กลุ่มสหภาพฯ ตะวันออก เรียกร้องสิทธิ์ให้กับแกนนำสหภาพ "คนสร้างฝันฯ" ที่ถูกเลิกจ้าง

กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกได้ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นห่วงในกรณีที่มีการเลิกจ้างลูกจ้างของบริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ก่อการและสมาชิกของสหภาพแรงงานคนสร้างฝัน ประเทศไทย จำนวน 3 คน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นมา โดยบริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด นั้นตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยที่มีลูกค้าหลัก เช่น โตโยต้า, ฟอร์ดและมาสด้า

 

ในแถลงการณ์ได้กล่าวต่อไปว่า ตลอดระยะเวลาในหลายปีที่ผ่านมาลูกจ้างได้ให้ร่วมมือกับทางบริษัทฯ ในการที่จะทำให้บริษัทฯ ได้มีผลกำไรอย่างสูงสุด ถึงแม้ว่าพนักงานต้องปฏิบัติงานที่ต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุในการทำงานอย่างสูงและต้องทำงานวันละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงเป็นระยะเวลาหลายปีตลอดมา พนักงานทุกคนก็ยังเต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อให้ผลผลิตเป็นไปตามเป้าหมายตามที่บริษัทฯ ต้องการ

 

แต่สิ่งที่พนักงานได้รับการตอบแทนคือ มีการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานแบ่งแยกแล้วกดขี่ขูดรีด แม้กระทั่ง "ช้อนและส้อมที่ใช้รับประทานอาหารที่โรงอาหารพนักงานยังต้องนำเงินมามัดจำค่าช้อนวันละ 5 บาท" เพื่อนำช้อนมากินข้าว และยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จนพนักงานสุดที่จะทนได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสหภาพแรงงานโดยใช้ชื่อว่า สหภาพแรงงานคนสร้างฝัน ประเทศไทย และได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียนจังหวัดระยองในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหภาพแรงงานนั้น เพื่อต้องการปกป้องเรียกร้องสิทธิ์อันพึงมีพึงได้ให้กับพนักงานทุกคน

       

ดังนั้น กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ซึ่งมีสหภาพแรงงานคนสร้างฝัน ประเทศไทย เป็นสมาชิก จึงเรียนมายังบริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้โปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับพนักงานและสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ทุกคน และขอให้บริษัทฯ หาข้อยุติการละเมิดสิทธิแรงงานโดยด่วน โดยการรับผู้ก่อการสหภาพแรงงานคนสร้างฝัน ประเทศไทย กลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข

        

จากปัญหาต่อการเลิกจ้างสมาชิกซึ่งเป็นผู้ก่อการสหภาพแรงงานฯ ที่กล่าวมาข้างต้นโดยมีผลการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2551 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านายจ้างมีเจตนาที่จะละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพนักงานในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานฯ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของลูกจ้างสามารถกระทำได้ ตามความมาตรา 77 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนที่ให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิ์ในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อนุสัญญาหลักฉบับที่ 87 และ 98 ในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม การที่บริษัทฯ เลิกจ้างลูกจ้างในกรณีดังกล่าวนี้ จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

 

นอกจากนั้นการเลิกจ้างดังกล่าวยังขัดต่อมาตรา 20,121,122 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ซึ่งเป็นการเลิกจ้างระหว่างการเตรียมการที่จะยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และยังเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2551 ในมาตรา 64 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่นฯ

 

โดยในแถลงการณ์ ได้ระบุต่อไปว่า เพื่อความเป็นธรรมของลูกจ้างทั้งหมด และเพื่อประโยชน์แก่องค์กรของลูกจ้างที่จัดตั้งมาเพื่อประโยชน์ของพนักงานบริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ทุกคนมีสิทธิ์จัดตั้งและเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานคนสร้างฝัน ประเทศไทย จึงขอเรียกร้องให้บริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ปฏิบัติตามกกหมายดังต่อไปนี้

        

1. ให้บริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์(ไทยแลนด์) จำกัด รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวทั้งหมดเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างและสวัสดิการที่ได้รับขณะเลิกจ้าง โดยให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการและให้ บริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์(ไทยแลนด์) จำกัด ชดใช้ค่าจ้างทั้งหมดในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง โดยคิดจากฐานค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่ได้รับขณะเลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าบาทต่อปี จนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน

        

2. ห้ามมิให้บริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์(ไทยแลนด์) จำกัด ขัดขวางการดำเนินงานของสหภาพแรงงานคนสร้างฝัน ประเทศไทย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

        

3. ห้ามมิให้บริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์(ไทยแลนด์) จำกัด  ขัดขวางการดำเนินการโดยการกลั่นแกล้งการลงโทษหรือเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการและสมาชิกของสหภาพแรงงานฯ ด้วยเหตุผลอันไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

        

4.  ให้บริษัทมารูยาซึ  อินดัสตรีส์(ไทยแลนด์) จำกัด จัดให้มีการเจรจาหาข้อยุติปัญหาการเลิกจ้างระหว่างผู้แทนของสหภาพแรงงานฯ และผู้แทนของบริษัทฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยเร็ว

 

แรงกดดันจากสภาพการทำงาน

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ผู้ที่ถูกเลิกจ้างทั้งสามคน คือ นายกฤษ จังชัยวีระยานนท์ อดีตหัวหน้าฝ่ายวางแผนการผลิต, นายชูชาติ ศรีชัยปัน อดีตหัวหน้าฝ่ายคลังสินค้า และนายประมวล โพธิหล้า อดีตหัวหน้าฝ่ายผลิต 

 

ทั้งนี้นายกฤษได้กล่าวว่า บริษัทได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างตนเองว่า ตั้งแต่วันที่ 10 มี.. จนถึงวันที่ 21 .. ตนเองได้เข้างานสาย 16 ครั้ง และขาดงานครึ่งวันโดยไม่ได้แจ้งหัวหน้า แต่เขายืนยันว่าได้แจ้งแล้ว ใบลาก็เขียน แต่พออยู่ในไลน์การผลิตใบลาจะมาช้ามาก ซึ่งบริษัทได้อ้างว่าตนเองทำผิดมาตรา 119 ข้อ 4 เรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย

 

ทั้งนี้ตนเองคิดว่าอาจเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะจริงๆ ถ้าตรวจสอบจะพบว่าพนักงานหลายๆ คนมาสายเดือนหนึ่ง 30 วันทำงานถ้ารวมโอทีด้วยมาสายประมาณ 26 - 27 วัน ก็มี ซึ่งจริงๆ เรื่องเข้างานสายก็จะมีมาตรการหักเงินเบี้ยขยัน หรือหักเงินเดือนอยู่แล้ว โดยบริษัทอ้างว่ามีการตักเตือนด้วยวาจา เตือนด้วยลายลักษณ์อักษรหลายครั้งแล้วแต่ไม่นำพาประการใด

 

แต่ทั้งนี้นายกฤษกล่าวว่าตั้งแต่ตนเองทำงานมายังไม่เคยโดนใบเตือนจากทางบริษัทเลย

 

กรณีของนายชูชาตินั้น ทางบริษัทได้ให้เหตุผลว่านายชูชาติได้วางของปะปนกัน โดยมีการถ่ายภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งชูชาติได้ให้ความเห็นว่าในตอนที่ทำความผิดนั้นทำไมไม่มีการลงโทษ แต่พอมาร่วมกันก่อตั้งสหภาพแรงงานก็เหมือนถูกลงโทษย้อนหลัง

 

เช่นเดียวกับนายประมวลที่โดนข้อเคลิ้มหลับในเวลาทำงาน (ตอนตีสาม) ตั้งแต่วันที่ 7 .. แล้ว และตอนที่หลับนั้นนายจ้างยังไม่ได้ให้ใบเตือน เพียงแต่ปลุกขึ้นมาเฉยๆ จากนั้น พอมีข่าวว่ามีการก่อตั้งสหภาพแรงงาน ตนเองถูกเชิญให้ขึ้นไปพูดคุย เขาก็เลยรื้อคดีเก่านี้ขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้าง ซึ่งตนเองเห็นว่าตนเองได้ยอมรับความผิดไปแล้ว แต่เหมือนกลับไปการทำโทษย้อนหลัง

 

ทั้งนี้ทั้งสามคนได้ให้ข้อสังเกตว่าก่อนที่จะริเริ่มตั้งสหภาพแรงงานนั้น ทางบริษัทเองเริ่มมีการจ้างแรงงานเหมาช่วงเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาสองสามปีที่ผ่านมา และเริ่มมีแรงกดดันต่อแรงงานประจำอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรื้อค้นร่างกายเพื่อหาสิ่งเสพย์ติด โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการร่วม สวัสดิการน้ำดื่มที่ไม่เพียงพอ การมัดจำช้อนก่อนรับประทานอาหารแต่ละมื้อ เป็นต้น

 

รวมถึงการให้แรงงานเซ็นหนังสือข้อตกลงให้แรงงานยอมรับ ซึ่งทางบริษัทเคยใช้เลขที่หัวประกาศเดิมแต่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความหลายครั้ง จนทำให้แรงงานรู้สึกว่าถ้าตนเองเซ็นไปแล้วอาจจะส่งผลกระทบด้านลบแก่ตนเอง หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อตกลงนั้นอีก ทั้งนี้เมื่อแรงงานไม่ยอมเซ็นก็จะถูกเรียกเข้าไปทีละสิบคนเพื่อพูดคุยให้ยินยอมเซ็น

 

ซึ่งแรงกดดันทั้งหลายนี้ทำให้แรงงานในบริษัทเริ่มมีการรวมตัวเพื่อตั้งสหภาพในการคุ้มครองสิทธิแก่ตนเอง แต่ผู้ร่วมก่อการทั้งสามกลับถูกเลิกจ้างในที่สุด

 

โดยการก่อตั้งสหภาพแรงงานคนสร้างฝัน เริ่มมีการพูดคุยกันตั้งแต่วันที่ 25 เม.. ยื่นจดทะเบียนวันที่ 2 .. และได้ทะเบียนเมื่อวันที่ 14 .. และผู้ร่วมก่อการทั้งสามคนโดนเลิกจ้างในวันที่ 24 ..

 

 

ยื่นข้อเรียกร้องให้บริษัทรับแกนนำสหภาพเข้าทำงาน - ปรับปรุงสภาพการทำงาน

 

ทั้งนี้สหภาพคนสร้างฝัน ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท มารูยาซึ อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ดังต่อไปนี้..

 

ข้อที่ 1 ขอให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 2 .. 2551 ดังนี้

 

1.1   ให้บริษัทฯ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน

1.2   ให้บริษัทฯ จัดน้ำดื่มที่สะอาดให้เพียงพอ พร้อมแก้วกระดาษ

1.3   ให้บริษัทฯ จัดให้พนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อน เวลาทำงานปกติไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง

1.4   ให้บริษัทฯ ให้บริษัทจัดห้องพยาบาลพร้อมแพทย์และพยาบาลทุกวันที่มีการทำงาน

1.5   กรณีพนักงานลาป่วยไม่ถึงสามวัน ไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์และให้ได้รับค่าจ้าง

 

ข้อ 2 ขอให้บริษัทฯ ยกเลิกลายมือชื่อของพนักงานที่ลงในหนังสือยินยอมตามข้อตกลง (ในช่วงการปรับเงินเดือนประจำปี พ.. 2551)

 

ข้อ 3 ขอให้บริษัทฯ ยกเลิกเงินมัดจำค่าช้อน

 

ข้อ 4 ขอให้บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนคูปองช่วงเวลาการทำงานล่วงเวลาในตอนเย็น ให้เท่ากับกะกลางคืน โดยสามารถแลกเป็นอย่างอื่นได้ในวงเงิน 30 บาท

 

ข้อ 5 ขอให้บริษัทฯ ปรับขึ้นค่าจ้างประจำปี 2552 ในอัตราดังนี้

            เกรด A ปรับขึ้น 8 %         และบวกเพิ่มพิเศษอีกคนละ 600 บาท

            เกรด B ปรับขึ้น 7.5 %       และบวกเพิ่มพิเศษอีกคนละ 600 บาท

            เกรด C ปรับขึ้น 7 %         และบวกเพิ่มพิเศษอีกคนละ 600 บาท

 

ข้อที่ 7 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสประจำปีเท่ากับ 4.1 เดือน และบวกเพิ่มพิเศษอีกคนละ 40,000 บาท โดยจ่ายครั้งเดียวในเดือนธันวาคมของทุกปีโดยไม่มีการตัดเกรด

 

ข้อ 8 ขอให้บริษัทฯ เปลี่ยนรถรับส่งจากรถพัดลมเป็นรถปรับอากาศทุกสาย

 

ข้อที่ 9 ขอให้บริษัทฯ ปรับเพิ่มค่าข้าว จากเดิม 750 บาท ต่อเดือน เป็น 1,000 บาท ต่อเดือน

 

ข้อ 10 ขอให้บริษัทฯ ปรับเพิ่มค่ากะกลางคืนจากเดิมคืนละ 90 บาท เป็น 150 บาท

 

ข้อ 11 ขอให้บริษัทฯ ปรับค่าความร้อนของแผนก Brazing จากเดิม 150 บาทต่อเดือน เป็น 500 บาทต่อเดือน

 

ข้อ 12 ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับ บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร รวมถึงพนักงานในวงเงินที่จ่ายจริงในการรักษาพยาบาลแต่ละครั้ง

 

ข้อ 13 ขอให้บริษัทฯ บรรจุพนักงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำทุกคน

 

ข้อ 14 ขอให้บริษัทฯ รับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากเหตุก่อตั้งสหภาพแรงงานฯ ทั้ง 3 คน กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและหน้าที่เดิมโดยไม่มีเงื่อนไข

 

ข้อ 15 ขอให้บริษัทฯ เพื่อความเป็นธรรมและยุติธรรมกับพนักงาน ให้บริษัทฯ กำหนดให้หัวหน้างานที่มีตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้จัดการขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจในการให้คุณให้โทษกับพนักงานได้

 

ข้อ 16 กรณีจะมีการสอบสวนลงโทษพนักงาน ให้คณะกรรมการลูกจ้างเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนเพื่อลงโทษพนักงานด้วย

 

ข้อที่ 17 ข้อตกลงการจ้างใดที่ดีอยู่แล้ว ให้คงไว้นอกจากขัดหรือแย้งกับข้อตกลงฉบับนี้ ให้ใช้ข้อตกลงฉบับนี้แทน

 

เอกสารประกอบ

แถลงการณ์กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท