Skip to main content
sharethis

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (15 ก.ย.50) แวดวงเภสัชศาสตร์ที่ต่อสู้เรื่อง "ยา" ได้สูญเสียบุคคลสำคัญไปด้วยโรคมะเร็ง คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง สุนทรี วิทยานารถไพศาล ก่อนจะถึงงานเลี้ยงอำลาการเกษียณอายุราชการของอาจารย์เพียงไม่กี่วัน

 

 

 

 

ผศ.ภญ.สุนทรี เป็นหนึ่งหัวขบวนของ "กลุ่มศึกษาปัญหายา" หรือ กศย. ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างองค์ความรู้และเคลื่อนไหวต่อสู้ในเชิงนโยบายเพื่อการเข้าถึงยาของประชาชน

 

 

 

 

 

กลุ่มศึกษาปัญหายา มี ภญ.สำลี ใจดี เป็นหัวหน้ากลุ่มตั้งแต่เมื่อปี 2518 โดยเริ่มต้นจากการที่อาจารย์และนิสิตในคณะเภสัชฯ ได้รวมตัวกันทำวิจัยในชนบทแล้วพบปัญหายา โดยเฉพาะเรื่องยาชุด และได้ทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสำนักงานอาหารและยา (อย.) และรัฐบาลในการแก้ปัญหา

 

 

 

 

 

จากนั้น กยศ. ยังคงทำงานต่อเนื่องในเรื่องของการให้การศึกษากับสังคม เช่น เรื่องของยาที่ไม่เหมาะสม มาตรการในการรู้เท่าทันการโฆษณา จนกระทั่งถึงการต่อสู้เรื่องกฎหมายสิทธิบัตรยาเมื่อปี พ.ศ.2535 การต่อสู้กับบริษัทข้ามชาติในเอฟทีเอไทย-สหรัฐ เพื่อไม่ให้เอาเปรียบ ค้ากำไรกับชีวิตของผู้ป่วย ฯ

 

 

 

 

 

ท่ามกลางการสูญเสียนี้ "กรรณิการ์ กิจติเวชกุล" เอ็นจีโอคนสำคัญที่ทำงานและต่อสู้ร่วมกับ กศย.อย่างใกล้ชิด ได้เขียนไว้อาลัย "อาจารย์สุน" มาในโอกาสนี้ โดยเรียบเรียงจากบางส่วนของอีเมล์ส่วนตัวที่อาจารย์สุนทรีใช้สื่อสารกับเครือข่าย โดยเฉพาะในห้วงยามที่ต่อสู้ร่วมกันเรื่อง "การบังคับใช้สิทธิ" หรือ "ซีแอล" เพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเทต่อสู้เพื่อผู้ด้อยโอกาสของผู้หญิงคนนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

0000

 

 

 

 

 

โดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

 

 

องค์กรหมอไรพรมแดน-เบลเยี่ยม (ประเทศไทย)

 

 

  

 

 

 

 

 

ฉันเขียนข้อความสั้นๆ นี้ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง

 

 

เมื่อได้รับการติดต่อให้ร่วมเขียนถึง

 

 

อาจารย์สุนทรี วิทยานารถไพศาล ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา

 

 

ซึ่งกำลังจะเกษียณในวันที่ 30 กันยายนนี้

 

 

ฉันคิดว่า ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า บอกกับคนอ่านว่า

 

 

ฉันรู้จักและประทับใจท่านในแง่มุมใดบ้าง

 

 

แม้อีเมล์ 4 ฉบับนี้จะเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แสดงความเป็นตัวตน

 

 

และจิตใจที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของอาจารย์สุน

 

 

แต่นั่นไม่เท่าที่เกือบทั้งชีวิตที่ท่านทุ่มเทให้กับคนด้อยโอกาส

 

 

การทำให้คนเข้าถึงยา

 

 

การลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมในระบบยา

 

 

และบริษัทยายักษ์ใหญ่

 

 

วันนี้ แม้จะไม่มีงานเลี้ยงอำลาการเกษียณของอาจารย์สุน

 

 

แต่ฉันขอให้บทความชิ้นนี้คารวะแด่ดวงวิญญาณของอาจารย์สุนทรี วิทยานารถไพศาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้วยความอาลัย

 

 

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.

 

 

 

 

 

มีบทความจากบางกอกโพสต์ (โปรดอ่านได้ ตรงท้ายเมล์นี้ A dose of reality about drug prices by Philip Stevens November 21, 2006) อยากให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์และโต้ตอบด้วย

 

 

 

 

 

เขาบอกว่า ยาแพงไม่ใช่ปัญหาสิทธิบัตรที่เราชอบอ้างหรอกนะ เป็นปัญหาเชิงระบบสาธารณสุขของเราต่างหาก ขาดหมอ ขาดพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยา

 

 

 

 

 

ความจริงก็อยากสนับสนุนความคิดเขานะว่าเรามีปัญหาเชิงระบบ แต่เป็นระบบคิดต่างหาก…

 

 

 

 

 

สุนทรี

 

 

 

 

 

 

 

 

2.

 

 

รายงานแบบเห็นภาพได้ดีทีเดียว

 

 

              

 

 

ามที่เล่ามา ทำให้เหมือนกลับเข้าไปสู่บรรยากาศยุคต้นๆ เมื่อ ปี"28 ที่พวกเรากลุ่มศึกษาปัญหายาต่อสู้เรื่องสิทธิบัตรยา ซึ่งคำพูดไม่ได้ต่างกันกับที่ถูกกล่าวหาว่าทำตัวไม่เป็นกลาง แล้วจะมีนักวิชาการที่ถูกบอกว่าเป็นกลางให้เป็นผู้พูด แต่พูดทีไรก็ให้เคารพสิทธิบัตรยาทุกที…

 

 

             

 

 

พวกเราขอเป็นนักวิชาเกิน ช่วยทำการบ้านรวบรวมผลผลิตที่ได้จากแต่ละขั้นตอนการทำงาน

 

 

 เอามาเป็นบทเรียน แล้ววางยุทธศาสตร์การผลักดันการเข้าถึงยา ในประเด็นแนวทางใหม่ๆ กันอย่างไรต่อไป เพราะเชื่อว่า CL ไม่ใช่ผลสรุปเบ็ดเสร็จ ในอนาคตมันไม่มีวันเหมือนเดิมอย่างแน่นอน

 

 

และเชื่อว่าธุรกิจยาเขาก็มีบทสรุปและเคลื่อนไหวต่อด้วย

 

 

              

 

 

โดยเฉพาะช่วงนี้ คอยจับตายาโคลพิโดเกลดูว่าเขากำลังใช้ลูกเล่นทางการตลาดอยู่อย่างไร…

 

 

                                                                                                    

 

 

   สุนทรี

 

 

 

 

 

 

 

 

3.

 

 

 

 

 

คิดเช่นเดียวกับ อ.จอน ค่ะ ว่าประเด็นใหญ่ที่สุดต้องให้ผู้ป่วยได้ยาจำเป็น ก็คือเข้าถึงยา

 

 

 

 

 

ในช่วงที่ผ่านมาเห็นว่า เครือข่ายมีการทำหลายแนวทาง แต่ที่คนทั่วไปรับรู้ในสถานการณ์ทางการเมืองและการต่อสู้ที่ผ่านมา คิดว่า CL สร้างการรับรู้ในหลายมิติ

 

 

 

 

 

ในการพูดคุยกันในวง เราเห็นว่าต้องหาแนวทางใหม่ ไม่ใช่แค่ CL อ.จอน คงต้องเป็นตัวหลัก ช่วยผลักดันแนวทางใหม่ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยไทยด้วย เว็บจะเป็นช่องทางสื่อสาร เหมือนเว็บเอฟทีเอวอทช์

 

 

 

 

 

                                                                                                          สุนทรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.

 

 

 

 

 

ยังสนใจใช้ชื่อเว็บว่า cl4life อยู่นะ

 

 

 

 

 

เพราะที่ผ่านมา CL ช่วยทำให้เข้าใจการเข้าถึงยามากขึ้น

 

 

 

 

 

ใช้ว่ายาเพื่อชีวิต มันก็เท่านั้น พวกนั้นเขาก็พูด แต่เห็นเขาก็มั่งคั่งทุกปี เขาไม่พูดว่า CL เพื่อชีวิตแน่นอน นั่นคือความแตกต่าง และเราก็รู้กันอยู่ว่า เราไม่มุ่งแต่เรื่อง CL นะ

 

 

 

 

 

สุนทรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.

 

 

 

 

 

ฉันจะรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ทำงานกับคนที่มุ่งมั่น มุ่งมั่นมากๆ และเป็นการมุ่งมั่นทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จนบางครั้งฉันไม่แน่ใจว่า พวกเขาเคยคิดถึงเรื่องที่เป็นของตัวเองมากน้อยขนาดไหน

 

 

 

 

 

อาจารย์สุนทรีเคยตอบคำถามนี้ให้ฉันฟังว่า เพราะพวกเราไม่มีลูก ไม่มีสามี เลยมีเวลามาทำเรื่องพวกนี้ 555 ดูเหมือนจะจริง

 

 

 

 

 

เพื่อนของฉันคนหนึ่งเรียก อาจารย์กลุ่มศึกษาปัญหายาว่า แก๊งอาจารย์ปากร้าย (ที่น่ารัก) เราเฮฮาทุกครั้ง เมื่ออาจารย์ๆ ทั้งหลายลับฝีปาก วางแผน กำกับยุทธศาสตร์ และลงมือฟาดฟันกับกลุ่มอิทธิพล ทั้งอุตสาหกรรมยา ข้าราชการ นักการเมือง และรัฐบาลข้ามชาติ เพื่อกรุยทางให้คนได้เข้าถึงยามากขึ้นในราคาที่ถูกลง และยั่งยืน

 

 

 

 

 

จากอีเมล์ 4 ฉบับข้างต้น คงอธิบายการทำงานที่มุ่งมั่นของอาจารย์สุนทรี และกลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) ได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

ฉันเขียนข้อความสั้นๆ นี้ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง เมื่อได้รับการติดต่อให้ร่วมเขียนถึง

 

 

 

 

 

อาจารย์สุนทรี วิทยานารถไพศาล ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา ซึ่งกำลังจะเกษียณในวันที่ 30 กันยายนนี้

 

 

           

 

 

ฉันคิดว่า ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าบอกกับคนอ่านว่า ฉันรู้จักและประทับใจท่านในแง่มุมใดบ้าง แม้อีเมล์ 4 ฉบับนี้จะเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แสดงความเป็นตัวตนและจิตใจที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของอาจารย์สุน  แต่นั่นไม่เท่ากับเกือบทั้งชีวิตที่ท่านทุ่มเทให้กับคนด้อยโอกาส การทำให้คนเข้าถึงยา การลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมในระบบยาและบริษัทยายักษ์ใหญ่

 

 

           

 

 

วันนี้ แม้จะไม่มีงานเลี้ยงอำลาการเกษียณของอาจารย์สุน แต่ฉันขอให้บทความชิ้นนี้คารวะแด่ดวงวิญญาณของอาจารย์สุนทรี วิทยานารถไพศาล

 

 

 

 

 

                                                                                            ด้วยความอาลัย

 

 

                                                                                        กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

 

 

 

 

 

 

 

 

0000

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติโดยสังเขป

 

 

 

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง สุนทรี  วิทยานารถไพศาล เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระดับปริญญาโทจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และดำรงตำแหน่งทั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการอื่น และองค์กรพัฒนาเอกชน  ดังจะกล่าวพอสังเขป ดังนี้

 

 

 

 

 

1. งานด้านการบริหาร

 

 

            - หัวหน้าหน่วยพัฒนาคณาจารย์

 

 

            - ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย

 

 

            - รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยสังคม

 

 

            - รองหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชสังคม คณะเภสัชศาสตร์

 

 

 

 

 

2.  งานด้านวิชาการเภสัชศาสตร์

 

 

            - อนุกรรมการพิจารณาศึกษาการใช้ยา วุฒิสภา

 

 

            - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

 

            - ประธานคณะกรรมการประเมินของกองทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม

 

 

 

 

 

3. งานด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร

 

 

            - อนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย

 

 

            -  อนุกรรมการการศึกษา และดำเนินงานการบำบัดรักษายาเสพย์ติดด้วยการใช้ภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร

 

 

 

 

 

4.  งานด้านสาธารณประโยชน์

 

 

            - กรรมการสมาคมสมุนไพรแห่งประเทศไทย

 

 

            - กรรมการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

 

 

            - ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา

 

 

            - กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา

 

 

  

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net