ผ่ารัฐธรรมนูญ 50 ก่อนลงประชามติ (ตอนที่ 4) ไปให้พ้นจากระบบการเมืองน้ำเน่า

กองบรรณาธิการ
สำนักข่าวประชาธรรม

ระหว่างที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนญ (สสร.) กำลังแปรญัตติรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 จวนเจียนจะเสร็จสิ้น และเตรียมที่จะให้ประชาชนลงประชามติในเร็ววันนี้ ท่ามกลางกระแสประชาชนที่มีทั้งคัดค้านและตอบรับการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงความเห็นของประชาชนส่วนต่างๆ ต่อรัฐธรรมนูญนับว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับประชาชนที่จะใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจว่าจะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สำนักข่าวประชาธรรม จึงได้ทำการเจาะลึกเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 พร้อมสัมภาษณ์ความเห็นของภาคประชาชนส่วนต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจ ในประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องการเจรจาการค้า สิทธิชุมชน ระบบการเมือง คนชายขอบ ฯลฯ โดยจะนำเสนออย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โปรดติดตาม

ตอนที่ 4 ไปให้พ้นจากระบบการเมืองน้ำเน่า

ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่คณะกรรมาธิการยกร่างนั้นกำหนดวิธีการได้มา และจำนวนสมาชิกสภาทั้ง 2 สภาขึ้นใหม่ ในมาตรา 92 กำหนดวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็น 2 รูปแบบ คือแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 320 คน แล้วให้แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดโดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกได้เขตเลือกตั้งละ 3 คน และแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน ให้แบ่งเป็น 4 เขตเลือกตั้ง โดยแบ่งประเทศเป็น 4 เขตเลือกตั้งให้มีจำนวนประชาชนใกล้เคียงกัน และมีพื้นที่ติดต่อกัน ให้มีสมาชิกจำนวน 20 คนในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยใช้วิธีการคำนวณหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกจาดสัดส่วนคะแนนตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น เปลี่ยนจากเดิมที่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 มาตรา 98 กำหนดให้มีสมาชิกมาจากการแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน

การกำหนดดังกล่าวทำให้เป็นปัญหาถกเถียงแก่ผู้คนในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้ง นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะนักการเมือง อาจจะเป็นเพราะบุคคลเหล่านั้นมีผลกระทบโดยตรงกับการที่จำนวนที่นั่งในสภาลดลง หรืออาจจะเป็นเพราะวิธีการเข้าไปดำรงตำแหน่งนั้นถูกเปลี่ยนไป ให้ยากขึ้น หลายเสียงเห็นด้วย แต่ก็ยังคงมีอีกหลายเสียงที่ออกมาคัดค้านกับการเปลี่ยนแปลง หลายภาคส่วนเสนอวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกทั้ง 2 สภาเข้าไปหลายความเห็นถูกปฏิเสธ หลายแนวคิดได้เข้าไปสู่การถกเถียงในคณะกรรมาธิการ

หลังจากที่มีการนำเสนอในเรื่องนี้ออกมา เสียงคัดค้านที่ออกมาต่างกล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือร่างรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าวมุ่งจัดการกับกลุ่มอำนาจทางการเมืองกลุ่มเก่ามากเกินไป เห็นได้จากการกำหนดให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยลงกว่าเดิมถึง 100 คน ซึ่งหมายถึงจำนวนสมาชิกที่จะต้องลดลงจากสัดส่วนเดิม ในจำนวนมาก แต่สำหรับในส่วนของฝ่ายที่เห็นด้วยกลับมีความเห็นว่าการที่จำนวนสมาชิกลดลงจะทำให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ มีความคล่องตัวมากขึ้น

เปลี่ยนระบบ ส..บัญชีรายชื่อ เพิ่มการเมืองภาคประชาชน

ในส่วนขององค์กรภาคประชาชนโดยคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เสนอเรื่องที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องวิธีการ การได้มา และจำนวนสมาชิกแตกต่างออกไป โดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 200 คน แล้วให้แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดโดยให้มีการเลือกสมาชิกได้เขตเลือกตั้งละ 1 คน ส่วนในการเลือกตั้งสมาชิกแบบสัดส่วนให้มีจำนวน 200 คนเท่ากัน โดยให้ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งสมาชิก มีสมาชิกตามจำนวนสัดส่วนคะแนนจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น และต้องมีสมาชิกที่เป็นชาย และหญิงในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน

นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด กองเลขาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ สกน. กล่าวถึงเหตุผลขององค์กรภาคประชาชนซึ่งเสนอวิธีการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าเกิดจากความคิดที่เห็นว่าการเมืองปัจจุบัน นักเลือกตั้งสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองด้วยเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ คือเป็นระบบที่ใช้เงินเป็นหลัก ระบบที่เสนอจะเป็นการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือให้มีการเปลี่ยนพื้นที่ทางการเมืองใหม่ เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับการเมืองนอกสภาเข้ามาสู่สภาได้มากขึ้น หมายความว่าถ้าหากเราสามารถจัดตั้งตัวแทนกลุ่มภาคประชาชนเข้ามา ตั้งพรรคการเมืองและลงสมัครรับเลือกตั้ง เราอาจจะมีพรรคแรงงาน พรรคชนเผ่า พรรคเกษตรในส่วนนี้จะมีสมาชิกที่เป็นฐานเสียงชัดเจน จะทำให้การเมืองไทยสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าได้

"ที่ผ่านมา ส.. ส่วนมากที่เข้ามาทำหน้าที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง เพียงเข้ามาหาผลประโยชน์ให้กับตนและเข้ามาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของนายทุนพรรคเป็นหลัก และเท่าที่เป็นอยู่มันไม่ได้มีทฤษฎีอะไรเพื่อตอบโจทย์ให้กับการปฏิวัติทหาร การเมืองก็จะเป็นระบบเดิม นักการเมืองก็จะใช้วิธีซื้อเสียงเข้ามา แล้วอ้างความเป็นประชาธิปไตยว่าตนเองผ่านเข้ามาโดยวิธีการเลือกตั้ง และสุดท้ายบ้านเมืองก็เข้าสู่วิกฤตอย่างเดิม ไม่ได้เดินเข้าสู่การพัฒนาแต่อย่างใด"

ด้านนายสุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชน กล่าวว่า ข้อเสนอของภาคประชาชน เป้าหมายก็คือต้องการเพิ่มสัดส่วนจำนวน ส.. ระบบบัญชีรายชื่อให้มากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจไม่ให้การเมืองผูกโยงพรรคการเมือง ข้าราชการหรือ ระบอบอำมาตยาธิปไตยมากเกินไป คือต้องการถ่วงดุล และเพื่อให้มีการกระจายการเข้าไปสู่การเมืองได้มากขึ้น คนทั่วไปมีโอกาสมากขึ้น

"แต่คิดว่าจำนวน 200 คนในแบบบัญชีรายชื่อ อาจจะเป็นจำนวนที่มากเกินไปในการที่จะเริ่มต้นก้าวเดินไปสู่ประชาธิปไตยทางตรงมากขึ้น อาจจะเร็วเกินไปเพราะประเทศไทยเพิ่งจะเปลี่ยนผ่านจากระบบการเมืองที่มีปัญหา คือมีการปฏิวัติ เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้แต่ 200 ที่นั่ง คงจะเป็นจำนวนที่มากเกินไป อาจจะลดจำนวนลงมาเป็นสัดส่วนที่ 150 คน หรืออาจจะเป็น 100 คน"

เพิ่มวิธีการสรรหา ส.. ป้องกันญาตินักการเมือง

ส่วนที่มาของสมาชิกวุฒิสภานั้น ร่างรัฐธรรมนูญของ สสร.ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งและจำนวน สมาชิกใหม่ จากเดิมที่รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 121 กำหนดว่า วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน เปลี่ยนเป็นกำหนดให้มีสมาชิกมาจากการสรรหา จำนวน 160 คนตามมาตรา 106 และให้มีคณะกรรมการสรรหาชุดหนึ่งประกอบด้วย 1.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน 2.ประธานกรรมการการเลือกตั้ง 1 คน 3.ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 1 คน 4.ประธาน ป... 1 คน 5.ประธานกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน 6.ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่มอบหมาย 1 คน 7.ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองมอบหมาย 1 คน ตามมาตรา 107

การปรับเปลี่ยนวิธีการสรรหาดังกล่าว ทำให้มีเสียงคัดค้านอย่างมากว่า เมื่อมีกระบวนการ การแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นมา จะทำให้ตัวองค์กรขาดการยึดโยงจากภาคประชาชน ทั้ง ๆ ที่วุฒิสภาจะต้องเป็นฝ่ายที่ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ต้องนำมาบังคับใช้กับประชาชน และไม่เห็นหัวของประชาชน ไม่เชื่อในวิจารณญาณการตัดสินใจของประชาชน แต่ในส่วนของฝ่ายที่เห็นด้วยมีความคิดเห็นว่า เมื่อมีการแต่งตั้งขึ้นมาทำให้ สมาชิกวุฒิสภานั้นสามารถปลอดจากการเมืองดังที่เคยเจอมาในรัฐบาลชุดที่แล้วได้

ส่วนข้อเสนอของภาคประชาชน มีการผสมผสานระหว่างการเลือกตั้งและการแต่งตั้งเข้าด้วยกัน คือ ให้มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 200 คนโดยมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ 100 คน และมาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาจำนวน 100 คน โดยให้มีสัดส่วนของ ชาย กับ หญิง ที่ใกล้เคียงกัน โดยให้เพิ่มคณะกรรมการสรรหาเข้าไปโดยให้มีผู้แทนองค์กรเอกชน ด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ จำนวน 4 คน และให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด จังหวัดละ 11 คนประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ 4 คน ภาคประชาชน 4 คน และภาคเอกชน 3 คน โดยให้มีสัดส่วนของกรรมการสรรหาที่เป็นหญิงและ ชายที่ใกล้เคียง

นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด กล่าวว่าที่เสนอให้มีการสรรหาส.. จำนวน 100 คนนั้น ต้องยอมรับว่าถ้าหากว่าให้มีการเลือกตั้งอย่างเดียวจะกลายเป็นการยอมรับกับระบบครอบครัวนักการเมือง และหากมีการสรรหาอย่างเดียวก็คงจะมีแต่ข้าราชการเข้ามา ดังนั้นเพื่อให้มีความสมดุลกันระหว่างฝ่ายที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นวุฒิสภา ก็มีการระดมความเห็นว่าควรจะมีการสรรหา 2 แบบ ถ้าหากมีด้านเดียวก็จะกลายเป็นเมียเข้ามาคลุมผัว หรือ ก็จะมีแต่ข้าราชการกลายเป็นระบบการเมืองแบบ อำมาตยาธิปไตย แต่ว่าการสรรหาต้องมีการเชื่อมโยงกับภาคประชาชน ด้วย

"ปัญหาที่ผ่านมา ส.. ที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถทำหน้าที่ถอดถอน ส.. ได้แต่อย่างใดเพราะเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวเดียวกับ ส.. เกือบทั้งหมด นอกจากนี้ก็มีกรณีที่พรรคการเมืองมีการซื้อ ส..อีก รูปแบบการสรรหาที่ภาคประชาชนเสนอก็เพื่อที่จะเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้"

เพิ่มกรรมการสรรหาภาคประชาชน สร้างการยอมรับ

นายสุมิตรชัย กล่าวว่า ในเรื่องที่มีเสียงคัดค้านการสรรหา ส.. คิดว่าเสียงที่ออกมาคัดค้านน่าจะเป็นการคัดค้านในเรื่องของกระบวนการสรรหา องค์ประกอบของการสรรหา เพราะไปผูกกับข้าราชการ ผูกกับคณะตุลาการมากเกินไป และมุมมองของคนที่ออกมาคัดค้านนั้นอาจจะมีกรอบที่แคบหรืออาจจะมีธงในใจอยู่แล้ว คิดว่าคนที่เข้าไปจะกลายเป็นระบบราชการทั้งหมด แต่ว่าในเรื่องการสรรหาน่าจะต้องมีเผื่อเอาไว้ เพราะที่ผ่านมา ส.. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดก็มีความล้มเหลว มีพื้นที่ให้นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงได้

หากมีการสรรหา ส.. เกิดขึ้น สัดส่วนของผู้สรรหาควรจะมีการแบ่งกันระหว่างภาคประชาชน กับ ฝ่ายรัฐ หรือองค์กรอิสระ ไม่เทน้ำหนักไปที่ฝ่ายราชการ หรือ ตุลาการ อย่างน้อยการมีพื้นที่ให้กับองค์กรอิสระที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง องค์กรด้านภาคประชาชนที่มีความชัดเจนอย่างเช่นกรรมการสิทธิ มีตัวแทนเข้าไปมีส่วนในการสรรหา จะทำให้ระบบการสรรหาเป็นระบบที่โปร่งใสมากขึ้น นายสุมิตรชัยกล่าวทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตามการที่จะมี ส.. หรือไม่มีนั้นทางภาคประชาชนไม่ชี้ขาดว่าจะมีหรือไม่มี แต่สำหรับข้อเสนอก็เพื่อเป็นทางเลือกให้กับการเมืองไทยเท่านั้น ในเรื่องของ ส.. ทางภาคประชาชนรับได้ทั้งหมดไม่ว่าจะมีหรือไม่ หรือจะมีที่มาอย่างไร นายสุริยันต์ กล่าวทิ้งท้าย

มีความล้มเหเป็นตัวกรตนใหพรรคกรเมองมกรดเนเร

เพิ่มผู้หญิงสู่ระบบการเมือง ลดความร้อนแรงในสภา

นอกจากนี้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับภาคประชาชนยังมีข้อเสนอให้การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อกำหนดให้มีสัดส่วนของชายหญิงเป็นจำนวนเท่ากัน เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้การเมืองไทยเป็นระบบชายหญิงมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาการเมืองของผู้ชายเป็นการเมืองแบบเคร่งเครียดมากเกินไป และเป็นการกระตุ้นให้พรรคการเมืองพัฒนาการเมืองของผู้หญิงให้ก้าวหน้า เพราะถ้าไม่ได้กำหนดไว้ก็เท่ากับว่าพรรคไหนสามารถทำได้ก็ทำแต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร จะไม่มีการกระตุ้น คือไม่ได้หวังว่าจะเป็นจริงแต่หวังเพียงให้มีพัฒนาการด้านนี้มากขึ้น เรามองทิศทางในอนาคตเพราะว่ารัฐธรรมนูญคงจะมีการเขียนขึ้นใหม่อีกหลายรอบ นายสุริยันต์ กล่าว

ด้านนายสุมิตรชัย กล่าวว่าเหตุที่เพิ่มสัดส่วนของผู้หญิงก็เพื่อต้องการให้เกิดความสมดุลในเรื่องของการตัดสินใจบางเรื่อง เพราะโดยปกติแล้วชาย หญิงมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน และตรงความแตกต่างจะนำไปสู่การถกเถียงและมีการตัดสินใจที่รอบคอบกว่าที่ผ่านมา ความเท่ากันของหญิงและชายก็จะสร้างสมดุลในทางการเมืองได้ในระดับหนึ่งเพราะที่ผ่านมารัฐสภาของไทยผู้ชายครองมาตลอด.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท