บทความ: เข้าใจการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติจากพม่า ลาว กัมพูชา ปี 2551 อย่างง่ายๆ


เรียบเรียงโดย

อดิศร เกิดมงคล International Rescue Committee

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์  Peaceway Foundation

 

ช่วงนี้บ้านไหนที่ใช้แรงงานข้ามชาติหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า "แรงงานต่างด้าว" นั้น ต้องรีบพาแรงงานข้ามชาติหรือให้แรงงานข้ามชาติไปต่อใบอนุญาตทำงาน ก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลง  

 

ในปี 2551 นี้ จะมีแรงงานข้ามชาติที่จะสามารถไปต่ออายุได้เพียง 4 กลุ่ม เท่านั้น คือ

1. กลุ่มที่บัตรอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2551

2. กลุ่มที่บัตรจะหมดอายุในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551

3. กลุ่มที่จดทะเบียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และจังหวัดสงขลาในเฉพาะอำเภอจะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา เมื่อเดือนมีนาคม 2550

4. กลุ่มที่เคยจดทะเบียนไว้เมื่อปี 2547 แล้วปีต่อมา คือ ปี 48 ไม่ได้มาต่ออายุอีกเลยจนบัดนี้

 

            หลายคนคงงงว่าแล้วลูกจ้างบ้านเราอยู่กลุ่มไหน ?

วิธีการง่ายๆ คือ ขอดูบัตรลูกจ้าง ในบัตรจะบอกวันหมดอายุไว้ แต่บางบ้านที่จ้างลูกจ้างกลุ่มที่ 4 บัตรลูกจ้างอาจหายไปแล้ว ลองถามเขาดูว่า "เขายังจำเลข 13 หลัก ที่ทางกระทรวงมหาดไทยเคยออกให้ตอนที่ไปจดทะเบียนเมื่อปี 47 ได้อยู่ไหม" ถ้าเขาจำได้ถึงแม้ไม่มีบัตร ในปี 51 นี้ เขาก็สามารถไปขึ้นทะเบียนได้อีกครั้งหนึ่ง หรือถ้าเขาจำไม่ได้ แต่เขามั่นใจว่าตนเองเคยจดทะเบียนปี 47 จริง ให้ไปตรวจสอบเลข 13 หลักได้ที่อำเภอหรือเขตทุกแห่ง

 

ปี 51 นี้ สิ่งที่แตกต่างจากเดิม คือ เมื่อลูกจ้างไปขอใบอนุญาตทำงานแล้ว ลูกจ้างจะอยู่อาศัยในประเทศไทยได้ 2 ปี คือ อยู่ได้ถึงปี 53 ซึ่งแต่เดิมจะทำได้เพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ยังต้องต่อใบอนุญาตทำงานปีต่อปี

 

ในปีที่ผ่านๆมาหลายคนประสบความยุ่งยากในขั้นตอนการไปจดทะเบียน เราเล็งเห็นถึงความยุ่งยากในเรื่องดังกล่าว ทั้งการใช้ภาษาราชการ ขั้นตอนของลูกจ้าง ขั้นตอนของนายจ้าง จึงทำคู่มืออย่างง่ายๆขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพาลูกจ้างไปต่ออายุใบอนุญาตทำงานอีกครั้งหนึ่ง

 

ขั้นที่ 1              คัดกรองเบื้องต้นว่าลูกจ้างของบ้านเรา หรือตัว "แรงงานข้ามชาติเอง" อยู่ในกลุ่มไหน?

 

ขั้นที่ 2              สำหรับตัวแรงงานข้ามชาติ เมื่อรู้แล้วว่าตนเองอยู่ในกลุ่ม1-4 ให้ดูขั้นตอนต่างๆตามตารางด้านล่างนี้

 

ขั้นที่ 3              ถ้าแรงงานข้ามชาติไม่อยู่ใน 4 กลุ่มนี้ พูดง่ายๆคือ คนที่ไม่ได้ไปรายงานตัวตอนปี 47 ในสมัยรัฐบาลทักษิณที่เคยเปิดให้ขึ้นทะเบียนทุกคน หรือคนที่พึ่งเข้ามาอย่างไม่ถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 48 จนเดี๋ยวนี้ จะไม่สามารถไปจดทะเบียนในปี 51 นี้ได้ ให้รอไปก่อนจนกว่ารัฐบาลจะมีนโยบายใหม่ออกมา

 

ขั้นที่ 4              สำหรับตัวนายจ้าง ก่อนที่จะใช้ตารางข้างล่างนี้ ต้องแน่ใจว่าตนเองมีโควตาสำหรับจ้างแรงงานข้ามชาติแล้วด้วยเช่นกัน ถ้านายจ้างหรือผู้ที่จะจ้างแรงงานข้ามชาติยังไม่มีโควต้าหรืออยากจะขอโควตาเพิ่ม ให้ไปขอที่สำนักงานจัดหางานแต่ละจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานเขต ที่ตนเองจะต้องใช้แรงงานข้ามชาตินั้น เช่น ทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพ แต่จะจ้างไปเป็นแม่บ้านที่บ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งอยู่สมุทรปราการ ต้องไปขอโควตาที่จัดหางานจังหวัดสมุทรปราการ โดยสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 51 เป็นต้นไป

 

ขั้นที่ 5              ถ้าแรงงานข้ามชาติจะเปลี่ยนนายจ้างต้องไปทำเรื่องขอออกจากนายจ้างคนเดิมที่จัดหางานจังหวัดหรือจัดหางานเขต ก่อนไปต่อใบอนุญาตทำงานใหม่ และงานใหม่นั้นจะอยู่ในพื้นที่เดิมหรือนอกพื้นที่ก็ได้ ยกเว้นกรณีกลุ่มที่สาม คือ กลุ่ม 14 มีนาคม 2550 สามารถเปลี่ยนย้ายงานได้ในเฉพาะพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และจังหวัดสงขลาเฉพาะอำเภอจะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา เท่านั้น













กลุ่ม


กรณีมีลูกเพิ่มขึ้นมา
จะทำอย่างไร?


ขั้นตอนที่ 1

ไปรายงานตัว

ที่อำเภอหรือเขต

 


ขั้นตอนที่ 2

ไปตรวจสุขภาพ

ที่โรงพยาบาล

 


ขั้นตอนที่ 3

ไปขอใบอนุญาตทำงาน

ที่จัดหางาน


กลุ่มที่บัตรอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2551


สำหรับลูกที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติไว้เแล้ว และยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือลูกที่เกิดในประเทศไทยระหว่างที่พ่อแม่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัย

 

หากมีอายุครบเกณฑ์ที่สามารถจะทำงานได้และมีความต้องการทำงาน ก็สามารถดำเนินการขออนุญาตทำงานได้เลย คือ ไปตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทำงาน ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2551 (ขั้นตอนเหมือนพ่อแม่)

 

ส่วนลูกที่ไม่ทำงานนั้น ให้นำลูกพร้อมเอกสารหลักฐาน ไปรายงานตัวต่อสำนักงานเขตหรืออำเภอในพื้นที่ที่พ่อแม่มีชื่ออยู่


ไม่ต้องรายงานตัว


วันไหนก็ได้ แต่ต้องก่อนวันที่ไปขอใบอนุญาตทำงาน

 

ต่างจังหวัดไปตรวจได้ที่รพ.รัฐ ส่วนในกรุงเทพฯตรวจที่โรงพยาบาลราชวิถี, เลิศสิน, นพรัตน์ราชธานี, โรงพยาบาลกลาง, ตากสิน, เจริญกรุงประชาราช, วชิรพยาบาล, บางกอก 9 อินเตอร์เนชันแนลเท่านั้น

 

ควรเลือกรพ.ที่ใกล้หรือสะดวกสำหรับแรงงานที่สุด เพราะแรงงานจะต้องทำบัตรประกันสุขภาพ เพื่อใช้เข้ารักษาตัว หากเจ็บป่วยในอนาคต

 

และต้องเสียเงินค่าตรวจสุขภาพ 600 บาทต่อปี และค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาทต่อปี


1 -30 มิ.ย. 51

 

ไปที่จัดหางานจังหวัดหรือจัดหางานเขตที่แรงงานทำงาน

 

และต้องเสียเงิน 1,900 บาท

 

แต่ถ้าแรงงานเปลี่ยนนายจ้างใหม่ต้องยื่นเอกสาร 2 ฉบับ คือ คำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานปี 50 กับคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานปี 51 และเสียเงิน(ค่าธรรมเนียม) เพิ่มอีก 550 บาท รวมเป็นเงิน 2,450 บาท

 

ต้องนำเอกสารนี้ไปด้วย

 

อยู่กับนายจ้างคนเดิม

1.   ใบอนุญาตทำงานเดิม(บัตรชมพู) หรือใบเสร็จรับเงินปี 50 และทร38/1 สำหรับแรงงานที่ยังไม่ได้ใบอนุญาตทำงานตัวจริง

2.   ใบรับรองแพทย์หรือใบเสร็จรับเงินค่าตรวจสุขภาพ

3.   สำเนาขอโควตาของนายจ้าง

4.   ถ้าให้คนอื่นทำแทนต้องมีใบมอบอำนาจ และเสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท

 

อยู่กับนายจ้างคนใหม่

 

ต้องเพิ่มเอกสารอีก 2 ชิ้น คือ

5.   สำเนาใบแจ้งออกจากนายจ้างรายเดิม(ตท.10)

6.   แผนที่ของสถานที่ทำงานใหม่


กลุ่มที่บัตรจะหมดอายุในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551


กลุ่มนี้มีลูก ทำอะไรไม่ได้ ต้องรอนโยบายใหม่


ไม่ต้องรายงานตัว


วันไหนก็ได้ แต่ต้องก่อนวันที่ไปขอใบอนุญาตทำงาน

 

ต่างจังหวัดไปตรวจได้ที่รพ.รัฐ ส่วนในกรุงเทพฯตรวจที่โรงพยาบาลราชวิถี, เลิศสิน, นพรัตน์ราชธานี, โรงพยาบาลกลาง, ตากสิน, เจริญกรุงประชาราช, วชิรพยาบาล, บางกอก 9 อินเตอร์เนชันแนลเท่านั้น

 

ควรเลือกรพ.ที่ใกล้หรือสะดวกสำหรับแรงงานที่สุด เพราะแรงงานจะต้องทำบัตรประกันสุขภาพ เพื่อใช้เข้ารักษาตัว หากเจ็บป่วยในอนาคต

 

และต้องเสียเงิน

ค่าตรวจสุขภาพ 600 บาทต่อปี และค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาทต่อปี


1 -28 ก.พ. 51

 

ไปที่จัดหางานจังหวัดหรือจัดหางานเขตที่แรงงานทำงาน

 

และต้องเสียเงิน 1,900 บาท

 

รายละเอียดอื่นๆเหมือนกลุ่ม 1

 

 

 

 

 


กลุ่มที่เคยจดทะเบียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และจังหวัดสงขลาในเฉพาะอำเภอจะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา เมื่อเดือนมีนาคม 2550


กรณีนี้มีลูก ทำอะไรไม่ได้ ต้องรอนโยบายใหม่


ไม่ต้องรายงานตัว


วันไหนก็ได้ แต่ต้องก่อนวันที่ไปขอใบอนุญาตทำงาน

 

ต่างจังหวัดไปตรวจได้ที่รพ.รัฐ ส่วนในกรุงเทพฯตรวจที่โรงพยาบาลราชวิถี, เลิศสิน, นพรัตน์ราชธานี, โรงพยาบาลกลาง, ตากสิน, เจริญกรุงประชาราช, วชิรพยาบาล, บางกอก 9 อินเตอร์เนชันแนลเท่านั้น

 

ควรเลือกรพ.ที่ใกล้หรือสะดวกสำหรับแรงงานที่สุด เพราะแรงงานจะต้องทำบัตรประกันสุขภาพ เพื่อใช้เข้ารักษาตัว หากเจ็บป่วยในอนาคต

 

และต้องเสียเงิน

ค่าตรวจสุขภาพ 600 บาทต่อปี และค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาทต่อปี


13 ก.พ.-14 มี.ค. 51

 

ไปที่จัดหางานจังหวัดหรือจัดหางานเขตที่แรงงานทำงาน

 

และต้องเสียเงิน 1,900 บาท

 

รายละเอียดอื่นๆเหมือนกลุ่ม 1

 

 

 


กลุ่มที่เคยจดทะเบียนไว้เมื่อปี 2547 แล้วปีต่อมา คือ ปี 48 ไม่ได้มาต่ออายุอีกเลยจนบัดนี้ และต้องมีนายจ้างที่จะจ้างเข้าทำงานอย่างแน่นอนเท่านั้น

 


กรณีนี้มีลูก ทำอะไรไม่ได้ ต้องรอนโยบายใหม่


21 ม.ค.-19 ก.พ. 51

 

ไปยื่นคำร้องขอตรวจสอบประวัติในอดีตที่อำเภอหรือสำนักงานเขตที่ตัวแรงงานข้ามชาติทำงานอยู่  เพื่อคัดเอกสาร และออกเอกสาร ทร. 38/1 ใหม่

 

ขั้นตอนนี้ไม่เสียเงิน

 

ต้องนำเอกสารนี้ไปด้วย

 

1.   รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

2.   เอกสารทร.38/1 หรือบัตรประจำตัวของแรงงานข้ามชาติเดิม หรือหากไม่มีต้องจำชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขบัตรประจำตัวของตัวแรงงาน เพื่อขอคัดสำเนา

3.   สำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง


21 ม.ค.-5 มี.ค. 51

 

ต่างจังหวัดไปตรวจได้ที่รพ.รัฐ ส่วนในกรุงเทพฯตรวจที่โรงพยาบาลราชวิถี, เลิศสิน, นพรัตน์ราชธานี, โรงพยาบาลกลาง, ตากสิน, เจริญกรุงประชาราช, วชิรพยาบาล, บางกอก 9 อินเตอร์เนชันแนลเท่านั้น

 

ควรเลือกรพ.ที่ใกล้หรือสะดวกสำหรับแรงงานที่สุด เพราะแรงงานจะต้องทำบัตรประกันสุขภาพ เพื่อใช้เข้ารักษาตัว หากเจ็บป่วยในอนาคต

 

และต้องเสียเงิน

ค่าตรวจสุขภาพ 600 บาทต่อปี และค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาทต่อปี รวม 1,900 บาท


21 ม.ค.-28 ก.พ. 51

 

ไปที่จัดหางานจังหวัดหรือจัดหางานเขตที่แรงงานทำงาน

 

และต้องเสียเงิน 1,900 บาท

 

 

ต้องนำเอกสารนี้ไปด้วย

1.   ทร.38/1

2.   ใบรับรองแพทย์จากรพ.ที่แรงงานไปตรวจไว้ในขั้นตอนที่ 2

3.   สำนาใบโควตาของนายจ้าง

4.   บัตรประชาชนหรือ passport ของนายจ้าง

5.   หากไปไม่ได้ให้คนอื่นทำแทน ต้องมีใบมอบอำนาจและเสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท

 

 


ข้อควรรู้สำหรับนายจ้างและตัวแรงงานข้ามชาติ

 


  • ทั้งสี่กลุ่ม จะถูกยกเลิกการให้อยู่อาศัยชั่วคราวในประเทศไทย หากทำผิดดังนี้



    1. เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน โดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

 



  1. ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

 



  1. ออกจากเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต เว้นแต่ หนึ่ง กรณีของแรงงานที่ทำงานรับใช้ในบ้าน ที่เดินทางออกจากจังหวัดโดยติดตามนายจ้างหรือ สามีภรรยาของนายจ้าง  โดยจะต้องแสดงบัตรประจำตัวได้เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจ สอง กลุ่มลูกเรือประมงทะเล หรือขนส่งสินค้าทางน้ำ สามารถเดินทางออกนอกเขตจังหวัดได้โดยทางเรือ ไปทำงานในท้องที่ทุกท้องที่ที่มีท่าเรือทำการประมงทะเล หรือเส้นทางที่ใช่เป็นปกติของการขนถ่ายสินค้า แต่ห้ามไม่ให้ออกนอกท่าเรือประมงทะเล หรือขนถ่ายสินค้า

 



  1. หากมีรายงานจากหน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อยว่ามีพฤติกรรมขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข  หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอำนาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร

 


  • สามารถขออนุญาตออกนอกจังหวัดจากผู้ว่าฯ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายได้ 

(1) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

(2) เพื่อเป็นพยานในศาล

(3) เมื่อได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน

(4) มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐสังกัดกระทรวงแรงงาน

(5) เพื่อการรักษาพยาบาล

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท