Skip to main content
sharethis

ชาวประมงพื้นบ้านและชาวบ้านป่าคลอกเดินหน้า ค้านโครงการก่อสร้างมารีนาที่แหลมยามู ล่าสุดยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนหลังสร้างโครงการ


        


ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ต รายงานถึงความคืบหน้า การคัดค้านโครงการก่อสร้างท่าจอดเรือยอชต์หรือมารีนาของบริษัท เดอะยามู จำกัด ซึ่งอยู่ที่บ้านยามู หมู่ที่ 7 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ว่า เมื่อเร็วๆนี้ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ตได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ


         


ทั้งนี้ เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงการอนุญาตสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ สะพานท่าเทียบเรือมารีนาของบริษัทเอกชนในพื้นที่แหลมยามู เพราะมองว่าโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ละเมิดสิทธิชุมชนและวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่ง และปรึกษาหารือประกาศเขตคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอ่าวป่าคลอก เนื่องจากชาวประมงพื้นบ้านมองว่า การอนุญาตให้ก่อสร้างโครงการดังกล่าวของคณะกรรมการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจังหวัดภูเก็ตเป็นการละเมิดสิทธิส่วนรวมของชาวประมงพื้นบ้าน ชุมชนชายฝั่งและประชาชนทั่วไปในการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและพักผ่อนหย่อนใจ ให้เป็นสิทธิส่วนบุคคลต่างชาติ


         


รวมทั้งการอนุญาตดังกล่าว เป็นการผิดประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตปี 2546 และจะเป็นการทำลายแหล่งหญ้าทะเลและปะการังที่หากินและที่อยู่อาศัยของพะยูน เต่าทะเล โลมา พันธุ์สัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535


         


นอกจากนี้ กระบวนการอนุญาตไม่มีกระบวนการที่โปร่งใส ในการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ และผลประโยชน์ของโครงการที่ได้รับเป็นของต่างชาติมากกว่าชุมชนท้องถิ่นที่จะได้รับและก่อให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน


         


พลเรือโทนคร อรัญยนาค คณะกรรมาธิการกล่าวภายหลังรับหนังสือดังกล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาถึงข้อเท็จจริงตามที่ชาวบ้านและกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ตเรียกร้อง


         


สำหรับโครงการมารีนาของบริษัท เดอะยามู เป็นการลงทุนโดยนักลงทุนชาวต่างชาตินายเอียน ไมเคิล ซาร์ลส์ แฮนรี เป็นท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส พร้อมโรงแรม 66 หลัง และรีสอร์ตที่เป็นวิลลาอีก 32 หลัง เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน


 


 






 


ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่  7  บ้านยามู   ต.ป่าคลอก      


 อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต


 


5   มิถุนายน   2550


 


เรื่อง   ขอให้ไม่อนุญาตและยกเลิกสิ่งล่วงล้ำลำน้ำของโครงการท่าเทียบเรือมารีน่า  แหลมยามู  ของบริษัทชาวต่างชาติ  เดอะยามู  จำกัด  โดยนายเอียน  ไมเคิล  ซาร์ลส์  แฮนรี 


 


เรียน  อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำพานิชนาวี  ผ่านผู้อำนวยการกองส่งเสริมขนส่งทางน้ำและพานิชนาวี


 


            ตามวันที่  20  เมษายน  2550  เวลา  14.00  น.  ได้ประชุมคณะกรรมการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ  จังหวัดภูเก็ต  ครั้งที่  4/2550    ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ  จังหวัดภูเก็ต  โดยมีนายวรพจณ์  รัฐศรีมา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  เป็นประธาน  ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่าขนาดไม่เกิน  30  ตันกรอส  และการขุดลอกร่องน้ำ  สะพานทางเดิน  สะพานปรับระดับและทุ่นลอย  ของบริษัท  เดอะยามู  จำกัด  ที่บริเวณบ้านแหลมยามู   ต.ป่าคลอก  อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต  ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่าพร้อมกับโรงแรม  66  หลังและรีสอร์ท  ( วิลล่า  )  32  หลัง   บนเนื้อที่  100  ไร่  ที่ประชุมคณะกรรมการฯมีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว  ทั้งๆที่มีบางหน่วยงานราชการไม่เห็นด้วย  และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  สำนักงานขนส่งทางน้ำที่  5  สาขาภูเก็ต  ประมงจังหวัดภูเก็ต  และองค์การบริหารส่วนตำบลป่าคลอก  ไปชี้แจงและทำความเข้าใจกับชาวบ้านและชุมชนรอบอ่าวป่าคลอก 


            และในวันนี้  5  มิถุนายน  50 ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาชี้แจงตามมติของคณะกรรมการฯ   มีเพียงวันที่ 3 พ.ค. 50  คุณวิกาญดา  ทองเนื้อแข็งจากบริษัท  อันดามัน เอนไวรอน เมนทอล คอนซัลแตนท์จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ และพวกอีก 3 คน  เข้ามาพูดคุยถึงผลดีของโครงการ  และมาตรการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า บ้านยามู  กับกลุ่มอนุรักษ์บ้านป่าคลอก หมู่ 2   โดยสรุปกลุ่มอนุรักษ์บ้านป่าคลอก ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านยามู


            และเมื่อวันที่ 4 พ.ค.  50   ผู้ใหญ่บ้านบ้านยามูจัดประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ โครงการ ฯ   ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม  66  คน  ยังไม่เคยได้รับแบบสอบถามใดๆจากโครงการฯ  มีเพียงผู้ใหญ่บ้านคนเดียวที่ได้รับและตอบแบบสอบถาม  แต่ไม่เห็นด้วยกับโครงการฯและเสนอให้ทางบริษัทฯและหน่วยงานที่รับผิดชอบชี้แจงข้อมูลกับชุมชน  แต่ที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานเข้ามาชี้แจงแต่อย่างใด   ระหว่างการประชุมทางคุณวิกาญดา  ทองเนื้อแข็ง  บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ และพวกอีก 2 คน  ได้เข้ามาขอชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ   ซึ่งข้อมูลในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในพื้นที่โครงการฯไม่ตรงกับความเป็นจริง  อีกทั้งได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าทางบริษัทเจ้าของโครงการได้ทำการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่  อันได้แก่  การนำทรายมาถมบริเวณชายหาด  และแหล่งปะการังน้ำตื้นทำให้เกิดตะกอนแพร่กระจาย  ปะการังน้ำตื้นบริเวณข้างเคียงได้รับผลกระทบ  ส่วนแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวทางบริษัทได้ให้คนงานไปทำลายขุดรากถอนโคนหญ้าทะเลในบริเวณพื้นที่เพื่อให้สภาพเสื่อมโทรม  ซึ่งการกระทำดังกล่าวทางผู้ใหญ่บ้านได้ลงบันทึกประจำวันไว้แล้วในเบื้องต้น  ส่อให้เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวของบริษัทต่างชาติไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและยังใช้อำนาจและอิทธิพลทางด้านการเงินและอื่นๆเปลี่ยนแปลงเส้นทางสาธารณะประโยชน์  ดังนั้นชาวบ้านยามูจึงไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการฯ ตามเหตุผลดังนี้ 



  1. บริษัทชาวต่างชาติ  เดอะยามู  จำกัด  โดยนายเอียน  ไมเคิล  ซาร์ลส์  แฮนรี  เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติมีหน้าที่ในการบริการและขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับลูกค้าอื่นๆทั้งชาวไทยและต่างชาติ  ดังนั้นเมื่อได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์และพัฒนาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำก็จะตกเป็นของเอกชนและนักลงทุนต่างชาติโดยปริยาย  ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ์ต่อชุมชนและสาธารณะประโยชน์ส่วนรวม  หากมีการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาในลักษณะดังกล่าวชาวยามูคิดว่าจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมไปทุกโครงการหรือเปล่า  หากเป็นเช่นนี้ชุมชน  ท้องถิ่น  และประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบและละเมิดสิทธิอย่างชัดเจน  เสมือนกับสมคบให้ทุนต่างชาติเข้ามาสร้างอนานิคมย่อยๆของประเทศไทย  ขัดหลักการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. โครงการฯขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมและละเมิดสิทธิของชุมชน ตามรธน. ปี 40 มาตรา 46  และฉบับร่างปี 50  มาตรา 66   เช่นโครงการฯและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่เคยชี้แจงและทำความเข้าใจกับชุมชน  จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นบิดเบือนข้อมูลจากความเป็นจริง  โดยจัดทำการสอบถามความคิดเห็นกับคนงานของบริษัทซึ่งเป็นชาวบ้านที่ทำงานและมีส่วนได้เสียกับโครงการ  จึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องรายละเอียดของโครงการอย่างแท้จริง
  3. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของบริษัทที่ใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเงินและอื่นๆก่อให้เกิดความขัดแย้งและแตกแยกภายในชุมชน  
  4. การพัฒนาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำตามโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า  บ้านยามู  ของบริษัทเอกชนชาวต่างชาติ  ทำลายแหล่งทรัพยากร ได้แก่ แนวปะการัง และแหล่งหญ้าทะเล  ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทำการประมงของชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง

 


            ดังนั้นทางชาวบ้านยามู   จึงขอคัดค้านการให้อนุญาต การก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า  บ้านยามู  เนื่องจากที่ผ่านมาการกระทำของบริษัทส่อพฤติกรรมที่ขัดหลักธรรมาภิบาล  ฮุบพื้นที่เพื่อผลประโยชน์ของชาวต่างชาติและก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน  เกิดการแตกแยกระหว่างญาติพี่น้องด้วยกันเอง  เพื่อให้การพัฒนาคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม   และความยั่งยืนของความหลากหลายทางทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง   ตอบสนองตามทางแนวพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงขอขอบคุณมา    โอกาสนี้


 


             จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา


 


ขอแสดงความนับถือ


 


( นายอนุสรณ์  สมบูรณ์ )                                                                ( นายกาก  ตุ้งกู )


ผู้ใหญ่บ้านหมู่  7  บ้านยามู                                                      ประธานประมงพื้นบ้านยามู


 


 


(นายธนาศักดิ์  ฤทธิ์รักษา)


ตัวแทนชาวบ้านยามู


 


 


 


 






 


ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่  7  บ้านยามู   ต.ป่าคลอก      


 อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต


 


5   มิถุนายน   2550


 


เรื่อง   ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและไม่อนุญาตการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำของโครงการท่าเทียบเรือมารีน่า  แหลมยามู  ของบริษัทชาวต่างชาติ  เดอะยามู  จำกัด  โดยนายเอียน  ไมเคิล  ซาร์ลส์  แฮนรี 


 


เรียน  เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ผ่านผู้อำนวยการกองพื้นที่เฉพาะคุ้มครองสิ่งแวดล้อม


 


            ตามวันที่  20  เมษายน  2550  เวลา  14.00  น.  ได้ประชุมคณะกรรมการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ  จังหวัดภูเก็ต  ครั้งที่  4/2550    ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ  จังหวัดภูเก็ต  โดยมีนายวรพจณ์  รัฐศรีมา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  เป็นประธาน  ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่าขนาดไม่เกิน  30  ตันกรอส  และการขุดลอกร่องน้ำ  สะพานทางเดิน  สะพานปรับระดับและทุ่นลอย  ของบริษัท  เดอะยามู  จำกัด  ที่บริเวณบ้านแหลมยามู   ต.ป่าคลอก  อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต  ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่าพร้อมกับโรงแรม  66  หลังและรีสอร์ท  ( วิลล่า  )  32  หลัง   บนเนื้อที่  100  ไร่  ที่ประชุมคณะกรรมการฯมีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว  ทั้งๆที่มีบางหน่วยงานราชการไม่เห็นด้วย  และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  สำนักงานขนส่งทางน้ำที่  5  สาขาภูเก็ต  ประมงจังหวัดภูเก็ต  และองค์การบริหารส่วนตำบลป่าคลอก  ไปชี้แจงและทำความเข้าใจกับชาวบ้านและชุมชนรอบอ่าวป่าคลอก 


            และในวันนี้  5  มิถุนายน  50 ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาชี้แจงตามมติของคณะกรรมการฯ   มีเพียงวันที่ 3 พ.ค. 50  คุณวิกาญดา  ทองเนื้อแข็งจากบริษัท  อันดามัน เอนไวรอน เมนทอล คอนซัลแตนท์จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ และพวกอีก 3 คน  เข้ามาพูดคุยถึงผลดีของโครงการ  และมาตรการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า บ้านยามู  กับกลุ่มอนุรักษ์บ้านป่าคลอก หมู่ 2   โดยสรุปกลุ่มอนุรักษ์บ้านป่าคลอก ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านยามู


            และเมื่อวันที่ 4 พ.ค.  50   ผู้ใหญ่บ้านบ้านยามูจัดประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ โครงการ ฯ   ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม  66  คน  ยังไม่เคยได้รับแบบสอบถามใดๆจากโครงการฯ  มีเพียงผู้ใหญ่บ้านคนเดียวที่ได้รับและตอบแบบสอบถาม  แต่ไม่เห็นด้วยกับโครงการฯและเสนอให้ทางบริษัทฯและหน่วยงานที่รับผิดชอบชี้แจงข้อมูลกับชุมชน  แต่ที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานเข้ามาชี้แจงแต่อย่างใด   ระหว่างการประชุมทางคุณวิกาญดา  ทองเนื้อแข็ง  บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ และพวกอีก 2 คน  ได้เข้ามาขอชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ   ซึ่งข้อมูลในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในพื้นที่โครงการฯไม่ตรงกับความเป็นจริง  อีกทั้งได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าทางบริษัทเจ้าของโครงการได้ทำการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่  อันได้แก่  การนำทรายมาถมบริเวณชายหาด  และแหล่งปะการังน้ำตื้นทำให้เกิดตะกอนแพร่กระจาย  ปะการังน้ำตื้นบริเวณข้างเคียงได้รับผลกระทบ  ส่วนแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวทางบริษัทได้ให้คนงานไปทำลายขุดรากถอนโคนหญ้าทะเลในบริเวณพื้นที่เพื่อให้สภาพเสื่อมโทรม  ซึ่งการกระทำดังกล่าวทางผู้ใหญ่บ้านได้ลงบันทึกประจำวันไว้แล้วในเบื้องต้น  ส่อให้เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวของบริษัทต่างชาติไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและยังใช้อำนาจและอิทธิพลทางด้านการเงินและอื่นๆเปลี่ยนแปลงเส้นทางสาธารณะประโยชน์  ดังนั้นชาวบ้านยามูจึงไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการฯ ตามเหตุผลดังนี้ 


1.    การพัฒนาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำตามโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า  บ้านยามู  ของบริษัทเอกชนชาวต่างชาติ  ทำลายแหล่งทรัพยากร ได้แก่ แนวปะการัง และแหล่งหญ้าทะเล  ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทำการประมงของชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เรื่องเขตคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  จังหวัดภูเก็ต  ปีพ.ศ.2546


2.    โครงการฯขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมและละเมิดสิทธิของชุมชน ตามรธน. ปี 40 มาตรา 46  และฉบับร่างปี 50  มาตรา 66   เช่นโครงการฯและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่เคยชี้แจงและทำความเข้าใจกับชุมชน  จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นบิดเบือนข้อมูลจากความเป็นจริง  โดยจัดทำการสอบถามความคิดเห็นกับคนงานของบริษัทซึ่งเป็นชาวบ้านที่ทำงานและมีส่วนได้เสียกับโครงการ  จึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องรายละเอียดของโครงการอย่างแท้จริง


3.    บริษัท  อันดามัน เอนไวรอน เมนทอล คอนซัลแตนท์จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการ  ขาดจรรยาบรรณและกระบวนการตามหลักวิชาการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม  มุ่งตอบสนองต่อผู้ว่าจ้างมากกว่าจิตสำนึกในการปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศชาติ  จึงขอให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ตรวจสอบพฤติกรรมและการดำเนินงานของบริษัทฯดังกล่าว


4.    บริษัทชาวต่างชาติ  เดอะยามู  จำกัด  โดยนายเอียน  ไมเคิล  ซาร์ลส์  แฮนรี  เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติมีหน้าที่ในการบริการและขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับลูกค้าอื่นๆทั้งชาวไทยและต่างชาติ  ดังนั้นเมื่อได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์และพัฒนาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำก็จะตกเป็นของเอกชนและนักลงทุนต่างชาติโดยปริยาย  ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ์ต่อชุมชนและสาธารณะประโยชน์ส่วนรวม  หากมีการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาในลักษณะดังกล่าวชาวยามูคิดว่าจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมไปทุกโครงการหรือเปล่า  หากเป็นเช่นนี้ชุมชน  ท้องถิ่น  และประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบและละเมิดสิทธิอย่างชัดเจน  เสมือนกับสมคบให้ทุนต่างชาติเข้ามาสร้างอนานิคมย่อยๆของประเทศไทย  ขัดหลักการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


5.    ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของบริษัทที่ใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเงินและอื่นๆก่อให้เกิดความขัดแย้งและแตกแยกภายในชุมชน 


            ดังนั้นทางชาวบ้านยามู   จึงขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและไม่อนุญาตการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า  บ้านยามู  และพฤติกรรมการดำเนินงานของบริษัทที่ปรึกษาอันดามัน เอนไวรอน เมนทอล คอนซัลแตนท์จำกัด  เนื่องจากที่ผ่านมาการกระทำของบริษัทส่อพฤติกรรมที่ขัดหลักธรรมาภิบาล  ฮุบพื้นที่เพื่อผลประโยชน์ของชาวต่างชาติและก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน  เกิดการแตกแยกระหว่างญาติพี่น้องด้วยกันเอง  เพื่อให้การพัฒนาคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม   และความยั่งยืนของความหลากหลายทางทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง   ตอบสนองตามทางแนวพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงขอขอบคุณมา    โอกาสนี้


 


             จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา


 


ขอแสดงความนับถือ


 


( นายอนุสรณ์  สมบูรณ์ )                                                                ( นายกาก  ตุ้งกู )


ผู้ใหญ่บ้านหมู่  7  บ้านยามู                                                      ประธานประมงพื้นบ้านยามู


 


 


(นายธนาศักดิ์  ฤทธิ์รักษา)


ตัวแทนชาวบ้านยามู


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net