Skip to main content
sharethis


นายระวัย ภู่พะกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์กรเภสัชกรรม(อภ.) และประธาน ICEM ไทย


 


ประชาไท - สมาชิกกว่า 20 ล้านคนของ สหพันธ์แรงงาน ภาคเคมีภัณฑ์ พลังงาน เหมืองแร่ และแรงงานทั่วไป นานาชาติ (International Federation of Chemical, Energy, Mine and General Workers" Unions: ICEM) เตรียมเคลื่อนไหวสนับสนุนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม ของประเทศไทย ในกรณีการคัดค้านร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่มีสาระสำคัญว่าให้ยกเลิกการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม


 


ซึ่งหากร่างพระราชกฤษฎีกานี้ผ่าน อาจจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าเอกชนเข้าร่วมแข่งขันทางการค้าและเวชภัณฑ์อย่างเสรี เป็นการเปิดตลาดเสรีในอุตสาหกรรมนี้  ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 9 .. 50 ICEM ได้แจ้งข่าวสนับสุนนการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์กรเภสัชกรรมของไทยอย่างเต็มกำลัง


โดยในวันที่ 12 .. 2550 ที่จะถึงนี้ เวลา 13.00 . สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์กรเภสัชกรรม, สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และองค์กรภาคประชาชนจะร่วมกันเดินขบวนกดดัน ที่หน้ากระทรวงสาธารณะสุข จ.นนทบุรี


"ในนามของสหภาพแรงงานภาคเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทั่วโลก ขอคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้" มานเฟรด วาร์ด้า (Manfred Warda) เลขาธิการทั่วไปของ ICEM กล่าว "เราเชื่อว่านั่นจะเป็นการผลักภาระในการดูแลสุขภาพของประชาชนออกจากรัฐ และมันจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น"


ทั้งนี้ในวันที่ 22-24 .. ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม ICEM World Congress ครั้งที่ 4 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต อันเป็นงานประชุมของสหภาพแรงงานทั่วโลกจากภาคผลิตและบริการต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมพลังงาน เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ เป็นต้น


โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 .. ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมจำนวน 500 คน เดินทางมาชุมนุมประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่มีสาระสำคัญว่า ให้ยกเลิกการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม


 


ซึ่งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมได้ระบุว่า หากปฎิบัติตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าเอกชนเข้าร่วมแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี อาจจะส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ที่จะต้องจ่ายค่ารักษาที่แพงขึ้น


 


ส่วน นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์กับมติชนว่าคงไม่มีการทบทวนเรื่องใหม่ โดยความเห็นส่วนตัว ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ นี้มีทั้งข้อดีและเสีย ข้อดีคือ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเปิดเสรีทางการค้า แต่ ข้อเสียคือ ประเทศไทยไม่มีเสรีทางการค้าอย่างแท้จริง ระเบียบต่างๆ ที่ออกมา ก็ยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมการทุจริตหรือฮั้วประมูลของหน่วยงานภาครัฐ เข้าใจว่าเจตนารมณ์หลักของ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้คือต้องการให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสและเป็นธรรม แต่การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เป็นเรื่องของสุขภาพคน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน


 



โดย นพ.มงคล กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรมได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมได้รับสิทธิพิเศษในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ แต่ต่อไปองค์การเภสัชกรรมจะไม่สามารถใช้วิธีพิเศษได้อีก


 


และองค์การเภสัชกรรมยังมีข้อจำกัดคือไม่สามารถจะแข่งขันในเชิงตลาดได้เทียบเท่าบรรษัทยาเอกชน เพราะมีข้อจำกัดหลายด้าน ยกตัวอย่างง่ายๆ แต่เพียงการขายยาทั่วไป ร้านขายยามักจะซื้อยาจากบรรษัทยาเอกชน หรือจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ขององค์การเภสัชกรรมเหตุผลหลักไม่ใช่เรื่องของคุณภาพยา หรือราคายา แต่เป็นเรื่องการกลัวถูกสรรพากรเรียกเก็บภาษี เพราะการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมจะมีหลักฐาน ใบเสร็จรับเงินอย่างชัดเจนว่ามีใคร หน่วยงานใด มีการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมบ้าง แต่หากเป็นการสั่งซื้อยาจากที่อื่น หรือจากตัวแทนผู้จำหน่ายทั่วไป สรรพากรจะไม่เข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนทำให้องค์การเภสัชกรรมไม่มีลูกค้าที่เป็นเอกชนรายใหญ่


 



…….


ที่มา:


Global Union Federation, ICEM, Calls for Defeat of Thai Public Health Amendments (ICEM, 9 พฤศจิกายน 2550)


หมอมงคล ยอมรับ อภ.กระทบ เลิกเอกสิทธิ์สู้บริษัทยาเอกชนยาก (เว็บไซต์มติชน, 3 พฤศจิกายน 2550)


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net