Skip to main content
sharethis


วันนี้ (27 ..)เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ1> ร่วมกับ แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าวการจัดประกวดหนังสั้นสีรุ้ง ครั้งที่ 1 "Thai Queer short film" เกี่ยวกับเรื่องราวของคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ เพื่อสื่อสารให้สังคมได้ตระหนักและรับรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ ในแง่มุมที่ปราศจากอตติหรือการผลิตซ้ำแนวความคิดด้านลบของสังคม ที่มะขามป้อมสตูดิโอ สี่แยกสะพานควาย เมื่อเวลา 13.00 .



พร้อมจัดการเสวนาในหัวข้อ "ทำไมต้องมีหนัง (สั้น) เกย์-เลสเบี้ยน?" โดย ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ร่วมด้วย บุญสนอง ตั้งอยู่ดี จากแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส. ไกรวุฒิ จุลพงศธร นักวิจารณ์ภาพยนตร์/หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารBioscope วิทยา แสงอรุณ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนต์เรื่อง "เรนโบว์บอย" ธันสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับอิสระผู้ก่อตั้งกลุ่มไทยอินดี้ และชัยวัฒน์ ทองแสง นักแสดงบทเกย์ในเรื่อง "เพื่อนกูรักมึงว่ะ" ดำเนินรายการโดย ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท จากสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล


ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ กล่าวถึงขั้นตอนในการประกวด 2> ว่า ระหว่างวันที่ 27 ..-20 มิ..51 จะเป็นการเปิดรับโครงเรื่อง และจากผู้ที่ส่งผลงานมาทั้งหมดให้จะมีการคัดเลือกให้เหลือ 15 เรื่อง เพื่อนำไปผลิตเป็นหนังสั้นโดยทุนจากแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ โดยจะมีการประกาศผลในวันที่ 4 .51 ส่วนการประกาศผลผู้ชนะและมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันที่ 31 ..51 ทั้งนี้ผลงานที่ได้รับการผลิตเป็นหนังสั้นทั้ง 15 เรื่องจะถูกนำไปเผยแผร่ต่อในงานเทศกาลหนังสั้นสีรุ้ง ในระหว่าวันที่ง20 -27 .51


ส่วนคณะกรรมการในการตัดสินจะประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตัวแทนจากแผนสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ ตัวแทนจากเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ คุณธันสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ ผู้ก่อตั้งกลุ่มไทยอินดี้ เจ้าของรางวัลศิลปาธร และคุณวิทยา แสงอรุณ คอลัมนิสต์จากนิตยสารMetro Life ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องเรนโบว์บอย


ฉันทลักษณ์ กล่าวต่อว่า วัตถุประสงของการทำกิจกรรมที่มุ่งเผยแพร่สร้างความกับสังคมให้มากที่สุด หลังการจัดงานเทศกาลหนังสั้นจะมีการนำหนังสั้นทั้ง 15 เรื่องไปจัดฉายในจังหวัดต่างๆ พร้อมจัดให้มีเวทีสัมนา เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกย์-เลสเบี้ยน และให้มีการถกเถียงในประเด็นนี้มากขึ้น


"คนที่เป็นก็คือคนที่เป็น การกังวลว่าจะเป็นแฟชั่น ทำให้เกิดแฟชั่น ไม่ต้องกังวล เพราะถ้าเป็นแฟชั่นมันก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และสำหรับหนังที่ทำ เราทำเพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อให้มองเค้าในฐานะคนธรรมดาที่มีแง่มุมของชีวิตที่หลากหลาย ไม่ต้องตลก ไม่ต้องโรคจิต เป็นชีวิตของคนธรรมดา" ฉันทลักษณ์กล่าว พร้อมแสดงความเห็นว่าเรื่องของ เกย์-เลสเบี้ยนเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในสังคม และควรมีสื่อที่จะนำเสนอในแง่มุมเหล่านี้ นอกเหลือจากประเด็นความสัมพันธ์ของหญิงชายที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสหลักของสังคม


ทั้งนี้ในส่วนของการเซ็นเซอร์ ฉันทลักษณ์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ทางผู้จัดเปิดกว้างในการรับผลงาน และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือการเซ็นเซอร์ตัวเองของคนที่จะทำหนังสั้น เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะพบว่าคนทำกลัวจะเกิดปัญหาจึงมีการจัดการตัวเองไปเรียบร้อยก่อนแล้ว ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าอึดอัดใจ โดยเฉพาะในส่วนของ พ...ภาพยนตร์ ตัวใหม่ที่กำลังจะมีการบังคับใช้ เพราะยังไม่มีมาตราฐานของการเซ็นเซอร์ หรือจัดเรตติ้งที่ชัดเจน


.....................




1>เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ เป็นเครือข่ายเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ขององค์กรทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ จากการเข้าร่วมประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน กิจกรรมการทำงานของเครือข่าย มีทั้งด้านเอดส์ ด้านรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิของคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ โดยจะมีองค์กรหลักๆ ในการเคลื่อนไหวแต่ละประเด็น เช่น ในงานเรื่องเอดส์ก็จะมีสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย เอ็มพลัส สวิง ซิสเตอร์ เป็นแกนนำ ส่วนงานด้านสิทธิก็จะมีกลุ่มอัญจารี กลุ่มสะพาน เป็นแกนนำในการรณรงค์เป็นต้น เช่น เรื่องการยื่นฟ้องสารปกครอง เพื่อขอแก้ไขเอกสารสด. 43 ย้อนหลัง สำหรับคนข้ามเพศที่ถูกระบุว่าเป็น "โรคจิต" หรือการรณรงค์ให้มีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศในรัฐธรรมนูญปี 2550


2> อ่านรายละเอียดใน http://www.thaiqueershortfilm.net/project.htm

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net