นักสังเกตการณ์ (The Observers) : การควบคุม/ขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บทเรียนจากหลายๆ กรณี (ตอน 2)

ชื่อเดิม : นักสังเกตการณ์ (The Observers) : การควบคุม/ขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ..บทเรียนจากกรณีทนายความสมชาย นีละไพจิตร, ปางแดง, เปมิกา-หมอประกิตเผ่า, สุกรี อาดัม ฯลฯ (ตอนที่ 2)

 

 

7 ตุลาคม 2550

 

 

หลังการพบปะกับญาติผู้ถูกควบคุมตัวภายใต้โครงการฝึกอาชีพ 4 เดือน นิปาดี ส่งข่าวว่าต้องเตรียมพร้อมประเด็น Habeas Corpus .. ก่อนหน้านี้ เมื่อปีที่แล้ว ตอนเราเตรียมวงคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้หลัก Habeas Corpus กับนักกฎหมายชาวเนปาล เราพยายามรวบรวมข้อมูล คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง ..ส่วนในเชิงทางปฏิบัติ เราทบทวนกันถึงหลายกรณีที่ทั้ง "เกือบได้ใช้" และ "ใช้ไปแล้ว" นับจากกรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร,ปางแดง, เปมิกา-หมอประกิตเผ่า และสุกรี อาดัม—อันที่จริง-กรณี "เปมิกา-หมอประกิตเผ่า" ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับพวกเรา หากแต่เกี่ยวในเชิงประเด็น เราจึงตามข่าวนี้

 

 

-1-

..เพราะคนทุกคนมีเสรีภาพที่จะไม่ถูกควบคุม/ขังตามอำเภอใจ

(Freedom from Arbitration Detention)

 

"เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกควบคุมในคดีอาญา หรือในกรณีอื่นใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา ขอให้ปล่อย คือ (1) ผู้ถูกคุมขังเอง (2) พนักงานอัยการ (3) พนักงานสอบสวน (4) ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือพัศดี (5) สามี ภริยา ญาติของผู้นั้น หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง

 

-มาตรา 90 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา-

 

 

จากหลักประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ว่า "คนทุกคนมีเสรีภาพที่จะไม่ถูกคุมขังตามอำเภอใจ" (Freedom from Arbitration Detention) การจำกัดสิทธิเสรีภาพในร่างกาย การเคลื่อนไหวของใครสักคน จะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุมีผลหรือมีกฎหมายสักฉบับอนุญาตให้ทำได้ หากมีข้อสงสัยว่า การควบคุมหรือขังนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎหมายรองรับหรือทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีการไต่สวนฝ่ายเดียว โดยด่วน ถึงความถูกต้องชอบธรรมของการควบคุม/ขัง หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องมีมูล ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ผู้คุมขังนำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยเร็ว และหากผู้คุมขังไม่สามารถแสดงเหตุผลให้ศาลพอใจไม่ได้ว่า การควบคุม/ขัง นั้น เป็นการชอบด้วยกฎหมาย ศาลสามารถออกคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทันที

 

กล่าวให้รวบรัด กฎหมายต้องการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกควบคุม/ขัง เพราะการควบคุม/ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในระหว่างการสอบสวน โดยไม่มีความจำเป็นและสมควรนั้น เป็นการผิดหลักการการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หลักการ Habeas Corpus หรือ Write Habeas Corpus จึงเป็นมาตรการสำคัญในการคุ้มครองตัวผู้ถูกควบคุม/ขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

หลักการของ Habeas Corpus นี้ปรากฏอยู่ในข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางแพ่ง ค..1966 (หรือ ICCPR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539), รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ก็นำหลักการนี้มาเขียนไว้ในมาตรา 240 และอยู่ในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 (แก้ไขเมื่อปี 2547) หรือแม้แต่รัฐธรรมนูญที่มาการรัฐประหารก็เขียนถึงไว้ในมาตรา 32

 

สำหรับ นักสังเกตการณ์ เรายังติดปากที่จะเรียกการใช้สิทธิในการขอให้ศาลตรวจสอบถึงความถูกกฎหมายหรือความชอบธรรมของการควบคุม/ขัง ว่า "Habeas Corpus" หรือ มาตรา 90 .วิอาญา หรือหากจะอ้างอิงถึงกฎหมายสูงสุด เรายังจดจำมันในฐานะ มาตรา 240 ตามตำแหน่งของมันในรัฐธรรมนูญฉบับที่หมดอายุไปแล้ว

 

-2-

ครั้งแรก-ในกรณีปางแดง

 

ปางแดงเป็นชื่อของชุมชน ในตำบลทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สมาชิกชุมชนประกอบไปด้วยกลุ่มดาระอั้ง (หรือประหล่อง) และลีซู เช้ามืดของวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ป่าไม้ ฯลฯ มากับรถกะบะ 17 คัน จำนวนประมาณ 200 นายเข้าล้อมบ้านปางแดง และนำตัวชาวบ้านไป 48 คน ..โดยปราศจากหมายค้น หมายจับ บอกเพียงแต่ว่า "ให้เป็นตัวแทนไปรับผ้าห่ม และรับการฝึกอบรม" และ "จะทำบัตรประชาชนให้" แล้ว "ตอนดึกจะมาส่งคืนถึงบ้าน ..ไม่ต้องกลัว" ..แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านปางแดงกลับถูกตำรวจตั้งข้อหาบุกรุกอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ที่พวกเขาอยู่มานานก่อนที่จะมีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเสียอีก

 

ภายหลัง 48 ชั่วโมง ตำรวจสภอ.เชียงดาว ได้นำตัว ผู้ต้องหา ทั้ง 48 ไปขออนุญาตฝากขังต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ตำรวจสภอ.เชียงดาว ซึ่งศาลมีอำนาจออกหมายขัง ผู้ต้องหา ได้ฝากละ 7 วัน (มาตรา 87 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา)--มองและคิดจากมุมข้อกฎหมาย—การควบคุมตัว/ขังโดยพนักงานสอบสวน 48 ชั่วโมงที่ผ่านไปแล้ว กับการคุมขังโดยอาศัยอำนาจศาลไปแล้ว 5 ฝากนั้น ไม่น่าจะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย เพราะการจับกุมซึ่งนำไปสู่การคุมขังนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการจับกุมในยามวิกาล ปราศจากหมายจับ หมายค้น ไม่มีการแจ้งข้อหา-ขัดต่อกฎหมายคือ มาตรา 4, 5, 26, 31 ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2540

 

ระหว่างการขออนุญาตขยายระยะเวลาฝากขัง ทีมทนายความ (นิติธร ล้ำเหลือ, สุมิตรชัย หัตถสาร, นภาพรอุปัณโณ ..ฯลฯ) จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลให้ดำเนินการไต่สวนว่าการคุมขังของพนักงานสอบสวนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจ มาตรา 90 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มาตรา 240

 

อย่างไรก็ดี จนถึงวันนี้-ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่า ในสายตาของกระบวนการยุติธรรมผ่านผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีความเห็นอย่างไรต่อการใช้สิทธิตาม มาตรา 90 นี้ ..เพราะ ณ วันที่ทีมทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวน ปรากฎว่า มี "กระบวนการเจรจาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม" ที่มีเนื้อหาใจความสรุปได้ว่า ..หากประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลังคำร้องตาม มาตรา 90 ก็คือ จำเลยได้รับการปล่อยตัว "หากศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัว" ก็น่าจะตรงกับความต้องการของจำเลยแล้ว--จริงไหม?

 

ในวงเล็บของความประโยคดังกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งของประโยคนี้ก็คือ การชี้ว่า การจับกุมควบคุม/ขัง ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า-ไม่จำเป็นอีกต่อไป หากจำเลยได้รับการปล่อยตัว โดยศาลมีคำสั่ง ก็ย่อมตรงกับความต้องการของจำเลยแล้ว  ..เย็นวันนั้น จำเลยทั้ง 48 ได้รับการปล่อยตัว โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน มีเพียงบุคคลค้ำประกันซึ่งก็คือทนายความ 7-8 คนที่รับผิดชอบในคดีนั้น

 

กรณีปางแดงเป็น "กรณีตัวอย่าง" ให้เราได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้ มาตรา 90 แม้ผลของมันจะหมายถึงอิสรภาพจากการถูกควบคุม/ขัง แต่เราก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากระบวนการยุติธรรมว่า แล้วการควบคุม/ขัง ที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อชาวบ้านปางแดงนั้น มันชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า..

 

 

-3-

ครั้งที่สอง กรณีสุกรี อาดัม

 

สุกรี อาดัม ถูกควบคุมตัวตามหมายจับตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.2548 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 โดยถูกกล่าวหาว่า มีส่วนร่วมในคดีฆ่าตัดคอชายคนหนึ่งในพื้นที่นาประดู่ จ.ปัตตานี และถูกนำตัวไปควบคุมที่ศูนย์วิวัฒน์สันติ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ญาติของสุกรีได้ร้องเรียนว่า สุกรีถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง (หรือ "ซ้อม") เพื่อให้รับสารภาพตามข้อกล่าวหา ภายหลังการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ยืนยันว่า สุกรีถูกทำร้ายร่างกายจริง และถูกดำเนินการในวิธีการที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษชนในระหว่างวันที่ 11-13 เมษายน 2550 เพื่อให้สารภาพ รวมถึงก่อนหน้านั้น ญาติเคยถูกปฎิเสธในการขอเข้าเยี่ยมสุกรี .. 10 วันนับแต่วันถูกจับ สุกรีถูกปฏิเสธสิทธิที่จะได้พบญาติ

 

นิปาดี ประสานงานกับพี่อนุกูล อาแวปูเต๊ะ ทนายความในพื้นที่เพื่อเดินหน้าการใช้สิทธิตาม มาตรา 90.. คำร้องถูกเขียนขึ้นโดยใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน ..นิปาดี ชวนคุยย้อนความถึงกรณีปางแดง "..คราวนี้ ผลจะออกมาดีกว่า กรณีปางแดงไหม ?"

 

วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 คำร้องถูกยื่นถึงศาลจังหวัดปัตตานี ใจความของคำร้องระบุว่า ขอให้ศาลดำเนินการไต่สวน โดยด่วน ว่า การควบคุมตัวสุกรี โดยศูนย์วิวัฒน์สันติ ค่ายอิงคยุทธบริหารชอบด้วยกฎหมายเป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากจะไม่ได้เป็นการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนแล้ว ยังมีการซ้อมทรมานซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, รัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวสุกรีทันที

 

หลังจากรับคำร้อง ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่ง "นัดไต่สวนวันพรุ่งนี้ (วันที่ 2 พฤษภาคม) เวลา 9.00 . แจ้งพนักงานสอบสวน ให้นำตัวผู้ถูกควบคุมมาศาลตามนัด" ปรากฎว่า ในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง พนักงานสอบสวนได้แถลงต่อศาลว่าได้มีการแจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อนายสุกรีแล้ว และขอนำตัวสุกรีไปสอบสวนที่สถานีตำรวจเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญากับสุกรี ..ผลก็คือ ศาลจังหวัดปัตตานีอนุญาตให้พนักงานสอบสวนนำตัวสุกรีไปสอบสวนที่สถานีตำรวจ

 

กรณีตัวอย่างที่สองนี้-ทำให้เรางุนงงอยู่วันเต็มๆ กับความเห็นและคำสั่งของศาลจังหวัดปัตตานี

 

 

-4-

กรณี "เปมิกา-หมอประกิตเผ่า"

 

ตอนนั้น-ด้วยความตื่นเต้น นิปาดี ส่งอีเมล์ข่าวของเปมิกาที่ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอให้มีคำสั่งปล่อยตัวหมอประกิตเผ่า โดยอ้างว่า โรงพยาบาลศรีธัญญาควบคุมตัวหมอ โดยไม่ชอบ เพราะเธอและพยานอีกหลายคนเชื่อและยืนยันว่า หมอประกิตเผ่าไม่ได้มีอาการทางจิต (27 กุมภาพันธ์ 2550) นิปาดี เขียนข้อความสั้นๆ ประกอบข่าวที่ส่งมา ว่า "เปมิกา ใช้ มาตรา 90"  นับจากนั้น-จากที่แค่ตามอ่านข่าว "เปมิกา" ด้วยมู้ดแบบอ่านข่าวชาวบ้าน ก็เปลี่ยนมาเป็นการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด

 

ข่าวรายงานว่า-ภายหลังการรับคำร้อง ศาลอาญาสั่งนัดไต่สวนคำร้องปล่อยตัวหมอประกิตเผ่า ในวันที่ 9 มีนาคม โดยไต่สวนคู่ความและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

หลังไต่สวนพยานทั้งหมดแล้ว สามวันต่อมา (12 มีนาคม) ศาลอาญาได้อ่านคำสั่ง โดยสั่ง "ยกคำร้อง" ของเปมิกา โดยศาลให้เหตุผลว่า "หมอประกิตเผ่าป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนและมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งมีอาการรุนแรง อาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่นได้ จึงมีความจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ จนกว่าอาการจะทุเลาลงและไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น"

 

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ศาลอาญาชี้ว่าการควบคุมตัวของโรงพยาบาลศรีธัญญานั้นเป็นการควบคุมโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

 

-5-

 

จำได้ว่า นิปาดี เคยเล่าว่า น่าเสียดายที่กรณีการถูกทำให้หายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ไม่ได้นำมีการตั้งประเด็นใช้ มาตรา 90 เพื่อขอให้ศาลเรียกให้ตำรวจที่ควบคุมตัวทนายสมชายเป็นคน/ชุดสุดท้าย คือ พ...เงิน ทองสุก อดีต สว.กอ.รมน. , ...สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์, ...ชัยเวง พาด้วง, ...รันดร สิทธิเขต และ พ...ชัชชัย เลี่ยมสงวน นำตัวทนายสมชายมาแสดงตัวที่ศาล และเพื่อให้ศาลไต่สวนว่าการควบคุมตัวทนายสมชายนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และด้วยความเป็นคดีอาญา ที่คู่กรณีเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ พนักงานสอบสวนและอัยการจึงเป็นคนตั้งประเด็นฟ้องทั้ง 5 คนเป็นจำเลยที่ 1-5 ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดโดยใช้กำลังประทุษร้ายและร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

 

12 มกราคม 2549 ศาลอาญา ได้มีคำพิพากษาตัดสินจำคุก พ...เงิน ทองสุก อดีต สว.กอ.รมน.ช่วยราชการ บก.. เป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากมีพยานเห็น พ...เงิน เป็นผู้ผลักตัวนายสมชายเข้าไปในรถเก๋งก่อนจะหายตัวไป ส่วน พ...สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์ อดีตพนักงานสอบสวน กก.4 . ...ชัยเวง พาด้วง อดีต ผบ.หมู่งานสืบสวน แผนก 4 กก.2 บก.ทท. ...รันดร สิทธิเขต อดีตเจ้าหน้าที่ธุรการ กก.4 . และ พ...ชัดชัย เลี่ยมสงวน อดีตรอง ผกก.3 . ศาลตัดสินยกฟ้อง

 

 

-6-

 

แม้ในกรณีปางแดง  ทนายความจะเป็นคนยื่นคำร้องแทนผู้เสียหาย หรือผู้ถูกควบคุมตัว ว่ามีการควบคุม/ขังโดยมิชอบ แต่ทนายความก็มีสถานะตามกฎหมายเช่นเดียวกับเปมิกา คือเป็น "บุคคลอื่นใด" ตามวงเล็บห้าของมาตรา 90 ขณะที่กรณีสุกรี อาดัม พ่อของนายสุกรี เป็นคนลงนามยื่นคำร้องในฐานะญาติ แต่อยู่ในวงเล็บห้าของมาตรา 90 เหมือนกัน

 

สำหรับ นักสังเกตการณ์ ทั้ง 3 กรณี มันมีคุณค่า-ความหมายในเชิงการทดสอบหลักนิติธรรมที่รัฐประชาธิปไตยยึดมั่นว่า "มาตรการการคุ้มครองผู้ถูกควบคุม/ขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย" สามารถทำงาน หรือคุ้มครองสิทธิผู้ถูกควบคุม/ขัง ได้จริง-ได้มากน้อยแค่ไหน ..แต่กับคำตอบจากกระบวนการยุติธรรม มีเพียงกรณีเปมิกา-หมอประกิตเผ่า ที่ชัดเจนว่าการควบคุมตัวหมอประกิตเผ่าของโรงพยาบาลศรีธัญญานั้นชอบด้วยกฎหมาย สำหรับกรณีปางแดงและกรณีสุกรีที่จบไป มันได้กลายเป็นคำถามค้างคาในใจพวกเราไปแล้ว-ว่า-ทำไมสิทธิของผู้ถูกควบคุม/ขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ได้รับการยืนยันหรือชี้ให้ชัดโดยกระบวนการยุติธรรม

 

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับการใช้ มาตรา 90 ในกรณีโครงการฝึกอบรมอาชีพ 4 เดือน ที่คำร้องขอให้ศาลจังหวัดระนอง ชุมพร และสุราษฎร์ธานีไต่สวนว่ากรณีโครงการฯ ดังกล่าว เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ในวันยื่นคำร้องต่อทั้ง 3 ศาล (เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม) ทั้ง 3 ศาลชี้เหมือนกันว่า คำร้อง "มีมูล" และนัดไต่สวนฝ่ายผู้ควบคุมตัวคือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 3 ค่าย และให้นำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลตามนัดในวันที่ 11 ตุลาคม (กรณีศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีและศาลจังหวัดชุมพร) และวันที่ 18 ตุลาคม (กรณีศาลจังหวัดระนอง)

 

..ครั้งนี้ เราจะได้เห็นความแตกต่างไปจากครั้งอื่น-ก่อนหน้า ??

 

----------------------------------------------------

 

 

อ่านต่อ ตอนที่ 3  "เพราะคนทุกคนมีเสรีภาพจากการถูกควบคุม/ขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย"

 


อ่านตอนก่อนหน้า

นักสังเกตการณ์ (The Observers) : โครงการอบรมอาชีพ 4 เดือน ..ความสมัครใจที่ถูกบังคับ (ตอนที่ 1)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท