Skip to main content
sharethis

ชลธิชา ดีแจ่ม


 


คุณเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ไหม


ทำไมรถคันหน้าขับช้ามากแต่อยู่เลนส์ขวาสุด, ทำไมคันหน้าขับรถไม่ตรงเลนส์ หรือทำไมรถคันหน้าขับเก้ๆกังๆจะเลี้ยวก็ไม่เลี้ยวจะตรงก็ไม่ตรง พอขับไปใกล้ๆก็เห็นเลยว่าคุยโทรศัพท์ขณะขับรถอยู่


 


แล้วคุณหล่ะเคยคุยโทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่ หลายๆคนคงไม่ปฏิเสธว่า "เคย" และอีกหลายคนอาจจะคุยจนลืมไปว่าขับรถอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แต่ยังก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย


 


"โทรแล้วขับ ชีวิตดับสูญ"


 


ตัวอย่างกรณีของชายหนุ่มอายุเพียง 27 ปี เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา โอ๊ต-วิทวัส ขอทวีวัฒนา เป็นมือเบสและแบ็คอัพวง Peachmaker และ Doobadoo ได้เสียชีวิตโดยสาเหตุมาจาก เมาแล้วขับและคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ จากคำบอกเล่าของเพื่อนกล่าวว่า


 


อาร์มได้โทรหาโอ๊ต กำลังขับรถกลับจากไปงานที่ทองหล่อ..กำลังกลับบ้าน...คุย ๆ อยู่ก็มีเสียงดัง.ปึง..แล้วสายก็ตัดไป...โทรไปอีกทีไม่มีคนรับ...อาร์มกังวลเลยโทรหาดอน.....ดอนก็โทรเข้ามือถือโอ๊ตจนมีคนรับ...กลายเป็นเจ้าหน้าที่รับสาย...ถามว่าเป็นอะไรกับเจ้าของรถ..บอกเป็นเพื่อน...เค้าก็บอก..เจ้าของรถเสียชีวิตแล้ว...


 


อีกหนึ่งเหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.. 2549 เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกสิบล้อพุ่งชนรถรับส่งนักเรียนโรงเรียนไตรรัตน์วิทยาคาร ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นเหตุให้มีนักเรียนเสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บจำนวน 4 คน เนื่องมาจาก คนขับรถอยู่ระหว่างการคุยโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่ได้ยินเสียงแตรรถสิบล้อที่บีบ  


 


จากตัวอย่างที่ยกมานั้น คงไม่ใช่เพียงแค่ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดการสูญเสีย แต่การสูญเสียครั้งนั้นคงจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐและทุกฝ่ายได้เล็งเห็นผลกระทบของการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ


 


...ช่วยชีวิต


 


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เสนอมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป โดยกำหนดห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่ เนื่องจากพบว่าปัจจุบันผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคล จึงมีการยกร่าง พ...ดังกล่าวขึ้นมา


 


ประกาศ พ...จราจรทางบก (ฉบับที่ 8) ..2551 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก โดยมีการเพิ่มข้อบังคับใน (9) ของมาตรา 43 แห่ง พ...จราจรทางบก พ..2522 โดยมีสาระสำคัญระบุว่า ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องไม่ใช้ในเวลาที่ขับรถ เว้นแต่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับสนทนา โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ออกประกาศ คือประมาณวันที่ 7 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป


 


กฎหมายเหล่านี้มีหลายประเทศได้กำหนดใช้มานานแล้ว ประเทศที่ห้ามใช้มือถือแต่อนุญาตให้ใช้แฮนด์ฟรีได้เหมือนกับประเทศไทยมีทั้งหมด 38 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ บราซิล เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส เป็นต้น ประเทศที่ห้ามใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ รวมทั้งอุปกรณ์เสริม "แฮนด์ฟรี" พบว่ามี 4 ประเทศคือ อิสราเอล ญี่ปุ่น โปรตุเกส และสิงคโปร์  นั้นเป็นเพราะประเทศดังกล่าว มีระบบการจราจรที่ดี ไม่หนาแน่น และมีระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้า รถขนส่งมวลชน และรถไฟฟ้าใต้ดินที่ดี ในกรณีที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ สามารถหาที่จอดรถเพื่อพูดโทรศัพท์ได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับประเทศไทย ส่วนประเทศที่ใช้โทรศัพท์มือถือได้แต่ต้องเสียค่าปรับ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขณะโทร มีประเทศ สาธารณรัฐเชค ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร


 


ส่วนประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯน่าจะเหมาะกับการใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆหรือแฮนด์ฟรีในขณะขับรถและยกเว้นสำหรับรถยนต์ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารประจำรถยนต์ เช่น รถของทางราชการทหาร ตำรวจ ปอเต็กตึ๊ง เป็นต้น เนื่องจากสภาวะของการจราจรติดขัดมาก ไม่สามารถหาที่จอดรถเพื่อพูดโทรศัพท์ได้ และระบบขนส่งมวลชนยังไม่เพียงพอ


 


การออกกฎหมายมาใช้อย่างเดียวคงไม่พอ หากต้องมีฝ่ายที่คอยรณรงค์และคอยสนับสนุนเรื่องนี้ด้วย


 


โทรแล้วขับอันตราย เลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้อุปกรณ์เสริม


 


นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับในฐานะประธานโครงการโทรไม่ถือ ได้ช่วยเป็นเจ้าภาพในการรณรงค์โครงการนี้ด้วย เนื่องมาจากเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการรณรงค์ลดอุบัติเหตุมานานและยังมี 14 องค์กรพันธมิตรที่มีความห่วงใยต่อปัญหาการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ อาทิ เอไอเอส ทรูมูฟ ดีแทค ฮัทช์ เป็นต้น


 


สำหรับชื่อโครงการ ที่ใช้ชื่อว่าโทรไม่ถือ แทนที่จะใช้โครงการโทรไม่ขับ นายแพทย์แท้จริงได้ชี้แจงว่า กฎหมายอนุญาตให้ผู้ขับขี่รถสามารถโทรศัพท์ได้ แต่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม การใช้โทรไม่ขับจะทำให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสน จริงๆ แล้วผู้ขับขี่ยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้ปกติ เพียงแต่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อความปลอดภัยทั้งกับตัวผู้ขับขี่และเพื่อนร่วมทาง


 


"อยากจะเชิญชวนทุกท่านร่วมกันสนับสนุนกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์ขณะขับรถด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมทุกครั้งที่ต้องใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ อีกทั้งเมื่อท่านจะโทรศัพท์หาใคร ประโยคแรกก่อนการสนทนาว่า "ขับรถอยู่หรือเปล่า ค่ะ/ครับ" เพี่ยงเท่านี้ทุกท่านก็มีส่วนร่วม ทำให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนนได้แล้ว" นายแพทย์แท้จริง กล่าว


 


"แฮนด์ฟรี" ช่วยได้จริงหรือ


 


ถึงอย่างไรก็ตามนักวิจัยและนักจิตวิทยาหลายคนต่างออกมาพูดถึงการใช้อุปกรณ์เสริมหรือแฮนด์ฟรีว่า อาจเกิดอันตรายได้ ไม่ต่างกับการใช้มือถือ เพราะจะไปลดทอนการทำงานของสมอง ที่กำลังติดตามสภาพของถนนอยู่ อย่างรวดเร็วและรุนแรง ยิ่งถ้าเป็นการพูดคุยอย่างมีความรู้สึก โดยเฉพาะในเรื่องเศร้าด้วยแล้ว ก็จะยิ่งหันเหความตั้งใจอันจำเป็นกับการขับรถออกไป


ตัวอย่างงานวิจัยของ "เดวิด สเตรเยอร์" ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยยูท่าห์ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยเรื่องผลกระทบจากขับขี่รถยนต์ขณะใช้มือถือ ระบุว่า ผลการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการติดตามเก็บข้อมูลจากอาสาสมัคร 40 คน ซึ่งเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์จำลองสภาพการขับขี่รถยนต์ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ กัน การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ ไม่ว่าจะใช้มือหยิบขึ้นมาโทร. หรือ โทร. ผ่านระบบแฮนด์ฟรี มีผลทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะของคนเราลดลง ทั้งยังลดลงในระดับย่ำแย่ ใกล้เคียงกับคนที่ดื่มเหล้า-เมาแล้วขับรถยนต์อีกด้วย


 


"เดวิด" ได้วิจัยเรื่องผลกระทบจากขับขี่รถยนต์ขณะใช้มือถือ ระบุว่า ผลการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการติดตามเก็บข้อมูลจากอาสาสมัคร 40 คน ซึ่งเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์จำลองสภาพการขับขี่รถยนต์ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ กัน


คณะวิจัยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย


(1.) กลุ่มที่ขับรถในสภาพปกติ ปราศจากสิ่งรบกวน
(2.) กลุ่มที่คุยมือถือขณะขับรถ
(3.) กลุ่มที่คุยมือถือผ่านระบบแฮนด์ฟรีขณะขับรถ และ
(4.) กลุ่มที่ดื่มเหล้าขาววอดก้าเข้าไปจนมีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายสหรัฐกำหนด นั่นคือ 0.08 เปอร์เซ็นต์

ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองพบว่า ความสามารถในการขับรถของกลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่แตกต่างกัน หมายความว่าการใช้ระบบแฮนด์ฟรี มีส่วนทำให้เสียสมาธิและไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ โดยในเรื่องปฏิกิริยาตอบสนองด้านการเหยียบ "เบรก" ของกลุ่มที่ 2-3 พบว่า เชื่องช้ากว่ากลุ่มที่ 1 ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนั้น ความสามารถในการรักษาความเร็วรถให้อยู่คงที่และให้ห่างจากรถคันหน้าในระดับที่เหมาะสมของกลุ่มที่ 2-3 ยังลดลงมาเหลือเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อจำเป็นต้องเร่งทำความเร็วให้กลับสู่ระดับที่เหมาะสม พบด้วยว่า กลุ่มที่ 2-3 มีปฏิกิริยาตอบสนองช้ากว่าคนไม่คุยมือถือ 19 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 4 หรือ กลุ่มเมาแล้วขับ พบว่า กลุ่ม 2-3 ไม่ได้มีความสามารถควบคุมรถยนต์เหนือกว่าแต่อย่างใด



ดังนั้น คณะนักวิจัยยูท่าห์จึงเสนอว่า ถ้ารัฐบาลต้องการเอาจริงเอาจังกับนโยบายลดอุบัติภัยบนท้องถนน ก็ควรออกกฎหมายห้ามประชาชนใช้มือถือและห้ามใช้ระบบแฮนด์ฟรีขณะขับรถ เช่นเดียวกับที่มีกฎหมายห้ามคนเมาขับรถ!


 


กรณีศึกษา "โครงการเมาไม่ขับ" ที่มีการออกกฎหมายพระราชบัญญัติตั้งแต่ปี พ.. 2522


 


นายสุทรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ บอกเล่าถึงโครงการมูลนิธิเมาไม่ขับว่า "เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2539 โดยคุณดำรง พุฒตาล เป็นประธานผู้ก่อตั้ง ร่วมกับนายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช และคนที่ห่วยใยปัญหาอุบัติเหตุอีกจำนวนมาก ปัญหาอยู่ที่ว่าคนจำนวนมากที่เสียชีวิตจากสาเหตุเมาแล้วขับ ดังนั้นเราจึงต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือถ้ากินเหล้าแล้วก็อย่าออกไปขับรถเป็นอันตรายกับตัวเขาเองและผู้อื่น อันนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ออกมารณรงค์"


 


สถิติผู้เสียชีวิตที่ผ่านมา ปี 2550 เสียชีวิต 12,492 คน บาดเจ็บ 790,290 คน เปรียบเทียบกับปี 2549 เสียชีวิต 12,693 คน บาดเจ็บ 834,380 คน โดยร้อยละ 50 มีสาเหตุมาจากการเมาแล้วขับทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บ


 


ดูจากสถานการณ์แล้วตัวเลขของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ปีก็ไม่ได้ลดลงเลย แม้ว่าทางภาครัฐได้ออกกฎหมายมาควบคุมอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับที่ยังเป็นปัญหาหลักอยู่ เช่นเดียวกับการออกกฎหมายห้ามโทรศัพท์ขณะขับรถ


 


"แม้ว่าปัจจุบันประชาชนรับทราบเกี่ยวกับเรื่องพิษภัยของการดื่มสุราแล้วขับรถ แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่ใส่ใจอยู่เยอะ จะให้ทุกคนใส่ใจเหมือนกันหมดก็คงไม่ได้ แนวโน้มคือสังคมเริ่มที่จะกดดันและไม่ต้อนรับคนที่เมาแล้วขับมากขึ้น กฎหมายก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มมาตรการมากขึ้นอย่างรัฐบาลชุดที่แล้วก็ได้เพิ่มบทลงโทษของการเมาแล้วขับมากขึ้นจากเดิมจำคุก 3เดือน เพิ่มเป็น 1ปี และปรับจากเดิม 2000-10000บาท เพิ่มเป็น 5000-20000บาทและยึดใบขับขี่ จะเห็นว่าแนวโน้มของกฎหมายเริ่มมีบทลงโทษที่รุนแรงเพิ่มขึ้นกับคนที่ฝ่าฝืน การที่เรารณรงค์คงได้ผลไม่ถึง 100% ต้องมีองค์ประกอบหลายๆอย่าง การใช้มาตรการทางกฎหมายก็ช่วยในการควบคุมพฤติกรรม ดังนั้น ทางมูลนิธิจึงหวังที่จะปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ๆให้เล็งเห็นถึงปัญหานี้" นายสุทรสิทธิ์ กล่าว


 


ถึงวันนี้ได้มีกฎหมายโทรไม่ถือออกมาบังคับใช้แล้วและมีการรณรงค์จากหลายๆหน่วยงาน มันอาจจะช่วยลดอุบัติเหตุได้ก็จริงแต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เราคงหนีกับปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ได้และ หลายๆคนคงไม่อยากให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับตัวเอง ดังนั้น หากเราไม่ประมาทและหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการไม่ถือ ไม่เมา ถ้าง่วง ไม่ขับ แค่นี้ก็สามารถลดอุบัติเหตุได้มากยิ่งขึ้นแล้ว


 


 


ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง


ข่าว นร.แฉคนขับคุยมือถือไม่ได้ยินแตรรถสิบล้อ  http://www.mobiledanger.org/phone.html


 


ข่าววิจัย โทร.แล้วขับ เท่ากับ เมาแล้วขับ http://www.sobmoei.com/modules.php?name=News&file=article&sid=13


บทความ โอ๊ต-วิทวัส ขอทวีวัฒนา http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000036377


..ห้าม โทรแล้วขับ เซฟชีวิตบนท้องถนน  http://www.moc.moe.go.th/modules.php?name=News&file=print&sid=5769


ข่าว 'กฎหมายฮัลโหลห้ามขับ' ประกาศแล้วฝ่าฝืนถูกปรับพันบาท http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=19799&catid=1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net