iReport : การ์ตูนโป๊และการใช้อำนาจควบคุมสื่อของรัฐ

 

เวลาประมาณ 10:30 ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 ตำรวจสันติบาลภายใต้การนำ ของ พ.ต.อ.พันธ์ศักดิ์ ศาสนอนันต์ ได้เข้าตรวจค้นร้านขายหนังสือการ์ตูน "อาคิบะ" ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามเซน เตอร์พอยท์ สยามสแควร์ ทางตำรวจได้จับกุมและกล่าวหา นายธวัชชัย พฤกษศรีสกุล และ นางวารุณี กำพลกาญจนา ผู้เป็นเจ้าของร้าน ว่ามีสิ่งพิมพ์เข้าข่ายลามกอนาจารในครอบครองเพื่อประสงค์แห่งการค้าหรือทำ ให้แพร่หลาย ซึ่งถ้าลุถึงความผิดจะมีโทษปรับ 6,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ [1]
ไม่ว่าทางร้านจะมีความผิดทางกฎหมายจริงหรือไม่ การบุกตรวจค้นครั้งนี้สร้างความตระหนกต่อผู้บริโภคการ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศ ไทยมิใช่น้อย เพราะมันเป็นการที่รัฐใช้อำนาจควบคุมการบริโภคสื่อของประชาชนอย่างเป็น รูปธรรม และจากที่ พ.ต.อ.พันธ์ศักดิ์ ระบุเองว่าได้รับคำร้องเรียนมาจากผู้ปกครอง [1] แสดงให้เห็นว่ารัฐกำลังตอบสนองความแสลงวัฒนธรรมต่างชาติ ของคนส่วนใหญ่ มากกว่าคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนส่วนน้อยผู้ตอบรับวัฒนธรรมเหล่านั้น
ควรแล้วละหรือที่รัฐจะปิดกั้นไม่ให้คนไทยอ่านการ์ตูนโป๊? ควรแล้ว ละหรือที่สำนักพิมพ์หรือร้านการ์ตูนต่างๆ จะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมายเพราะจำหน่ายสินค้าดังกล่าว? ระบบ "แบนหรือไม่แบน" ของประเทศไทยมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่? ผู้ เขียนเห็นว่า หากเราเชื่อว่าประเทศไทยเป็นประเทศของเสรีชนผู้มีความรับผิดชอบตนเองแล้ว คำตอบของคำถามข้างต้นทุกข้อ คือ "ไม่"
 
การ์ตูน ญี่ปุ่น โป๊จริงหรือ?
เดือนหนึ่งๆ การ์ตูนกว่าหนึ่งแสนหน้า ถูกวาดและตีพิมพ์ในวารสารการ์ตูนในประเทศญี่ปุ่น [2] ในหนึ่งแสนหน้านั้น มีทั้งการ์ตูนสำหรับเด็กซึ่งไม่มีพิษไม่มีภัย การ์ตูนสำหรับวัยรุ่นซึ่งมีเรื่องราวทางเพศผสมผสานอยู่บ้าง และการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งบางเรื่องมีภาพแสดงความโหดร้ายทารุณ ภาพน่าเกลียดน่ากลัว หรือภาพแสดงการร่วมเพศและเรื่องราวทางเพศทำนองอื่นอย่างโจ่งแจ้ง แน่นอนว่าการ์ตูนดีที่มีเนื้อหาจรรโลงใจ และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมนั้นมีอยู่มากมาย แต่การ์ตูนที่มีความรุนแรงหรือเผยเนื้อหนังมังสาถึงขั้นที่คนไทยส่วนใหญ่รับ ไม่ได้ก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกัน
ไม่ใช่ว่าการ์ตูนผู้ใหญ่จะเป็นการ์ตูนที่ต้องจำหน่ายกัน อย่างลับๆ ล่อๆ ในต่างประเทศ กันสึ (Gantz) [3] และ เอลเฟน ลีด (Elfen Lied) [4] เป็นมีการแสดงการเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยมน่าขยะแขยง แต่ทั้งสองเรื่องถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร ยังจัมป์ (Young Jump) [5] ซึ่งมีวางขายในร้านสะดวกซื้อทั่วญี่ปุ่น การ์ตูนทั้งสองยังถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างดีทั้งจากผู้ติดตามทั้งในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ฟุ ตาริ เอ็จจิ (Futari Ecchi) [6] มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศของสามีภรรยาคู่ หนึ่ง โดยทุกตอนจะมีภาพการร่วมเพศที่ไม่ได้ปิดบังอยู่หลายหน้า การ์ตูนเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์อยู่ในนิตยสาร ยังแอนิมัล (Young Animal) [7] เป็นเวลานานกว่าสิบปี ตีพิมพ์รวมเล่มแล้วถึง 34 เล่ม และเมื่อไม่นานมานี้สำนักพิมพ์ในสหรัฐอเมริการายหนึ่งก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์จาก ญี่ปุ่นและจะเริ่มจัดจำหน่ายในต้นปี 2551 ที่จะถึง นี้
การ์ตูนญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยก็เถิด เป็นเรื่องปกติที่จะมีฉากวับๆ แวมๆ ฉากอาบน้ำ สอดแทรกบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของวัยรุ่นชาย อีกทั้งบางเรื่องก็ใช้ความเย้ายวนทางเพศหรือความทะลึ่งตึงตังเป็นจุดขายโดย ตรง อาทิ ไอส์ (สยามอินเตอร์คอมิกส์), หนุ่มง่าวสาวสะบึมส์ (บุรพัฒน์คอ มิกส์), คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ! (วิบูลย์กิจ), บ้านพักอลเวง (วิบูลย์กิจ), และโทราบุรุ (Ant) โดยในประเทศญี่ปุ่นนั้น การ์ตูนเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร โชเน็นจัมป์ [8], โชเน็นแม็กกาซีน [9], และโชเน็นแชมเปี้ยน [10] ซึ่งเป็นนิตยสารการ์ตูน กลุ่มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในญี่ปุ่น และมีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นและนักศึกษามหาวิทยาลัย แต่เมื่อนำมาตีพิมพ์ในเมืองไทย ก็ถูกสำนักพิมพ์เซ็นเซอร์จนไม่เหลือของให้ดู
นอกจากนี้ยังมีการ์ตูนและเกมที่มุ่งตอบสนองรสนิยมทางเพศ ที่เมืองไทยอาจเรียกกันว่าเป็นโรคกามวิปริต ขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในญี่ปุ่น ทั้งการรักร่วมเพศทั้งฝ่ายชายและหญิง (homosexuality) ความใคร่เด็ก (pedophilia) การสมสู่รวม สายเลือด (incest) การข่มขืน ฯลฯ อยู่อีกมากมาย การ์ตูนเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่ามีคุณค่าทางศิลปะอยู่บ้าง แต่ก็มักถูกนับเป็นสื่อลามกอนาจารตามบรรทัดฐานของสังคมเกือบทุกสังคม อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการ์ตูนส่วนใหญ่จะเป็นการ์ตูนประเภทนี้ และไม่ค่อยมีใครกล้านำการ์ตูนเช่นนี้มาจำหน่ายในเมืองไทยนัก
 
ความ แสลงการ์ตูนญี่ปุ่นของคนไทย สื่อ และรัฐ
ความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร โดยเฉพาะการพิมพ์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาถึงคนไทยอย่างรวดเร็ว ความคิดสร้างสรรค์ที่เปิดกว้าง เนื้อหาที่หลากหลายของการ์ตูนญี่ปุ่น ตลอดจนความสนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจ ไม่ว่าจากเนื้อเรื่อง ตัวละคร ความรุนแรง หรือความเย้ายวนทางเพศ เป็นปัจจัยทำให้มีผู้นิยมการ์ตูนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นทุกวันในโลก ดังนั้น เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้มีจะคนไทยนิยมการ์ตูนญี่ปุ่นที่อาจขัดต่อความดี งามตามเกณฑ์ของสังคมไทยในระดับและแง่มุมต่างๆ กัน
ในระยะที่ผ่านมา สังคมและสื่อไทยมีปฏิกิริยาต่อความนิยมการ์ตูนญี่ปุ่น โดยเฉพาะการ์ตูนโป๊ดังกล่าวข้างต้นอย่างรุนแรง บ้างก็ว่าความลามกอนาจารในการ์ตูนจะทำส่งผลกระทบต่อความคิดเด็ก และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาเด็กข่มขืนเด็ก [11] บ้างก็ว่าความเป็นโอตาคุ (ผู้ชื่นชอบการ์ตูนเป็นชีวิตจิตใจ) จะเป็นเหตุให้เด็กถอนตัวจากโลกของความเป็นจริง หมกมุ่น ไม่เข้าสังคม ก่อให้เกิดปัญหาชีวิตเมื่อเติบโตขึ้น [12] หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์กล่าวหาว่าร้านอากิบะเป็นแหล่ง มั่วสุมที่จะนำวัยรุ่นไปสู่ความคิดในทางไม่ถูกต้อง [13] แต่ดูเหมือนกรณีที่เป็นข่าวในวงกว้างมากที่สุดคือ กรณีที่รายการหลุมดำ ทางช่อง 9 อสมท. ที่นำเสนอว่า "การ์ตูนพันธุ์ใหม่" เป็นปัญหาสังคมที่ น่าเป็นห่วง [14]
ปฏิกิริยาข้างต้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อระบบ คุณค่าดั้งเดิมของสังคมถูกท้าทายด้วยระบบคุณค่าใหม่ที่สร้างกลุ่มวัฒนธรรม ย่อย (subculture) ที่มีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานเดิม จัดได้ว่าเป็นอาการอย่างหนึ่งของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ความตื่นตระหนกทางจริยธรรม (moral panic) ที่เกิด จากการ์ตูนญี่ปุ่นไม่ต่างอะไรกับความหวาดกลัวของชาวกรีกต่อคำสอนของโสกราตีส ความหวาดกลัวการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและการรักร่วมเพศของชาวอังกฤษสมัยวิ คตอเรียน [15] และกรณีดาราสาวเอมี่ในเมืองไทยที่ผ่านมา หากความตื่นตระหนกนี้อยู่ในกรอบของกระบวนการทางสังคมโดยไม่มีผู้ใดใช้อำนาจ รัฐขู่เข็ญบังคับกลุ่มวัฒนธรรมย่อยแล้ว ผลเสียที่ตกแก่กลุ่มวัฒนธรรมย่อยจะมีอย่างมากก็แค่ถูกเข้าใจผิด หรือได้รับการกีดกันทางสังคมเท่านั้น ซึ่งหมายความว่ากลุ่มวัฒนธรรมย่อยเองย่อมสามารถออกมาต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี และการยอมรับได้ ดังเช่นกรณีที่กลุ่มคนอ่านการ์ตูนออกมาประท้วงรายการหลุมดำว่านำเสนอข้อมูล ที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ สังคมอาจจะเปลี่ยนความคิดเห็นเมื่อกลุ่มวัฒนธรรมย่อยดังกล่าวมีพลังมากขึ้น อันจะเห็นได้จากสังคมญี่ปุ่นเมื่อสามสี่ปีก่อนรังเกียจพวกโอตาคุมาก แต่ในปัจจุบันทัศนคติดังกล่าวเบาบางลงไปไม่น้อย [19]
แต่สิ่งที่น่าวิตกคือรัฐบาลไทยสนองตอบต่อความตื่นตระหนก ทางจริยธรรมที่เกิดจากการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วและไม่มีเหตุผล ในเดือนธันวาคม 2548 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกประกาศเดือนสำนักพิมพ์ ที่นำเข้าการ์ตูนญี่ปุ่นต่างๆ ว่าหนังสือการ์ตูนที่นำออกจำหน่ายทุกเรื่องจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้: [16]
1.       ห้ามมีฉากกอดจูบ
2.       ห้ามมีฉากอาบน้ำ
3.       ห้ามมีฉากที่ส่อไปในเรื่องทางเพศ
4.       ห้ามใช้วาจาหรือสำนวนที่สองแง่สอง ง่ามส่อไปทางยั่วยุกามารมณ์
ซึ่งหากประกาศนี้ถูกบังคับใช้อย่างเอาจริงเอาจังแล้ว สำนักพิมพ์ต่างๆ คงไม่สามารถตีพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นแทบทุกเรื่อง สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อ่านการ์ตูนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การบุกเข้าตรวจค้นร้านอากิบะก็เป็นอีกตัวอย่างของการใช้อำนาจในทางเดียวกัน โดยหากร้านอากิบะเป็นฝ่ายแพ้คดีแล้ว ย่อมหมายความว่ารัฐพร้อมจะใช้อำนาจตัดสินว่าสื่อใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อ ประชาชน และกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของผู้นิยมการ์ตูนญี่ปุ่น โดยเฉพาะผู้นิยมการ์ตูนที่ถูกตัดสินว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร จะถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงสื่อ ราวกับว่าคนส่วนใหญ่มาใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญจำกัดวิถีชีวิตและเสรีภาพของคน ส่วนน้อย ซึ่งความจริงไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นเลย ก็ไม่ปาน
 
ปิด กั้นสื่อทางเพศ สมควรแล้วหรือ?
แต่ไม่เป็นการดีละหรือ ที่รัฐบาลจะปัดเป่าสื่อลามกให้ปลาสนาการไปจากประเทศไทย? ไม่เป็น การดีละหรือ ที่รัฐบาลจะช่วยให้พ่อแม่สามารถเลี้ยงลูกในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากสิ่งยั่วยุ ต่างๆ นานา? ผู้ที่สนับสนุนให้รัฐบาลเข้ามาควบคุม สื่อที่มีเนื้อหาทางเพศนั้น มักมีเหตุผลอยู่สามข้อด้วยกัน ได้แก่
1.       สื่อที่มีเนื้อหาทางเพศเป็นสิ่งที่ ขัดแย้งต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ดังนั้นพลเมืองดีจึงไม่ควรเสพมัน
2.       สื่อที่มีเนื้อหาทางเพศทำให้เกิด อาชญากรรมทางเพศ การกำจัดสื่อลามกจึงทำให้บ้านเมืองมีความปลอดภัย
3.       สื่อที่มีเนื้อหาทางเพศบ่อนทำลาย เยาวชนของชาติ
เหตุผลทั้งสามประการนี้ ไม่มีข้อใดเลยที่มีเหตุผลหนักแน่น สามารถสร้างความชอบธรรมให้รัฐในการปิดกั้นประชาชนให้เข้าถึง สร้าง และเผยแพร่สื่อดังกล่าวได้ เราจักมาวิพากษ์เหตุผลเหล่านี้เป็นข้อๆ ไป
ข้อแรก: ศีลธรรมอันดีงามของประชาชนเป็น เรื่องที่ขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนบุคคล เรื่องที่คนหนึ่งเห็นว่าไม่ดี อีกคนอาจเห็นว่าไม่ได้ชั่วร้าย อีกทั้งความเห็นยังเปลี่ยนไปได้ตามเวลา ชาวพุทธและชาวคริสต์อาจเห็นว่าการที่ชายคนหนึ่งมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนเป็น เรื่องผิดปกติ แต่ชาวอิสลามเห็นว่าสามารถมีภรรยาได้สี่คน และชาวนิกายมอร์มอนกลับเห็นว่าชายจะมีภรรยากี่คน และหญิงจะมีสามีกี่คนก็ย่อมได้ การพนันถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกา แต่ผิดกฎหมายในประเทศไทย การรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดกฏหมายในมาเลเซียและประเทศตะวันออกกลางต่างๆ โดยในประเทศซาอุดิอะราเบีย อิหร่าน และปากีสถานนั้นมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่สหรัฐอเมริกา สเปน และแอฟริกาใต้ คู่เกย์หรือเลสเบียนสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย [17] แม้ชาวไทยจะเห็นว่า เรื่องทางเพศเป็นเรื่องต้องห้าม ชาวญี่ปุ่นซึ่งนับถือศาสนาชินโตกับเห็นว่าการหาความสุขทางเพศเป็นเรื่อง ธรรมดา [18]
คนไทยอาจเห็นว่าภาพฉากอาบน้ำข้างบนเป็นภาพโป๊ ไม่สมควรให้เด็กดู แต่คนญี่ปุ่นและคนอ่านการ์ตูนอาจเห็นว่าถ้ายังไม่เห็นหัวหน้าอกหรืออวัยวะ เพศก็ยังจัดเป็นการ์ตูนผู้ใหญ่ บางคนอาจเห็นว่ามุข "ช้างน้อย" ในเรื่องชินจังจอมแก่นเป็นของแสลง แต่บางคนกลับเห็นว่าน่ารักและตลกดี บางคนอาจเห็นว่าหนังโป๊ที่เนื้อหาเกี่ยวกับการข่มขืนเป็นเรื่องผิดกฎหมายและ ศีลธรรมอย่างร้ายแรง แต่บางคนกลับเห็นว่าไม่ควรจะทำให้มันเป็นของผิดกฎหมายเพราะการถ่ายทำหนังโป๊ เหล่านั้นเป็นเพียงแค่การแสดง ไม่มีการขืนใจเกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด
เหตุใดเล่าที่เราควรยอมให้ความคิดเห็นของคนเพียงกลุ่ม หนึ่งหรือความเชื่อทางศาสนา มากำหนดว่าสื่อใดอนาจารหรือไม่อนาจาร อันตรายหรือไม่อันตราย ผู้ใหญ่ที่มีวิจารณญาณสามารถดูได้หรือไม่ได้? เหตุใด เล่าเราจึงควรยอมให้รัฐเข้ามาขัดขวางรสนิยมและเสรีภาพของเราหากมันไม่ได้ทำ ให้ผู้อื่นเดือดร้อน? ผู้ที่คิดว่าการควบคุมสื่อทาง เพศของรัฐจะทำให้คนไทยมีจริยธรรมศีลธรรมนั้น ย่อมมีความคิดว่าประชาชนโง่เขลา ไม่รู้ว่าอะไรดีสำหรับตัวเอง จำที่เขาจะต้องออกกฎมาควบคุมให้อยู่ในกรอบที่ถูกที่ควร ดังระบอบพ่อปกตรองลูก (paternalism) การกระทำเช่น นี้เป็นการเหยียบหยามความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นอย่างไม่น่าให้อภัย
มิลตัน ฟรีดแมน กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า:
ใครก็ตามที่เชื่อในเสรีภาพ ย่อมต้องเชื่อในเสรีภาพของคนที่จะผิดพลั้ง หากใครสักคน[จะทำผิด พลาด] เรามีสิทธิอะไรจะไปห้ามเขา? เราอาจจะโต้แย้ง หรือพยายามโน้มน้าวให้เขาเชื่อว่าเขาผิด แต่เรามีสิทธิบังคับไม่ให้เขาทำสิ่งที่เขาเลือกหรือ? เป็นไปได้ไหมว่าเราผิดและเขาทำถูกแล้ว? ความ ถ่อมตนเป็นสมบัติของผู้เชื่อในเสรีภาพ ส่วนความอหังการเป็นสมบัติของผู้ชอบทำตัวเป็นพ่อปกครองผู้อื่น [20]
ข้อที่สอง: ความเชื่อที่ว่าสื่อลามกเป็นเหตุให้เกิด อาชญากรรมทางเพศนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด โดยมีหลักฐานการศึกษาทางวิชาการที่สามารถยืนยันได้อยู่หลายเรื่อง ในปี ค.ศ. 1970 หลัง จากวิเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของสื่อทางเพศ คณะกรรมการความอนาจารและสื่อลามกของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แถลงผลการศึกษาผลกระทบของสื่อทางเพศต่อผู้ใหญ่ว่า "ไม่มีหลักฐานเพียงพอจะสนับสนุนได้ว่าการเสพสื่อทางเพศเป็นปัจจัย ให้เกิดพฤติกรรมของอันธพาลหรืออาชญากร" นอกจากนี้ ยังแนะนำว่า "รัฐไม่ควรละเมิดสิทธิของผู้บรรลุ นิติภาวะที่ต้องการอ่าน ซื้อหา หรือดูสื่อที่มีเนื้อหาทางเพศ" [21] ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลแนวโน้มอาชญกรรมทางเพศในสวีเดน เดนมาร์ก เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีสื่อทางเพศจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าการกระทำความผิดทางเพศทั้งของผู้ใหญ่และเยาวชนมีแนวโน้มลดลง ในเวลาเดียวกับที่สื่อทางเพศแพร่หลายมากขึ้น [18] ความแพร่หลายของสื่อทางเทศทางอินเตอร์เน็ตสู่วัยรุ่นและ ผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา น่าจะส่งผลให้อัตราคดีข่มขืนต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นสูงมาก แต่ความจริงกลับลดลงถึงร้อยละ 85 [22] และถ้าหากการเสพสื่อทางเพศเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิด อาชญากรรมทางเพศแล้ว ประเทศญี่ปุ่นคงมีแดนมิคสัญญี ไม่ใช่หนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในโลกดังเช่นปัจจุบัน
ข้อที่สาม: สื่อไทยและรัฐมักอ้างผลกระทบทางลบของสื่อ ทางเพศต่อเยาวชน เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปิดกั้นสื่อทางเพศและลงโทษผู้ผลิตหรือจำหน่าย แม้ผู้เขียนจะยอมรับว่าอันตรายต่อสื่อทางเพศต่อเยาวชนมีอยู่จริง และประณามการสร้างและการเสพสื่อลามกเด็กก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่ามาตรการที่รัฐใช้ในปัจจุบัน ได้ปิดกั้นไม่ให้ผู้ใหญ่ผู้มีวิจารณญาณ เข้าถึงสื่อทางเพศได้ เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใหญ่ที่บริโภคสื่อทางเพศอย่างไม่สมควร
 
นโยบาย ที่เหมาะสม
นโยบายของรัฐเกี่ยวกับสื่อทางเพศที่เหมาะสมนั้นจึงต้อง ตั้งขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายสองประการ ประการแรก คือ การอนุญาตให้ผู้บรรลุนิติภาวะได้เข้าถึงสื่อทางเพศได้อย่างเสรี และประการที่สอง คือ การป้องกันไม่ให้สื่อทางเพศส่งผลร้ายต่อเยาวชน เพื่อบรรลุเป้าหมายประการแรก รัฐต้องอนุญาตให้ผู้บรรลุนิติภาวะสามารถ ผลิตสื่อทางเพศได้อย่างถูกกฎหมาย และให้สามารถจำหน่ายสื่อทางเพศให้กับผู้บรรลุนิติภาวะอื่นได้อย่างเสรี
เพื่อบรรลุเป้าหมายประการที่สอง รัฐจะต้องควบคุมไม่ให้เยาวชนสามารถบริโภคสื่อทางเพศได้โดยง่าย ซึ่งสามารถทำได้โดยการจำแนกสื่อออกเป็นกลุ่มๆ และวางกฎหมายลงโทษการจำหน่ายสื่อกลุ่มที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชน รวมถึงการโฆษณา การเผยแพร่ และการใช้สื่อทางเพศในที่สาธารณะ เช่นเดียวกับที่ทำกับบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อนึ่ง รัฐไม่ควรเซ็นเซอร์สื่อใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากการเซ็นเซอร์สื่อจึงเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อควบคุมประชาชนแบบพ่อ ปกครองลูก ซึ่งขัดต่อระบบคุณค่าของสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้ หากประชาชนส่วนมากไม่ประสงค์ให้เด็กบริโภคสื่อใดดังกล่าว ก็สามารถจัดให้สื่อนั้นอยู่ในกลุ่มสื่อที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กได้
 
สื่อ ทางเพศอยู่ร่วมกับสังคมได้
ผู้เขียนเชื่อว่าสื่อทางเพศไม่ใช่สิ่งเลวร้าย และสังคมที่ปลอดภัยและมีระเบียบวินัยสามารถอยู่ร่วมกับมันได้ อันจะเห็นได้จกประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง เหตุการณ์ที่ผู้เขียนประทับใจมากที่สุด คือ งานคอมิกมาร์เก็ต (Comic Market) [24] ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมอยู่สองครั้ง งานคอมิกมาร์เก็ตเป็นงานขายตรงการ์ตูนที่ตีพิมพ์โดยมือสมัครเล่น จัดขึ้นในกรุงโตเกียวปีละสองครั้ง ครั้งละสามวัน ซึ่งแต่ละวันจะมีผู้เข้าร่วมราว 150,000 คนต่อวัน แน่นอนว่าการ์ตูนที่ขายส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหาทางเพศ ซึ่งโดยมากจะโจ่งแจ้งและตรงไปตรงมาชนิดที่ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ และมีงานที่ตัวผู้เขียนดูแล้วก็ขยะแขยงอยู่จำนวนไม่น้อย นับว่าเป็นการรวมตัวกันของคนเพื่อตอบสนองกามารมณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่า ได้
แต่การชุมนุมกลับเป็นไปอย่างมีระเบียบวินัย ผู้ซื้อการ์ตูนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและเชี่อฟังเจ้าหน้าที่จัด งาน ไม่มีคนเหยียบกันตายแม้คนจำนวนมากจะเข้ามารวมกันในพื้นที่จำกัด ผู้ซื้อและผู้ขายมีปฏิสันถารกันอย่างเป็นมิตร สามารถแลกเปลี่ยนความคิดในหัวข้อที่มีรสนิยมตรงกันได้อย่างเปิดเผย สุภาพ และถ้อยทีถ้อยอาศัย นอกจากนี้ ผู้ที่มีรสนิยมต่างกันก็ไม่มาก้าวก่าย วิพากษ์วิจารณ์ หรือโจมตีซึ่งกันและกัน ใครชอบอะไรก็ซื้อของอย่างนั้น ไม่จำเป็นต้องสนใจของที่ตนเองไม่ชอบ ผู้แสดงสินค้าก็สามารถแสดงสินค้าได้อย่างเปิดเผย แต่ก็มีมารยาทไม่โฆษณาจนเกินงามจนทำให้ผู้อื่นลำบากใจ การแสดงความคิดเห็นจึงเป็นไปได้อย่างอิสระ มีอารยะ ไม่จำเป็นต้องควบคุม
 
สรุป
การควบคุมสื่อทางเพศก่อความเดือดร้อนให้กับผู้ใหญ่ มิหนำซ้ำยังไม่เป็นการคุ้มครองเด็กอย่างถูกต้อง รัฐจึงไม่มีความชอบธรรมในการออกนโยบายห้ามการผลิต จำหน่าย และเสพสื่อทางเพศของประชาชน นโยบายในขณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามนำเอาคุณค่าของคนกลุ่มหนึ่งมายัด เยียดให้คนทั้งชาติยอมรับปฏิบัติตาม และส่อให้เห็นถึงความอหังการอันฝังรากลึกในระบบราชการและชนชั้นปกครองของ ไทยอย่างชัดเจน หากท่านคิดว่าท่านเป็นเสรีชนผู้มีวิจารณญาณและมีความรับผิดชอบตนเองได้แล้ว จงอย่าปลอดให้รัฐมาควบคุมความคิด จินตนาการ และรสนิยม อย่างที่รัฐกำลังทำอยู่นี้เลย เพราะวันหนึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ท่านชอบหรือศรัทธาที่จะถูกตราให้ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชนไปก็ได้
เชิงอรรถ
  1. http://news.sanook.com/crime/crime_158210.php
  2. http://www.animenewsnetwork.com/news/2007-06-10/manga-published
  3. http://en.wikipedia.org/wiki/Gantz
  4. http://en.wikipedia.org/wiki/Elfen_lied
  5. http://en.wikipedia.org/wiki/Young_Jump
  6. http://en.wikipedia.org/wiki/Futari_Ecchi
  7. http://en.wikipedia.org/wiki/Young_Animal
  8. http://en.wikipedia.org/wiki/Shounen_Jump
  9. http://en.wikipedia.org/wiki/Weekly_Shonen_Magazine
  10. http://www.akitashoten.co.jp/index2.html
  11. http://www.101newschannel.com/squarethink_detail.php?news_id=98
  12. http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=7127
  13. http://www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&post_date=18/Jul/2550&news_id=145286&cat_id=200100
  14. http://www.tvburabha.com/new/story_old_loom.asp?id=349
  15. http://nsrc.sfsu.edu/MagArticle.cfm?Article=439
  16. http://webboard.mthai.com/5/2005-11-03/161643.html
  17. http://en.wikipedia.org/wiki/Image:World_homosexuality_laws.png
  18. http://www.hawaii.edu/PCSS/online_artcls/pornography/prngrphy_rape_jp.html
  19. http://mdn.mainichi-msn.co.jp/features/archive/news/2006/02/20060201p2g00m0fe024000c.html
  20. Milton Friedman. Capitalism and Freedom. Chicago: University of Chicago Press, 1992, pp. 188.
  21. President's Commission on Obscenity and Pornography. Report of The Commission on Obscenity and Pornography. 1970. Washington, D. C.: U. S. Government Printing Office.
  22. Anthony D'Amato. Porn Up, Rape Down. Northwestern Public Law Research Paper No. 913013 Available at SSRN: http://ssrn.com/abstract=913013
  23. http://www.blackwell-synergy.com/doi/pdf/10.1111/j.1460-2466.1982.tb02514.x?cookieSet=1
  24. http://en.wikipedia.org/wiki/Comiket
 
ข่าวจากประชาไท

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท