Skip to main content
sharethis

ตามที่ประชาไท เคยนำเสนอข่าว นายปีเตอร์ แมนเดลสัน (Peter Mandelson) ประธานคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป ได้ร่างจดหมายถึงรัฐบาลไทยโดยแสดงความไม่พอใจต่อนโยบายรัฐบาลไทยที่ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) เพื่อการเข้าถึงยาเพิ่มเติมวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา (อ่านข่าวย้อนหลัง)


 


ต่อมา AIDES และ Act Up-Paris ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงได้ทำหนังสือลงวันที่ 22 ส.ค. 2007 ถึงสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรปเพื่อขอคำชี้แจงในเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันว่าการประกาศซีแอลของรัฐบาลไทยเป็นสิทธิอันชอบธรรมถูกต้องตามความตกลงทริปส์


 


ทั้งยังสอดคล้องกับมติของสภายุโรปที่ออกเมื่อ 12 ก.ค. ที่ผ่านมาในการสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ได้ใช้มาตรการยืดหยุ่นในทริปส์ แต่จดหมายของสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้านั้นเองที่เท่ากับเป็นการเขียนกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ทั้งยังเป็นการข่มขู่ประเทศไทยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาติดสิทธิบัตร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตกแก่มนุษย์จากการที่ไม่สามารถเข้าถึงและซื้อหายาจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตได้ (อ่านข่าวย้อนหลัง)


 


ล่าสุดกรรณิการ์ จิตติเวชกุล ได้นำเสนอจดหมายโต้ตอบล่าสุด 2 ฉบับระหว่างเสนอนายปีเตอร์ แมนเดลสัน ประธานคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป ลงวันที่ 3 กันยายน 2550 และนายฌอน ฟลินน์ (Sean Flynn) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ภาควิชาความเป็นธรรมด้านสารนิเทศและทรัพย์สินทางปัญญา AU Washington College of Law ลงวันที่ 5 กันยายน


 


โดยมีเนื้อหาโต้ตอบกันในเรื่องความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลไทยที่ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) เพื่อการเข้าถึงยา ซึ่งนายปีเตอร์ย้ำว่าคณะกรรมาธิการยุโรปนั้นยังคงให้การสนับสนุนปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทริปส์และการสาธารณสุขและรับรองสิทธิของประเทศภาคีสมาชิกองค์การการค้าโลกในการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ แต่เห็นว่าไม่ควรใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเป็นบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจ และดำเนินตามมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นกิจจะลักษณะในที่สุดย่อมส่งผลลบต่อระบบสิทธิบัตร รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนายาใหม่ๆ


 


ด้วยเหตุนี้ สหภาพยุโรปจึงแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเสมอว่าต้องการให้มีการเจรจากับเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยสมัครใจ ซึ่งย่อมกระทำได้ภายใต้บทบัญญัติแก้ไขของความตกลงทริปส์


 


ขณะที่นายณอม ฟลินน์ ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของนายปีเตอร์ โดยเขาเห็นว่ามาตรการบังคับใช้สิทธิ สมควรเป็นบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจกับยาจำเป็นที่ติดสิทธิบัตรในประเทศกำลังพัฒนา เพราะประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากมีการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรง นำมาซึ่งแรงจูงใจในการตั้งราคาสินค้าไว้สูงลิบภายใต้ระบบผูกขาดตลาดเพื่อขายกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดที่มีอยู่ร้อยละ 5 หรือกว่านั้น นี่คือการแสวงผลกำไรสูงสุดในประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกันอย่างยิ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การทำเช่นนี้ไม่ต่างกับการตั้งราคายารักษาโรคเอดส์ในประเทศยากจนถึงหนึ่งหมื่นเหรียญสหรัฐต่อปี


 


โดยจดหมายโต้ตอบ 2 ฉบับล่าสุดดังกล่าว ประชาไทขอนำเสนอดังต่อไปนี้


 


000


 







1.จดหมายของปีเตอร์ แมนเดลสัน ถึง เอ็มมานูเอล ชาโต้, Act Up-Paris และ บรูโน สไปร์, AIDES


 


กรุงบรัสเซลส์ 3 กันยายน 2550


CAB24/PM/PTH/raa/D(07)1076


 


 


 


Act Up-Paris                                                            AIDES


เอ็มมานูเอล ชาโต้                                                         บรูโน สไปร์
ฮิวจ์ ฟิชเชอร์                                                               Président
Co-Présidents
เจโรม มาร์ติน
คณะกรรมการระหว่างประเทศ



ขอบคุณสำหรับจดหมายท่านฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งยกประเด็นการเข้าถึงยาและมาตรการบังคับใช้สิทธิกับสิทธิบัตรยา


 


ก่อนอื่น ข้าพเจ้าใคร่ขอเน้นย้ำให้ท่านทราบว่า คณะกรรมาธิการยุโรปนั้นยังคงให้การสนับสนุนปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทริปส์และการสาธารณสุข (ซึ่งคณะกรรมาธิการได้มีส่วนในการจัดตั้ง) และรับรองสิทธิของประเทศภาคีสมาชิกองค์การการค้าโลกในการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ


 


คณะกรรมาธิการยุโรปให้ความสำคัญยิ่งต่อประเด็นสิทธิบัตรอันเกี่ยวข้องกับยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงส่งเสริมให้มีการแก้ไขความตกลงทริปส์เพื่ออนุญาตให้มีการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเพื่อส่งออกยาไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดและประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวนี้อยู่ในระหว่างรออนุมัติจากสภายุโรป ทั้งนี้คณะกรรมาธิการยุโรปยังได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าให้ความเคารพอย่างยิ่งต่อสิทธิของประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดที่จะไม่ต้องปฎิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิบัตรยาภายใต้ความตกลงทริปส์จนกว่าจะถึงวันที่ 1 มกราคม 2559


 


อันมาตรการบังคับใช้สิทธินี้ ถือเป็นข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิของเจ้าของสิทธิบัตร จึงสมควรนำมาใช้ให้เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของปฏิญญาโดฮาอันจัดตั้งขึ้นในปี 2544 และตามเงื่อนไขดังระบุไว้ในความตกลงทริปส์ ทั้งนี้ไม่ควรใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเป็นบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจ ด้วยการหันมาพึ่งพาและดำเนินตามมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นกิจจะลักษณะนั้น ในที่สุดย่อมส่งผลลบต่อระบบสิทธิบัตร รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนายาใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ สหภาพยุโรปจึงแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเสมอว่าต้องการให้มีการเจรจากับเจ้าของสิทธิบัตรมากกกว่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยสมัครใจ ซึ่งย่อมกระทำได้ภายใต้บทบัญญัติแก้ไขของความตกลงทริปส์


 


พึงทราบว่าปัญหาการเข้าถึงยาโดยเฉพาะในประเทศที่ยากจนที่สุดนั้น จำต้องอาศัยรูปแบบการจัดการที่หลากหลายทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และมาตรการบังคับใช้สิทธิก็เป็นเพียงมาตรการหนึ่งเท่านั้นในการจัดการดังกล่าว


 


คณะกรรมาธิการยุโรปให้การสนับสนุนผ่านความช่วยเหลือทางเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาชื่อสามัญในประเทศยากจน และสำหรับการป้องกันและการดูแลการรักษาโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรคนั้น นับเป็นส่วนหนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการริเริ่มพิเศษซึ่งมุ่งให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคภัยต่างๆ อันเกิดจากความยากจนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยในปี 2548-2549 ได้ใช้งบประมาณทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 81.2 ล้านยูโร นอกจากนี้ยังให้ทุนสนับสนุนในโครงการเฉพาะด้านต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและอัฟริกาด้วยเช่นกัน


 


สหภาพยุโรปเป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุนรายสำคัญในการทำวิจัยทางคลินิคด้านเวชภัณฑ์และสุขภาพ รวมถึงการวิจัยระบบสาธารณสุขและการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศต่างๆ ในเขตทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปอัฟริกา โดยผ่านโครงการความร่วมมือเพื่อการทดลองทางคลินิคระหว่างประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศกำลังพัฒนา (EDCTP)


 


ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการตามโครงการพัฒนาของกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งสหภาพยุโรปฉบับที่ 6 (FP6 - 2542-2545) คณะกรรมธิการยุโรปได้ทุ่มงบประมาณกว่า 455 ล้านยูโร เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับความยากจนเป็นการเฉพาะ ในช่วงเวลาเดียวกัน คณะกรรมาธิการยุโรปยังให้ทุนสนับสนุนเพิ่มอีก 78 ล้านยูโรเพื่อจัดตั้งความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์ (INCO) สำหรับโครงการต่างๆ ครอบคลุมถึงโรคติดต่อที่ถูกละเลย การวิจัยระบบและนโยบายด้านการสาธารณสุขและอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปยึดถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินโครงการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้ให้บรรลุเป็นผลสำเร็จ โดยจะเดินหน้าต่อตามแผนพัฒนาของกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งสหภาพยุโรปฉบับที่ 7 (FP7 - 2550-2556)  


 


สำหรับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศในแถบอัฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก (ACP) และความตกลงทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคที่จะมีขึ้นในอนาคตกับประเทศกำลังพัฒนา คณะกรรมาธิการยุโรปจะไม่เสนอและจะไม่มีการเสนอบทบัญญัติใดๆ อันอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา หรือเป็นการบ่อนทำลายมาตรการยืดหยุ่นในความตกลงทริปส์ดังมีบรรจุไว้ในปฎิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทริปส์และการสาธารณสุข


 


แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ประเทศต่างๆ พึงพิจารณาให้ความสำคัญอย่างเหมาะสมเท่าเทียมกันระหว่างการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา กับความจำเป็นในการทำให้ยาที่มีอยู่มีราคาถูกเพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับแล้วว่า การให้ความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรนั้นเป็นระบบที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การถ่ายทอดและการเผยแพร่เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ ดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาจึงควรให้ความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรอย่างเหมาะสม เพื่อดึงดูดการลงทุนและพัฒนาศักยภาพในการผลิตของประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนาเองเป็นสำคัญ 


 


 


                                                                                                            [ลงชื่อ]


 


 


ปีเตอร์ แมนเดลสัน


 


000


 


 


Brussels, 3 September 2007


CAB24/PM/PTH/raa/D(07)1076


 


 


 


 


Act Up-Paris                                                            AIDES


Mr Emmanuel Château                                                Mr Bruno Spire
Mr Hugues Fischer                                                      Président
Co-Présidents
Mr Jérôme Martin
Commission Internationale



Thank you for your letter dated of 22 August about access to medicines and compulsory licensing of pharmaceutical patents.


 


First of all, I would like to underline that the Commission remains supportive of the Doha Declaration on the TRIPS Agreement and Public Health (which it had promoted), and fully recognises the right of WTO members to grant compulsory licenses.


 


The Commission has been very active on patent issues in relation to pharmaceutical products, including promoting an amendment to the TRIPS Agreement to allow compulsory licensing for export of medicines towards least-developed and developing countries. This amendment is pending approval by the European Parliament. We have also made clear that we fully respect the right of least-developed countries not to implement the provisions of the TRIPS Agreement for pharmaceutical patents until 1 January 2016.


 


The use of compulsory licensing is an exception to the rights conferred by a patent which should be used in the spirit of the 2001 Doha Declaration and in the respect of the conditions of the TRIPS Agreement. The use of compulsory licensing should not become a standard way of doing business, because systematic recourse to compulsory licensing would eventually be detrimental to the patent system, and so to innovation and the development of new medicines. That is why the EU has always made clear its preference for voluntary agreements between potential licensees and patent holders on reasonable terms and conditions, which the provisions of the TRIPS amendment can help facilitate.


 


It should also be borne in mind that the problem of increased access to medicines, especially in poorest countries, needs to be addressed by a wider package of national and international actions. The compulsory licensing represents only one of the elements available for that matter.


 


The Commission supports, through technical assistance, the development of the generic drugs industry in poor developing countries. Prevention, treatment and care of HIV/AIDS, malaria and tuberculosis are one of the objectives of a specific initiative dedicated to aid for poverty-related diseases in developing countries for a combined 2005-2006 total of € 81.2m. Specific projects have also been funded in Africa and Asia.


 


The EU is also a major sponsor of pharmaceutical and health-oriented/clinical research including health systems research and capacity building in various sub-Saharan African countries through the European & Developing Countries Clinical Trials Partnership (EDCTP).


 


During the period of implementation of the sixth Framework Programme for Research (FP6 - 1999-2002), the Commission's support for R&D devoted to poverty-related diseases amounted to more than € 455m. For the same period, an additional € 78m were spent by the International Scientific Cooperation (INCO) on various projects covering the fields of neglected infectious diseases, health systems/policy research and reproductive health. The Commission is fully committed to the success of these research projects and innovative initiatives and will continue to do so under the current seventh Framework Programme for Research (FP7 - 2007-2013).


 


In the Economic Partnership Agreements with ACP countries and in other future bilateral and regional agreements with developing countries, the Commission is not asking, and will not ask, for provisions which could affect access to drugs or undermine the TRIPS flexibilities contained in the Doha Declaration on the TRIPS Agreement and Public Health.


 


It is also important to strike a balance between the need to provide incentives for innovation and research and development and the need to make existing drugs as available as possible at affordable prices, in particular, in poor developing countries. It is well established that patent protection provides incentives for innovation, transfer and dissemination of technology and research and development into new drugs. It is in the interest of developing countries themselves to adopt appropriate patent protection in order to attract investment and develop their own production capacities.


 


 


 


                                                                                                            [Signed]


 


 


Peter Mandelson


 


 


000


 







2.จดหมายของ ฌอน ฟลินน์ ตอบโต้ความเห็นของปีเตอร์ แมนเดลสัน


 


Act-up and AIDES


 


Message: 2


Date: Wed, 5 Sep 2007 17:33:03 -0400


From: "Sean Flynn"


To: "Healthgap List"


,


Cc: , "Michael Palmedo"


 


เรื่อง: ทรัพย์สินทางปัญญา-การสาธารณสุข อ้างถึง: [HEALTHGAP] "คำตอบ" ของแมนเดลสัน สมาชิกคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหภาพยุโรป ว่าด้วยเรื่องมาตรการบังคับใช้สิทธิ


 


เราสมควรตอบโต้คำตอบของแมนเดลสันที่ระบุว่า "ทั้งนี้ไม่ควรใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเป็นบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจ ด้วยการหันมาพึ่งพาและดำเนินตามมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นกิจจะลักษณะนั้น ในที่สุดย่อมส่งผลลบต่อระบบสิทธิบัตร รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนายาใหม่ๆ"


 


ผมกับ Aidan Hollis และ Mike Palmedo กำลังเขียนบทความชิ้นหนึ่ง เพื่อแสดงความเห็นตรงข้ามอย่างสุดโต่งกับคำกล่าวนี้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ (ซึ่งบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อการเข้าถึงการรักษาได้พยายามมาเป็นปีๆ เพื่อชี้แจงในแง่ความเป็นธรรมในสังคม) ข้างล่างนี้เป็นร่างบทคัดย่อของบทความที่พวกเราเขียน ซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการ


 


"บทความนี้อธิบายเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิกับยาซึ่งเป็นที่ต้องการในประเทศกำลังพัฒนา ระบบสิทธิบัตรนั้นยึดหลักการ "ได้อย่าง-เสียอย่าง" ระหว่างความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเกิดจากอำนาจตลาดกับแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันเกิดจากผลกำไร ทว่าตลาดยาจำเป็นที่ติดสิทธิบัตรในประเทศกำลังพัฒนานั้นมีลักษณะเป็นเส้นอุปสงค์ที่โค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด จึงทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลเมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไรเมื่อบริษัทที่ได้สิทธิผูกขาดใช้กลยุทธ์การตั้งราคาเพื่อทำกำไรสูงสุด ด้วยเหตุนี้ ตลาดในประเทศเหล่านี้จึงไม่เหมาะกับระบบสิทธิผูกขาดตลาดแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยมาตรการบังคับใช้สิทธิเข้าแก้ไข การอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบเสรีตามหลักกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือสิ่งสาธารณูปโภคจำเป็นนั้น นับว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขผลกระทบร้ายแรงประการต่างๆ อันเกิดจากระบบสิทธิบัตรที่ให้สิทธิผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว โดยยังคงสามารถจ่ายค่าตอบแทนการใช้สิทธิในระดับที่ชอบธรรมแก่บริษัทเจ้าของสิทธิผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นๆ ได้ตามวัตถุประสงค์


 


ในอีกทางหนึ่งคือ เราไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวของแมนเดลสันอย่างยิ่ง มาตรการบังคับใช้สิทธิ (พร้อมกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบเสรีซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการเจรจาเป็นรายบุคคลกับผู้ประกอบการรายใหม่ทุกครั้งไป) จึงสมควรเป็นบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจกับยาจำเป็นที่ติดสิทธิบัตรในประเทศกำลังพัฒนา เหตุผลนั้นคือ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนมากมีการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรง นำมาซึ่งแรงจูงใจในการตั้งราคาสินค้าไว้สูงลิบภายใต้ระบบผูกขาดตลาดเพื่อขายกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดที่มีอยู่ร้อยละ 5 หรือกว่านั้น นี่คือการแสวงผลกำไรสูงสุดในประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกันอย่างยิ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การทำเช่นนี้ไม่ต่างกับการตั้งราคายารักษาโรคเอดส์ในประเทศยากจนถึงหนึ่งหมื่นเหรียญสหรัฐต่อปี และปัญหาแบบนี้ใช่จะเกิดแค่เพียงครั้งเดียว หากแต่เกิดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ฉะนั้นจึงจำต้องอาศัยมาตรการจัดการอย่างเป็นกิจจะลักษณะด้วยเช่นกัน


 


Sean Flynn (ฌอน ฟลินน์)


ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ภาควิชาความเป็นธรรมด้านสารนิเทศและทรัพย์สินทางปัญญา


AU Washington College of Law


 


000


 


Act-up and AIDES


 


Message: 2


 


Date: Wed, 5 Sep 2007 17:33:03 -0400


From: "Sean Flynn"


To: "Healthgap List"


,


Cc: , "Michael Palmedo"


Subject: [Ip-health] RE: [HEALTHGAP] EC Mandelson's "answer" on compulsory licensing


 


This part of Mandelson's answer seems worth engaging "The use of compulsory licensing should not become a standard way of doing business, because systematic recourse to compulsory licensing would eventually be detrimental to the patent system, and so to innovation and the development of new medicines."


 


Aidan Hollis, Mike Palmedo and I are working on a paper that will make the exact opposite point in economic terms -- one that has been made by treatment activists for many years in social justice terms. Here is a draft abstract from that article, still under works


 


"This paper explains an economic rationale for compulsory licensing of needed medicines in developing countries. The patent system is based on a trade-off between the deadweight losses caused by market power and the incentive to innovate created by profits. However, markets for essential medicines under patents in developing countries are characterized by highly convex demand curves, producing large deadweight losses relative to potential profits when monopoly firms exercise profit-maximizing pricing strategies. As a result, these markets are systematically ill-suited to exclusive marketing rights, a problem which can be corrected through compulsory licensing. Open licenses under many licenses of right or essential facility legal standards are well suited toward correcting the worst effects of exclusive patent rights without compromising the goal of providing a just level of compensation for the innovative acts of the originating firm."


 


In other words, we couldn't disagree with Mandelson's statement more. Compulsory licensing -- with open licenses that do not require individual negotiations for every new entrant -- SHOULD become a standard way of doing business with patented essential medicines in developing countries. The reason is that most developing countries have extreme income inequality that produces perverse incentives to price to the top 5% or so of the population under an exclusive right regime. This is the profit maximizing behavior in a highly unequal country. It was likely economically rational to price AIDS drugs at $10,000 a year in poor countries. And this problem is not isolated -- it is systematic, and therefore needs a systematic response


 


-Sean Flynn


Assoc. Director, Program on Information Justice and Intellectual Property


AU Washington College of Law


 


 


ข่าวประชาไทย้อนหลัง


แรงกดดันระลอกสอง จากสหรัฐ-ยุโรป เมื่อไทยเตรียมประกาศ "ซีแอล" เพิ่มในยารักษามะเร็ง, ประชาไท, 21 ส.ค. 50


เครือข่ายเอดส์ปารีส ทำหนังสือให้กมธ.การค้าอียูชี้แจงกรณีส่งจดหมายกดดันไม่ให้ไทยใช้ "ซีแอล", ประชาไท, 24 ส.ค. 50

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net