นักวิชาการต่างชาติโต้กก.แข่งขันทางการค้า ฐานอุ้มแอ๊บบอต เมินคนจน


ศ. ฌอน ฟลินน์ รองผู้อำนวยการโครงการความยุติธรรมด้านข้อมูลข่าวสาร และทรัพย์สินทางปัญญา คณะนิติศาสตร์ ม.อเมริกัน กรุงวอชิงตัน แสดงความเห็นโดยชี้ถึงช่องโหว่ ในคำตัดสินของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่ชี้ว่า .แอ๊บบอต ไม่ผิดพรบ.การแข่งขันทางการค้า

 

 

000

 


คำอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าต่อกรณี

บริษัท แอ๊บบอตฯ ปฎิเสธที่จะจำหน่ายยาต้านไวรัสในประเทศไทย

ฌอน ฟลินน์

17 มกราคม 2551


 

หนังสือฉบับนี้อธิบายถึงช่องโหว่ในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไทย ที่ให้ยกคำคัดค้านของกลุ่มผู้สนับสนุนและปกป้องสิทธิผู้ป่วยไทยต่อกรณีบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส ปฏิเสธที่จะจำหน่ายยาสำคัญต่อชีวิตผู้ป่วย พร้อมระบุเหตุผลสมควรยื่นอุทธรณ์ต่อศาลให้พิจารณากลับคำตัดสินนี้

 

 

ที่มา

ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 ถึง มกราคม 2550 ที่ผ่านมานั้น กระทรวงสาธารณสุขไทยได้ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐหลายฉบับด้วยกัน เพื่อจัดหายาชื่อสามัญของยาติดสิทธิบัตรบางรายการซึ่งมีราคาแพงไว้ให้บริการประชาชนภายใต้โครงการประกันสุขภาพของรัฐ หนึ่งในรายการยาที่รัฐประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิฯ ไปนั้นคือ ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ ซึ่งจัดจำหน่ายโดยบริษัท แอ๊บบอตฯ ในชื่อการค้าว่าคาเลทรา ทั้งนี้การประกาศใช้สิทธิตามสิทธิบัตรดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการใช้สิทธิโดยรัฐเท่านั้น โดยมีค่าตอบแทนการใช้สิทธิแก่เจ้าของสิทธิบัตร ฉะนั้นจึงเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าหรือทริปส์ขององค์การการค้าโลก และกฎหมายไทย

 

ทว่าในเดือนมีนาคม 2550 บริษัท แอ๊บบอตฯ ตอบโต้การประกาศใช้สิทธิโดยรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายนิ้ด้วยการประกาศยกเลิกคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่หลายรายการในประเทศไทย หนึ่งในนั้นได้แก่ ยาคาเลทรารูปแบบใหม่ที่ทนอากาศร้อนได้ดี รวมถึงยาอื่นๆ อีกหลายรายการที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศไทยมาก่อน

 

ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย (TNP+) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และกลุ่มองค์กรพันธมิตรและประชาชน ได้ยื่นคำฟ้องต่อกระทรวงพาณิชย์ไทย ให้มีคำสั่งให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าดำเนินคดีอาญากับบริษัท แอ๊บบอตฯ โดยในคำฟ้องระบุว่าการที่บริษัท แอ๊บบอตฯ ปฎิเสธที่จะจำหน่ายยาในประเทศไทยเพื่อเป็นการตอบโต้การประกาศใช้สิทธิโดยรัฐอันชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการละเมิดตามนัยมาตรา 25 (3) แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าไทย

 

ต่อมาในวันที่ 27 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีคำสั่งไม่รับฟ้องตามนัยมาตรา 25 (3) โดยมีหนังสือแจ้งความยาวหนึ่งหน้ากระดาษ พร้อมระบุเหตุผลว่า คณะกรรมการฯ มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าบริษัท แอ๊บบอตฯ ไม่เข้าข่ายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด

 

 

คำอุทธรณ์ประเด็นมาตรา 25 (3) : บริษัท แอ๊บบอตฯ เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไทยที่ระบุว่าบริษัท แอ๊บบอตฯ ไม่เข้าข่ายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดนั้นมีข้อบกพร่องอย่างเห็นได้ชัด

 

ด้วยกรณีนี้เกี่ยวพันกับการประกาศยกเลิกคำขอขึ้นทะเบียนสินค้าในประเทศไทยหลายรายการด้วยกัน รวมถึงยาคาเลทรารูปแบบใหม่ที่ทนอากาศร้อนได้ดี เพื่อเป็นการตอบโต้การประกาศใช้สิทธิโดยรัฐกับยาคาเลทรา สำหรับยาคาเลทรา และยาคาเลทรารูปแบบใหม่ที่ทนอากาศร้อนได้ดีนี้ บริษัท แอ๊บบอตฯ ถือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด เนื่องเพราะ ณ เวลาที่ดำเนินคดีนั้น ตลาดในประเทศไทยยังไม่มีสินค้าอื่นที่มีประสิทธิภาพพอทดแทนยาทั้งสองรายการนี้ได้

 

มาตรา 25 (3) แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าไทย ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่ง "มีอำนาจเหนือตลาด" กระทำการ "ระงับ ลด หรือจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ การจำหน่าย การส่งมอบ หรือการนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร" ซึ่งตามหลักกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มีใช้กันทั่วโลกนั้น เกณฑ์ "เหตุผลอันสมควร" กำหนดไว้ว่าพฤติกรรมนั้นๆ ต้องประกอบด้วยเหตุผลในทางสนับสนุนการแข่งขัน

 

แทนที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไทยจะตั้งข้อหาว่าบริษัท แอ๊บบอตฯ กระทำการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อบริษัทยกเลิกคำขอขึ้นทะเบียนนำเข้ายาเพื่อเป็นการบังคับใช้สิทธิฯ ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลไทย แต่กลับมีคำวินิจฉัยว่าบริษัท แอ๊บบอตฯ ไม่เข้าข่ายผู้มีอำนาจเหนือตลาด เพราะมีส่วนแบ่งตลาดไม่ถึงร้อยละ 50 หรือมียอดขายในปีที่ผ่านมาไม่ถึงหนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปตามประกาศคณะกรรมการฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งการตั้งเงื่อนไขข้อจำกัดการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดไว้เช่นนี้ ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากลว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า และดูเหมือนจะเป็นเงื่อนไขที่ปราศจากความชอบธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อพิจารณาจากเจตจำนงของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าไทย

 

คำว่าผู้มีอำนาจเหนือตลาด (ซึ่งมักเรียกกันว่า "อำนาจตลาด") โดยทั่วไปหมายถึงอำนาจในการควบคุมราคาหรือกำจัดคู่แข่งขัน หลักพิจารณาประการแรกซึ่งมักใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าผู้ถูกร้องเรียนนั้นมีอำนาจผูกขาดหรือไม่ก็คือลักษณะตลาดสินค้ารายการนั้นๆ ซึ่งโดยปกติจะใช้หลักพิจารณาว่า ในตลาดมีสินค้าอื่นพอทดแทนสินค้าของผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกร้องเรียนว่าเป็นผู้มีอำนาจผูกขาดหรือไม่ ทั้งนี้ ตลาดสินค้ารายการเดียวหมายถึงตลาดที่ไม่มีสินค้าอื่นที่มีประสิทธิภาพพอทดแทน

 

ณ เวลาที่ยื่นคำร้องนั้น ตลาดไม่มีสินค้าอื่นที่มีประสิทธิภาพพอทดแทนยาคาเลทรา หรือยาคาเลทรารูปแบบใหม่ที่ทนอากาศร้อนได้ดี ยาคาเลทราเป็นยาต้านไวรัสกลุ่มยับยั้งโปรตีเอสเพียงชนิดเดียวที่มีริโทนาเวียร์ซึ่งเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพที่สำคัญรวมไว้ในเม็ดเดียวกัน ริโทนาเวียร์เป็นตัวเสริมประสิทธิภาพที่สำคัญสำหรับยาต้านไวรัสกลุ่มยับยั้งโปรตีเอสแทบทุกชนิด ด้วยทำให้ยาแม้ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น ยาชนิดรวมเม็ดนี้ช่วยลดภาระจำนวนเม็ดยาที่ผู้ป่วยต้องรับประทานในแต่ละมื้อลง และจากรายงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่า ยาชนิดรวมเม็ดนี้ช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับยาคาเลทรารูปแบบใหม่ที่ทนอากาศร้อนได้ดีนั้น เป็นยาต้านไวรัสกลุ่มยับยั้งโปรตีเอสที่มีริโทนาเวียร์ซึ่งเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพที่สำคัญเพียงชนิดเดียวที่ยังคงคุณภาพได้ในสภาพอากาศร้อน และยังเป็นชนิดรวมเม็ดอีกด้วย ทั้งนี้ ยาคาเลทราเป็นยาต้านไวรัสกลุ่มยับยั้งโปรตีเอสที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ในคู่มือฉบับล่าสุดให้ใช้รักษาผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตรสำรอง

 

เนื่องจากในตลาดไม่มียาต้านไวรัสกลุ่มยับยั้งโปรตีเอสชนิดรวมเม็ดที่มีริโทนาเวียร์ซึ่งเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพที่สำคัญในลักษณะเดียวกันนี้มาทดแทน บริษัท แอ๊บบอตฯ จึงถือเข้าข่ายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดสำหรับตลาดยาชนิดดังกล่าว บริษัทไม่มีคู่แข่งเนื่องจากตลาดไม่มีสินค้าอื่นที่มีประสิทธิภาพพอทดแทน จึงมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการขึ้นราคาสินค้าได้ตามต้องการ ด้วยการปฏิเสธที่จะให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ซึ่งก็คือการกำจัดคู่แข่งขันไปจากตลาด ทั้งนี้ยาคาเลทราที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ณ เวลาที่ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิฯ นั้นมีราคาสูงกว่า 2,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของประชาชนในประเทศ (ตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศหรือจีดีพีต่อประชากรรายหัวของประเทศไทยคือ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อปี)

 

ในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าไทย ไม่มีมาตราใดวรรคใดสั่งการให้คณะกรรมการฯ ยินยอมให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มียอดขายไม่ถึงหนึ่งพันล้านบาทสามารถกระทำการในลักษณะผูกขาดได้โดยเสรี ด้วยเหตุนี้คำวินิจฉัยโดยอ้างตามประกาศของคณะกรรมการฯ จึงปราศจากความชอบธรรม และสมควรให้ศาลพิจารณากลับคำตัดสิน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจใช้อำนาจผูกขาดตลาดได้ไม่ว่าจะมีตลาดขนาดเล็กหรือใหญ่ อันที่จริงแล้วการใช้อำนาจผูกขาดกับตลาดขนาดเล็กอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้บริโภคยิ่งกว่า เนื่องจากเป็นตลาดขนาดเล็กจึงไม่จูงใจให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาทำตลาดแข่งขัน ซึ่งเท่ากับเป็นการทำให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดนั้นๆ ยิ่งมีอำนาจกำหนดราคาขายได้ตามต้องการ

 

การที่คณะกรรมการฯ ยอมให้มีพฤติกรรมในลักษณะผูกขาดเช่นในกรณีของบริษัท แอ๊บบอตฯ ได้นั้น ย่อมส่งผลกระทบใหญ่หลวง ในปี 2546 ประเทศไทยประกาศให้การรักษาเอดส์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งหมายความว่าจำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ประสิทธิภาพสูงอันประกอบด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปหรือ HAART จะมีเพิ่มขึ้นทุกปี นั่นหมายความว่าจะยิ่งมีผู้ป่วยที่เกิดการดื้อยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย รัฐบาลไทยประมาณการไว้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีคนไทยราว 50,000 ราย ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตรสำรอง ซึ่งมียาคาเลทรารวมอยู่ด้วย หากคำนวนจากราคายาที่บริษัท แอ๊บบอตฯ เสนอรัฐบาลไทยในปี 2549 จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยจำนวนข้างต้นนี้สูงถึง 3,600 ล้านบาท ซึ่งสูงเกินงบประมาณทั้งหมดของรัฐบาลที่จะใช้ในการจัดซื้อยาเอดส์ทุกๆ รายการ

 

ก่อนหน้านี้ ได้มีคำวินิจฉัยตัดสินคดีโดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าในทำนองเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อต้นปี 2543 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้รับหนังสือร้องเรียนว่า บริษัทยูบีซี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีรายใหม่ที่เพิ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ปฎิเสธที่จะให้บริการเคเบิ้ลทีวีขั้นพื้นฐานตามประสงค์ของผู้เป็นสมาชิกเคเบิ้ลส่วนใหญ่ซึ่งมีรายได้ปานกลาง คณะกรรมการได้วินิจฉัยชี้ขาดว่า การปฏิเสธที่จะจำหน่ายสินค้าพื้นฐานซึ่งเป็นที่ต้องการของประชากรส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยเข้าข่ายการปฏิเสธที่จะจัดจำหน่ายสินค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งผิดกฎหมายตามมาตรา 25 (3) ในทำนองเดียวกัน ในที่นี้ บริษัท แอ๊บบอตฯ ปฎิเสธที่จะจำหน่ายยาคาเลทรารูปแบบใหม่ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่มีฐานะยากจน ทว่าการที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไทยกล้าท้าทายยุทธศาสตร์การแบ่งส่วนตลาดที่ต่อต้านคนจนในกรณีของเคเบิ้ลทีวี แต่กลับไม่ทำอะไรเมื่อเป็นยาช่วยชีวิตคนนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง

 

 

++++++++++++

 

 

APPEAL OF THAILAND COMMISSION ORDER ON ABBOTT"S REFUSAL TO SELL AIDS MEDICATIONS IN THAILAND

 

Sean Flynn

January 17, 2008

 

This note explains why the recent order rejecting Thai patient advocates" complaint against Abbott Laboratories for refusing to sell life saving medicines is flawed and should be overturned on appeal.

 

Background

Between November 2006 and January 2007, the Thai Ministry of Health granted several compulsory licenses for the government use of generic versions of several costly patented medicines in its public health program. The medicines licensed included the two-in-one AIDS drug lopinavir+ritonavir, sold by Abbott as Kaletra. The licenses were issued for only government use, and included a royalty payment to the patent holder. By all accounts, the licenses issued are fully in compliance with the World Trade Organization"s Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights and with Thai law.

 

In March 2007, Abbott responded to the a lawful government licenses by announcing that it would withdraw applications to register for sale in Thailand of its new heat stable version of Kaletra as well as several other medications not yet approved for sale in Thailand. On April 26, a Thai network of people living with HIV/AIDS (TNP+), the AIDS ACCESS Foundation, and an alliance of supporting organizations and individuals filed a complaint with the Thai Ministry of Commerce to demand that the Thai Trade Competition Commission instigate criminal actions against Abbott. The complaint alleges that Abbott breached the Competition Act by refusing to supply drugs in Thailand in response to a legal government compulsory license in violation of section 25(3) of the Thai Competition Act.

 

On December 27, 2007, the Thai Trade Competition Commission issued a one page letter ruling rejecting the section 25(3) claim because it found that Abbott is not a dominant firm in the relevant market.

 

Appeal of Section 25(3): The Dominance of Abbott

The Thai Competition Commission"s finding that Abbott is not a dominant firm is a particularly glaring error.

 

This case involves the withdrawal of various products, including heat stabilized Kaletra, from the Thai market in response to a compulsory license on Kaletra. Abbott is dominant in the markets for both Kaletra and heat stabilized Kaletra because there were no adequate substitutes on the Thai market for either of these drugs at the time the action was taken.

 

Section 25(3) of the Thai Competition Act prohibits any firm "having market domination" from "suspending, reducing or restricting services, production, purchase, distribution, deliveries, or importation without justifiable reasons." In common competition law doctrine throughout the world, "justifiable reasons" standards require the offering of pro-competitive reasons for the action.

 

The Thai Competition Commission does not dispute that Abbott acted without justifiable reasons when it suspended registration for important drugs in response to a lawful government order. Rather, the Commission found that Abbott did not have market domination because it did not meet its regulatory definitions requiring over 50% market share and over 1,000 million baht turnover in the previous year. The Commission"s restrictive definition of market domination is not in accord with international competition law standards and appears arbitrary and unreasonable when assessed against the purposes of the Thai competition law.

 

Market domination (often called "market power") is most commonly defined as the power to control prices or to exclude competition. The first, and often definitive, step to determining whether a defendant has monopoly power is to define the relevant market. Product markets are normally defined on the basis of whether there are substitutes in a particular market for the good being offered by alleged monopolist. A product market is one for which there are no effective substitutes.

 

At the time of the complaint, there was no effective substitute for Kaletra or heat stabilized Kaletra. Kaletra is the only protease inhibitor on the market that comes in a single pill format boosted with ritonavir. Ritonavir boosts the effectiveness of nearly all protease inhibitor treatments, enabling better treatment with less milligrams of medicine. The single pill format cuts the number of pills patients must keep track of and health officials report that adherence to treatment with such regimes is radically improved. Heat-stabilized Kaletra is the only heat stabilized form of a ritonavir boosted protease inhibitor, and also comes in a single pill format. Kaletra is the preferred protease inhibitor in the World Health Organization"s most recent guidelines for second-line antiretroviral therapy.

 

Because there are not other similar two-in-one ritonavir boosted protease inhibitors, Abbott was a dominant firm in each of these markets. It faced no competition from viable substitutes and had complete power to raise prices and, through refusals to license patents, exclude competitors. Indeed, the price of Kaletra in Thailand at the time of the compulsory licenses was over $2,000 a year, a substantial portion of the average income of a person in the country (Thailand"s GDP per capita is $3,000 per year).

 

There is nothing in the Thai Act that instructs the Commission to give a free pass for the anti-competitive behavior of firms that do not have 1000 million baht turnover. That standard, implemented by regulation of the Commission, is arbitrary and should be overturned by a court. Firms may exert monopoly power in small markets as well as big ones. Indeed, the exertion of market power in small markets may be more harmful to consumers as they may offer fewer incentives for other firms to attempt to enter and compete in the market and therefore may multiply the pricing power of the dominant firm.

 

The repercussions of competition authorities giving a free pass to the anticompetitive conduct of firms like Abbott are enormous. Thailand committed itself to universal treatment for HIV/AIDS in 2003, which means that more and more PWAs are starting HAART each year. As more people remain on these therapies, more will develop resistance to first-line medications. The Thai government estimates that in the near future, 50,000 Thais will need access to second line treatment including Kaletra. At the price charged by Abbott to the Thai government in 2006, the cost of treatment for this many people would be 3,600 million bhat, a sum exceeding the government"s entire budget for all AIDS medicines.

 

There is a supportive case decided by Thailand"s Competition Commission. In early 2000, the Thai Competition Commission received complaints that the newly registered cable television company, UBC, was refusing to offer basic cable service desired by the majority of moderate income cable subscribers. The Commission ultimately found that the refusal to supply the basic product desired by the majority of poorer households was a potentially illegal refusal to supply without justifiable reasons under Section 25(3). Similarly, here Abbott is refusing to offer the version of its Kaletra product that is needed by most poorer consumers. The willingness of the Thai Commission to challenge anti-poor market segmentation strategies for cable television but not for life saving medications is shocking.

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท