Skip to main content
sharethis

การประชุมกลุ่มภาคีเพื่อการพัฒนาครั้งที่ 12


คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง


ถ้อยแถลงจากกลุ่มภาคีเพื่อการพัฒนา


15 พฤศจิกายน 2550


 


คณะมนตรี สุภาพสตรี และสุภาพบุรุษทั้งหลาย


 


ดังที่ทุกท่านทราบ กลุ่มภาคีเพื่อการพัฒนา (The development Partners Groups) ได้มีการพบปะกันวานนี้ และขอนำเสนอถ้อยแถลงร่วมกันในประเด็นที่เราเห็นว่ามีความสำคัญต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ถ้อยแถลงมีขึ้นต่อแนวทางหลักที่สำคัญสองประการ


 


แนวทางหลักที่ 1: การปฎิรูปองค์กร


 


กลุ่มภาคีฯมีความยินดีที่ได้เห็นว่า คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ของกรรมาธิการแม่น้ำโขง รับข้อเสนอส่วนใหญ่ในการทบทวนองค์กร ซึ่งมีนัยยะสำคัญต่อการสร้างเสริมประสิทธิภาพ และต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวลต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรายินดีที่เห็นว่าจะมีหน่วยเฉพาะกิจ (Task Force) เข้าปฏิบัติการต่อโครงสร้างองค์กรของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ (road map) การสร้างโปรแกรมการปฏิรูปที่จะครอบคลุมทั้งส่วนสำนักเลขาธิการ (secretariat) และคณะกรรมการแม่น้ำโขง (Mekong Committees: NMCs) ของแต่ละประเทศสมาชิก ทั้งนี้ กลุ่มภาคีฯ มีความยินดีอย่างยิ่ง ที่จะมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนโดยผ่านมีกลุ่มร่วมประสานงาน (Joint Contact Group) และจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารข้อมูลการปฏิบัติการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและเปิดเผย


 


อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนที่มีการเห็นพ้องต้องกันแล้วนั้น เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความท้าทายที่มีอยู่ กลุ่มภาคีฯ ยังเป็นห่วงที่ข้อเสนอสำคัญบางข้อ ยังไม่มีการดำเนินการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับบทบาทและกระบวนการคัดสรรบรรดาผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (ข้อเสนอข้อ 11 + 12) ซึ่งเห็นว่า จะต้องมีการหยิบขึ้นมาพิจารณากันใหม่ภายใต้เป้าหมายของการปฎิรูปองค์กร


 


แม้ว่าเราจะรู้สึกมีกำลังใจที่เห็นว่าสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เริ่มมีการจัดการร่างแผนการขั้นตอนในการปฎิรูป แต่เราเชื่อว่า การปฎิรูปจะต้องมีจังหวะก้าวที่รีบเร่งมากขึ้น เมื่อดูจากสถานการณ์การพัฒนาที่ลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเผชิญหน้า ที่ตึงเครียดและท้าทายอย่างยิ่ง เรารู้สึกว่า ข้อเสนอแนะหลายข้อสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ ขอย้ำว่า กลุ่มภาคีฯได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการในข้อเสนอแนะที่เป็นบุริมสิทธิเหล่านี้อยู่แล้ว


 


การที่ประเทศสมาชิก (Member States) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเพิ่มงบประมาณให้แก่งบหลักของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ยังถือเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นๆ กลุ่มภาคีฯ ชื่นชมต่อหลักการความรับผิดชอบของประเทศสมาชิก อนึ่ง กลุ่มภาคีฯ ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมกันเร่งรัดกระบวนการจำแนกแยะแยะกลไกหลักของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และเพิ่มความเอาใจใส่ในประเด็นนี้ การทำเช่นนี้จะเป็นการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม ว่าประเทศสมาชิกมีความเป็นเจ้าของอย่างเข้มแข็งในสถาบันพหุภาคีสถาบันนี้


 


 


แนวทางหลักที่ 2: การพัฒนาลุ่มน้ำและบทบาทของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง


 


มีประเด็นท้าทายหลายประเด็นข้างต้นที่ได้สำแดงตัวเองออกมาในหลายรูปการณ์ ซึ่งองค์กรคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงมิอาจดำเนินการให้ลุล่วงได้ พวกเรามีความเป็นห่วงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงต้องแสดงความเป็นผู้นำในการประเมินโครงการพัฒนาใหญ่ๆ ที่กำลังถูกผลักดัน รวมถึงที่กำลังมีการสำรวจเพื่อสร้างเขื่อนไฟฟ้า


 


พวกเราตระหนักถึงความต้องการในการพัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้าที่ยั่งยืน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการพลังงานที่เติบโตขึ้นในภูมิภาคนี้ เราขอเสนอให้ประเทศสมาชิกทั้งหลายช่วยกันสนับสนุนให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสามารถปฏิบัติบทบาทของตัวเองในฐานะศูนย์รวมความรู้ และในฐานะกลจักรร่วมของรัฐบาลหลายประเทศ เพื่อจะให้แน่ใจได้ว่า ได้ก่อให้เกิดการประสานงาน เกิดกระบวนการภูมิภาคทียั่งยืนในการพัฒนาลุ่มน้ำ กลุ่มภาคีฯ ขอเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงใช้ความสามารถ เครื่องมือ และอำนาจที่ได้รับมอบหมายของตัวเองอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อประเมินแผนการพัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้า โดยใช้ความเห็นที่มีต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจและต่อสังคม โดยใช้เจตนารมณ์ของข้อตกลงปี 2538 เป็นพื้นฐาน


 


กลุ่มภาคีฯ มีความห่วงใย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่สาธารณชนและบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ไม่ได้รับการปรึกษาหารือ และผลกระทบจากเขื่อนต่อการประมงและความมั่นคงทางอาหารที่นับวันยิ่งเพิ่มพูนขึ้นมิได้รับความสนใจอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ เราขอเรียกร้องให้คณะกรรมการ (council) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนในการแจ้งให้รับทราบ การปรึกษาหารือล่วงหน้า และการทำให้เกิดข้อตกลง ว่ามีการนำไปใช้ปฏิบัติจริงอย่างไร 


 


โดยสรุป กลุ่มภาคีฯ ยืนยันความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อจะนำไปสู่การสนับสนุนคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน โดยจะใช้วิสัยทัศน์ระยะยาว เป็นตัวกำหนดการสนับสนุนด้านงบประมาณ ทั้งนี้ การปฎิรูปและการเสริมสร้างความสามารถของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รวมถึงการติดตามตรวจสอบและให้มีระบบการประเมินผลอย่างจริงจัง ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก


 


ถ้อยแถลงนี้จัดทำขึ้นในช่วงการประชุมกลุ่มภาคีฯครั้งที่ 12 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ที่เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา โดยมีสมาชิกภาคีเพื่อการพัฒนาให้การสนับสนุนตามรายนามข้างล่าง;


 


(เรียงตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ)


ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)


รัฐบาลออสเตรเลีย


รัฐบาลฟินแลนด์


รัฐบาลฝรั่งเศส


รัฐบาลเยอรมัน


รัฐบาลเนเธอร์แลนด์


รัฐบาลสวีเดน


สหภาพยุโรป


ธนาคารโลก


รัฐบาลสหรัฐอเมริกา


 







12th Meeting of the Development Partners Consultative Group

Mekong River Commission

Development Partners Group Statement

15 November 2007



Ministers,

Ladies and Gentlemen,

As you are aware, the Development Partners Group met yesterday and agreed
to deliver a Joint Statement on what we think are key issues for the
Mekong River Commission. In this respect, we built our Statement on two
main pillars:

Pillar 1: Organisational Reform

The Development Partners Group appreciates that the Joint Committee has
adopted a majority of the recommendations of the Organisational Review.
The Review is an important contribution to greater effectiveness of and
strengthened confidence in the MRC on the part of all stakeholders.
Development partners also welcome the work of the Task Force on the MRC
Organisational Structure. We note the development of the road map for a
comprehensive reform program for the MRC Secretariat (MRCS) and National
Mekong Committees (NMCs).  In this context, Development Partners
appreciate the opportunity for an ongoing dialogue through the Joint
Contact Group and that documents on the different steps on implementation
will be shared.

However, the agreed steps are only part of the challenge. Development
Partners remain concerned that some of the key recommendations have not
yet been addressed. In particular, Development Partners agree that the
role and selection process for MRCS Directors (Recommendation 11+12)
should be reconsidered for inclusion in the reform agenda.

While we are encouraged that the MRCS has mapped out reform steps, we
believe that the pace of reform should be increased given the serious
development challenges faced by the Mekong Basin.  We feel that many of
the recommendations could be implemented faster. We note that Development
Partners have made available financial means for implementation of
priority recommendations.  

The issue of Member States increased financial contributions to the MRC
core budget remains a priority to Development Partners who appreciate the
Member States" general commitment. Development Partners call upon the
Member States to accelerate the processs of defining the core functions of
MRC and increasing the members" contributions. This would be a concrete
demonstration of Member States" strong ownership of this multilateral
institution. 

Pillar 2: Basin Development and the Role of MRC

The unmet organizational challenges outlined above manifest themselves in
various ways. We are particularly concerned that the MRC must show
leadership in the assessment of major development initiatives, including
hydropower exploration.

We recognize the need for sustainable hydropower development as one means
to meet the growing energy demands in the region. We ask the Member States
to enable MRC to fulfil its role as a knowledge centre and
intergovernmental body to ensure a coordinated, sustainable regional
approach for basin development.  The Development Partners Group calls on
the MRC to fully utilize its capacities, tools and mandate to assess
hydropower development plans, with a view to transboundary environmental,
economic and social impacts in the spirit of the 1995 Agreement.

Development Partners are particularly concerned that public and private
stakeholders are not being consulted, and that the cumulative impacts of
dams on fisheries and food security are not being given adequate
attention. In this regard, we request the MRC Council to provide
information on how the procedures for notification, prior consultation and
agreement are being applied.

In conclusion, the Development Partners declare their commitment to work
towards harmonisation of their contributions to MRC with a long-term
vision of providing budget support. A reformed and strengthened MRC -
including a solid Monitoring & Evaluation system - is a prerequisite in
this context.


This Statement was supported at the 12th Development Partner Consultative
Group held on 15 November in Siem Reap, Cambodia by the following
development partners:

Asian Development Bank, Australia, Finland, France, Germany, Netherlands,
Sweden, EU Commission, World Bank, USA

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net