Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 12 เม.ย. 50 เมื่อวันที่ 10 เม.ย. เครือข่ายครอบครัวอาสา และเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังสื่อ ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนให้นำสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (TITV) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อให้เป็นสถานีที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของประชาชนในสังคมไทยอย่างแท้จริง


 


หลังจากการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นต่ออนาคตของสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่กรมประชาสัมพันธ์ ทางเครือข่ายครอบครัวอาสา และครอบครัวเฝ้าระวังสื่อ ได้จัดทำหนังสือเปิดผนึกเพื่อสนับสนุนการแปรสภาพของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อนำเสนอรายการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยปราศจากการแทรกแซงจากจากนายทุน


 


กลุ่มเครือข่ายดังกล่าว เห็นว่าสื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ  เด็กเยาวชนใช้เวลาในการชมโทรทัศน์มากกว่าการรับสื่อประเภทอื่น  โทรทัศน์จึงสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมได้อย่างดี   แต่กลับพบว่า สถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งภาคราชการและภาคธุรกิจเป็นเจ้าของไม่สามารถทำหน้าที่สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ครอบครัว รวมทั้งคนส่วนใหญ่ในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น ส่วนสถานีโทรทัศน์ที่ดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่มักนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เต็มไปด้วยความรุนแรง  เรื่องยั่วยุทางเพศ  ค่านิยมฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย กระตุ้นให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆมากมาย


 


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์การก่อเกิดของสถานีโทรทัศน์ ITV จะเห็นว่าประชาชนมีเจตนารมณ์ต้องการมีสื่อโทรทัศน์ที่มีความเป็นอิสระ นำเสนอเนื้อหาที่เป็นกลาง มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม  แต่การดำเนินงานภายใต้โครงสร้างและรูปแบบที่ผ่านมาดังกล่าวข้างต้น ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการที่สถานีโทรทัศน์ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและระบบทุน ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้  กระแสสังคมในปัจจุบันจึงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสื่อทั้งระบบ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการมีส่วนร่วมของสังคมที่จะผลักดันให้สื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมอย่างแท้จริง


 


จึงเสนอให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะที่จะสามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้และการพัฒนาของคนกลุ่มต่างๆในสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเด็กเยาวชนและ ครอบครัว  ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรรากฐานที่สำคัญที่รัฐควรลงทุนทุ่มเท ส่งเสริมให้ได้รับชมรายการที่มีคุณภาพ และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่างๆ  ซึ่งเท่าเป็นการลงทุนในการพัฒนาชาติ รวมทั้งประชาชนกลุ่มต่างๆควรได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ที่ได้ร่วมกันผลักดันในอดีตให้เกิดขึ้นจริง


 


000


 


จดหมายเปิดผนึก


 


เรื่อง  ขอสนับสนุนให้  TITV เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ                                        


เรียน   ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์)


 


ตามที่ขณะนี้รัฐบาลได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนต่ออนาคตของสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟนั้น   เครือข่ายครอบครัว  เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก และเครือข่ายทางสังคม (ดังรายขื่อแนบท้าย) ขอสนับสนุนให้นำ  TITV เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ   ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้


 


1. สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ  เด็กเยาวชนใช้เวลาในการชมโทรทัศน์มากกว่าการรับสื่อประเภทอื่น  โทรทัศน์จึงสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมได้อย่างดี   แต่กลับพบว่า สถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งภาคราชการและภาคธุรกิจเป็นเจ้าของ ไม่สามารถทำหน้าที่สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ครอบครัว รวมทั้งคนส่วนใหญ่ในสังคมได้ที่ควรจะเป็น    สถานีโทรทัศน์ที่ดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่นำเสนอเนื้อหาไม่เหมาะสมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง  เรื่องยั่วยุทางเพศ  ค่านิยมฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย   ฯลฯ  กระตุ้นให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆมากมายดังที่ทราบกันดี   


 


2. เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์การก่อเกิดของสถานีโทรทัศน์ ITV จะเห็นว่าประชาชนมีเจตนารมณ์ต้องการมีสื่อโทรทัศน์ที่มีความเป็นอิสระ ซึ่งนำเสนอเนื้อหาที่เป็นกลาง มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม  แต่การดำเนินงานภายใต้โครงสร้างและรูปแบบที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการที่สถานีโทรทัศน์ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและระบบทุน ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้  กระแสสังคมในปัจจุบันจึงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสื่อทั้งระบบ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการมีส่วนร่วมของสังคมที่จะผลักดันให้สื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมอย่างแท้จริง


 


3. ในระยะเวลาที่จำกัดที่รัฐบาลต้องตัดสินใจต่ออนาคตของสถานีโทรทัศน์ TITV  


เครือข่ายฯ ขอเรียกร้อง ให้สังคมไทยมีสถานีโทรทัศน์สาธารณะที่จะสามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้และการพัฒนาของคนกลุ่มต่างๆในสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเด็กเยาวชนและ ครอบครัว  ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรรากฐานที่สำคัญที่รัฐควรลงทุนทุ่มเท ส่งเสริมให้ได้รับชมรายการที่มีคุณภาพ และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่างๆ  ซึ่งเท่าเป็นการลงทุนในการพัฒนาชาติ รวมทั้งประชาชนกลุ่มต่างๆควรได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ที่ได้ร่วมกันผลักดันในอดีตให้เกิดขึ้นจริง


 


 ยิ่งไปกว่านั้นการมีสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปสื่อ และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคต่างๆในสังคม   จึงถึงเวลาแล้วที่จะกำเนิดขึ้นในสังคมไทย      


 


เครือข่ายเด็กเยาวชน  เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเครือข่ายทางสังคมขอฝากความหวังไว้กับท่านรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่ได้ประกาศวาระแห่งชาติด้านเด็กเยาวชน ครอบครัวให้เป็นวาระหลักเมื่อวันเด็กที่ผ่านมา  จึงขอสนับสนุนให้รัฐบาล นำ TITV เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกในประเทศไทย  เพื่ออนาคตของสังคมไทยจะได้เปลี่ยนไปสู่สังคมแห่งการมีส่วนร่วมและสังคมแห่งการเรียนรู้


 


                                                                                    วันที่     10   เมษายน   2550


 


เครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก                                                          เครือข่ายครอบครัว           


ขบวนการตาสับปะรด                                                         กลุ่มนวัตกรรมเยาวชนเพื่อสังคม (YIY)


กลุ่มกิจกรรมเยาวชนเพื่อชุมชนและสังคม (YACT)                    เครือข่ายยุวเกษตรกร


เครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา                                        เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ประเทศไทย


เครือข่ายเด็กสลัม/ชุมชน                                                    เครือข่ายเยาวชนโคตรอินดี้


เครือข่ายเยาวชนบีบอย                                                      กลุ่มเยาวชนพัฒนาประชาธิปไตย


ชมรมเยาวชนคนตาบอดไทย                                               เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้า


เครือข่ายโครงการ 18 ปีมีดีเพื่อชาติ                                      สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย


เครือข่ายจิตอาสา(Volunteer spirit Network)                        กลุ่มเยาวชนรักดี


กลุ่มแบล็คบอกซ์ (Black Box)                                             เครือข่ายนักการ์ตูน


กลุ่มสื่อใสวัยทีน จ.อุบลราชธานี                                           เครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตสื่อ


เครือข่ายครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว                                               เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังสื่อ


เครือข่ายเยาวชน SOS จากเสถียรธรรมสถาน


เครือข่ายโครงการปิดทีวี เปิดชีวิต (Turn off TV, Turn on life)


เครือข่ายเด็กและเยาวชนยุติความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้


เครือข่ายเครือข่ายการศึกษาและวัฒนธรรมสำหรับชาวไทยภูเขา


สมาพันธ์ ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย


เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน


องค์การพระผู้นำการพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง                 สมาคมสร้างสรรค์คนดี


ศูนย์ทับทิมนิมิตเพื่อการพัฒนา อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์                  สถาบันแสนผญ๋า จ.ลำปาง 


เครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชน                                     สมาคมวิทยุโทรทัศน์กล้าตะวัน


สมาคมสร้างสันติสุข                                                          สมาคมพุทธรักษา


สมาคมรวมใจไทยปทุมธานี                                                 สมาคมร่มเย็นเป็นสุข


สมาคมพัฒนาเครือข่ายคนดี                                                หมู่บ้านตะวันทอง


หมู่บ้านราชพฤกษ์                                                             หมู่บ้านธนวรรณ 7


หมู่บ้านวราลักษณ์                                                             หมู่บ้านพฤกษา


หมู่บ้านไวน์เฮาส์                                                               ชมรมบ้านแก้ว


หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี                                                 ชมรมชีวิตสีขาว


หมู่บ้านอนันต์สุขสันต์                                                         หมู่บ้านรามอินทรา กม.13


หมู่บ้านเลิศสิน                                                                  หมู่บ้านสุขสมบูรณ์


หมู่บ้านเทพนคร                                                                หมู่บ้านนัฐกานต์ 5


หมู่บ้านสินทรัพย์นคร                                                         หมู่บ้าน ป.สุขวิมล


ชุมชนปรกอรุณ เขตบางกอกน้อย                                         ชุมชนไทยเกรียง สมุทรปราการ


เครือข่ายเยาวชนภาคกลาง วิทยาลัยการจัดการทางสังคม           กลุ่มละครหุ่นสายเสมา


เครือข่ายวัยมันส์รู้ทันแอลกอฮอล์                                         เครือข่ายพลังใสวัยสร้างสรรค์กลุ่มโนนะคลับ (กลุ่มเยาวชนไม่นะเหล้าบุหรี่)                                    กลุ่มละครไม้ขีดไฟ


เครือข่ายสายพันธุ์ใหม่ไร้แอลกอฮอล์                                    กลุ่มละครกิ่งก้านใบ


เครือข่ายละครรณรงค์ลดปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์                   กลุ่มละครถักทอฝัน


มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่                                            วัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก


เครือข่ายนักเรียนมัธยมต้านสุรา (กรุงเทพฯ)                            เสถียรธรรมสถาน


เครือข่ายพลังจิ๋ว พลังแจ๋ว (กรุงเทพฯ)                                   เครือข่ายอิสลาม


เครือข่ายวัดพระธรรมกาย                                                   เครือข่ายชุมชนสันติอโศก


มูลนิธิปากเกร็ด (คนพิการ)                                                  เครือข่ายเหยื่อ


สำนักงานเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา (กรุงเทพฯ)                    สมาคมหมออนามัย


มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน                                                         มูลนิธิวิถีสุข


เครือข่ายแท็กซี่สามล้อเครื่องไทยปลอดภัยใสสะอาด                มูลนิธิเพื่อนหญิง  


เครือข่ายสำนักงานลดอุบัติเหตุ        


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดเชียงใหม่


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดขอนแก่น


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดสมุทรปราการ


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดนครปฐม


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดน่าน


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดพะเยา


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดลำปาง


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดเพชรบูรณ์


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดอุดรธานี


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดมหาสารคาม


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดมุกดาหาร


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดชัยภูมิ


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดสุรินทร์


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดอุบลราชธานี


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดกาฬสินธุ์


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดเชียงราย


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดสกลนคร


เครือเครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดราชบุรี


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดปราจีนบุรี


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดนครศรีธรรมราช


เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดนครราชสีมา


เครือข่ายเยาวชน X- GULE


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net