีเจตนานำพื้นที่ผืนป่า และทรัพยากรสัตว์ป่าซึ่งรัฐบาลในอดีตก่อนนั้นล้วนพยายามเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการรักษาสมดุลธรรมชาติเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ มาแปลงเป็นทุนให้เอกชนพวกพ้องเข้าทำประโยชน์ในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ดังเห็นได้จากการมีมาตรการแบ่งเขตให้มีเขตบริการในอุทยานแห่งชาติ และเขตศึกษาธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อให้เอกชนเช่าทำที่พักแรมเพื่อการท่องเที่ยว
2. (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นกฎหมายเพื่อเปิดช่องทาง ในการค้าสัตว์ป่าผ่านธุรกิจสวนสัตว์สาธารณะโดยตัดกลไกที่รัดกุมในการป้องกันและควบคุมการจับสัตว์ป่าจากแหล่งธรรมชาติและการนำเข้าสัตว์ป่าที่ทารุณ ผิดกฎหมาย จากต่างประเทศมาฟอกให้ถูกกฎหมายไทยฉบับใหม่นี้ ผ่านสวนสัตว์เพื่อค้าขายต่อไปยังต่างประเทศได้โดยง่าย
(ร่าง) พระราชบัญญัติทั้งสองมีกลไกการตัดสินใจต่างๆ จากรัฐมนตรีโดยตรงผ่านสายบังคับบัญชาและการเอื้อประโยชน์โดยอธิบดีเพียงผู้เดียว ผ่านการนำเสนอจากหัวหน้าพื้นที่อนุรักษ์ แม้ว่าจะได้สร้างกลไกเพื่อแสดงความชอบธรรมและการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็จะเป็นไปตามความต้องการของศูนย์อำนาจ
4 . (ร่าง) กฎหมายใหม่ไม่มีความจริงใจและยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่โดนประกาศเขตอนุรักษ์ทับพื้นที่ มีรายละเอียดในการนำไปสู่การขับชุมชนออกจากผืนป่าโดยมาตรการพิสูจน์สิทธิแบบเก่าๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และนำไปสู่การกระทบต่อประเด็นเชิงสิทธิมนุษยชนมากมาย นอกจากนี้ยังเพิ่มกลไกการใช้อำนาจเงินเวนคืนพื้นที่ โดยชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกชุมชนในผืนป่า
องค์กรอนุรักษ์ดังรายชื่อต่อไปนี้ จึงขอคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ โดยเสนอแนะให้คงใช้กฎหมายฉบับเดิมโดยมีการแก้ไขเฉพาะประเด็นที่มีปัญหาในการปฏิบัติโดยเฉพาะเป็นกรณีไป
แสดงความคิดเห็น