เอ็นจีโอ 31 องค์กรทั่วโลกส่ง จม.เปิดผนึกปลุกสำนึก "ไชยา" เตรียมบุกทำเนียบฯ จี้ถาม "ซีแอล" วันนี้

อ็อกแฟม ร่วมกับองค์การหมอไร้พรมแดน เบลเยียม (ประเทศไทย) พร้อมด้วย 31 องค์กรด้านการเข้าถึงการรักษา, สถาบันการศึกษา และเครือข่ายผู้ป่วยทั่วโลกได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ยึดมั่นนโยบายการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาจำเป็นอย่างทั่วถึงของคนไทยโดยเฉพาะการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล)

ทั้งนี้ สาระสำคัญในจดหมายฉบับดังกล่าวถามถึงจุดยืนของกระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาลชุดใหม่ในเชิงนโยบายที่จะนำมาปฏิบัติเพื่อทำให้ประชาชนไทยมีโอกาสเข้าถึงยาจำเป็นอย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอความชัดเจนในท่าทีของรัฐบาลใหม่ต่อมาตรการบังคับใช้สิทธิฯ ซึ่งรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ประกาศใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากมาตรการบังคับใช้สิทธิฯ เป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีความสำคัญและมีประสิทธิภาพยิ่งในการปรับปรุงการเข้าถึงยารักษาโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

จดหมายยังระบุด้วยว่า ข้อสำคัญอีกประการ คือ การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีชื่อสามัญราคาถูกที่นำเข้าภายใต้มาตรการบังคับใช้สิทธิฯ นั้น ช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้อย่างมากและทำให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สามารถให้บริการยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ก่อผลข้างเคียงทางยาน้อย และง่ายต่อการติดตามการรักษาแก่ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้อีกเป็นจำนวนมาก

ยิ่งไปกว่านั้นเงินงบประมาณที่สามารถประหยัดได้นี้ยังช่วยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถขยายสิทธิประโยชน์ครอบคลุมผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่นโรคไตได้อีกด้วย

ตอนท้ายของจดหมายระบุว่า เวลานี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่างรอคอยให้มีการนำเข้ายาชื่อสามัญราคาถูกของยาต้านมะเร็งสามรายการที่ติดสิทธิบัตรและมีราคาแพงจึงต้องการเรียกร้องให้รัฐมนตรีให้คำรับรองว่าผู้ป่วยเหล่านี้

รวมถึงผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆจะไม่ต้องประสบกับความเดือดร้อนยากลำบากอันเป็นผลพวงมาจากการที่ยาจำเป็นต่อชีวิตติดสิทธิบัตรและมีราคาแพงเกินไป

โดยในวันนี้ (12 ก.พ.) ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เครือข่ายผู้ติดเชื้อ พร้อมเครือข่ายผู้ป่วยอื่นๆ และเครือข่ายผู้บริโภค นัดชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลภายใต้การณรงค์ "อย่าให้รัฐมนตรีกลายเป็นสินค้าผิดกฎหมาย เพราะขี้เหร่แถมไม่มีอย." เพื่อรอฟังท่าทีของรัฐบาลต่อมาตรการบังคับใช้สิทธิ

สารี อ๋องสมหวัง กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคระบุว่า การทำบังคับใช้สิทธิ(CL) ต้องบอกว่า เข้าลักษณะทั้งถูกใจและถูกต้อง เพราะสอดคล้องกับกฎหมายในประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศเรื่องสิทธิบัตร ที่สำคัญทำให้ยาราคาถูกลง เช่น ยาโคลฟิโดเกรล ซึ่งรักษาโรคหัวใจ เดิมราคา ประมาณ 80-120 บาท แม้กระทรวงสาธารณสุขจะพยายามต่อรองลดราคหหลายครั้งก็ตามา แต่ไม่เคยสำเร็จ แต่เมื่อประกาศทำ CL เรามียาราคาเพียงหนึ่งบาทยี่สิบสตางค์ใช้ในประเทศ

"ผู้ป่วย สังคมต้องการการเดินหน้าในเรื่องที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง กล้าหาญ หมดเวลาต่อรองผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ของสาธารณะอีกต่อไป"

 





เรียน ฯพณฯ ท่าน

ในฐานะตัวแทนภาคประชาสังคมและองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านสุขภาพและสิทธิมนุษยชน พวกเราขอร่วมแสดงความยินดีกับ ฯพณฯ ท่าน ไชยา สะสมทรัพย์ ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

เรียน ฯพณฯ ท่าน ท่านคงตระหนักดีถึงสถานการณ์ของประเทศไทยที่ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงยาจำเป็นต่อชีวิต อันเป็นปัญหาใหญ่ที่เราต่างรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง อันที่จริงแล้วทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับล่าสุด ต่างให้การรับรองและปกป้องสิทธิของประชาชนในการถือเอาประโยชน์จากมาตรฐานด้านสุขภาพเท่าที่พึงแสวงหาได้สูงสุด และในการนี้ การเข้าถึงยาจำเป็นจึงนับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการทำให้สิทธิดังกล่าวบริบูรณ์ ทว่าการให้ความคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรได้ทำให้ยากลายเป็นสินค้าหากำไรของธุรกิจเอกชน ซึ่งขณะนี้ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินการตามแผนเร่งรัดขยายการเข้าถึงยาที่จำเป็นต่อชีวิต แม้สิทธิบัตรจะเป็นเสมือนรางวัลตอบแทนความทุ่มเททำวิจัยและพัฒนาซึ่งใช้เวลานาน แต่ขณะเดียวกันก็ได้ทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากยาจำเป็นหลายๆ รายการที่ติดสิทธิบัตรยังคงมีราคาแพงเกินไป

ในโอกาสนี้พวกเราจึงใคร่ขอเรียนถาม ฯพณฯ ท่านถึงจุดยืนของกระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาลชุดใหม่ในเชิงนโยบายที่จะนำมาปฎิบัติเพื่อทำให้ประชาชนไทยมีโอกาสเข้าถึงยาจำเป็นอย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเราใคร่ขอความชัดเจนในท่าทีของรัฐบาลใหม่ต่อมาตรการบังคับใช้สิทธิฯ ซึ่งรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ประกาศใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันมีส่วนช่วยทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

พวกเราเห็นว่ามาตรการบังคับใช้สิทธิฯ เป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีความสำคัญและมีประสิทธิภาพยิ่งในการปรับปรุงการเข้าถึงยารักษาโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้ได้มีข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่ามาตรการบังคับใช้สิทธิฯ ช่วยสร้างดุลยภาพให้เกิดขึ้นได้ โดยมาตรการดังกล่าวนี้ช่วยจำกัดการผูกขาดตลาดอันเกิดแต่สิทธิบัตร และช่วยให้รัฐบาลสามารถยืนหยัดแสดงความรับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญในการส่งเสริมความเสมอภาคและปกป้องการสาธารณสุขของประเทศ

ข้อสำคัญอีกประการคือ การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีชื่อสามัญราคาถูกที่นำเข้าภายใต้มาตรการบังคับใช้สิทธิฯ นั้น ช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้อย่างมาก และทำให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถให้บริการยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ก่อผลข้างเคียงทางยาน้อยและง่ายต่อการติดตามการรักษาแก่ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้อีกเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นเงินงบประมาณที่สามารถประหยัดได้นี้ยังช่วยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถขยายสิทธิประโยชน์ครอบคลุมผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่นโรคไตได้อีกด้วย

เรียน ฯพณฯ ท่าน ในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาจำเป็น ประการแรกสุดนั้นจำต้องอาศัย "ความมุ่งมั่น" ของรัฐบาล พวกเราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลชุดนี้จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพร้อมกับจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อการนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราตระหนักและเข้าใจดีว่าเราจำเป็นต้องคิดหารูปแบบวิธีการอื่นๆ เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการขยายการเข้าถึงยาอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมาตรการการบังคับใช้สิทธิฯ ยังควรนำมาใช้ประกอบในแผนดังกล่าวด้วยเช่นกัน

เวลานี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่างรอคอยให้มีการนำเข้ายาชื่อสามัญราคาถูกของยาต้านมะเร็งสามรายการที่ติดสิทธิบัตรและมีราคาแพง ซึ่งรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเพิ่งประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิกับยาทั้งสามรายการไปเมื่อเร็วๆ นี้ พวกเราจึงต้องการเรียกร้องให้ ฯพณฯ ท่านให้คำรับรองว่าผู้ป่วยเหล่านี้ รวมถึงผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆ จะไม่ต้องประสบกับความเดือดร้อนยากลำบากอันเป็นผลพวงมาจากการที่ยาจำเป็นต่อชีวิตติดสิทธิบัตรและมีราคาแพงเกินไป

            เรียน ฯพณฯ ท่าน พวกเราเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่ทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ และพวกเรายินดีที่จะร่วมแบ่งปันความรู้ตลอดจนประสบการณ์กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของเราคือ ทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงยาอย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น

            ได้โปรดรับความคารวะอันสูงส่งจากพวกเรา

1. Dr. Jakkrit Kuanpoth
Senior Lecturer
Faculty of
Law University of Wollongong, AUSTRALIA

2. Professor Brook K. Baker
Northeastern U. School of Law
Program on Human Rights and the Global Economy
400 Huntington Ave. Boston, MA 02115

3. Health GAP (Global Access Project), USA

4. Galle KRIKORIAN,
Interdisciplinary Research Institute on Social Issues (IRIS),
France

5. Prof (Dr) Purvish M Parikh
Convener, Indian Co-operative Oncology Network
Room 6, Tata Memorial Hospital Parel, Mumbai 400012, India

6. Essential Action, Washington, DC, USA.
Contact: Robert Weissman, director,
rob@essential.org

7. Kevin Outterson
Associate Professor of Law
Director,
Health Law Program
Boston University School
of Law

8. Ellen R. Shaffer, PhD MPH
Joe Brenner, MA, Co-Directors
CPATH (Center for Policy Analysis on Trade and Health), USA

9. Victor W. Sidel, MD
Distinguished University Professor of Social Medicine
Albert Einstein College of Medicine
Bronx, NY, USA
vsidel@igc.org


10. David Legge, Melbourne, Australia
Associate Professor in Public Health, La Trobe University, Melbourne
Member, Public Health Association of Australia
Member, People"s Health Movement, Australia

11. Joana Ramos, MSW
Cancer Resources & Advocacy, Seattle WA, USA
http://ramoslink.info/

12. Azra Talat Sayeed
Organization: Roots for Equity, Pakistan

13. Mardge Cohen MD
Medical Director, Women's Equity in Access to Care and Treatment
Cook County/Stroger Hospital
WE-ACTx

14. Bernard J Cordes, M.D., M.P.H.
Consultant, Preventive Medicine and Public Health
Amphur Mueang, Jangwat
Chiang Mai

15. Denise Antunes do Nascimento
Organization:  Brazilian Association of Collective Oral Health - People's Health Movement, Porto Alegre City, BRazil

16. Deborah Gleeson, People's Health Movement, Australia

17. Romeo F. Quijano, M.D.
Professor, Department of Pharmacology
College of Medicine, University of the Philippines Manila

547 P. Gil St., Manila, Philippines


18. Dr AZIZ RHALI
coordinateur du Reseau Marocain Pour le Droit a la Sante
aziz_rhali@yahoo.fr

19. Martin Khor, Director
Third World Network

20. Mohammed Idris, President,
Consumers Association of Penang, Malaysia

21. J. Warren Salmon, Ph.D., Professor 
Pharmacy Administration
College of Pharmacy;
Health Policy & Administration
School of Public Health;
Public Policy Analysis
College of Urban Planning & Public Affairs
University of Illinois at Chicago

22. American Medical Student Association (AMSA)
AMSA represents over 60,000 physicians-in-training in the US and also internationally

23. Alex P. Margery - Ambassador of Hope NAP+.
ChairPerson Tanzania National Network of People with HIV/AIDS (TANEPHA).
P.o.Box 79937 Dar es Salaam,Tanzania

Email:
tanephatza@gmail.com

24. Beth Burrows
President/Directo
Edmonds Institute
20319-92nd Avenue West Edmonds, Washington 98020, USA

email:
beb@igc.org
website: http://www.edmonds-institute.org>

25. Ronald A. Sherman, Ph.D.
Healthgap,

760 Riverside Drive
3G
New York, New York 10031


26. M. Ruth Elliott
Grandmothers of Alberta for a New Generation (GANG)
Edmonton, Alberta, Canada


27. Prasanna Saligram
AID Bangalore / People's Health Movement
#15 & 16, 7th 'B' Cross,
12th Main, Garden Villas,
Marappa Gardens
Nagarbhavi
Bangalore - 560072


28. Shula Koenig
PDHRE
People's Movement for Human Rights Learning

526  West 111th St
Suite 4E

New York, NY  10025USA
E mail : pdhre@igc.org
Award winning Website:  http://www.pdhre.org


29. Ira Glazer
London School
of Hygiene and Tropical Medicine (Student)


30. Shah I Mobin Jinnah
Executive Director
Community Development Association (CDA)
Upa-Shahar, Dinajpur, Bangladesh.
Chairperson
People Health Movement (PHM), Bangladesh.
E-mail: ce@cdapo.org


31. Positive Malaysian Treatment Access & Advocacy Group (MTAAG+), Malaysia.

32. Oxfam International

33. Medecins San Frontieres - Belgium (Thailand)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท