ชุมชนตรังตระหนัก คนตายซ้ำ ปชช.ต้องจับตา แก้ไขระบบพยาบาล

เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สะท้อนปัญหาที่ได้รับจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในการเข้ารับบริการ โดยระบุว่า ทางออกต่อจากนี้ คือ บุคลากรด้านพยาบาลและประชาชนต้องร่วมกันแก้ไขนโยบายและระบบการรักษาพยาบาล

 

หลังจากมีหลายกรณี ทีป่ระชาชนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเขตจังหวัดตรัง เข้ารับบริการด้านสาธารณสุขแล้วเสียชีวิตลงนั้น เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง "ต่อไปนี้เราต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างมั่นใจ : บุคลากรด้านพยาบาลและประชาชนต้องร่วมกันแก้ไขนโยบายและระบบการรักษาพยาบาล"

 

โดยเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัดเห็นว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล ไม่ใช่ความผิดของบุคลากรซึ่งเป็นผู้ปฎิบัติงานด้านพยาบาลคนใดคนหนึ่ง เช่น สสจ. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น แต่รากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ระบบของการรักษาพยาบาลที่ถูกกำหนดมาจากระดับนโยบาย ซึ่งมิได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เห็นคนเป็นเพียงวัตถุ ซึ่งรวมทั้งบุคลากรด้านพยาบาลและผู้ที่เข้ารับการรักษา ทุกฝ่ายจึงล้วนเป็นเหยื่อของระบบที่ผิดพลาด

 

"ระบบที่ผิดพลาดของการรักษาพยาบาลได้แสดงปัญหาออกมาอย่างเป็นรูปธรรมคือ ทำให้มีการจ่ายเงินพิเศษใต้โต๊ะ ทำให้มีการรักษาด้วยมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้การบริหารไม่โปร่งใส ทำให้ไม่เกิดการมีส่วนร่วมจากสังคม ทำให้ผูกขาดอำนาจไว้ด้วยแนวคิดวิธีการต่างๆ และทำให้มีระบบที่ไม่เอื้อให้บุคลากรได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ตามจรรยาบรรณและความสามารถ เช่น ชั่วโมงทำงานมากเกินไป บุคลากรไม่เพียงพอ สวัสดิการน้อย เป็นต้น"

 

ข้อเสนอหลักที่เครือข่ายองค์กรชุมชนเทือกเขาบรรทัดเสนอคือ ทางเครือข่ายฯ และองค์กรพันธมิตรจะรวบรวมข้อมูลปัญหาที่เคยเกิดขึ้น เรียกร้องให้องค์กรต่างๆ บุคลากร และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาร่วมกันผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

 

 

 

สรุปข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบด้านลบ

จากการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลในเขตจังหวัดตรัง

(เท่าที่ทราบข้อมูล)

ข้อมูล    วันที่  26  ก.พ.  51

 










ชื่อผู้เสียหาย

 


อายุ (ปี)


รพ. ที่เข้ารับการรักษาตัว


ระยะเวลา


อาการ/  ผลการรักษา


แนวทางการแก้ไขปัญหา

ของภาครัฐ


แหล่งข้อมูล


นางปรีดา

ทองชุม

(เสียชีวิต)


43


รพ.ตรังรวมแพทย์/ รพ.ตรัง


21-31

ก.ค. 50


21 ก.ค. นางปรีดา ปวดท้อง ญาตินำส่ง รพ.ตรังรวมแพทย์ แพทย์ให้งดอาหาร ขณะนี้ยังช่วยเหลือตัวเองได้ พูดได้ เดินได้ เข้าห้องน้ำได้ วันต่อมาแพทย์แจ้งว่าเป็นผังผืดหุ้มลำไส้ ต้องผ่าตัด ให้ญาติเลือกว่าจะผ่าตัดที่ไหน ถ้าผ่าตัดที่ รพ.ตรัง จะประหยัดค่าใช้จ่าย ญาติเลือก รพ.ตรัง แพทย์จึงทำการส่งตัว

 

22 ก.ค. ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.ตรัง แพทย์ให้งดอาหาร ให้น้ำเกลือ ฉีดยาแก้ปวด รวม 9 วัน จึงผ่าตัด

 

31 ก.ค. แพทย์ผ่าตัดเอาผังผืดออกรวมทั้งลำไส้ส่วนหนึ่ง หลังออกจากห้องผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการแย่ลง จน 5 ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วยหมดสติ แพทย์ให้น้ำเกลือในเส้นเลือดใหญ่ และฉีดยา แต่อาการไม่ดีขึ้น จนกระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา


-ไม่มี-


นายโควิทย์ ทองชุม


เด็กหญิงอภิญญา  แต้มเฒ่า

(เสียชีวิต)


11


รพ.นาโยง/

รพ.ตรัง


4-6 ส.ค. 50


4 ส.ค. เวลา 01.00 น. ด.ญ.อภิญญา ท้องเสียและอาเจียน 3  ครั้ง  ญาติจึงนำส่ง รพ.นาโยง ในเวลา 03.00 น. ทางโรงพยาบาลได้ให้น้ำเกลือแล้วให้รอแพทย์ ต่อมามีอาการชักกระตุกและช็อก ญาติได้ร้องขอให้พยาบาลตามแพทย์เวรมาดูอาการหลายครั้ง แต่ไม่ได้มา

 

จนเวลา 09.00 น. พยาบาลได้ตามแพทย์อีกคนมาดูอาการ แพทย์ได้นำส่ง รพ.ตรัง เข้าห้องไอซียู แต่ไม่สามารถช่วยไว้ได้ ต้องเสียชีวิตในวันที่ 6 ส.ค. เวลา 01.00 น.

 


-นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา โฆษก สธ.ให้สัมภาษณ์ว่า นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัด สธ. สั่งการให้ นพ.วิรัช เกียรติเมธา นพ. สสจ.ตรัง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และอ้างว่ากรณีนี้เป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากผู้เสียหายน่าจะเป็นเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ เมื่อท้องเสียจะกระตุ้นให้เบาหวานกำเริบรุนแรง

 

-คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำจังหวัดตรัง นำโดย นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์  พิจารณาจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือครอบครัว 200,000 บาท

 


จังหวัดตั้งกรรมการสอบแพทย์ฯ ใน www.trang todaynews.com

(นสพ.กันชน 7 ส.ค. 50),

สธ. ชี้เหตุ เด็กหญิงอภิญญาฯใน กลุ่มสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข 7 ส.ค. 50, ชี้แจงเรื่องร้อนเรียน รพ.นาโยง ใน

www.moph .go.th

(ข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 8 ส.ค. 50), ผลพิจารณาช่วยครอบครัว "น้องป๊อบ" ใน

www.songkhlatoday. Com (หนังสือพิมพ์โฟกัส ภาคใต้ 29 ส.ค. 50)

 


นางจุฑามาศ เพ็ชรทรัพย์

(เสียชีวิต)


29


รพ.ห้วยยอด/

รพ.ตรัง


7-14

ส.ค. 50


7 ส.ค. นางจุฑามาศ ได้คลอดบุตรคนที่ 2 เป็นเพศหญิง น้ำหนัก 3,570 กรัม หลังคลอดมีอาการปกติ ไม่มีไข้ ให้นมบุตรได้ตามปกติ แพทย์ได้ให้กลับบ้านเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ส่วนบุตรหลังคลอดมีอาการตัวเหลือง แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว โดยนางจุฑามาศเฝ้าไข้ และแพทย์ได้ให้กลับบ้านในวันที่ 11 ส.ค. 

 

ต่อมาวันที่ 13 ส.ค. นางจุฑามาศ ได้กลับมา รพ.ห้วยยอด เป็นครั้งที่ 2 ด้วยอาการปวดแน่นท้อง น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ต่อมามีอาการช็อค ได้ส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.ตรัง เมื่อวันที่ 14 ส.ค. และเสียชีวิตในที่สุด

 


-นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา โฆษกกระทรวง สธ.ให้สัมภาษณ์ว่า นพ.มงคล ณ สงขลา รมต. สธ. สั่งการให้ นพ.วิรัช เกียรติเมธา นพ. สสจ.ตรัง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ

 

-สสจ.ตรัง ให้สัมภาษณ์ว่าแพทย์พยาบาลห้วยยอดได้ให้การดูแลผู้เสียชีวิตอย่างดีที่สุดตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตร ในเบื้องต้นได้มอบเงิน 12,000 บาท ให้ญาติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น นอกจากนี้จะพิจารณาจ่ายเงินค่าชดเชย และสนับสนุนนมผงสำหรับเลี้ยงเด็กเป็นเวลา 2 ปี

 


สธ.สั่งสอบข้อเท็จจริง เหตุเสียชีวิตของหญิงหลังคลอดฯ ใน www.thaigov.go.th

(รัฐบาลไทย 23 ส.ค. 50)


นายหัสกร

ชัยชนะ

(สงสัยว่าแพทย์จ่ายยาผิด เป็นเหตุให้ปัจจุบันเป็นไตวายระยะสุดท้าย)


42


รพ.ห้วยยอด/

สาธารณสุขชุมชนเทศบาลห้วยยอด/

รพ.ตรัง


 


เมื่อ พ.ศ.2549 นายหัสกร ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่ รพ.ห้วยยอด โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้สั่งยาลดความดันและยาขับปัสสาวะให้กลับไปทานที่บ้าน ตลอดจนนัดหมายให้มาในเดือนถัดไป ผู้ป่วยก็มาตามนัดและได้สอบถามแพทย์ว่ายาดังกล่าวส่งผลให้คันตามตัวหรือไม่ แพทย์ก็ตอบว่าเป็นยาอ่อน ไม่สามารถแพ้ได้ จึงให้ยาไปทานต่อ ผู้ป่วยก็รู้สึกถึงความผิดปกติขึ้นเรื่อยๆ จึงแจ้งแพทย์อีก แพทย์จึงสั่งหยุดยาขับปัสสาวะ ต่อมาแพทย์ได้ส่งตัวมารักษาที่สาธารณสุขชุมชนเทศบาลห้วยยอด โดยให้เหตุว่าเพื่อรับยาใกล้บ้าน

 

เมื่อมารักษาตัวที่สาธารณสุขชุมชนเทศบาลห้วยยอดก็ได้แจ้งอาการแพ้ยา แต่แพทย์บอกว่าเป็นโรคผิวหนัง และยังสั่งยาขับปัสสาวะให้ทาน (ทราบทีหลัง)

 

18 ก.ค. 49 ผู้ป่วยพบความผิดปกติต่อร่างกาย มีแผลพุพองตามแขน ขา ลำตัว ใบหน้า แพทย์เห็นว่าผิดปกติเลยตรวจละเอียดขึ้น พบว่าเลือดจาง และส่งตัวไปตรวจโรคผิวหนัง

 

ต่อมาได้เปลี่ยนมารักษาตัวที่คลินิกนายแพทย์ธวัช ฉีดยาแล้วดีขึ้น และได้แจ้งไปที่สาธารณสุขชุมชนเทศบาลห้วยยอด และ รพ.ห้วยยอด ว่าแพ้ยาขับปัสสาวะชนิดดังกล่าว

 

วันต่อมาได้พบนายแพทย์ธวัชที่คลินิกอีกครั้ง แพทย์แนะนำให้ทำเรื่องเข้ารักษาตัวที่ รพ.ตรัง โดยด่วน

 

เมื่อรักษาตัวกับนายแพทย์ธวัช ที่ รพ.ตรัง ก็พบว่าเป็นไตวายระยะสุดท้าย

 

ปัจจุบันต้องฟอกไตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเป็นคนไข้ในพระอนุเคราะห์ของพระองค์โสมสวลี พระวรชายา อย่างไรก็ตาม แม้นายหัสกร จะป่วยหนักก็ยังคงทำงานเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว

 


-ไม่ทราบ-


ร้อง รพ. ห้วยยอด ต้นเหตุไตวายระยะสุดท้าย? (หนังสือร้องเรียนของนายหัสกร) ในหนังสือพิมพ์ตนตรัง ฉบับที่ 46 วันที่ 16-31 ธ.ค. 50

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


นางอุไร

จันทร์มัด

(เสียชีวิต)


30


รพ.นาโยง/

รพ.ตรัง


13-20

ก.พ. 51


13 ก.พ. นางอุไรถูกรถเฉี่ยว ผู้เห็นเหตุการณ์ได้นำส่ง รพ.นาโยง ต่อมา รพ.นาโยงได้ส่งต่อไปยัง รพ.ตรัง โดยรักษาตัวที่ห้องไอซียู

 

16 ก.พ. นายแพทย์จาตุรงค์ ซึ่งเป็นแพทย์ที่รับผิดชอบหลักบอกว่าเลือดคั่งในสมอง รักษาตัวด้วยการให้กินยา

 

18 ก.พ. แพทย์สูตินรีเวช มาตรวจและบอกว่าผู้ป่วยแข็งแรง ไม่จำเป็นต้องเอาเด็กออก เลี้ยงให้โตในครรภ์ดีกว่าอยู่ในตู้อบ หลังจากนั้นนายแพทย์จาตุรงค์ ทำการรักษาโดยการเจาะคอผู้ป่วย จึงไม่สามารถพูด

 

19 ก.พ. แพทย์บอกว่าไม่ต้องห่วง อาการทางสมองของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ

 

20 ก.พ.

-ช่วงเช้า ผู้ป่วยเริ่มสื่อสารกับญาติโดยการเขียนหนังสือ

-ช่วงบ่ายก็เริ่มหายใจได้เอง แพทย์จึงเปลี่ยนเครื่องช่วยหายใจ และย้ายเตียงให้ห่างจากพยาบาล

 

-ประมาณ 16.00 น. ผู้ป่วยเขียนบอกให้สามีพาลูกคนโตกลับไปก่อน ต่อมาพยาบาลให้สามีออกนอกห้อง โดยให้เหตุผลว่าหมดเวลาเยี่ยม

 

-ประมาณ 18.50 น. สามีมาเยี่ยมตามปกติ พบว่าผู้ป่วยนอนน้ำลายฟูมปาก จึงขอผ้าเช็ดปาก แต่พยาบาลไม่ให้ บอกให้ใช้ปลอกหมอน หลังจากนั้นพบว่าผู้ป่วยนอนนิ่ง สายออกซิเจนที่คอหลุด สามีเรียกพยาบาล แต่ไม่ได้มาโดยทันที ต้องเรียกถึง 5 ครั้ง เมื่อพยาบาลมาแล้วไม่ได้พูดอะไร แต่กลับไปเคาเตอร์ เรียกพยาบาลและกลับมาอีกครั้ง

 

-ประมาณ 19.00 น. พยาบาลให้สามีออกจากห้อง

 

-ประมาณ 19.30 น. แพทย์ปลอบญาติให้ทำใจ ไม่รอดแล้วทั้งแม่ทั้งลูก

 

-ประมาณเที่ยงคืน ญาตินำศพกลับบ้าน

 


-คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำจังหวัดตรัง พิจารณาจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือครอบครัว 200,000 บาท นอกจากนี้ มีการลงขันจ่ายเงินชดเชยเพิ่มอีก 300,000 บาท

 

-22 ก.พ. นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา โฆษก สธ. ให้สัมภาษณ์ว่า นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัด สธ. สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุการตายของนางอุไร โดยมอบหมายให้ นพ.ธงชัย เติมประสิทธิ์ ผู้ตรวจราชการ สธ. ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

 

-22 ก.พ. นพ.สมนึก เชื้อทอง ผอ. รพ.ตรัง ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง 1 ชุด ประกอบด้วย นิติกร สธ., แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รพ.ตรัง 2 คน, พยาบาลวิชาชีพ 2 คน โดยมี นพ.ศักดิ์วุฒิ รัตนุกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านโสด ศอ นาสิก รพ.ตรัง เป็นประธาน

 


นายตะวัน  จันทร์มัด,

สธ. เร่ง รพ.ตรัง ชี้แจงกรณีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตฯ ใน www.news.mcot.net (สำนักข่าวไทย 22 ก.พ.

51), สั่งสอบ รพ.ตรัง ใน www.siangtai.com (หนังสือพิมพ์เสียงใต้ 23 ก.พ. 51)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท