Skip to main content
sharethis

หากบอกว่า "การออกเสียงประชามติ" คือการให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใดๆของบ้านเมือง ตามหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย แล้วการออกเสียงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปีพ.ศ.2550 ภายใต้ระบอบเผด็จการที่เพิ่งจะเสร็จสิ้นไปนั้นคืออะไร โดยเฉพาะเสียง จากพื้นที่ 35 จังหวัดภายใต้กฎอัยการศึก

สำนักข่าวชาวบ้าน

 

หากบอกว่า "การออกเสียงประชามติ" คือการให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใดๆของบ้านเมือง ตามหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย แล้วการออกเสียงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปีพ.ศ.2550 ภายใต้ระบอบเผด็จการที่เพิ่งจะเสร็จสิ้นไปนั้นคืออะไร โดยเฉพาะเสียง จากพื้นที่ 35 จังหวัดภายใต้กฎอัยการศึก อันได้แก่

 

กลุ่มที่1 จังหวัดที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกครอบคลุมทั้งจังหวัด ได้แก่จังหวัดกำแพงเพชร, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, เชียงราย, เชียงใหม่, นครราชสีมา, นราธิวาส, บุรีรัมย์, ปัตตานี, มหาสารคาม, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, ร้อยเอ็ด, เลย, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, หนองบัวลำพู, อำนาจเจริญ, อุดรธานี, อุตรดิตถ์, อุบลราชธานี มีประชากรที่อยู่ในพื้นที่ใต้กฎอัยการศึกจำนวน 22,967,095 คน เป็นผู้มีสิทธิลงประชามติ 16,446,285 คนแต่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียง 8,396,343 คนเท่านั้น

 

จังหวัด

จำนวนพลเมือง / คน

คนที่มีสิทธิ์ใช้เสียง

เห็นชอบ

ไม่เห็นชอบ

บัตรเสีย

กำแพงเพชร

728,320

536,907

213,875

71,362

5,470

ขอนแก่น

1,750,500

1,296,153

232,913

459,014

12,758

ชัยภูมิ

1,119,146

829,571

152,525

274,916

8,885

เชียงราย

1,225,713

841,638

186,450

329,483

15,285

เชียงใหม่

1,658,298

1,173,018

337,011

439,696

22,780

นครราชสีมา

2,555,587

1,883,340

606,393

424,962

19,727

นราธิวาส

707,171

457,014

183,467

55,354

11,193

บุรีรัมย์

1,536,722

1,100,316

300,149

238,715

11,462

ปัตตานี

635,730

407,329

148,473

44,712

12,397

มหาสารคาม

937,686

697,149

130,757

247,895

6,315

แม่ฮ่องสอน

255,174

146,755

64,682

28,814

2,703

ยะลา

468,252

298,246

118,517

42,616

9,255

ร้อยเอ็ด

1,310,047

946,679

116,778

371,953

7,373

เลย

613,303

450,978

116,084

153,688

5,412

ศรีสะเกษ

1,446,484

1,046,032

145,129

346,228

11,045

สุรินทร์

1,375,257

981,926

148,409

225,429

10,891

หนองบัวลำภู

496,692

358,552

46,909

133,536

3,021

อำนาจเจริญ

368,934

265,247

53,227

68,770

1,643

อุดรธานี

1,527,562

1,100,825

165,196

 416,725

2,360

อุตรดิตถ์

467,482

357,600

119,001

82,547

3,703

อุบลราชธานี

1,783,035

1,271,010

273,297

335,501

9,704

รวม

22,967,095

16,446,285

3,796,995

4,405,972

193,382

 

โดยผลการลงประชามติของประชาชนในกลุ่มพื้นที่แรกที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกทั้งจังหวัด  พบว่าจาก 21 จังหวัด มีเพียง 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร นครราชสีมา นราธิวาส บุรีรัมย์ ปัตตานี แม่ฮ่องสอน ยะลา อุดรธานี อุตรดิตถ์ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ในขณะที่อีก 12 จังหวัด อันได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ เชียงราย เชียงใหม่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

 

กลุ่มที่ 2 จังหวัดที่มีใช้กฎอัยการศึกในบางอำเภอ หรือเฉพาะตำบล ได้แก่ กาญจนบุรี, จันทบุรี, ตราด, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, พะเยา, พิษณุโลก, เพชรบุรี, ราชบุรี, ระนอง, สตูล, สงขลา, สระแก้ว ซึงประชากรที่อยู่ในพื้นที่ใต้กฎอัยการศึกมีทั้งหมด 2,495,357 คน มีสิทธิในการลงประชามติ 5,709,421 คน แต่มีผู้มาลงคะแนนเสียง 3,266,866 คน

 

 

จังหวัด

จำนวนพลเมือง / คน

ประชากรที่ตกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก

ผู้มีสิทธิใช้เสียง

รับ

ไม่รับ

บัตรเสีย

สตูล

281,554

120,500

190,543

89,737

18,632

1,960

สงขลา

1,317,501

369,061

930,274

483,849

40,070

7,829

สระแก้ว

538,344

373,673

382,666

188,956

61,678

3,210

ประจวบคีรีขันธ์

499,445

53,871

361,679

158,438

31,688

3,348

พะเยา

487,773

109,033

376,157

101,592

134,513

6,458

พิษณุโลก

841,038

124,488

639,578

229,187

92,094

6,089

เพชรบุรี

455,458

42,058

344,140

179,950

34,362

39,04

ราชบุรี

829,855

60,016

610,158

260,931

93,545

6,196

ระนอง

186,410

82,485

114,166

60,759

5,312

926

กาญจนบุรี

826,169

223,548

557,684

223,667

90,340

4,710

จันทบุรี

498,159

155,499

370,490

158,258

60,812

4,578

ตราด

219,135

177,022

154,780

54,328

18,164

1,531

ตาก

522,197

442,624

319,870

108,110

30,077

3,631

น่าน

478,080

134,479

357,236

79,049

122,898

5,404

รวม

7,981,118

2,468,357

5,709,421

2,376,811

834,185

55,870

 

            ทั้งนี้ผลการลงประชามติของ 14 จังหวัดที่มีพื้นที่บางอำเภอหรือบางตำบลถูกประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้น มีเพียง 2 จังหวัด คือ พะเยา และน่าน ซึ่งเป็นจังหวัดทางภาคเหนือที่ประชาชนสาวนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญปี 50 ขณะที่อีก 12 จังหวัด คือ สตูล สงขลา สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี ราชบุรี ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ตาก เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ

 

สิทธิในการเลือกภายใต้ระบอบเผด็จการ เป็นประชาธิปไตยได้จริงหรือ?

 

นายมาโนช ฟักโต ชาวบ้านแก่งระเบิด ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยก จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 6 อำเภอของพื้นที่จ.กาญจนบุรีภายใต้กฎอัยการศึกกล่าวว่า ตนและเพื่อนบ้านไม่ทราบเรื่องพื้นที่และข้อบังคับของกฎอัยการศึกแต่อย่างใด แต่เท่าที่สังเกตุบรรยากาศในการมาลงประชามติในหน่วยเลือกตั้งก็เป็นไปอย่าง คึกคัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างออกมาใช้สิทธิรวมถึงคนที่ออกไปทำงานนอกเขตพื้นที่ก็ ทยอยกลับบ้านเพื่อใช้สิทธิ

 

"จาก การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะถ้าผ่านพ้นไปได้ก็จะได้เลือกตั้งสักที ชาวบ้านจะได้เลือกคนที่ตัวเองอยากให้เข้าไปเป็นตัวแทนไปบริหารประเทศได้"นายมาโนชกล่าว

 

ด้านน.ส.สมภาร คืนดี ชาวบ้านโขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี กล่าว ว่า บรรยากาศในการลงประชามติเป็นไปอย่างคึกคัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ตื่นตัวกับการไปออกเสียง แม้ว่าจะไม่ค่อยเข้าใจในตัวร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ทางราชการมักรณรงค์ บอกชาวบ้านว่า...ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ หากไม่รับทักษิณจะกลับมาในประเทศอีก กอปรกับกระแสข่าวทักษิณที่ออกมา ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่กลัวว่าจะเอาตัวเองไปอยู่ฝ่ายเดียวกับทักษิณด้วย  

 

"ชาว บ้านอยากให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ เพราะเขาคิดว่าหลังจากมีการเลือกตั้งมีรัฐบาลใหม่ แล้วประเทศจะดีขึ้นชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาจะขึ้น" น.ส.สมภาร กล่าว

 

ใน ขณะที่นายกิตติภพ สุทธิสว่าง แกนนำกลุ่มเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อก๊าชไทย-มาเลเซีย อ.จะนะ จ.สงขลา กล่าวว่า การเป็นพื้นที่กฎอัยการศึกไม่ได้มีผลต่อความเข้าใจหรือรับรู้สาระในร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 และ การลงประชามติของชาวบ้านมากนัก เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจะคำนึงถึงปัญหาปากท้องเป็นหลัก เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดตามการเมือง ทำให้การรับรู้เรื่องดังกล่าวจึงมาจากสื่อโทรทัศน์ และเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชนเป็นหลัก ชาวบ้านจึงเข้าใจตามข้อมูลของสื่อ

 

"ประเด็นไม่ได้อยู่ที่กฎอัยการศึก เพราะที่จะนะเป็นกรณีปัญหาท่อกาซไทย-มาเลย์ ชาวบ้านจึงหวังให้รัฐบาลใหม่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา แต่วันนี้กระบวนการรัฐยังคงละเลยความเดือดร้อนของชาวบ้านเช่นเดิม ชาวบ้านจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการเมืองเท่าใด"แกนนำท่อก๊าซไทย-มาเลย์กล่าว

 

นาย กิตติภพ กล่าวต่อว่า กฎอัยการศึกเป็นเรื่องของความมั่นคง ที่มีความละเอียดอ่อน พื้นที่ภายใต้กฎอัยการศึกต่างๆ ก็มีลักษณะเฉพาะต่างกัน ทำให้การใช้อำนาจดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ซึ่งจะนะเองเป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่ไม่ใช่ประเด็นการเมือง จึงไม่เชื่อว่าจะมีผลโดยตรงต่อการลงประชามติ

 

"ผม พูดแทนชาวบ้านไม่ได้ว่าชาวบ้านรู้สึกอย่างไร แต่ในฐานะตัวแทนยังไม่เห็นมีนโยบายหรือความคิดดูแลชาวบ้านจากรัฐ โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง ที่ชาวบ้านต้องสู้กับบริษัทเอกชนตามลำพัง ผลประชามติจึงไม่ขึ้นอยู่กับการเมืองส่วนกลาง แต่อยู่กับการเข้ามาแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน"นายกิตติภพกล่าว

 

 

 

----------------------------------

หมายเหตุ -  คะแนนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในตารางข้างต้นเป็นข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น นอกจากนี้ข้อมูลของจังหวัดอุดรมีความผิดพลาด ได้ทำการแก้ไขจากเดิม เห็บชอบ 102,949 คะแนนไม่เห็นชอบ  30,781  เป็น เห็นชอบ 165,196  ไม่เห็นชอบ 416,725

 

ท่านสามารถดูผลคะแนนอย่างเป็นทางการได้ที่เว็บไซต์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือ http://www.ect.go.th/thai/download50/post155.pdf  

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net